Facebook อัพเดตความเคลื่อนไหวต่อสถานการณ์ในพม่า ทำอะไรไปแล้วบ้างพร้อมระบุแนวทางดำเนินการในอนาคต Facebook ยอมรับว่าแก้ไขวิกฤตข่าวปลอมที่ส่งผลกระทบให้เกิดอาชญากรรมบนโลกจริงได้ช้ามาก และต้องรับผิดชอบเต็มที่ในฐานะที่คนพม่าใช้โซเชียลมีเดียเป็นอินเทอร์เน็ตสำหรับพวกเขา
เริ่มจากพัฒนาเทคโนโลยี การรายงานว่าโพสต์ไหนเท็จจริงในพม่ายังอยู่ในระดับต่ำ จึงต้องพัฒนา AI ให้ระบุโพสต์ให้ ในไตรมาส 2 ปีนี้ มีระบุโพสต์เนื้อหาเกลียดชังได้ 52% เพิ่มจากไตรมาสล่าสุดในปี 2017 ราว 13% และต้องทำให้ผู้ใช้สามารถรายงานโพสต์ไม่ดีได้ง่ายๆ ด้วย
ปัญหาใหญ่อีกอย่างคือ ข้อความในภาษาพม่า กล่าวคือมาตรฐาน Unicode ที่ใช้เข้ารหัสและแสดงแบบอักษรรวมทั้งภาษาพม่าและภาษาพม่าท้องถิ่นอื่นๆ แต่ 90% ของโทรศัพท์ในพม่าใช้ฟอนต์ Zawgyi ซึ่งใช้ในการแสดงภาษาพม่าเท่านั้น คนที่ใช้ Zawgyi ก็จะไม่สามารถอ่านนโยบายของ Facebook ใน Facebook Help Center ได้ ซึ่ง Facebook ต้องแก้ตรงนี้ให้ได้
เมื่อมีการรายงานโพสต์เข้ามา จะมีทีมคนที่รู้ภาษาพม่าคอยตรวจสอบอยู่ 60 คน และจะเพิ่มเป็น 100 คนภายในปีนี้ แต่ก็ยังไม่เพียงพอเพราะไม่สามารถพึ่งพาเฉพาะการตรวจโพสต์ที่ถูกรายงานมาได้ ต้องมีทีมวิศวกรพัฒนาระบบตรวจจับให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Facebook บอกด้วยว่าร่วมมือกับองค์กร และคณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนท้องถิ่น เพื่อให้แน่ใจว่านโยบายของ Facebook ใช้งานได้ขนาดไหน
อ่านข่าวเก่าเกี่ยวกับพม่าได้
- นักสิทธิมนุษยชนของยูเอ็นเตือน Facebook เป็นช่องทางสำคัญในการแพร่กระจายความเกลียดชังชนกลุ่มน้อยในเมียนมาร์
- ในที่สุด Mark Zuckerberg ก็ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องข้อมูลโจมตีชาวโรฮิงญาระบาดในเมียนมาร์
ที่มา - Facebook Newsroom
Comments
"ต้องมีทีมวิสวกรพัฒนาระบบตรวจจับ" → วิศวกร
my blog
พม่าใช้แต่ Font Zawgyi ครับ ไม่รู้ทำไมถึงไม่พัฒนาให้เป็นตัวหลักเลย ต้องมาลงเองตลอด
สงครามโลกอาจเริ่มต้นจากข่าวปลอมในเฟสบุค
พวกเนื้อหาสร้างความเกลียดชังนี่เยอะมาก ไปหาดูได้เลย กลุ่ม ASEAN STATION ในเพฟ ข่าวปลอมจากเขมร งานบินเบือนข้อมูลมาเต็มไปหมด