ยุคสมัยที่คลาวด์คอมพิวติ้งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับองค์กรไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ สตาร์ทอัพส่วนมากใช้โครงสร้างพื้นฐานทุกอย่างอยู่บนคลาวด์แทบทั้งหมด กลายเป็นคำถามให้กับองค์กรใหญ่ในประเด็นว่าควรไปใช้คลาวด์ทั้งหมดหรือไม่ ส่วนไหนควรไปใช้ ส่วนไหนไม่ควร จะไปใช้คลาวด์ควรเตรียมตัวยังไง เป็นต้น
ในงาน Blognone Tomorrow 2019 มีเซคชั่นที่พูดถึง DesignOps (Design Operations) ซึ่งเป็นคำที่เราจะได้ยินกันบ่อยขึ้นในวงการเทคโนโลยี ผู้ที่มาให้ความรู้คือ คุณสรรพวิชญ์ ศิริผล ดีไซเนอร์จาก KBTG ผู้ผลักดันกระบวนการทำงาน DesignOps เข้ามาปรับใช้ใน KBTG ในหัวข้อ Keeping Up with the Dev Cycle by Way of Agile Design operation
คำนิยามของ DesignOps คือกระบวนการ, ทีม, แผนก ที่เชื่อมการทำงานระหว่างทีมดีไซเนอร์ และทีมนักพัฒนาให้สามารถทำงานด้วยกันอย่างกลมกลืน มีกระบวนการที่ชัดเจน และลดขั้นตอนยุ่งยากรวมถึงความผิดพลาดต่างๆ จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์
Blognone มีโอกาสสัมภาษณ์คุณสรรพวิชญ์ เพื่อทำความเข้าใจกระบวนการ DesignOps อย่างละเอียด รวมถึงประสบการณ์ของ KBTG หลังนำกระบวนการ DesignOps มาปรับใช้แล้ว เกิดผลอย่างไรบ้าง
องค์กรในปัจจุบันหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที จะต้องมีการใช้งานคลาวด์ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง โดยองค์กรใหม่ ๆ อย่างสตาร์ทอัพส่วนมากมักจะใช้งานคลาวด์ 100% ตั้งแต่แรก (cloud native) ทว่าองค์กรใหญ่ ๆ ที่อยู่มานาน อาจจะตั้งแต่ก่อนยุค dot com ล้วนมีการใช้งานเซิร์ฟเวอร์แบบ on-premise ซึ่งปัจจุบันก็น่าจะควบคู่ไปกับการใช้ Public Cloud
ทว่าปัญหาของหลาย ๆ องค์กรคืออาจจะยังไม่รู้แน่ชัดว่า ควรย้ายไปใช้งาน Public Cloud ทั้งหมด 100% เลยดีหรือไม่และเป็นไปได้แค่ไหน หรือใช้แบบ Hybrid Cloud แบบนี้ไปเรื่อย ๆ ดี คุณนพดล เจริญทอง ตำแหน่ง Head of General Business for Thailand and Emerging จาก SAP Indochina ได้ให้ข้อเสนอและมุมมองที่ค่อนข้างน่าสนใจเอาไว้ในงาน Blognone Tomorrow 2019 ที่ผ่านมา
รถยนต์พลังงานไฟฟ้าเริ่มเป็นหนึ่งในตัวเลือกของผู้บริโภคที่จะซื้อรถยนต์สักคันหนึ่ง เพราะด้วยจุดเด่น หลักๆ ที่ผู้บริโภคมักจะมองหาอย่างเรื่องค่าใช้จ่ายของพลังงานไฟฟ้าที่มากกว่าค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และไม่มีการปล่อยมลพิษ แต่จริงๆ แล้วมันมีอะไรมากกว่านั้น วันนี้เรามาลองทำความรู้จักกับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าให้มากขึ้นไปกับ ราเมช นาราสิมัน ประธานนิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย กัน
สรุปความจากการบรรยายหัวข้อ MLOps: Productionizing Machine Learning at Scale โดยคุณทัศพล อธิอภิญญา Advanced Machine Learning Engineer จากบริษัท กสิกร บิสซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป หรือ KBTG
คุณทัศพลเคยเป็นวิศวกรคนไทยในสหรัฐอเมริกามาก่อน เคยทำงานกับ HortonWorks, VMware และร่วมทีม Siri ใน Apple ที่สำนักงานใหญ่ (อ่านบทสัมภาษณ์คุณทัศพล สมัยทำงานที่ HortonWorks)
บทความจากการบรรยายในงาน Blognone Tomorrow 2019 โดย ดร. ภูมิ ภูมิรัตน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา เราได้กฎหมายดิจิทัลใหม่สองฉบับล่าสุดที่จะมีส่วนช่วยทำให้โครงสร้างทางกฎหมายดิจิทัลของบ้านเราครบถ้วน เพิ่มความน่าเชื่อถือในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาประเทศ และสนับสนุนการนำนวัตกรรมมาใช้ประกอบธุรกิจและให้บริการลูกค้าและประชาชน กฎหมายสองฉบับที่ว่านี้ก็คือพระราชบัญญัติมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งได้ผ่านและลงพระราชกิจจานุเบกษาแล้วทั้งสอง พรบ.
หนึ่งในเทคโนโลยีที่งานสัมมนา Blognone Tomorrow 2019 ให้ความสำคัญคือ 5G ที่เป็นโอกาสสำคัญของการเติบโตในเทคโนโลยีอื่นๆ มากมายเช่น IoT, ระบบ Smart City, Smart Transportation และการดูแลรักษาความปลอดภัยต่างๆ
ในงาน Blognone Tomorrow ได้ คุณยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS มาเล่าถึงการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีโทรคมนาคมจากยุคที่ 4 (4G) ไปยุคที่ 5 (5G) ซึ่งไม่ใช่แค่การเปลี่ยนแปลงในแง่ความเร็วของการรับส่งข้อมูล แต่ยังมีเรื่องของความหน่วงที่ต่ำ ซึ่งจะมีช่วยให้เกิดการใช้งานอุปกรณ์ IoT และ Edge Computing ในหลากหลายรูปแบบ
Blognone Tomorrow งานสัมมนาเทคโนโลยีประจำปีของ Blognone กลับมาอีกครั้งในปี 2019 โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 9 กันยายน 2019 ที่ภิรัชฮอลล์ BITEC บางนา
ธีมของงานปี 2019 มุ่งเน้นที่ Human & Machine หรือความสัมพันธ์ของมนุษย์กับเทคโนโลยีและเครื่องจักร โดยจะแยกย่อยเป็น 3 ห้องตามประเภทของเทคโนโลยี ได้แก่ AI, IoT, Cloud กับผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ มากถึง 28 คนที่จะมานำเสนอประเด็นเหล่านี้
Blognone Tomorrow 2019 ประกาศชื่อ speaker เพิ่มเติม 1 ท่านคือ คุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ จะมาพูดในหัวข้อ Hyperloop and Path Skipping Development Strategy หรือแปลเป็นภาษาไทยคือ "Hyperloop กับการพัฒนาแบบเสือกระโดด"
การบรรยายของคุณธนาธร จะมีขึ้นในช่วงสุดท้ายของงาน ต่อจากตารางกำหนดของงานที่ประกาศไปแล้ว โดยกำหนดเวลาที่ชัดเจนจะประกาศอีกครั้ง
งาน Blognone Tomorrow 2019 ต้องการเปิดให้ผู้ฟังที่ยังเป็นนักเรียน-นิสิต-นักศึกษา มีโอกาสเข้าถึงเนื้อหาในงานมากที่สุด จึงเพิ่มตั๋ว Student Ticket ในราคาพิเศษ 1,000 บาท (จากปกติ 2,500 บาท)
ธนาคารและสถาบันการเงินเป็นเป้าหมายโจมตีของแฮกเกอร์เสมอมา การแฮกสถาบันทางการเงินแต่ละครั้งสามารถสร้างความเสียหายได้มหาศาล ทั้งจากการเจาะระบบตัวธนาคารโดยตรงอย่างการแฮกเพื่อส่งคำสั่งในระบบ SWIFT ของธนาคารบังคลาเทศเมื่อปี 2016 หรือการโจมตีที่ตัวผู้ใช้ ทั้งการทำ skimming เพื่อสำเนาข้อมูลบัตร, การหลอกเอารหัส OTP ผ่านทางมัลแวร์บนโทรศัพท์ของผู้ใช้ ไปจนถึงการโจมตีที่ตัวผู้ปฎิบัติงาน ที่อาจจะพลาดพลั้ง
งาน Blognone Tomorrow 2019 ประจำปีนี้ ใช้ธีมหลักคือ Human & Machine เพื่อต้องการนำเสนอประเด็นการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนหลายคนเริ่มตั้งคำถามว่า "มนุษย์จะถูกแทนที่ด้วยจักรกลหรือไม่"
กำหนดการฉบับ(เกือบ)สมบูรณ์ มีดังนี้
ในยุคที่ทุกองค์กรบอกว่ามีการใช้ข้อมูล Big Data เพื่อปรับปรุงบริการให้ดีขึ้น วิเคราะห์เพื่อหาช่องทางสร้างรายได้ใหม่ๆ ไปจนถึงการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อเรียนรู้พฤติกรรมของลูกค้า คำถามสำคัญคือ Data เป็นเพียงแค่คำเท่ๆ เพื่อให้ดูดี หรือสามารถนำมาใช้งานได้จริงๆ กันแน่
สุดท้ายแล้วข้อมูลที่แต่ละองค์กรเก็บมา สามารถนำไปใช้ได้จริงอย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงอะไรที่มาถึงตัวผู้บริโภคโดยเป็นบทเรียนจากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง ส่วนแบ่งปันประสบการณ์จากองค์กรมีประสบการณ์การปรับปรุงสินค้าและบริการจริง พวกเขารู้ได้อย่างไรว่าต้องใช้ข้อมูลอะไร, ได้ข้อมูลเหล่านั้นมาจากไหน และแปลงข้อมูลมาเป็นการปรับปรุงบริการได้อย่างไร
ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ชัดเจนว่าบริษัทเทคโนโลยีจากจีนกำลังมาแรงในตลาดโลก พลังมังกรไซเบอร์ที่ผสมผสานกลยุทธ์ทั้งราคาที่ถูกกว่า และเทคโนโลยีที่เหนือกว่า (ในบางด้าน) จึงเข้ามาแข่งขันกับผู้เล่นเดิมๆ ได้อย่างสูสี และสามารถเอาชนะได้เรียบร้อยแล้วในหลายอุตสาหกรรม
บทความนี้จะพาไปดูสถานการณ์ปัจจุบันของบริษัทเทคโนโลยีจีน ว่าปัจจุบันอยู่ตรงไหนแล้วในตลาดโลก
หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อของคุณสมโภชน์ อาหุนัย ซีอีโอของบริษัท “พลังงานบริสุทธิ์” Energy Absolute (EA) กันมาในหลายด้าน บางคนอาจรู้จักเขาในฐานะหนึ่งในผู้บุกเบิกพลังงานทางเลือกในประเทศไทย ทั้งไบโอดีเซล แสงอาทิตย์ และพลังงานลม บางคนอาจรู้จักเขาในฐานะมหาเศรษฐีรุ่นใหม่ของไทย (ปัจจุบันอยู่อันดับ 10 ของอันดับมหาเศรษฐีไทยที่จัดโดย Forbes ประจำปี 2019 และเศรษฐีหุ้นไทยอันดับ 3 จากการจัดอันดับของวารสารการเงินการธนาคาร มูลค่าทรัพย์สินประมาณ 4.2 หมื่นล้านบาท)
แต่อีกบทบาทหนึ่งของคุณสมโภชน์คือ “วิศวกร” (จบการศึกษาปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) และเขากำลังสร้าง “รถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์ไทย” ในชื่อว่า MINE Mobility
นิตยสาร Bloomberg อาจยกย่องโปรเจคต์ของเขาว่า MINE คือ “Tesla of Thailand” แต่จริงๆ แล้วรถยนต์ไฟฟ้าของคุณสมโภชน์ มีเป้าหมายแตกต่างจาก Tesla อย่างสิ้นเชิง
ในงาน Blognone Tomorrow นอกจากการบรรยายแล้ว ยังมีส่วนของนิทรรศการ ซึ่งบริษัทหนึ่งที่มาออกบูธด้วยคือ Sertis ผู้ให้บริการด้านการพัฒนาระบบวิทยาศาสตร์ข้อมูล (data science) และการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (artificial Intelligence) ในองค์กร
Sertis ก่อตั้งขึ้นในปี 2014 โดยคุณธัชกรณ์ วชิรมน ผู้บริหารที่นำประสบการณ์จากการทำงานด้านให้คำปรึกษาในการบริหารจากต่างประเทศ พบว่าการใช้ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจยุคต่อไปจึงกลับมาเปิด Sertis ในประเทศไทย และเริ่มติดต่อ data scientist จากต่างประเทศมาร่วมงานกัน
ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจองค์กรและการพาณิชย์ จาก ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย จะมาเปิดเผยเรื่องราวต่างๆ ในงาน Blognone Tomorrow ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในธุรกิจ ซึ่งปัจจุบัน เทคโนโลยีเดินทางมาไกลมาก ซึ่ง ไมโครซอฟท์พยายามอย่างยิ่งที่จะทำให้เทคโนโลยีเข้าถึงทุกคน นอกจากนั้นไมโครซอฟท์พยายามให้เทคโนโลยีเข้าถึงธุรกิจได้มากขึ้น เพราะว่าธุรกิจต่างๆ เหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้ภาคส่วนอื่นๆ เข้าถึงเทคโนโลยีได้
ในงาน Blognone Tomorrow ประเด็น AI และ Machine Learning (ML) เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจมาก และฮาวทูสำหรับบริษัทที่อยากจะมี AI และ ML เป็นของตัวเองต้องทำอย่างไรนั้น ดร.ณัฐ เพชระบูรณิน Data Scientist ที่ SCB Abacus ให้คำแนะนำไว้อย่างครอบคลุมและน่าสนใจ
ดร.ณัฐ เล่าให้ฟังว่าก่อนจะมาเป็น Data scientist ที่ SCB Abacus เคยทำงานที่ซิลิคอนวัลเล่ย์มาก่อน มีประสบการณ์การทำงานในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ AI และ ML ดังนั้น ดร.ณัฐ จึงมาแชร์ประสบการณ์ที่คาดว่าจะใช้ได้จริงสำหรับธุรกิจที่จะใช้ AI และ ML ในผลิตภัณฑ์หรือแพลตฟอร์มดิจิทัลของตน แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน
งาน Blognone Tomorrow 2018 ที่เพิ่งผ่านพ้นไป เราเลือกใช้ระบบการขายบัตรผ่าน Event Pop ซึ่งเป็นสตาร์ตอัพไทยที่อยู่ในตลาดนี้มาหลายปี
ผู้ที่เคยซื้อบัตรเข้างานอีเวนต์ งานคอนเสิร์ตต่างๆ ผ่าน Event Pop น่าจะมีเยอะในระดับหนึ่ง แต่ผู้จัดงานที่เคยใช้ระบบหลังบ้านของ Event Pop น่าจะมีไม่มาก ดังนั้นเราจึงอยากแชร์ประสบการณ์ใช้งานจริงๆ ว่าเป็นอย่างไร เพื่อให้ผู้ที่สนใจใช้ Event Pop พอเห็นภาพว่าในมุมของผู้จัดงานจะพบเจอกับอะไรบ้าง ก่อนตัดสินใจเลือกใช้งาน
ธนาคารและอุตสาหกรรมการเงินมักจะเป็นอุตสาหกรรมแรกๆ ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้งาน แต่ถึงแม้ที่ผ่านมาเทคโนโลยีที่ธนาคารสนใจและให้ความสำคัญก็มักจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยีความปลอดภัยเป็นหลัก และอาจไม่ได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีโดยตรง แต่การไหลบ่าของเทคโนโลยีก็เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ใช้และลูกค้าธนาคาร เป็นการกดดันให้ธนาคารต้องปรับตัวตามและอีกทอดหนึ่งอยู่ดี
บทเรียนของ KBank บนเวที Blognone Tomorrow จึงน่าสนใจในแง่ของการนำเทคโนโลยีมาช่วยสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ขณะเดียวกันโมเดลนั้นก็ต้องตอบรับและสอดคล้องกับพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคให้ได้มากที่สุดด้วย
Agoda เป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีธุรกิจทั่วโลก จากการให้บริการจองที่พักกว่า 2 ล้านรายการทั่วโลก รายการจองต่อปีมากกว่า 7,000 ล้านรายการ ที่หลายคนอาจจะไม่รู้คือ Agoda มีพนักงานทำงานด้านเทคโนโลยีกว่า 1,000 คนจากพนักงานรวม 3,000 คน และพนักงานด้านเทคโนโลยีเหล่านี้เกือบทั้งหมดอยู่ในกรุงเทพฯ ในงาน Blognone Tomorrow คุณ Idan Zalzberg รองประธานฝ่ายข้อมูลของ Agoda ก็มาเล่าถึงกระบวนการใช้ข้อมูลในบริษัทว่าสามารถนำข้อมูลที่ได้มาทำให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร
คุณ Idan เตือนบริษัทที่ต้องการลงทุนในการใช้ข้อมูลว่าการลงทุนเหล่านี้ใช้ระยะเวลากว่าการลงทุนจะเห็นผลที่ชัดเจน ตัว Agoda นั้นมีแนวทางร่วมกันที่จะลงทุนเพื่อใช้ข้อมูลมาพัฒนาบริการในระยะยาว
ปัจจุบัน 5G ถูกพูดถึงมากขึ้นในช่วงหลายปีมานี้ เนื่องจากเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นอีกก้าวของการสื่อสารที่จะสานต่อ 4G ที่ใช้กันอยู่ทั่ั่้วโลก เป็นโครงข่ายโทรคมนาคมแห่งอนาคตที่มีความทันสมัย ช่วยให้ธุรกิจต่างๆ สามารถใช้ประโยชน์เพื่อยกระดับศักยภาพการดำเนินธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งภายในงาน Blognone Tomorrow ผู้ให้บริการเครือข่ายอย่าง dtac ได้นำเสนอแนวคิดในการผลักดัน 5G และความพร้อมที่จะก้าวสู่ยุคถัดไปของเทคโนโลยีการสื่อสาร
ผ่านไปแล้วสำหรับงานสัมมนาเทคโนโลยีครั้งแรกของเว็บไซต์ Blognone หรืองาน Blognone Tomorrow และหนึ่งในบริษัทที่เข้ามาร่วมบรรยายคือ LINE ผู้มีอิทธิพลทางเทคโนโลยีของไทยมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งในไทย ด้วยตัวเลขผู้ใช้งานในไทยถึง 45 ล้านราย มีลูกค้าทั่วโลกถึง 200 ล้านราย และมีสำนักงานใหญ่ในหลายประเทศ
แต่ LINE สามารถแข่งกับตลาดโลกได้หรือยัง?
อริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยของ LINE พูดในงาน Blognone Tomorrow ที่เพิ่งผ่านไปว่า ในปีนี้ LINE ประเทศไทยเตรียมซื้อกิจการอีกในปีนี้ และจะประกาศเพิ่มเติมช่วงครึ่งปีหลัง
การถาโถมเข้ามาของเทคโนโลยีไม่ว่าจะ AI, Big Data, IoT หรือ Cloud ล้วนส่งผลกระทบต่อธุรกิจในทุกภาคส่วนและกระทบในหลายๆ มิติ ไปจนถึงปัญหาว่าเทคโนโลยีไหนที่องค์กรควรเลือก เพื่อให้ตอบโจทย์หรือต่อยอดทางธุรกิจได้ดีที่สุด
AIS ในฐานะที่เป็นโอเปอเรเตอร์เบอร์ 1 ของไทยก็เผชิญกับปัญหานี้เช่นกัน ทว่าภายในงาน Blognone Tomorrow ที่ผ่านมา AIS ได้แสดงให้เห็นให้เห็นถึงวิสัยทัศน์และการปรับตัวเข้าหากระแส Digital Disruption และสามารถต่อยอดทางธุรกิจ ด้วยการเปิดให้บริการแพลตฟอร์ม NB-IoT ได้เป็นเจ้าแรกของไทย
AIS มองเห็นอะไรจาก IoT และทำอะไรไปแล้วบ้าง บทความนี้สรุปจากเวที Blognone Tomorrow มาให้ครับ