การถาโถมเข้ามาของเทคโนโลยีไม่ว่าจะ AI, Big Data, IoT หรือ Cloud ล้วนส่งผลกระทบต่อธุรกิจในทุกภาคส่วนและกระทบในหลายๆ มิติ ไปจนถึงปัญหาว่าเทคโนโลยีไหนที่องค์กรควรเลือก เพื่อให้ตอบโจทย์หรือต่อยอดทางธุรกิจได้ดีที่สุด
AIS ในฐานะที่เป็นโอเปอเรเตอร์เบอร์ 1 ของไทยก็เผชิญกับปัญหานี้เช่นกัน ทว่าภายในงาน Blognone Tomorrow ที่ผ่านมา AIS ได้แสดงให้เห็นให้เห็นถึงวิสัยทัศน์และการปรับตัวเข้าหากระแส Digital Disruption และสามารถต่อยอดทางธุรกิจ ด้วยการเปิดให้บริการแพลตฟอร์ม NB-IoT ได้เป็นเจ้าแรกของไทย
AIS มองเห็นอะไรจาก IoT และทำอะไรไปแล้วบ้าง บทความนี้สรุปจากเวที Blognone Tomorrow มาให้ครับ
คุณ Hui Weng Chong ตำแหน่ง President ของ AIS แชร์ให้ฟังว่าเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เป็นตัวผลักดันให้องค์กรเกิดการปรับตัว (transformation enablers) ได้แก่
อย่างไรก็ตามในมุมของ AIS แล้ว Next Big Thing ไม่ได้อยู่ในกลุ่มนี้แต่คือ IoT เนื่องจากคุณสมบัติที่สามารถอยู่ได้ทุกที่ (ubiquitous) ทำให้ IoT จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้คน และจะผสานกลมกลืนจนแยกออกจากกันไม่ได้
ปัจจุบันอุปกรณ์ IoT ทั่วโลกได้เกินหน้าจำนวนประชากรโลกไปแล้วที่ 8.3 พันล้านชิ้นต่อ 7.4 พันล้านคน ขณะที่ในอีก 2 ปีข้างหน้าหรือ 2020 มีการคาดการณ์ว่าจำนวนอุปกรณ์ IoT จะกระโดดขึ้นไปอีกที่ราว 2 หมื่นล้านชิ้น ขณะที่ประชากรทั่วโลกจะมีแค่ราวว 7.6 พันล้านคนเท่านั้น
สิ่งที่ตอกย้ำความสำคัญของ IoT คือการลงทุนและนโยบายจากหลายภาคส่วน ทั้งรัฐและเอกชนในต่างประเทศ อย่างผลการสำรวจจากนิตยสาร Forbes เมื่อปีที่แล้วระบุว่า บริษัทกว่า 57% ที่สำรวจล้วนมีวิสัยทัศน์หรือกำลังผลักดันเรื่อง IoT
ขณะที่บริษัทอย่าง Google เริ่มลงทุนใน IoT (ผ่านการซื้อ NEST) ด้วยเม็ดเงินกว่า 3.2 พันล้านเหรียญ หรือไมโครซอฟท์ก็มีแผนพัฒนาด้าน IoT เป็นระยะเวลา 4 ปี ด้วยเม็ดเงินราว 5 พันล้านเหรียญ
ส่วนบริษัทคอนซัลท์อย่าง McKinsey ก็ได้เผยรายงานที่คาดการณ์ว่า ภายในปี 2025 IoT จะมีมูลค่ามากที่สุดในกลุ่มเทคโนโลยีที่เปลี่ยนโฉมธุรกิจ (disruptive / transform enablers) อยู่ที่ราว 3.9 หมื่นล้านถึง 1.11 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
ในแง่ภาครัฐก็เริ่มมีนโยบายที่ผลักดัน IoT กันแล้ว อาทิ สหรัฐ ที่จะเน้นไปที่การพัฒนาแพลตฟอร์มและระบบสำหรับอุตสาหกรรม หรือ IIoT (Industrial Internet of Things), อียูและจีน มีนโยบายคล้ายๆ กันคือผลักดันระบบนิเวศน์สำหรับ IoT โดยจีนจะเน้นไปที่เทคโนโลยีการผลิตเป็นหลัก
ขณะที่รัฐบาลไทยก็มีโครงการที่ริเริ่มไปแล้วอย่าง Smart City ในภูเก็ต, เชียงใหม่และกรุงเทพ ด้วยการสนับสนุนการสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับ IoT ไปจนถึงโปรเจ็คที่เล็กลงมาและเน้นไปที่ e-commerce, e-education, e-industry และ e-government พร้อมตั้งเป้าภายในปี 2020 ประเทศไทยจะต้องเป็นศูนย์กลางด้าน Digital Infrastucture ในอาเซียนด้วย
ด้วยข้อมูลข้างต้นก็อาจกล่าวได้ว่าการเลือกหันไปหา IoT พร้อมกับการเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์มถือเป็นทางเลือกที่ถูกและน่าจะมีอนาคตได้อีกยาวๆ
ในส่วนของการให้บริการของ AIS ค่อนข้างครอบคลุม ไล่ไปตั้งแต่ฮาร์ดแวร์ อาทิโมดูลและ Development Kit, บริการโครงข่าย ทั้ง NB-IoT และ eMTC โดยโครงข่าย NB-IoT สำหรับอุปกรณ์ขนาดเล็กหรือเซ็นเซอร์ปัจจุบันให้บริการครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศแล้ว โดยเครือข่าย NB-IoT วิ่งอยู่บนคลื่น 900MHz ที่แบนด์ววิธ 200kHz โดยจะเพิ่มความครอบคลุมในภาคเหนือและภาคอีสานเพิ่มเติมภายในปีนี้
ขณะที่โครงข่าย eMTC ที่ความเร็วสูงกว่าและรองรับอุปกรณ์ mobility อย่างโทรศัพท์ วิ่งอยู่บนคลื่น 1800MHz แบนด์วิธ 1.4MHz ตอนนี้มีให้บริการเฉพาะในพื้นที่ใกล้ๆ สำนักงาน AIS และสนามบินสุวรรณภูมิ โดยมีแผนจะให้บริการในกรุงเทพ, ภาคกลาง, ภาคเหนือและภาคใต้ภายในไตรมาสนี้ ส่วนภาคตะวันออกและอีสานจะภายในไตรมาสสี่
อีกหนึ่งบริการ IoT Ecosystem ของ AIS คือแพลตฟอร์ม ที่ประกอบไปด้วย Connectivity Platform และ Device Management Platform สำหรับการบริหารจัดการอุปกรณ์, การเชื่อมต่อและการพัฒนาแอปสำหรับ IoT ไม่รวมโซลูชันต่างๆ ที่มีให้เลือกอีกมาก
AIS มีโครงการ AIAP หรือ AIS Alliance Program ที่ดึงเอาพันธมิตรจากหลายภาคส่วนธุรกิจมาทำงานร่วมกัน เพื่อแบ่งปันความรู้และพัฒนาแพลตฟอร์ม IoT ร่วมกันเพื่อให้อุปกรณ์สามารถทำงานและสื่อสารกันข้ามแพลตฟอร์มหรือ vendor ได้
ตอนนี้โครงการ AIAP ได้ผลิดอกออกผลออกมาเป็นโมดูลสำหรับอุตสาหกรรมและการทำงานด้านต่างๆ กว่า 70 โมดูล
สำหรับพาร์ทเนอร์ ทาง AIS มีโซลูชันอย่าง IoS-as-a-Service ซึ่งครอบทุกแทบจะทุกบริการสำหรับ IoT เอาไว้ให้ตั้งแต่ซอฟต์แวร์ (SaaS), แพลตฟอร์ม (PaaS), โครงสร้างพื้นฐาน อาทิ คลาวด์
เป็นการปรับตัวที่น่าสนใจของ AIS จากเพียงแค่ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือหรือโอเปอเรเตอร์ แล้วเลือกเทคโนโลยีอย่าง IoT เพราะเห็นความเป็นไปได้และโอกาสในอนาคตก่อนคนอื่น และสามารถให้บริการ IoT เชิงพาณิชย์ได้เป็นรายแรกในไทย ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนและยกระดับการพัฒนาด้านเทคโนโลยี ทั้งภาครัฐและเอกชนในไทยไปได้ ท่ามกลางการไกลบ่าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน