สวัสดีครับ เพิ่งสมัครสมาชิกเพื่อจองหนังสือ Blognone หลังจากเป็น ROM(Read-Only Member) มาหลายเดือน จึงถือโอกาสทักทายพี่ๆ ที่นี่ด้วยเลย
ผมมีความรู้โปรแกรมมิ่งแค่ขั้นพื้นฐาน ยังด้อยประสบการณ์อยู่มาก หากผิดพลาดอะไรก็ชี้แนะมาได้เลยนะครับ โขกสับมาได้ไม่ต้องเกรงใจ ^^
วันนี้อยากจะขอความคิดเห็นและข้อมูลจากชาว Blognone ว่า ถ้าอยากจะเป็นโปรแกรมเมอร์ คณะและสถาบันมีผลต่อการพิจารณารับเข้าทำงานของบริษัทต่างๆ มากน้อยแค่ไหน และตำแหน่งงานสำหรับคนที่เรียนจบมาทางด้านคอมพิวเตอร์และไอที มีอะไรบ้าง
โดยเฉพาะเรื่องคนที่จบคณะวิศวฯคอมพิวเตอร์ มีภาษีดีกว่าคนที่จบคณะไอที วิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศจริงหรือไม่ หรือขึ้นอยู่กับตำแหน่งงานอีกที
และระหว่างเรียนมหาวิทยาลัย ควรฝึกฝนภาษาโปรแกรมไหนเป็นพิเศษบ้าง ที่กำลังมาแรงหรืออาจจะกลายเป็นมาตรฐานในอนาคตอันใกล้
กำลังจะเอนท์ครับ อยากหาข้อมูลไว้เยอะๆ รบกวนด้วยนะครับ
ขอบคุณล่วงหน้าครับ ^^
มีข้อมูลให้อ่านเพิ่มเติมจากวิกิของเว็บคณะไอทีลาดกระบังครับ ให้อ่านตรงข้อ 3 หมวดการศึกษาต่อทางด้านคอมพิวเตอร์
http://wiki.it.kmitl.ac.th/ITKMITL_FAQ
แน่นอนว่าข้อมูลก็ต้องโน้มเอียงไปทางไอที แต่ยังไงข้อมูลก็ยังมี fact ที่น่าสนใจอยู่ครับ
I will change the world, to the better day.
I will change the world, to the better day.
ไม่สำคัญ มั๊ง
คุณจบ ที่อื่นมา เกรดความสามารถ เท่ากับรุ่นน้องผม เงินเดือนเท่ากัน ผมเอารุ่นน้องผม
คุณจบ ที่อื่นมา เกรดความสามารถ เท่ากับรุ่นน้องผม เงินเดือนเท่ากัน เป็นผู้หญิงสวย กว่ารุ่นน้องผม(หากเพศหญิงด้วยกัน) หน้าตาดีกว่า ผมเลือกคุณ (ฮ่า)
สถาบัน สำคัญไหมมันพื้นๆ น่ะยอมรับกันเถอะ ว่าเจอ ที่จบมาด้วยกันก็เอารุ่นน้องก่อน ถ้าคู่แข่งไม่ได้มี project ที่มันเข้าหูเข้าตากว่าตูมๆ ..
Ton-Or
Ton-Or
มันก็เหมือนเป็นแต้มต่อ เทียบกับบอลก็อาจจะครึ่งลูก ถ้าเสมอก็แพ้
ถามว่าสำคัญมั้ย จริงๆ ก็ไม่สำคัญเท่าไร ฝีมือสำคัญกว่าแต่จะทำอย่างไรให้เค้าเห็นฝีมือเท่านั้นแหละ
ผมว่ามันก็มีผลเหมือนกันนะครับ แต่ถ้าเกรดดี มีประวัติอื่นดี มี certified ก็น่าจะเพิ่มน้ำหนักได้มากกว่า (อันนี้ดูจากที่คณะผมรับโปรแกรมเมอร์น่ะครับ)
___________pawinpawin
ผมคิดว่าเรื่องนี้มันแล้วแต่ผู้ว่าจ้างว่ามีทัศนะคติอย่างไรด้วย วิศวกรรมใช่ว่าจะดีกว่า แต่ตามแนวโน้มแล้วการจะเข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงหรือคณะวืศวกรรมได้มักมีการแข่งขันสูงกว่ามหาวิทยาลัยบางแห่งหรือคณะวิทยาศาสตร์และไอที ตรงนี้อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่บางคนพิจารณา แต่มันก็ไม่แน่เพราะมันมีปัจจัยด้านอื่นๆเช่นอาจารย์ผู้สอน วิชาที่ได้เรียน ผลงานที่ได้ทำมา บุคลิก และความสามารถของคุณเอง
ผมว่าจบจากที่ไหนก็ไม่สำคัญว่าคุณเก่งจริงหรือไม่ ถ้าเก่งจริงที่ไหนเขาก็รับถ้าคนจ้างไม่ได้ขาดสติ
จริงๆผมมักถามตัวเองเสมอว่า ผมอยากให้เขาจ้างงานผมเพราะผมจบจากมหาลัยดัง มีบุคลิกดี หรือต้องการให้เขาจ้างผมเพราะความสามารถ
ผมเลือกอย่างหลัง
LongSpine.com
ขอบคุณสำหรับทุกความคิดเห็นครับ
คือผมสอบตรงติดคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ หลักสูตรน่าสนใจ
แต่มีคนถามบ่อยๆ ว่าทำไมไม่เรียนวิศวะคอม ผมเองก็ไปดูแนะแนวและดูหลักสูตรของหลายๆ ที่ ก็ไม่ได้รู้สึกว่าเรียนต่างกับไอที/ไอซีทีเท่าไรนัก ก็เลยคิดหนักอยู่
สมาชิกใหม่ครับ ยินดีที่ได้รู้จัก ^^
อันนี้เป็นมุมมองของผมนะครับ เนื่องจากผมจบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ถ้าเราตั้งใจแน่วแน่แล้วว่าจะเป็นโปรแกรมเมอร์เพียวๆ ไปทางพวก CSI หรือ IT ดีกว่าครับ
มันจะได้เวลาจะใช้ทุ่มเทเต็มที่ กับเรื่องของโปรแกรม
ส่วน CPE นั้น ผมมองว่าสำหรับคนที่ยังติดสินใจไม่ได้ว่าตัวเองจะชอบด้านไหน โปรแกรมเมอร์ เน็ตเวิร์ค ไมโครคอนโทรลเลอร์ ฯลฯ
ที่ผมเลือกตอนเข้าเรียนก็ด้วยเหตุผลนี้ครับ คือหลักสูตรเค้าสอนครอบคลุมพื้นฐานทุกด้าน ไม่ได้เน้น แล้วเราค่อยตัดสินใจในปีหลังๆ กว่าจะลงวิชาเรียนเน้นไปด้านไหนที่เราชอบเป็นพิเศษครับ
ส่วนเรื่องของการรับสมัครงาน สถาบันก็มีส่วนบ้างครับ อยู่ที่ความสามารถมากกว่า เรื่องที่มีส่วนก็คือชื่อเสียงของรุ่นพี่ ที่เข้าไปทำงานอยู่ก่อนแล้วครับ มันจะมีผลต่อการรับรุ่นน้องที่จบจากสถาบันเดียวกันพอสมควร ชื่อเสียงดีก็ดีไป ถ้าทำไม่ดีไว้รุ่นน้องก็ลำบากครับ
ปล. ผมสายเน็ตเวิร์คครับ พอดีเรียนๆ ไปแล้วมันเกิดไม่ชอบเขียนโปรแกรมขึ้นมา (ขี้เกียจทำ Document ครับ)
======================
ไม่มีอะไรในกอไผ่ นอกจาก...หน่อไม้
+1 ผมก็จบ CPE ครับแต่มอผมเค้าเรียก COE สำหรับเด็กจบใหม่ผมว่าน่าจะมีผลมากๆเลยนะแต่ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายในการรับคนเข้าทำงานของบริษัทอีกทีอ่าครับ ถ้าจบจากมหาวิทยาลัยดังๆมันจะได้เปรียบในเรื่องของ connection แล้วมันก็ช่วยเสริมในเรื่องของจิตวิทยาด้วยอะครับ ประมาณว่าเป้าหมายต่างๆของเราก็คงต้องหวังจะให้ได้พอๆกับเพื่อนๆไรงี้ ยังไงสังคมก็เป็นสิ่งที่สำคัญด้วยเหมือนกันอ่าครับ แต่พอทำงานไปสักพักเค้าก็คงดู resume มากกว่า
ส่วนเรื่องวิศวะนี่ผมว่าถ้าต้องการเป็นโปรแกรมเมอร์จริงๆผมแนะนำให้เรียนวิทย์คอมดีกว่า อย่างที่คุณ kezuke(ชื่อคุ้นๆ ประวัติคุ้นๆ) ว่าไว้อ่าครับ ยกเว้นว่าคุณมั่นใจว่าคุณเก่งจริงๆหรือเขียนโปรแกรมเก่งอยู่แล้วแต่อยากเรียนรู้หลายๆด้าน ไม่ใช่ว่าผมหมายถึงเรียนวิศวะได้ต้องเก่งกว่านะครับ แต่ด้วยเนื้อหาที่เรียนมันจับฉ่ายอะครับ ถ้าไม่ศึกษาด้วยตนเองหรือเรียนแบบผานๆเอาจบเป็นพอ คุณก็อาจจะทำไรแทบไม่เป็นเลย ได้แต่อินทริเกตกับดิฟ คือจบวิศวะนี่ข้อดีก็น่าจะเป็นเรื่องของการที่เราสามารถเลือกทำงานได้หลายด้านมากกว่าอะครับ(ถ้าเอาตาม requirement) แต่ถ้าเป็นเรื่องเขียนโปรแกรมวิทย์คอมจะเรียนลึกกว่ามากๆ
ผมคิดว่าไม่จำเป็นครับ
ถ้าเป็นเรื่องของสถาบัน ถึงอาจจะมีเรื่องรุ่นพี่รุ่นน้อง แต่ว่าถ้าฝีมือเราดีจริงๆ ยังไงเขาก็เลือกเราครับ เรียนจากที่ไหนไม่สำคัญ สำคัญที่เรามีความรู้หรือเปล่ามากกว่านะผมว่า :)
ส่วนเรื่องของคณะ ผมคิดว่า จะ CPE หรือ CSI หรือ IT .. ถ้าจบออกมาเป็นโปรแกรมเมอร์ ถ้าเข้าใจการเขียนโปรแกรม การคิดอัลกอริธึม จบคณะไหนก็เหมือนกันหมดครับ .. เพราะถ้าเป็นสายคอมพิวเตอร์อย่างไรเราต้องมีความรู้ทางด้านการโปรแกรมอยู่แล้ว เพียงแต่ส่วนใหญ่คนอาจจะมองว่า CPE > CSI > IT เท่านั้นครับ แต่ถ้าใจเรารักการเขียนโปรแกรมจริงๆ ตรงนี้นี่ตัดไปได้เลยคับ :D
บล็อกของผม: http://sikachu.com
บล็อกของผม: http://sikachu.com
มีผลครับ
สถาับันที่ดีๆอาจจะมีสังคมการเรียนรู้ที่ดี
เป็นโปรแกรมเมอร์เรียนวิทย์คอมดีกว่าวิศวะคอมครับ เพราะจริงๆเราไม่ต้องยุ่งกับฮาร์ดแวร์มาก เรียนอัลกอริธึมอัดเข้าไปเยอะๆดีกว่า
ถ้าถามว่ามีผลมั้ย ก็ต้องตอบตรงๆ ว่ามีผลครับ แต่ก็ไ่ม่ได้มากมายอะไร อย่างเช่นถ้าคุณมาสมัครงานที่บริษัทที่ผมทำอยู่ แล้วมีประสบการณ์ในด้าน programming เยอะๆ เช่น ระหว่างเรียนเคยส่งผลงานประกวด NSC อะไรแบบนี้ ก็จะมีการพิจารณาเป็นพิเศษ
เวบของเค้า...และเพินที่เค้ารัก
www.mooling.com
อืม .. บอกตรงๆว่ามีผลครับ ผมเคยทำงานกับ HR หลายที่ ภาพของ HR ที่มองมา วิศวะมักจะได้เปรียบคณะอื่นๆ อย่างบริษัทที่มีคนสมัครเยอะๆ มีใบสม้ครหลายร้อยวางอยู่ตรงหน้า สถาบัน,เกรดและคณะมักจะเป็นสิ่งแรกๆ ที่ HR จะดูก่อนตัดสินใจหยิบขึ้นมา
อาจจะดูไม่แฟร์ แต่ก็เป็นเรื่องจริงที่เรามักจะเห็นบริษัทใหญ่ๆ ก็มักจะมีคนที่จบมาจากสถาบันดังๆ คณะที่ได้รับการยอมรับ อยู่รวมๆ กันครับ
---
Khajochi Blog : It's not a Bug ... It's a Feature
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
อยากเป็นโปรแกรมเมอร์ หรือ อยากให้คนอื่นมองว่าเราเป็นโปรแกรมเมอร์ ผมว่ามันต่างกันอยู่นะ
ถ้าถามว่าสำคัญมั้ยมหาลัยที่จบที่เรียน : สำคัญตอนสมัครงานครับ
msmart บอกว่า "อาจจะดูไม่แฟร์ แต่ก็เป็นเรื่องจริงที่เรามักจะเห็นบริษัทใหญ่ๆ ก็มักจะมีคนที่จบมาจากสถาบันดังๆ คณะที่ได้รับการยอมรับ อยู่รวมๆ กันครับ"
จริงอย่างที่พี่เขาพูดแหละครับ พี่น้องเขาก็ดึงกันไป
อยากให้อ่านบทความนี้ครับ
บทความแสบๆ คันๆ อยากเป็น Programmer ฟังทางนี้
บทความแสบๆ คันๆ เป็น Programmer ด้วยลําแข้งตนเอง ภาค 1
บทความแสบๆ คันๆ เป็น Programmer ด้วยลําแข้งตนเอง ภาคจบ
อาจจะตอบไม่ตรงตามคำถามเท่าไร แต่คิดว่าคงมีประโยชน์กับ จขกท บ้าง และอยากให้เจ้าของกระทู้ มองออกไปข้างนอก มีหลายคนที่เขียนโปรแกรมได้ โดยทีี่ไม่ได้จบจากมหาลัยดังๆ แต่ไม่ใชว่า มหาลัยดีๆไม่สำคัญ มหาลัยดีๆก็มีอะไรดีๆเยอะเป็นผมก็เลือกเข้ามหาลัยดีๆดีกว่า แต่ถ้าไม่ได้ ก็ยังมีอีกหลายหนทางที่จะเป็นโปรแกรมเมอร์
(ขอโทษที่ตอบไม่ตรงคำถามเท่าไร)
แสวงหามิใช่เพราะรอคอย เชี่ยวชาญมิใช่เพราะโอกาส ชำนาญมิใช่เพราะโชคช่วย"ดังนี้แล้วลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน"chonlatee
ถ้าตัวเลือกเหมือนๆกัน เขาก็ต้องเลือกรุ่นน้องตัวเองก่อนล่ะครับ
ผมว่าตัวของคุณเป็นสิ่งสำคัญที่สุดครับ เพราะหากเรามีความตื่นเต้นในการเปิดรับสิ่งใหม่ๆ และพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่เรียนตามกระแสหรืออารมย์ชั่วคราวของตัวเอง มันมีผลต่อหน้าที่การงานที่ดีหมดครับ!
พีดีเอ ซ่า ดอทคอม ทำสิ่งที่คุณถืออยู่ให้มีค่ามากยิ่งขึ้น
อย่ากลัวในสิ่งที่ยังไม่เกิด ทำวันนี้ให้ดีเสียก่อนเถิด
งาน Junior Programmer ที่ทำ ๆ กัน (โดยเฉพาะถ้าเป็นบ.ใหญ่ ๆ) หลาย ๆ ที่ใช้สกิลงานแค่ว่า "เขียนโปรแกรมในภาษาที่ใช้เป็น" เท่านั้น
อัลกอริทึ่มอะไรไม่ต้องคิดมาก if-else ซะ 90% เน้น Logic ถูก ทำงานได้ ไม่ต้อง Algorithm ขั้นเทพ มานั่งหา Running Time ว่าใช้เท่าไหร่ (ผมไม่เคยต้องมานั่งหาว่าโค๊ดที่เขียนไปมันทำงานที่ O(log n) หรือเปล่านะครับ 555 ที่จริง O(n) นี่ปรกติมากเลย)
ผมว่า จบมหาลัยมาก็จริง แต่ความรู้ที่ใช้ก็แค่ ปวช. เท่านั้นล่ะครับ :P (เดี๋ยวนี้เด็กม.ปลายก็เรียนเขียนโปรแกรมกันแล้วนี่)
ส่วนคณะ ผมว่า ... สายตรงน่าจะเป็น Engineering สาขา Software Engineering นะ (จริง ๆ ไม่ทราบหรอกเพราะไม่เคยเรียน) สายที่เป็นรองก็น่าจะเป็น Computer Engineering ส่วน Computer Science กับ IT เนื่องจากมันเป็น Faculty of Science (คณะวิทยาศาสตร์)
อันนี้จากความรู้หางอึ่งของเด็กจบวิทย์คอมนะครับ :-)
เห็นเค้าว่า Engineering มันเป็นเรื่องของ Process คือ กระบวนการการ ส่วน Science มันเป็นเรื่องของการวิจัย ซึ่งจริง ๆ สายงานโปรแกรมเมอร์มันน่าจะเป็นอย่างแรกมากกว่า ... แต่ก็อย่างว่าแหละ คุณไปเรียน Science ก็จะได้เรียน Engineering มาด้วยนิดหน่อย ในขณะที่ถ้าไปเรียน Engineering ก็จะได้เรียน Science มาด้วยเหมือนกัน
เพิ่มเติม
สำหรับหลาย ๆ ที่ Programmer เป็น Job Function (ประมาณว่าหน้าที่รับผิดชอบล่ะมั้ง) ในขณะที่ Software Engineer เป็น Position (ตำแหน่ง) นะครับ อาจจะฟังดูสับสนนิดหน่อย เพราะ Software Engineer บางคนก็มี Job Function เป็น QA (Quality Assurance)
ThaiGameDevX -- The First Game Developer Community in Thailand.
จากคำถามนะครับ
ถามว่าสำคัญมั้ยผมตอบได้ว่าไม่ แต่หากถามว่ามีผลมั้ย ก็ต้องมีแน่นอน สองคนจบมา คนนึงจุฬา คนนึงเกษตร ถ้าคนที่รับจบที่ใหน รุ่นน้องก็มีโอกาศมากกว่า เพราะว่ายังไงก็สถาบันเดียวกัน แต่ถ้าเกิดไปเจอคนรับจบ มศว. ก็แล้วแต่รสนิยมของคนรับ ว่าเอนเอียงไปทางใหน แต่ถ้าไปเจอฝรั่ง เค้าก็คงไม่สนหรอกครับ เพราะว่าอันใหนก็เหมือนๆกันหมด
เลือกทำสิ่งที่ถนัดนั่นแหละดีแล้วครับ
อันนี้เคยได้ยินมาบ้างเหมือนกัน ขนาดบ.ฝรั่งก็ยังมี
บางคนว่าเข้าไปบางบริษัท เจอแต่สีชมพูบานอยู่ทั่วทุกหนแห่ง สีอื่นเข้าไปแทบไม่มีทางเจริญเติบโต ^^ ไม่ยืนยันว่าจริงมั้ยนะครับ
ThaiGameDevX -- The First Game Developer Community in Thailand.
อันนี้เข้ามาช่วยสนับสนุนว่าเคยเห็นจากบริษัทฝรั่งเหมือนกัน โดยเฉพาะเมื่อช่วงเรียกสัมภาษณ์ ศิษย์เก่ามักจะเรียกนักเรียนจากสถาบันที่ตัวเองจบไปสัมภาษณ์มากกว่า แต่มองอีกมึมหนึ่งก็อาจเป็นเรื่องที่มีช่องทางติดต่อที่คุ้นเคยและสะดวก อาจจะคุ้นเคยวิธีการให้เกรดหรือการเข้าสังคมทำให้ไม่ต้องประเมินแบบขั้นต่ำ
LongSpine.com
ปูนสีอะไรดีที่สูดดด...
มีผลแน่นอน แต่สามารถมีสิ่งอื่นมาทดแทน
เช่นถ้ามาแบบ resume โล่งๆ ม.ที่มีชื่อเสียงดีกว่าย่อมได้เปรียบ แม้ว่าที่ ม.อื่นจะได้เกรดดีกว่า
แต่ถ้าเกิดได้ชนะ NSC ที่ 1 หรือมี MCAD (ในกรณีที่เขาใช้ MS) หรือแม้แต่ Google SoC ก็อาจได้เปรียบ ม.ชื่อดัง แต่ resume โล่งๆ
ไม่ตายไม่เลิก
น้ำมัน ก๊าซ ปูน สีเริ่มชมพูๆ แล้ว
แมวขาว แมวดำ ไม่เรื่องมากและจับหนูได้ ก็พอแล้ว
จาก comment จับใจความได้ว่า
น่าน้อยใจหน่อยๆ ที่สถาบันไม่ดังได้รับโอกาสไม่เท่าสถาบันดัง แต่คิดอีกแง่ก็ดูท้าทายดีนะ
คนที่เข้าสถาบันดังได้จะเหนื่อยตอนเอนท์ สบายตอนสมัครงาน ส่วนคนเข้าสถาบันไม่ดังจะสบายตอนเอนท์ ลำบากตอนสมัคร ก็เจ๊ากันไป
อาทิตย์หน้าจะไปดูรอบชิง NSC เพิ่มแรงบันดาลใจสักหน่อย
ขอบคุณอีกครั้งสำหรับทุกบทความ คำแนะนำ และความคิดเห็นที่เสนอกันมาครับ
อยากถามอีกอย่างหนึ่งครับ โปรแกรมเมอร์ที่ทำงานตามบริษัท มีงานอะไรให้เลือกบ้างครับ เช่น การเขียนโปรแกรมตามที่ลูกค้าสั่ง, การเขียนโปรแกรมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้บริษัท, การเขียนโปรแกรม/ฐานข้อมูลให้แผนกอื่นในบริษัทใช้ ฯลฯ และงานแต่ละอย่างมีชื่อตำแหน่งว่าอะไร
สมาชิกใหม่ครับ ยินดีที่ได้รู้จัก ^^
บ.ผมจะมีตำแหน่งโปรแกรมเมอร์แค่ Programmer, Analyst Programmer, แล้วก็ Senior Analyst Programmer แค่นี้เองครับ ตำแหน่งปัจจุบันของผมก็คือ P ส่วน SAP นี่ถ้าจำไม่ผิดประสพการณ์เกือบ ๆ สิบปี
Job Function อาจจะมีเพิ่มขึ้นมาหน่อย อย่างพี่ที่เป็น SAP บางคนจะทำหน้าที่ Technical Lead ของแต่ละทีมในแผนกด้วย แล้วก็ SAP บางคนจะทำงานเป็น Software Architect เป็นคนเขียนเอกสารออกแบบซอฟท์แวร์ต่าง ๆ
ถ้าหลุดจากตรงนี้ขึ้นมาได้ ก็น่าจะเป็นระดับ Manager แล้ว แต่อาจจะเป็น System Manager หรือ Project Manager ซึ่งก็ยังดูแลส่วนผลิตภัณฑ์โดยตรงอยู่ดี (ผมไม่แน่ใจเพราะว่าตรงนี้แผนกผมยังไม่มีคนไทยได้เป็น) แต่จะไม่ได้ยุ่งกับโค๊ดโดยตรงแล้ว
ThaiGameDevX -- The First Game Developer Community in Thailand.
สำคัญมากครับ คิดง่ายถ้าคุณจบชูล่า(สถาบันหนึ่ง) กับ ราชชาเพด(สถาบันหนึ่งอีกเช่นเคย)
แล้วเข้าไปสมัครเป็นโปรแกรมเมอร์ของ บ.ซีปี ซึ่งตอนนั้นเค้ายังไม่รู้จักคุณเห็นแต่ resume
แล้วเค้าจะพิจารณาใครก่อน กรณีที่คุณเกรดเท่ากัน จบมาก็ไม่มีใบประกาศอะไรเป็นพิเศษ
แต่อย่างผมก็มาจากราชชาเพด และผมใช้วิธีขจัดจุดบอดก็คือ
- สอบ cert
- สร้าง portfolio
- frindly และมองบวก
หลังจากนั้นการสมัครไปหลายๆบริษัทโดยมีบริษัทที่เค้าให้แข่งกันโดยใช้การเขียนโปรแกรม
เป็นเป้าหมายหลัก เพื่อที่จะได้แสดงความสามารถให้เค้าเห็น
หมายเหตุ
+1 เรื่องรุ่นพี่รุ่นน้องครับ เห็นด้วยว่าได้เปรียบอย่างแรง
เห็น เค้าว่า บ. XX ก็รับแต่ชูล่า (บ.อะไรสักอย่าง แต่มี XX อยู่ตรงกลาง อิอิ) ไม่รู้จริงมั้ย รุ่นน้องผมมาบ่นให้ฟังว่าเค้ากับเพื่อนเค้าถูกเรียกไปสัมภาษณ์พร้อมกัน แต่ว่าไอ้เพื่อนเค้าแทบจะประกาศผลให้ทราบทันที ในขณะที่ตัวเค้าเองกลับต้องรอนานสองนาน (ลืมบอกไปว่าน้องคนนี้ได้เกียรตินิยมจากมหาลัยนานาชาติแห่งนึง)
สุดท้ายก็รู้สึกว่าจะได้แต่สายไปแล้วเพราะน้องคนนี้ตกลงไปทำงานที่อื่นแล้ว :P
ThaiGameDevX -- The First Game Developer Community in Thailand.
ผมว่าสำคัญมากถึงมากที่สุด
ลองสังเกต หน้าสมัครงานได้เลยครับ
คุณสมบัติ บรรทัดแรกคืออะไรครับ?
วุฒิการศึกษาครับ ทักษะคุณมีอะไรบ้าง เค้าคงไม่ทราบ
แต่ถ้าจบสถาบันดังๆ เค้าคงรับไว้ก่อนแน่นอนครับ
ไม่งั้น สถาบันเค้าคงไม่สงเสริมให้นักศึกษาทำผลงานกันหรอกครับ
มันก็เป็นการตลาดอย่างนึงครับ
อีกอย่างการศึกษาของไทยไม่เท่ากันด้วย
บางสถาบันปล่อย บางสถาบันก็เคี้ยวซะ
ตราบใดที่ประเทศยังคงยึิดติดกับระดับปริญญาไม่ใช่ทักษะ
คงต้องทำใจตามๆกันครับ ก้มหน้าเรียนต่อไปเหอะ
ผมเคยได้รับหน้าที่เป็นคนสัมภาษณ์งานขั้นแรกในบริษัทที่เคยทำงานด้วยนะครับ เป็นคนที่เลือก Resume ของคนที่ดูน่าสนใจด้วย (แต่ต้องไปเสนอเจ้านาย(ฝรั่ง)อีกทีนะ) ตอนนั้นมีรุ่นน้องที่ไปสมัครบ.แห่งนึงมาเล่าให้อะไรให้ฟังแล้วผมของขึ้น ก็เลยประกาศไปว่าที่นี่ไม่ต้อนรับสีชมพู 555
แต่สุดท้ายก็รับมาคนนึง เพราะไม่รู้ว่าจะเอาอะไรไปแย้งกับเจ้านายดี ประวัติมันดูดีมากซะจนหาทางปฎิเสธไม่ได้ 55
ถ้าเป็นตำแหน่งโปรแกรมเมอร์ ก่อนจะเรียกมาสัมภาษณ์เค้าจะขอให้ทดสอบความสามารถก่อน บางที่ก็จะเป็นการเขียนโปรแกรมง่าย ๆ บางที่ก็ให้ทดสอบความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาษาที่เค้าหาคนมาทำด้วย (และบางที่ก็ทั้งสองอย่าง) ถ้าสอบตรงนี้ไม่ผ่านถึงคุณจะได้ 4.00 ได้เกียรตินิยมเหรียญทองมา คุณก็ไม่ได้งานอยู่ดี (ผมเคยเจอเด็กที่จบเกียรตินิยมอันดับหนึ่งจากภาค Com Sci แต่เขียนโปรแกรมที่ใช้คำสั่ง Loop (ถ้า C ก็พวก for, while) ไม่เป็นมาแล้วนะครับ คือรู้ว่ามันเขียนยังไง แต่เอาไปใช้ไม่เป็น)
ขออนุญาตแนะนำเพิ่มอีกอย่างแล้วกัน สำหรับสายโปรแกรมเมอร์นะครับ ... ไปฝึกภาษาอังกฤษให้เก่ง ๆ ไว้เลย ใช้เยอะมาก ทั้งตำราที่เราอ่านเป็นภาษาอังกฤษหมด (ไม่ได้ว่าตำราไทยไม่ดี แต่มันไม่ค่อยครบถ้วน) ทั้งเอกสารอ้างอิงก็เป็นภาษาอังกฤษ บางทีเราต้องติดต่อกับคนต่างชาติ (เช่น ติดต่อกับ Support ของบริษัทที่เราซื้อผลิตภัณฑ์เค้ามาใช้) ก็ต้องใช้ภาษาอังกฤษ สำหรับบริษัทต่างชาติแล้ว ทักษะทางภาษาอาจจะสำคัญกว่าทักษะด้านเขียนโปรแกรมซะอีก อย่างน้อยถ้าคุยกันรู้เรื่องก็พอจะสอนกันได้ไงครับ
ThaiGameDevX -- The First Game Developer Community in Thailand.
ก่อนอื่นผมบอกก่อนว่ากระทู้นีถูกนำขึ้นหน้าแรกแล้วนะครับ
ต่อเรื่องคำถามนะครับ
ผมเชื่อว่าต่อให้บริษัทที่ไม่มีข้ออ้างเรื่องสีหรือความรักสถาบันเลย ผมก็ยังไม่แปลกใจที่ม. ดังๆ จะได้รับโอกาสมากกว่าครับ เพราะ
แต่สังคมไทยเองก็ยังมีเรื่องเลวร้ายประเภทรักสีรักสถาบันแบบปล่อยให้มันเอาชนะความสามารถได้จริงๆ ล่ะครับ ดังนั้นถ้าอยู่ม. ที่ดังน้อยกว่า แล้วจะแข่งกัน ทางหนึ่งที่ทำได้คือเอาชนะให้ขาดเหมือนที่ข้างบนๆ ว่ามา
แต่ผมตั้งข้อสังเกตอย่างหนึ่งว่าเรื่องอย่างนี้มันจะมีผลตอนการทำงานครั้งแรกๆ มากเป็นพิเศษครับ พอทำงานไปห้าปีสิบปี เปลี่ยนงานสักที่สองที่ resume จะสำคัญกว่าปริญญามากๆ แล้ว
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ผมสรุปให้นะครับ
บริษัท xx ที่ว่า จริงๆ เขาจะใช้ requitemnet ในการรับเข้ามา ถ้าเข้าตาก็ไปสัมภาษณ์กับเขาอีกทีนึง เพื่อนผมก็ได้ทำงานที่นั่นครับ หลายคนด้วย แถมไม่ได้จบ ชูล่า ครับ อิอิ
การเรียนคือการปูพื้นฐานในการทำงานครับ
คณะ/สถานบัน ที่คุณเรียนอยู่(หรือกำลังจะไปเรียน)ให้สิ่งเหล่านี้ได้ไหม... ผมว่านั่นก็ตอบได้ระดับนึงแล้วครับ
ความรู้พื้นฐานจะไปวัดกันช่วงทำงานไปได้สัก 3-4 ปีครับ เป็นช่วงที่กำลังจะก้าวต่อไปในอีกสเต็ป (และคนไม่แน่นจะไปต่อ...ยากครับ... แต่ไม่ได้บอกไม่ได้นะ)
ส่วนเรื่องสี เรื่องอะไร ผมว่ามันไม่น่าเกินความสามารถนะครับ (แต่มี connection พวกนี้ไว้ก็ไม่เสียหลาย ... เป็นการเพิ่มโอกาสก้าวหน้าได้ถึง 60% คอนเฟิร์ม!!)
มีส่วนสำคัญครับ
สถาบันจะสอนให้รู้จักวิธีการคิด การนำไปใช้ หรือไอเดียต่างๆ
แต่ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีจนสามารถนำไปใช้ได้แค่ไหนขึ้นอยู่กับคนเรียนครับไม่เกี่ยวกับสถาบัน ผมเห็นคนที่จบราชภัฏเก่งกว่าพวกวิศวะก็มีไม่น้อย สถาบันไม่ได้สอนให้เขียนโปรแกรมเป็นเขาเพียงแค่สอนแนวคิดครับ
จริงมันก็มีส่วนอ่ะนะ แต่แท้จริงแล้วมันอยู่ที่ตัวเรามั้งครับ
ถ้ามันอยู่ที่ คณะและสถาบันจริงๆ คนจบป่าไม้อย่างผมคงต้องเดินท่อมๆ อยู่กลางป่าอย่างเดียว แล้วอ่ะครับเหอๆ
SEO and SEM Blog
เมื่อวานผมเพิ่งไปยืนยันสิทธิ์เข้าเรียนต่อที่ มหาวิทลัยนเรศวร คณะวิทยาศาสตร์
เอก วิทยาการคอมพิวเตอร์
พอดีเลย - -*
แล้วทำไมเหรอครับ ?
ปล. ผมก็จบจากที่นี่เช่นกัน แถมภาคพิเศษอีกต่างหาก ผมรหัส 46 ครับ ;)
Ford AntiTrust’s Blog | PHP Hoffman Framework
โอ้ว เจอรุ่นพี่
แล้วตอนนี้ทำอะไรอยู่ที่ไหนครับ
ดูจาก LinkedIn เอาแล้วกันครับ http://www.linkedin.com/in/fordantitrust
Ford AntiTrust’s Blog | PHP Hoffman Framework
เป็น ROM เหมือนกันครับ เห็นหัวข้อนี้แล้วนึกถึงตัวเองตอนเด็กๆ เลยมาขอตอบด้วยละกัน
ว่าแต่...รู้สึกจะเบนหัวข้อไปทางสงครามสี กันแล้วนะครับ ^^''
เนื่องจากผมจบจากสถาบันสีชมพู ตอบไปเดี๋ยวจะเลยเถิดไปกันใหญ่ จะขอตอบแค่คำถามที่น้องเจ้าของกระทู้ถามละกันนะครับ 1. คณะและสถาบันมีผลต่อการพิจารณารับเข้าทำงานของบริษัทต่างๆ มากน้อยแค่ไหน
ตอบ คณะ : มีผลครับ ในไทย HR มักจะมองว่าวิศวฯคอมมีภาษีกว่าวิทยาฯคอม สถาบัน : มีผลครับ ไม่ว่าในแง่สิ่งแวดล้อม (หลักสูตร/ความสามารถด้านภาษา/logic/การแก้ปัญหา/การแข่งขัน/ทักษะการเขียนโปรแกรม/ค่านิยมและทัศนคติ/อื่น) หรือแง่เรื่องสี (อย่างที่ข้างบนพูดกัน)
อย่างไรก็ตาม ทั้งคณะและสถาบัน ไม่ใช่ตัวชี้วัดที่ดีว่าโปรแกรมเมอร์คนนี้เก่งจริงหรือเปล่า ในทุกๆสถาบันก็ย่อมมีคนเก่งมากและคนไม่เก่งปะปนกันไปครับ 2. ตำแหน่งงานสำหรับคนที่เรียนจบมาทางด้านคอมพิวเตอร์และไอที มีอะไรบ้าง
ตอบ ผมขอไล่คร่าวๆละกันนะครับ สำหรับเด็กจบใหม่ ตำแหน่งงานที่บริษัทจะรับมักเป็นประมาณนี้ Programmer: Tester : System Analyst (SA): Network Engineer: Sale Engineer (พรีเซล): IT Consultant: System Admin:
3. โดยเฉพาะเรื่องคนที่จบคณะวิศวฯคอมพิวเตอร์ มีภาษีดีกว่าคนที่จบคณะไอที วิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศจริงหรือไม่ หรือขึ้นอยู่กับตำแหน่งงานอีกที
ตอบ มีครับ เรื่องวิศวฯกับวิทยาฯ รายละเอียดเดี๋ยวคงมีคนมาถกในกระทู้เป็นแน่ ส่วนงานบางงาน คนที่จบพวก MIS จะมีภาษีกว่าคนที่จบคณะไอทีครับ เนื่องจากต้องใช้ความรู้ด้านการบัญชีกับธุรกิจด้วย 4. และระหว่างเรียนมหาวิทยาลัย ควรฝึกฝนภาษาโปรแกรมไหนเป็นพิเศษบ้าง ที่กำลังมาแรงหรืออาจจะกลายเป็นมาตรฐานในอนาคตอันใกล้
ตอบ เปลี่ยนไปตามปีครับ ตลาดงานปัจจุบันที่เห็นว่าเยอะก็น่าจะเป็น Java/ .NET/ C++ 5. กำลังจะเอนท์ครับ อยากหาข้อมูลไว้เยอะๆ รบกวนด้วยนะครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ ^^
ตอบ ขอให้โชคดีครับ จำได้ว่าตอนเอ็นท์ก็มีความรู้สึกแบบนี้เหมือนกัน ที่สำคัญคือ ไม่ว่าจะเรียนคณะไหน จบแล้วหรือไม่ หรือมาจากสถาบันอะไร ถ้าอยากเก่งและก้าวหน้า ต้องหมั่นหาความรู้ใส่ตัวเข้าไว้ครับ ถ้าเรามีความสามารถจริง เชื่อว่าความสำเร็จต้องตามมาอยู่แล้วล่ะครับ
คนที่ไม่ได้จบด้าน IT มาหลายคน(เช่นเจ้านายผมไง)ยังเก่งกว่าผมซึ่งจบ IT มาเลยครับ
เพราะงาน IT เห็นมีพูดกันอยู่บ่อยๆ ว่าต้องเรียนรู้เพิ่มๆๆได้ด้วยตัวเราเองเป็นส่วนใหญ่ จึงจะเก่งและอยู่ได้ยาวๆๆ ครับ.
แต่ว่า สถาบัน คณะ/สาขา เกรด Project ผมว่ามีผลมากอยู่นะครับ สำหรับคนที่จบมาใหม่ๆ เพราะฝ่ายบุคคลก็ดูไม่ออกว่าใครเก่ง เค้าก็ต้องดูเรียงตาม สถาบัน คณะ/สาขา เกรด Project และบุคลิกเป็นต้นครับ.
เรื่องคณะที่เรียนนั้นหลายๆคนคงคิดว่ามันก็เหมือนกัน ระหว่าง CE กับ CS และก็ SE แต่หากลองได้เข้าไปเรียนแล้วจะรู้ว่า 3 สาขานี่มันแตกต่างกันมากเลยล่ะครับ
CE (Computer Engineering)
สาขานี้ จะเรียนอะไรคล้ายๆกับ CS อยู่หลายอย่าง ทั้ง Programming, OOP, OS, System Analysis and Design แต่จะมีสิ่งที่แตกต่างกันก็คือ การเรียนเกี่ยวกับด้าน Hardware และ Match จะเรียนมากกว่า ซึ่งสาขานี้จะเน้นไปทางการเขียนโปรแกรที่สัมพันธ์กับตัวฮาร์ดแวร์เสียมากกว่า
CS (Computer Science)
สาขานี้ก็จัเรียนคล้ายกับ CE ที่บอกมา แต่จะเน้นไปทางการเขียนโปรแกรมและทฤษฎีเชิงลึกเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นยังเรียนเกียวกับ Software Engineering อยู่บาง สาขานี้จะเน้นการเรียนเกี่ยวกับหลักการ และทฤษฎีเชิงลึกของคอมพิวเตอร์ ทำให้มีพื้นฐานในเรื่องคอมพิวเตอร์สูง จึงมีความสามารถในการทำงานในด้านไอทีได้กว้างกว่า CE แต่สำหรับเรื่องการเขียนโปรแกรมนั้น หากเป็นการเขียนโปรแกรมทั่วไปที่ไม่เกียวกับการควบคุมฮาร์ดแวร์แล้วล่ะก็ สาขานี้จะดีกว่า
SE (Software Engineering)
หลายๆคนคงมีความเข้าใจที่ผิดเกียวกับสาขานี้อยู่บาง เพราะเห็นชื่อแล้วคงติดว่าเป็นสาขาที่เรียนเกียวกับดารเขียนโปรแกรมอย่างเกียวแน่ๆ แต่มันไม่ใช่ครับ สาขานี้เป็นสาขาที่เรียนในเรื่องการจัดการกระบวนการหรือขั้นตอนต่างๆในการผลิตและพัฒนาโปรแกรม ซึ่งถ้าจะหวัดความรู้ด้านโปรแกรมแล้วจะสู้กับสองสาขาด้านบนไม่ได้เลย แต่จะมีความแตกต่างตรงที่ จะมีความรู้เฉพาะในเรื่องของขั้นตอนต่างๆในการพัฒนาโปรแกรมทั้งเครื่อง Testing, การวิเคราะห์ระบบ การจัดการความเสี่ยง การจัดความต้องการในการพัฒนาซอฟต์แวร์ พูดง่ายๆคือ จะเรียนเกี่ยวกับทุกสิ่งอย่างในการพัฒนาโปรแกรม(แต่ได้เรียนการเขียนโปรแกรมน้อยมาก)ตั้งแต่การ คุยกับลูกค้า รับ requirement การออกแบบ การจัดการโครงการ การทดสอบ maintenace
มีอาจารย์เคยบอกว่า CS จะเป็นผู้คิด CE จะเป็นผู้ทำ SE จะเป็นคนคอยดูแลทั้งหมด
ผมขอแย้งนิดหนึ่ง
"CE เรียน Math มากกว่า"
เท่าที่ผมดูจากหลักสูตรแล้ว CS ที่ผมเรียนก็มี math เยอะไม่แพ้กัน
ถ้าให้นับก็จะมี cal 1-3, linear algebra,math model, discrete math, stat, numerical analysis ปาเข้าไป 8 ตัวแล้วนั่น
อ่าอันนี้ผมไม่แน่ใจนะ แต่ว่าเคยดู math ของเพื่อนวิทย์คอมรู้สึกว่ามันง่ายกว่ากันอยู่นะ ที่ผมเรียนแบบว่า datacom1 ยังเป็น math ล้วนๆอยู่เลย จะมาเรียนเนื้อหาด้าน network จริงๆก็ datacom2 อะ แล้วพวกวิชาด้านไฟฟ้ากะฮาร์ดแวร์ก็เน้นคำนวน
เห็นด้วยนะครับที่ว่าวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ไม่ได้มีคณิตศาสตรเยอะขนาดนั้น
ผมว่ามันแล้วแต่หลักสูตรของแต่ละสถาบันด้วย และที่สำคัญคือเยอะไม่เยอะมันไม่ได้ขึ้นกับจำนวนชั่วโมงอย่างเดียว
น้อยมากที่วิศวกรหรือนักวิทยาศาสตร์ไทยที่จบมาจะรู้ว่าคณิตศาสตร์ที่ตัวเองเรียนไปนั้นมันคืออะไร หลักของมันเป็นอย่างไร ทำเพียงแต่ตามขั้นตอน ไม่ต้องพูดถึงการนำไปใช้เลยถ้าพวกนี้ยังไม่ได้ (ที่ผมพูดอาจขัดกับวิศวกรหลายๆคนที่อยากเอาไปใช้ทั้งๆที่ตัวเองยังไม่เข้าใจ)
ดังนั้นผมว่ามันไม่ค่อยสำคัญว่าใครเรียนมากเรียนน้อย ถ้าเรียนไม่เข้าใจต่อให้เรียนมากยังไงก็ไม่มีประโยชน์
LongSpine.com
ไม่จำเป็นหรอกครับ
ถ้าคุณเจ๋งพอ
เท่ และจริงๆด้วยแหละ ha ha ha !
ความคิดผม ผมว่าจำเป็น ตอนผมสมัครงานใหม่ๆ อย่าว่าแต่จะทดสอบเขียนโปรแกรมเลย เรียกสัมภาษณ์ ยังไม่ค่อยจะเรียกเลย ตอนสัมภาษณ์ ก็ถามๆๆๆ อย่างเดียว ไม่เห็นจะให้ได้โชว์ฝีมือ ตัวผมเองผมก็มั่นใจว่า เจ๋งพอ แต่ต่อให้คุณเจ๋ง แค่ไหน ถ้าเขาไม่ให้โอกาสคุณแสดงความเจ๋ง คุณก็เจ๊ง
ผมเศร้าใจ ว่าทำไมเขาถึงไม่ยอมให้ผมได้แสดงฝีมือให้เขาเห็น จนขนาดว่าฉุน ไม่เป็นมันก็ได้โปรแกรมเมอร์ ไปรับจ้างเป็นพนักงานซ่อมคอมที่พันธิพ ก็ได้ ได้เงินเดือนมา 7 พัน เอาฟะ อย่างน้อยที่นั่น เขาก็ให้เราเสียบแรมให้เขาดู
จำเป็น ฟันธง ยกเว้นคุณเล่นพกใบเซอร์ไปเป็นกะตั๊ก แต่ก็นั่นแหละ ตอนนั้นคุณคงไม่ใช่เด็กใหม่แล้วล่ะ
มีผลแน่นอนครับ มองในมุมบริษัทก็เหมือนเค้าซื้อรถ แต่ละค่ายราคาไม่เท่ากันอยู่แล้วและคุณภาพย่อมไม่เท่ากันแน่นอน แต่บางทีเค้าเลือกแค่รถอีแต๋นเพราะงานเค้าใช้รถอีแต๋นก็พอแล้ว
แจมด้วยคน
ก็อย่างที่พูดกันละครับ ตัวสถาบันมีผลแน่นอน เช่นเดียวกับเมื่อเราทำงานไปแล้ว ประสบการณ์ที่เราผ่านที่ไหนมาบ้างก็ยังมีส่วนทำให้เราได้งานที่ใหม่ง่ายหรือยากเช่นกัน มันเป็นทั้งค่านิยมและตัวชี้วัด อาจไม่ดีหรือไม่แม่นยำแต่มันก็ใช้ได้ในระดับหนึ่ง
ถ้าคุณไม่ได้มีโอกาสได้จบจากมหาลัยเหล่านั้นก็ไม่ต้องเสียใจไปดอกครับ เพราะสนามชีวิตรอคุณอยู่อีกหลายยก แค่นี้มันเรื่องจิ๊บๆ อยู่บริษัทใหญ่ๆต่างชาติ วันดีคืนดีอาจจะโดนเลย์ออฟได้เหมือนกันนะตอนนี้ อ๊ะ เกี่ยวมั้ยนี่
มีผลแน่นอน แต่โชคดีที่เราจบและทำงานในสถาบันเดิม :D
... ถ้าของมันราคาเท่ากัน เขาก็เอายี่ห้อที่ดีกว่า และ/หรือฟังก์ชั่นเหนือกว่า...
ที่ๆดูแต่ยี่ห้อก่อนคุณภาพก็มี บริษัทสายเลือดไทยใหญ่เป็นอย่างนี้เยอะ (ex. ปิโตรเลียมชื่อดัง, ปูนมีรูปสัตว์, กระดาษอักษรซ้ำกัน เป็นต้น)ถ้ามุ่งหวังทำงานบริษัทข้ามชาติจริงๆ ก็ปั๊มเกรดกับเลือกคณะที่ใช่ครับ
ถ้ายังไง พยายามสอบเข้าสถาบันที่มีชื่อเสียงให้ได้จะดีกว่าครับ
แล้วถ้าไม่ได้ ก็แข่งโปรแกรมระดับชาติประจำปีให้ชนะเลิศ จะช่วยได้บ้าง
Kohsija
มันไม่ใช้เฉพาะโปรแกรมเมอร์หรอกครับ ทุกคณะนั่นแหละ เขาก็ต้องเลือกของดีไว้ก่อน
ในที่นี้คงหมายถึงแบรนด์ครับ เนื่องจากสามารถสร้างภาพลักษณ์หรือมีภาพลักษณ์ที่ดีมาตั้งแต่เก่าก่ิอน ให้ผมเลือกถ้าไม่มีรุ่นน้องมาให้เลือกจริง ๆ แบรนด์มาก่อนแน่นอนครับ เพราะผมมั่นใจว่าของเขาดีจริง ๆ เนื่องจากผ่านการฝึกปรือทางด้านการเรียนมาหนักหนาพอสมควร ไม่อย่างนั้นไม่มีใครแห่ไปเรียนกับแบรนด์ทั้งหลาย หรือว่าสอบแข่งขันเพื่อที่จะได้เรียนในสถานศึกษาที่มีแบรนด์ ฟันธงจ้าของมีแบรนด์เขาดีจริง ๆ
โอ .. อ่านไปๆ มาๆ รู้สึกแย่ยังไงไม่รู้
เพิ่งรู้ว่าสุดท้ายแล้ว มันก็อยู่ที่สถาบันที่เรียนมาซะอย่างนั้น ถึงเรียนเก่งแค่ไหน ถ้าจบจากสถาบันโนเนะ ก็เป็นตัวเลือกท้ายๆ อยู่ดี
ไม่คิดว่ามันเป็นการท้าทายหรอกครับ มันเป็นการเลือกปฏิบัติมากกว่า ..
สงสัยผมต้องออกจากกรอบนี้สักที !!
บล็อกของผม: http://sikachu.com
บล็อกของผม: http://sikachu.com
ยินดีต้อนรับสู้ประเทศไทย ประเทศแห่งระบบอาวุโส
ขอบ่นเรื่องไอ้โปรแกรมระกับชาติหน่อย เห็นอ้างอิงกันจัง (ชวนทะเลาะ) อันนี้ผมว่ามันวัดกันยากนะครับ ผมเห็นของหลายคนแล้ว ทำดี เจ๋ง ไม่ได้รางวัลเยอะแยะไป บางคนทำเกมสามมิติ มีฉากๆ เดียว วิ่งวนอยู่นั่นละ ดันได้รางวัล อีกคนทำเกมสองมิติ ออนไลน์ เล่นพร้อมกันได้หลายคน มีหลายฉาก ดันตก
ถามว่าเพราะอะไร ก็กรรมการไงละ กรรมการก็ไม่ต่างอะไรกับคนที่มาสอบสัมภาษณ์ละครับ ถ้าถูกใจ ใช่ +10 ถ้าไม่ถูกใจ =0
สถาบันมีผลครับ ถ้าคนรู้ว่าบริษํทนี้ เป็นสีชมพู แต่คนไม่ใช่ แล้วยังพยายามเข้าใจ ควรทำใจไว้ด้วย ไปสัมภาษณ์เค้าอาจจะเจอคนที่เค้าชอบ ก่อนถึงคิวคุณแล้ว คุณก็อาจจะโดน -10 ตั้งแต่เข้าไปแล้วด้วยซ้ำ (บางครั้งอาจจะไม่ได้เข้าไปก็ได้ บอกจะนัดมาวันหลัง)
สรุปผมว่า ความสามารถของคุณ อาจะจะใช้ไม่ได้กับบางบริษัท เพราะว่าบางบริษัทต้องการคนมากกว่าความสามารถ แต่ถึงจะหายากไปหน่อย แต่มีบริษัทที่ต้องการความสามารถคุณแน่ครับ
(ถ้าผมมีบริษัทนะ จะให้งานไปลองทำเหมือนจ้าง freelance แล้วค่อยมาคุยเรื่องทำประจำอีกที)
NSC รอบชิงปีที่แล้วหรือครับ ผมว่าเกมสามมิติที่ได้รางวัลเป็นเกมที่ดีนะครับ แม้แนวคิดจะง่ายๆ เหมือนไม่ค่อยมีอะไร แต่กราฟฟิกสวยงามน่ารัก วิธีเล่นแปลกดีเพราะผู้เล่นไม่ได้บังคับเป้าหมายโดยตรง ต่อยอดได้อีกเยอะ
เกมออนไลน์มัลติเพลเยอร์ออกจะเริ่มโหลแล้วนะ(สำหรับผม)
ต่างคนก็ต่างใจครับ อย่าคิดมาก
สมาชิกใหม่ครับ ยินดีที่ได้รู้จัก ^^
ปีที่แล้วผมไม่ไปได้ครับ เลยไม่รู้นะครับว่าเกมเป็นอย่างไร (แต่ใจความสำคัญคือกรรมการนะครับ ^^' ผมอาจจะไม่ดี ช่วยอ่านนิดนึง)
จะเอาไปบอกเจ้าตัวเค้าให้ครับ :) ถ้าได้ยินคงดีใจพิลึกเลย
เป็นรุ่นน้องผมเองน่ะครับ
ThaiGameDevX -- The First Game Developer Community in Thailand.
ตอนจบ เจอมาทั้ง บ. ที่ไม่ดูสี และดูสีครับ
บ. ที่ไม่ดูสี ที่ว่านั้น รอบชิงเหลือผมกับ ชูล่า 2 คน บ.นี้เลือกผม
(ที่บอกว่ารอบชิง เพราะรอบแรก ประมาณ 5 คนครับ ขอ msn วันแรกที่เจอกัน คุยกันตลอดครับ)
หลังฤดูกาลสัมภาษณ์แล้ว มี บ.ที่รอเซ็นสัญญากับผม 5 บ.
(แต่ผมก็ไม่ได้เลือก บ. นั้นครับ)
บาง บ. เห็นได้ชัดเลยในวันสัมภาษณ์ว่าไม่มีเพื่อนจาก ม. โนเนะ เลย
(พอดีผมชอบคุยกับคนนู้นคนนี้ เลยรู้ว่าใครจบมาจากไหน ขอ msn ไว้ด้วย คุยกันตลอด) วันสอบนี่มากันแทบทุก ม. แต่อย่างที่บอกไป
ไม่มีจาก ม. โนเนะ เลยในวันสัมภาษณ์ ผมไม่เชื่อว่าเขาจะทำข้อสอบกันไม่ได้ แต่เป็น
เพราะ บ. เลือกสี ชัวร์ (แต่ก็ยังให้โอกาสมาสอบแฮะ)
__________________________________
แม่กลอง | there's something about maeklong
ไม่ใช่สายโปรแกรมเมอร์ครับ แต่ว่า การที่นายจ้างจะเลือกคนที่จบสถาบันที่ได้รับการยอมรับมากกว่า เป็นเรื่องที่พอจะอธิบายได้
ในกรณีนี้ สองฝ่าย (นายจ้าง กับคนที่จะมาสมัคร) มีข้อมูลไม่เท่ากัน คุณรู้ว่า คุณมีความสามารถ แต่นายจ้างไม่รู้ การเข้าเรียนในสถานที่ยอดนิยม อาจจะไม่ได้ "ฝึก" ให้คุณเก่งกว่า แต่มันเป็นการ "ส่งสัญญาณ" ว่า คุณมีดีพอที่จะแบกรับต้นทุนการแข่งขันในการสอบเข้า ในการเข้าไปเรียน ในสถาบันเหล่านั้น (ถ้าถือว่า สถาบันดังๆ มี "ต้นทุน" ในการเข้าไปสูงกว่า)
คุณมีผลิตภัณฑ์สองยี่ห้อที่คุณไม่เคยใช้ อันหนึ่งยอมจ่ายเงินซื้อโฆษณาทางโทรทัศน์ อีกอันหนึ่งไม่ คนส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเลือกอันที่มีการโฆษณาครับ
ขอบคุณที่นำกระทู้ขึ้นหน้าหนึ่งให้ครับ จำนวน reply เพิ่มอย่างรวดเร็วมาก ได้ข้อมูลดีๆ เยอะเลย
ที่ผมเลือกไม่เรียนสถาบันดัง (จริงๆ แล้วไม่ใช่สถาบันไม่ดัง แต่ไม่ค่อยมีคนเรียนมากกว่า) เพราะมีเหตุผลหลายๆ อย่างครับ หนึ่งในนั้นคือเรื่องภาษา ที่ที่ผมจะเรียนเป็นหลักสูตรนานาชาติ คิดว่าคงมีประโยชน์ในวิชาชีพด้านนี้แน่นอน โดยเฉพาะกับบริษัทฝรั่ง หรือเรียนต่อโทเมืองนอก
นอกนั้นก็เป็นเรื่องการเดินทาง การแข่งขัน สังคม สิ่งแวดล้อม แต่สาเหตุที่ตั้งกระทู้นี้ เพราะไม่มั่นใจว่าเหตุผลหลายๆ อย่างของผมจะมีน้ำหนักเท่าความได้เปรียบจากสถาบันดังหรือเปล่า
เอาไว้ถ้าผมเรียนจบได้งานทำ จะมารายงานนะครับ ว่าถึงตอนนั้นจะยังเลือกสีหรือไม่สี ^^ (แต่จบไปเป็นคนซ่อมคอมก็ไม่ไหวนะ)
สมาชิกใหม่ครับ ยินดีที่ได้รู้จัก ^^
ผมทำได้ไม่นานเท่าไรครับ ซ่อมคอม สุดท้ายผมก็ได้เป็นโปรแกรมเมอร์แหละครับ เพราะเลือดในกายมันเป็น 0 1 แต่กว่าจะได้ทำงาน อย่างที่ตัวเองอยากทำ รูปหมดไปกี่โหล ไม่แน่ใจ
www.select2web.com
ขอแอบเดาว่าจะมาเป็นรุ่นน้องผมละกันนะครับ 555
ผมก็จบหลักสูตรนานาชาติ จากมหาลัยสักแห่ง (ลองค้นดูก็ได้นะครับ ขอไม่บอกละกัน เดี๋ยวจะเป็นโฆษณาไป) สาขาวิทยาศาสตร์เอกวิทยาการคอมพิวเตอร์
ตอนนี้ก็ทำงานบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่อยู่ ก็คงบอกได้ว่าเรื่องสีที่นี่ไม่ค่อยมีผลครับ แต่บ.อื่น ๆ ผมไม่แน่ใจนะ
ThaiGameDevX -- The First Game Developer Community in Thailand.
สองคำถามนี้ชอบโดนถามบ่อย ไม่เขาใจจริง ทำไหมไม่ยึดตัวเองเป็นหลักน่ะ
ไม่เรียนเป็นแฟชั่นได้ไม่ น้องชอบแนวไหน อยากประกอบอาชีพอะไร แล้วค่อยไปดูว่าอยู่คณะอะไรดีกว่าไม่ครับ ทำไม่ชอบบอก คณะโน้นดีกว่าคณะนี้ ทั้งๆที่แต่ละสาขามันมีแนวเรียนที่ต่างกัน
(ถ้าอยากรู้ว่าแต่ล่ะสาขามันแบ่งอย่างไหรก็ตามนี้ครับ Blog พี่ไท้ อาจจะไม่ถูกหมดแต่จะมองเห็นภาพ)
อย่าไปสนใจเลยเรื่องมีสีไม่มีสี ทำตัวเองมีคุณค่า สามารถทำได้ตามที่บริษัทต้องการคุณก็ผ่าน
ผมว่าน้อยครั้งที่มันจะเท่ากันจริงๆ ยังมีบริษัทอย่างว่าอยู่อีกหรือครับ เดี่ยวนี้บ้างบริษัทไม่ดูแม้แต่เกรดเลยซะด้วยซ้ำ เขาขอแค่คุณทำได้ ทำจริง มีประสบการณ์ที่แท้จริงก็พอแล้วครับ
ส่วนบริษัทที่รับมีสีก็ปล่อยเขาไปเถอะครับ ถ้าเราดีจริงเขาไม่รับก็ให้มันรู้ไป เขารับรุ่นน้องเขาสีเขาถ้าสีเขาทำไม่ดีบริษัทเขาก็เสียเวลาของเขาเองครับ อย่าไปกังวลเลยครับ
เดี่ยวช่วยตั้งอีกกระทู้ว่าก่อนเขาเรียน หรืออยากเรียนคอมแล้วต้องทำตัวอย่างไหร เพื่อรุ่นน้องๆ จะได้ดูว่าตนเองเหมาะสมกับสิ่งที่อยากจะเรียนหรือปล่าว
คนเราต่างกันไป คิดต่าง ทำต่าง
จะไม่รักเพราะคิดเหมือน จะไม่เกลียดเพราะคิดต่าง
จะแสดงออกอย่างตรงไปตรงมา และจะไม่ปลุกปั่นให้ใครต้องเห็นตามด้วย
ผมรู้เรื่องพวกนี้มาพอสมควร แต่ผมก็คิดว่าทำให้ความสามารถของตัวเองโดดเด่นเข้าไว้ ความสามารถที่ไม่มีใครขโมยไปจากเราได้ ซึ่งก็คือความรู้และความพยายาม ผมคิดอยู่เสมอว่าอยากเก่งต้องหัด อย่างถนัดต้องฝึกครับ
"ทำให้คนต้องการเรา เราก็จะอยู่รอดได้ ถ้าทำตัวให้เป็นที่ต้องการ เมื่อนั้นคนก็จะไม่ไปหาใคร" จาก Bill Gates, Pirates of Silicon Valley
Ford AntiTrust’s Blog | PHP Hoffman Framework
เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว เพิ่งคุยกับพี่คนหนึ่ง ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทซอพท์แวร์เล็ก ๆ เรื่องนี้พอดี
พี่คนนี้เล่าให้ฟังว่า สำหรับบริษัทเล็ก ๆ ส่วนมากจะรับเด็กจบใหม่ไว้ก่อน เพราะถูก พวกเก๋า ๆ จ้างไว้ไม่กี่คนก็พอ ตามประสบการณ์ เด็กจบใหม่ไม่ว่าจบสถาบันไหน ทำงานไม่เป็นเหมือนกันหมด ดังนั้น บริษัทเลยเลือกจ้างคนที่จบสถาบันไม่ดัง เกรดกลาง ๆ เพราะจ้างได้ถูกกว่า และอยู่ทนกว่า พวก feature ดี ๆ มักชอบเปลี่ยนที่ทำงาน
นอกจากนี้พี่คนนี้ยังเล่าต่ออีกว่า ส่วนมากคนที่จบสถาบันที่มีชื่อเสียง เกรดดี ๆ มักจะเรียนรู้งานเร็ว ใช้เวลาในการสอนน้อยกว่า (เข้าใจว่าระบบเอนทรานส์ จะมีผลในการวัด IQ) แต่ในระยะยาว ก็ทำงานได้พอ ๆ กัน หรืออาจต่างกันบ้าง ก็ตอนสั่งงาน ที่บางคนต้องสั่งงานพร้อมรายละเอียด ขณะอีกคนบอกแค่หัวข้อ
โดยส่วนตัว ผมคิดว่าสำหรับคนจบใหม่ สถาบันมีผลมาก เพราะ ผู้ว่าจ้างไม่รู้จะเอาอะไรวัด นอกจากสถาบันและเกรด แต่สำหรับผู้มีประสบการณ์ สถาบันคงไม่ค่อยมีผล ดู resume เอา
BioLawCom.De
ขี้เกียจไล่อ่าน reply ทั้งหมด... สรุปจากประสบการณ์ของผมแล้วกัน
คุณลองตัดสินใจก่อนว่าคุณอยากทำงานสาย IT ด้านไหน ทีนี้ลองมาพิจารณาดูว่า ถ้าคุณจบมาแล้วอยากได้งาน (จากข่าวก่อนหน้า bill gate ทำนายว่าวิกฤตเศรษฐกิจนี้ยังใช้เวลาอีก 4 ปีกว่าคุณจะเรียนจบ แสดงว่า คุณเรียนจบก็น่าจะช่วงขาขึ้นของเศรษฐกิจพอดี ดังนั้น ตำแหน่งงานว่างจะรอคุณอีกเยอะ)
ทีนี้ปัจจัยแรกคุณจะเลือกระหว่าง บ.ใหญ่ หรือ บ. เล็ก(SME) ที่คุณจะทำงานได้สบายใจกว่า (ไปหาข้อมูลเพิ่มเองว่า 2 ประเภทนี้ลักษณะการทำงานภายในแตกต่างกันอย่างไร) ผมแนะนำได้ว่าสายงานด้าน webiste ตอนนี้จะเริ่มกระจายงานไปสู่ SME มากกว่า ถ้าคุณอยากทำสายนี้จงมองหางานจาก บ.SME ไว้
ปัจจัยที่สอง... เด็กจบใหม่ไฟแรง ถ้าคุณคิดว่าไฟของคุณแรงมาก... ถ้าให้เดาผมว่าคุณอยู่ในกลุ่มไฟแรงแน่ๆ หลังจบใหม่ ถ้าคุณเข้าไปบ. ใหญ่ โอกาสที่คุณจะโดนดับไฟมีโอกาสสูง เพราะบ.ใหญ่ มีกฏเกณฑ์ ระเบียบ เส้นสาย อำนาจความเก๋าสูง สิ่งที่คุณอยากทำคุณอาจจะไม่ได้ทำ ดังนั้นไฟจะมอด งานจะเยอะ และน่าเบื่อ แก้แล้วแก้อีกกว่าจะปิด project ได้ ถ้าคุณโชคดีได้รุ่นพี่ดี คุณจะได้ process การทำงานที่เป็นระบบและมีประโยชน์ต่อคุณในอนาคต
ปัจจัยที่สาม... ชื่อสถาบัน (จากหัวข้อคำถาม) ถ้าคุณอยากทำงานบ.ใหญ่ๆ สถาบันมีผลสูงในการคัดเลือกคนเข้าทำงาน เพราะมีการแข่งขันสูงในการสมัคร สิ่งที่จะทำให้คุณโดดเด่นคือ สถาบันและเกรด... แต่ถ้าคุณจะเลือกบ. SME ...Project จบจะช่วยคุณได้มากกว่าที่คุณคิด และจะช่วยให้คุณเป็นฝ่ายเลือกมากกว่าฝ่ายถูกเลือกเข้าทำงาน
ปัจจัยสุดท้าย (ที่ผมคิดออก) จงหมั่นพัฒนาความสามารถตัวเองให้โดดเด่นกว่าคนอื่น ถ้าคุณใส่ใจกับข่าวสารโลก IT สักนิด อ่านข่าวทุกวัน แล้วใช้ความคิดและประสบการณ์ค่อยๆ วิเคราะห์ว่าสายงานคุณมันกำลังจะไปทางไหน แล้วค่อยๆ พัฒนาตัวเองไปให้โดดเด่น คุณค่าของคุณจะเพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญอย่าลืมสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นไว้เยอะๆ คนเหล่านั้นแม้จะไม่เก่งเท่าคุณ แต่เค้าจะเป็นคนที่หางานเล็กๆ น้อยๆ มาให้คุณ เพื่อสร้าง portfolio ให้คุณในอนาคต และอย่าลืมแค่ความรู้ความสามารถอย่างเดียวมันไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้คุณเป็น Profressional แต่สิ่งที่สำคัญคือการรักษาเวลา ความรับผิดชอบในการทำงาน และความสามารถในการแก้ไขปัญหาในเวลาวิกฤติ จะเป็นตัวชี้วัดว่าคุณเป็น Profressional แค่ไหน ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันมักจะมาจากประสบการณ์และสถานการณ์ที่ถูกกดดันเสมอ (จะเจอสถานการณ์เหล่านี้ได้อย่างไร ลองคิดต่อเอง)
ขอให้โชคดีนะจ้ะ
คำตอบเยอะจัด พยายามอ่านแล้วครับ แต่ไม่หมด
มีใครเอาไปทำ Vote หน่อยซิครับ จะได้ดูตัวเลขชัดๆ
สำหรับผม สั้น ๆ ครับ ที่นี่เมืองไทย สี มีผล 100% (ทั้งเรื่องเข้าทำงาน และเรื่องอื่น)
ตามคำขอครับ
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ขอบคุณครับ Lew
ตัวเลขไม่ได้ต่างจากที่คิดไว้จริงๆ แฮะ
ผมขอตอบว่ามีผลแล้วกันนะครับ แล้วค่อนข้างมากด้วย เหตุผลประกอบมีดังนี้ครับ
การเข้าม.ดังๆ หรือ คณะดังๆได้แสดงว่า คุณมีคะแนน Entrance ที่สูงครับ คำถามคือคนที่ได้คะแนนสูงกว่าฉลาดกว่าคนที่ได้คะแนนต่ำกว่ารึป่าว คำตอบคือไม่เสมอไปครับ แต่สิ่งที่บอกได้มากคือ คนที่ได้คะแนนสูงมีความรับผิดชอบและขยันมากกว่าครับ
การที่จบจาก ม. ดังๆ คณะดังๆ ได้ก็เป็นตัวบ่งชี้เช่นเดียวกับข้อแรกครับ ถ้ามีนาย A และ นาย B มาสมัครบริษัทผมโดยมีเกรดเท่ากัน แต่นาย A อยู่ ม. ดังกว่า อัตราการแข่งขันสูงกว่า ผมคงอยากรับนาย A มากกว่าครับ เพราะน่าจะบอกได้ว่าเค้าฝ่าฟันอะไรมาเยอะกว่าจนกว่าจะได้เกรดเท่ากับนาย B
สีในสถาบันมีผลครับ อย่างน้อยคนที่จบจากสถาบันนั้นมาจะรู้ว่าภายในสถาบันตนเองมีความเข้มข้นของเนื้อหาขนาดไหน ดังนั้นเค้าจะเชื่อใจคนที่จบมาจากสถาบันเดียวกันได้มากกว่าครับ
สำหรับ CPE และ CS นะครับ โดยหลักสูตรแล้ว ผมขอบอกว่าในเมืองไทยแทบไม่แตกต่างกัน ถ้าอยากดูความแตกต่างขอให้ไปดูในหลักสูตรของต่างประเทศครับ แล้วในเรื่องที่บอกว่า "มีอาจารย์เคยบอกว่า CS จะเป็นผู้คิด CE จะเป็นผู้ทำ SE จะเป็นคนคอยดูแลทั้งหมด" ผมขอแย้งนะครับ ทั้ง CS และ CPE เป็นสาขาของ Engineer ทั้งคู่ครับ และไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันในแนวนั้น ถ้าแบ่งตามหลักสูตรในต่างประเทศต้องบอกว่า CS จะเน้นที่ Software ในขณะที่ CE จะเน้นที่ Hardware ครับ ดังนั้น Lab ใน CPE ส่วนมากตาม ม. ในเมืองไทยเราจะเป็น Lab ของ CS ใน ม. ต่างประเทศนะครับ
ถ้าผมจะรับพนักงานใหม่ผมคงดูทั้งหมดครับทั้ง เกรด สถาบัน และ ผลงานครับ เกรด กับ สถาบันเป็นตัวบ่งชี้ถึงความรับผิดชอบของคุณครับ ส่วนผลงานเป็นสิ่งที่ดูความสามารถของคุณ หน้าที่ของนิสิตในสถานศึกษาคือการเรียนครับ และตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบนั้นคือเกรดครับ ดังนั้นถ้าคุณมีผลงานออกมามากมายแต่เกรดออกมาไม่ดีมันแสดงได้ว่าคุณเก่งครับแต่คุณไม่สามารถรับผิดชอบหน้าที่หลักคือการเรียนของคุณได้ ผมว่ามันก็ไม่ถูกซะทีเดียวนะครับ อยากให้มองในจุดนี้ไว้ด้วย และใน ม. ดังๆ คุณก็ต้องขับเคี่ยวกับพวกเก่งๆ ทั้งหลาย ซึ่งก็มีหลายประเภทที่คุณจะเจอ ทั้งพวกเรียนหวังเกรด พวกเก่งเพราะชอบ ฯลฯ ซึ่งการที่คุณรักษามาตรฐานการเรียนไว้ได้ก็น่าจะเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีนะครับ
ทั้งหมดนี่เป็นความเห็นส่วนตัวจากมุมมองของผมเท่านั้นนะครับ
ผมยังสงสัยว่าทำไมคุณถึงคิดว่า CS และ CPE เป็น engineering
แต่ผมกลับคิดว่าทั้ง CPE และ CS เป็นสาขาของ science สังเกตจากชื่อปริญญาของต่างประเทศเช่น USA ได้ว่าจะเป็น bachelor of science ทั้งคู่
ไม่ตายไม่เลิก
อ่อขอโทษครับผมคงสื่อผิดไปหน่อย คือทั้งสองสาขาจะมีปริญญาทั้งสองแบบครับคือ M.Sc. และ M.Eng. ครับ รวมถึงในระดับ Ph.D. ด้วยครับ แต่ผมจำชื่อปริญญาไม่ได้ ถ้าเรียนทาง M.Sc. ก็จะเน้นเพื่อต่อไปทางวิจัย และ M.Eng. จะเน้นไปทางสายวิชาชีพครับ ซึ่งโดยทั่วไปที่ผมบอกว่าเป็น Engineering เพราะว่า Computer Science และ Computer Engineering จะอยู่ในคณะ Engineering หรืออยู่ใน Applied Science มากกว่าจะอยู่รวมกับคณะด้าน Science อย่าง ฟิสิกข์ หรือ เคมีครับ ตัวอย่างที่ชัดเจนเช่น
คิดว่าตัวอย่างสำหรับ Top 3 ของ Computer Science ใน USA น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีพอนะครับ (สำหรับ CMU จะเป็น School of Computer Science โดยเฉพาะครับ) ดังนั้นคำว่า Science และ Engineering ในปริญญา หรือ วุฒิที่ได้จะแต่งต่างกับคณะที่เรียนได้นะครับ
ดังนั้นผมคิดว่าอย่าสนที่ตัววุฒิมากจะดีกว่าครับ เพราะถ้าจะเอากันจริงๆ แล้วเราจะเห็นวุฒิแปลกๆ ได้อีกครับเช่นใน Sweden จะมี Master in Interactive Design ของ Chalmers University ซึ่งเป็น Master Degree ที่เน้นด้าน Interactive Computer Graphics(อ้างอิงครับ http://www.chalmers.se/en/sections/education/masterprogrammes/programme-descriptions/interaction-design) เป็นต้นครับ
เขียนไว้เพื่อเป็นข้อมูลครับ
ครับผม มันเป็น applied science ทั้งคู่
เพราะว่าที่โน้นทั้งสองอันนี้มันแยกกันแทบไม่ออก
เรียน CS มักได้ EE มาด้วย
ไม่ตายไม่เลิก
ความเห็นส่วนตัว คนมีผลงานได้เปรียบครับ ยิ่งผลงานคุณภาพด้วย แทบไม่ไ้ด้ดูใบจบด้วยซ้ำ
สถาบันไม่สำคัญเท่าความตั้งใจครับ สั่งสมประสบการณ์ไว้ดีที่สุด
ท้ายที่สุดแล้ว ความก้าวหน้าอยู่ที่ตัวเราครับ สถาบันช่วยได้แค่ก้าวแรก
ป.ล. หลายคนที่ผมรู้จักไม่ได้จบสถาบันดีๆ แต่ Work Hard จนได้ดีมากกว่า :)
สำหรับผม ว่ามีผลแต่คงน้อยครับ ตอนนี้แต่ละบริษัท IT ส่วนใหญ่ถ้าจะรับสมัครงาน เค้าจะให้ทำแบบทดสอบ ผมว่าตรงนี้สำคัญกว่า สถาบันมาก ถ้าทดแบบทดสอบได้คะแนน ถึงระดับที่ทางบุคคลกำหนดถึงจะได้เข้าสอบสัมภาษณ์
ส่วนเรื่องที่ว่า วิศวฯ วิทยาฯ หรือสารสนเทศ นั้นมันแล้วแต่รูปแบบของงานครับ
ถ้าทำงานการเขียนโปรแกรม control Hardware ก็ต้อง วิศวฯ
ถ้าการทำงานที่มี ขั้นตอนการทำงานซับซ้อน คำนวนมาก ๆ วิทยาฯ ก็จะได้เปรียบ
ถ้าทำงานด้าน business Logic เป็นหลัก ๆ พวก บริหาร สารสนทศ ก็จะมีภาษีดีกว่าหน่อย
แต่สุดท้ายแล้ว มันก็อยู่ที่แต่ละบุคคลที่เข้าไป สมัครนะครับ ว่าเตรียมพร้อมแค่ไหน
^ ^
It's my life. Open your mind for the future.
กะผมก็ ROM ตลอดมาเช่นกัน พอเห็นมาถามแบบนี้แล้วจี๊ดเลยครับพี่น้อง
หากพิจารณาจากค่านิยมของคนไทยแล้ว เข้าคณะไหนจบมาก็งานเหมือน ๆ กัน เพื่อน ๆ ของกะผมจบวิศวะ วิทยา ไอที เริ่มต้นมันก็กลายเป็นโปรแกรมเมอร์เช่นเดียวกัน ถ้ามันจะเป็น แต่ทาง HR เค้ากลับมองว่าเช่นนี้ วิศวะ มันเข้ายาก เด็กต้องเก่งแน่ อารมณ์เหมือนเงินสด ตีค่าง่าย ๆ แบงค์ปลอมมีน้อย วิทยา คะแนนมันต่ำกว่า ดีใช่ไม่มี แต่ก็เหมือนหยก ไม่ทุบหินให้แตกก็ไม่รู้ว่ามีหยกอยู่หรือป่าว มองภายนอกมันย๊ากยาก ถ้าจะรับคงต้องคิดกันหลายที แต่สิ่งที่จะช่วยให้เค้ารับเข้าทำงานง่าย ๆ คือ ทำ resume ให้งาม ๆ แข่งบ้าแข่งบอ สอบเซอร์อะไรได้ก็สอบไป เหมือนจะทำให้ภาษีเราดีขึ้น... แต่สุดท้ายแล้วสิ่งที่ยากลำบากคือการเข้าทำงานในที่แรก แต่สิ่งทียากลำบากกว่า คือการรักษาความดีให้สามารถทำงานในที่ต่อ ๆ ไปให้ดียิ่งขึ้น
ส่วนเรื่องสถาบัน แน่นอนว่าต้องมีผลแน่ ๆ เช่นกัน ก็เหมือนหยกกับเงินสดนั่นแหละ แต่ให้ลองคิดแบบนี้
สถาบันห่วย เราทำตัวดี เราเรียนเองได้
สถาบันห่วย เราทำตัวห่วยด้วย มันก็ลงเหวชัด ๆ
สถาบันดี เราทำตัวห่วย เราก็เรียนไม่รอด
แต่ถ้าสถาบันห่วย ระบบห่วย เราต้องไปทำเรื่องไม่เป็นเรื่อง .... บางทีมันก็ไม่คุ้มค่านะ (อันนี้แอบเก็บกด)
ตัวเองได้มีโอกาสเข้าอบรมเกี่ยวกับหัวข้อการเตรียมความพร้อมก่อนก้าวสู่การหางาน หัวข้อนี้มีผู้ถามขึ้นมาเช่นกัน คำตอบที่ได้รับคือว่า ไม่ว่าจะเป็นคณะ สถาบัน เกรด ยังคงมีผลอยู่อย่างแน่นอน โดยผู้ที่ตอบคำถามนี้ ให้เหตุผลว่า บางสถาบันเน้นผลิตบุคคลากรทางด้านนี้โดยตรง(มีชื่อเสียงทางด้านนี้)ทางบริษัทจึงมั่นใจในระดับหนึ่ง ส่วนเรื่องของเกรด ท่านผู้นั้นให้เหตุผลว่า เรื่องของเกรดเป็นเรื่องที่แสดงถึงในส่วนของความรับผิดชอบอย่างหนึ่ง(ควรจะมีเกรดดีในระดับหนึ่ง) แต่ที่กล่าวมานี้เป็นความเห็นของบุคคลเพียงคนเดียว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการเลือกรับพนักงานทุกบริษัทจะเป็นแบบนี้(ส่วนตัวแล้วภาวนาอย่าให้เป็นเช่นนี้)
ถ้าถามว่าโปรแกรมเมอร์จะเก่ง สถาบันมีส่วนเกี่ยวข้องมั้ย ผมว่ามาก
:→♀MOSS♂←:A LITTLE PLANT ON THE ROCK.
จริงอยู่ว่าสถาบันมันไม่สำคัญเท่ากับความรู้ที่เรามี แต่ในความเป็นจริงแล้วเราต้องยอมรับครับว่า สิ่งที่บริษัทใช้ตัดสินใจในการรับคนเข้าทำงาน ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังเป็นแบบนั้น คือ เกรดเฉลี่ยผลการเรียน รวมทั้งชื่อเสียงของสถาบัน เพราะบริษัทเหล่านั้น ต้องการสิ่งที่จะการันตีถึงความสามารถของบุคคลที่เข้ามาสมัครงาน ถึงแม้เราจะมีความรู้ความสามารถมากเท่าไหร่ แต่ถ้าเราไม่มีสิ่งที่การันตีถึงความสามารถ ก็ยากครับที่จะทำให้เค้าเชื่อถือ บริษัทเค้าคงไม่มีเวลามาให้โอกาสเราพิสูจน์หรอกครับ เพราะตัวเลือกเค้ามีมากและในโลกนี้ก็ไม่ได้มีคนเก่งแค่คนเดียว เค้าเลยเลือกเอาจากกลุ่มคนที่มีความเป็นไปได้สูง ทั้งเรื่องความรู้ความสามารถ นั่นก็คือ พวกจบจากสถาบันดังๆ เกรดเฉลี่ยสูงๆ แม้อาจจะมีพวกของเทียมปะปนด้วยก็ตามเถอะ แต่โอกาสได้คนเก่งจริงๆ มาทำงาน ก็มีเปอร์เซ็นต์มากกว่าใช่มั้ยล่ะครับ นั่นก็คือ การลดความเสี่ยงเรื่องการรับบุคคลากรขาดคุณภาพเข้าทำงาน ส่วนเรื่องสีสถาบันนั้นจากความเห็นส่วนตัวก็มีผลอยู่ครับ เพราะการทำงานบริษัท มันหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องทำงานร่วมกันกับคนอื่น ส่วนใหญ่ก็คิดกันว่าถ้าได้คนที่จบจากที่เดียวกัน น่าจะทำให้สนิทกันง่ายขึ้นและรวมไปถึงการทำงานร่วมกันในอนาคต ถึงแม้ว่าผมจะไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไหร่ แต่ความจริงมันก็คือความจริงครับอย่าไปคิดมากอย่างน้อยๆ บริษัทก็ไม่ได้มีแค่บริษัทเดียวครับ
ถ้าบริษัทประเภท Software House ผมมองว่าแค่ว่าเราเรียนจบให้ตรงความต้องการเช่น IT,CS,COE และต้องการเกรดที่ 2.5ขึ้นไปเป็นต้น หลังจากนนั้นใช้วิธีสอบวัดความรู้โปรแกรมเมอร์ กับวัดนิสัยส่วนตัวไปด้วยจากคำถามจิตวิทยาครบ ก็หน้าจะวัดคนๆนั้นได้แล้วนะครับว่าเหมาะกับบริษัทเราหรือไม่
เลือก มหาัลัยที่ดีไว้ก่อนครับ
ทำให้ดีที่สุดเท่าที่เราจะดีได้
แล้วเรื่องราวหลังจากนั้น ไปพยายามในมหาลัยต่อ
อย่าลืมนะครับ เราไปเรียน เราไม่ได้แค่ความรู้ติดตัวออกไป
แต่เราได้สังคมเพื่อนใหม่ๆ คนเก่งๆที่มีปริมาณเยอะๆ มาสอน หรือ
แลกเปลี่ยนกับเรา โอกาสและหลายๆอย่าง
ก่อนจะจบ พยายามปรับ ทัศนะคติในการทำงาน และการอยู่ใน
สังคมให้มากๆ มองตัวเองให้ออก
ทำได้ดี ที่ไหนก็รับครับ
เท่าที่ดูๆหลายคนก็เป็น"การคาดเดาไปเอง" นะครับ
ไม่ทราบว่าใครที่เป็นคนที่รับเด็กทำงานบ้างครับ ขอมุมมองคนที่ฝ่ายบริหารบุคคลดีกว่า
มุมมองฝ่ายเทคนิคผมว่าก็มองได้ในฝ่ายเทคนิค บางทีมุมฝ่ายรับเข้ามากกว่านะครับที่น่าจะมีผลในการรับเข้า...
แต่ดูๆไป หลายคนเปิด บ.เอง ก็คงรับคนเข้ามาหลายคนบ้างล่ะนะ
มีแล้วครับ
+1 เลยครับ
เอาเข้าจริงๆ HR ก็เป็นคนกรองใบสมัครในขั้นต้นอยู่ดี ลองนึกง่ายๆ ถ้าใบสมัครกองอยู่บนโต๊ะท่าน 50 ใบ แต่ท่านบอกว่า "ฉันไม่สนหรอกว่าจบมาจากไหน คณะอะไร ฉันสนแต่ว่าเก่งหรือไม่เท่านั้น" ผมถามหน่อยว่าท่านจะคัดคนทั้ง 50 คนอย่างไร?
คงไม่มีใครจัดสอบสัมภาษณ์คน 50 คน เพื่อคัดคนแค่ 1-2 คน
คงไม่มีใครยอมเสียเวลาทดสอบคน 50 คน โดยใช้เวลาเป็นสัปดาห์ กับบุคคลากรจำนวนมาก ที่ควรจะทำงานของตนเอง แต่ต้องมาสอบคนจำนวนนี้
สุดท้ายแล้วขั้นต้นใครๆก็ต้องดูมหาลัย คณะ สาขาวิชา เกรดเฉลี่ย วิชาที่เรียนมา รวมไปถึง Thesis และประสบการณ์การทำงานทั้งนั้น ซึ่งในขั้นนี้มันก็ต้องมีคนโดนคัดออกโดยไม่ได้วัดความสามารถที่แท้จริงอยู่ดี
บางท่านอาจกล่าวว่า แล้วกรณีใบสมัครมีแค่ 5 ใบล่ะ?
งั้นผมถามท่านอีกครั้ง ท่านจะทดสอบเขาแบบไหน ถึงจะรู้ว่าเขาเก่งหรือไม่เก่งจริง? ก็ขนาดวิชาที่ท่านทั้งหลายเรียนมา 4 ปี (ป.ตรี) ท่านยังบอกว่ามันวัดอะไรไม่ได้ เกรดมันไม่ได้บอกว่าใครเก่งหรือไม่เก่ง (ซึ่งผมก็เห็นด้วย)แล้วเราจะไปทดสอบเขาอย่างไรด้วยเวลาแค่ไม่กี่นาทีหรือไม่กี่ชั่วโมง? ยากนะครับ ยากมากๆเลยด้วย ยิ่งสายนี้ด้วยแล้ว มันมีอะไรให้ทดสอบตั้งมากมาย
เพราะงั้นผมขอยืนยันเลยว่า "มีผล" ครับ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
เอาข้อสอบ computer ของ IOI ให้ทำข้อเดียว รับรองจบ (ทั้งคนตรวจและคนทำ) :(
ไม่ตายไม่เลิก
ถึงแม้คนเยอะก็ใช้การสอบก่อนไม่ใช้หรือครับ หรือคุณจะพิจารณาประวัติแล้วมาสอบที่หลังอันนี้เหนื่อยแน่ๆ
ผมเห็นบ.ส่วนใหญ่จะกรองคนด้วยการสอบเข้าก่อน จะจัดสอบที่ทำงานหรือส่งข้อสอบมาให้ทำถึงบ้านเลย
แล้วจำนวนคนมันก็น้อยลงอยู่ดี
การสอบเข้าทำงานเป็นการสอบเฉพาะเนื้อหาเฉพาะที่เราจะรับตำแหน่งนั้นไม่ใช่หรือ??
แล้วถ้าคุณไม่มีความรู้ในตำแหน่งนั้นอย่างลึกซึ่งก็คงอยู่ปลายแถว
มันไม่เหมือนตอนเรียนที่เราต้องเรียนรอบด้านแล้วก็มาวัดผลกันที่เกรด ซึ่งมันก็ต้องมีเก่งกันคนล่ะแบบ
ส่วนตัวผมไม่สนเรื่องสี สนที่ประสบการณ์ทำจริงๆได้
ส่วนเรื่องเข้าไปเรียน สังคมมีคนเก่งบ้างไม่เก่งบ้างสนุกดีออก ได้ช่วยกันเรียน ไม่ต้องมาแก่งแย้งกันเพื่อจะเอาคะแนนแล้วลืมความเป็นเพื่อน
คนเราต่างกันไป คิดต่าง ทำต่าง
จะไม่รักเพราะคิดเหมือน จะไม่เกลียดเพราะคิดต่าง
จะแสดงออกอย่างตรงไปตรงมา และจะไม่ปลุกปั่นให้ใครต้องเห็นตามด้วย
เปล่าครับ ยังไงก็คัดก่อนรอบนึงอยู่ดี คงไม่มีการจัดสอบทีเดียว 50 คนหรอกครับ (ถึงมีก็คงมีน้อย) ยังไงก็ต้องคัดออกรอบนึงก่อนด้วยการดูประวัติ เช่นคัดออกซัก 10-20 คนหรือมากกว่านั้น แล้วค่อยมาสอบ ซึ่งก็แล้วแต่ละบริษัท ว่าจะสอบสัมภาษณ์หรือข้อเขียน หรือทั้งสองอย่าง และสอบอันไหนก่อน
แค่จะชี้ให้เห็นว่า ยังไงมันก็มีผลในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งอยู่ดีครับ (ซึ่งโดยปกติมักจะเป็นขั้นตอนแรกๆ)
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ทำไม่ต้องทำอะไรซ้ำซ้อนแบบนั้นหรือครับ ไม่เหนื่อยหรือครับ ยิ่งมีเป็นร้อยคนยิ่งไม่เหนื่อยหลายรอบหรือครับ
ผมเชื่อว่าถ้าเรากรองคนด้วยการสอบ(กับข้อสอบที่ดี) ผมว่ามันจะคัดคนให้เหลือจำนวนน้อยลงได้มากๆ และก็มั่นใจว่าเขาสามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ ผลออกมามันก็จะได้ระดับคะแนนของแต่ล่ะคนไม่เท่ากัน ก็จะได้อันดับ 1 2 3 ตามที่คุณจะได้ ที่นี้ค่อยมาหลายประวัติที่หลังในกรณีที่คนเท่ากัน ว่าควรจะเลือกใคร คราวนี้แหละครับ ขึ้นอยู่วิสัยทัศน์ของ บริษัทแต่ล่ะที่ จะเลือกสี เลือกเกรด หรือเลือกประสบการณ์ (น้อยครั้งที่จะเกิดกรณีคะแนนเท่ากัน)
<mOkin/>
คนเราต่างกันไป คิดต่าง ทำต่าง
จะไม่รักเพราะคิดเหมือน จะไม่เกลียดเพราะคิดต่าง
จะแสดงออกอย่างตรงไปตรงมา และจะไม่ปลุกปั่นให้ใครต้องเห็นตามด้วย<mOkin/>
สมมุติว่าบริษัทแห่งหนึ่งมีคนส่งใบสมัครมา 100 ใบ เค้าคงจะไม่จัดสอบทีเดียว 100 คน เหมือนกับหน่วยงานราชการหรือมหาวิทยาลัยจริงมั้ยครับ เพราะถ้าทำแบบที่ว่าผมว่ายุ่งยากและเปลืองค่าใช้จ่ายครับ ถึงอย่างไรก็ต้องมีการคัดประวัติก่อนอยู่ดีครับ จาก 100 เอาคนที่น่าสนใจมาสัก 10 คน แล้วจัดสอบง่ายกว่ากันเยอะครับ
ขอบคุณครับ นั่นแหละที่ผมพยายามจะบอก ถ้าจัดสอบคน 100 คน (ด้วยข้อสอบที่ดีที่พูดถึง) คิดว่าต้องเตรียมอะไรบ้างครับ? คุณคงไม่จัดสอบด้วยกระดาษธรรมดากระมัง? ถึงจะจัดสอบด้วยกระดาษธรรมดาก็คงไม่สอบด้วยข้อสอบปรนัยกระมัง? ลองนึกภาพการตรวจข้อสอบอัตนัยของคน 100 คนสิครับ (แน่นอนว่าคงไม่สอบข้อเดียว ไม่งั้นคงไม่ใช่ข้อสอบที่ดี?) กับการคัดกรองประวัติจากใบสมัคร อันไหนยุ่งยากน้อยกว่าครับ? (แถมการคัดกรองประวัติอาจใช้ใครทำก็ได้ แต่ตรวจข้อสอบต้องใช้คนที่เก่งพอ)
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
โธ่!คุณธัง
ส่ง(อีเมล์)ข้อสอบไปให้ทำที่บ้านซิครับถ้าคนเยอะๆ จะมาทำที่บ.ทำไม่กัน
อืมดูโครงการอย่าง Google Code Jam ก็ได้ครับทำไม่เขาถึงทำได้ทั้งที่ๆ สอบกันทั่วโลก
แล้วข้อสอบที่ให้สอบไป จะมีคนทำได้ซักกี่คน จะมีคนส่งกลับซักกี่คน มันคงไม่ร้อย% แน่ๆ
ไม่รู้น่ะครับผมก็แค่เห็น เพื่อนผมที่ทำ บ.ใหญ่ไม่ว่าจะเป็น บ.ไอทีฝรั่งหรือโรงงานยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่น
หรือแม้แต่มหาลัยไทย เขาทำอย่างนี้ทั้งนั้น ส่งข้อสอบมาให้ทำถึงบ้าน สองสามวันแล้วส่งกลับมาตรวจ
หลังจากนั้นก็นัดสัมภาษณ์ ส่วนข้อสอบจะเป้นอย่างไหรแล้วแต่ตำแหน่งไป หรือบ.นั้นๆ
<mOkin/>
คนเราต่างกันไป คิดต่าง ทำต่าง
จะไม่รักเพราะคิดเหมือน จะไม่เกลียดเพราะคิดต่าง
จะแสดงออกอย่างตรงไปตรงมา และจะไม่ปลุกปั่นให้ใครต้องเห็นตามด้วย<mOkin/>
เห จริงเหรอครับ อันนี้เพิ่งเคยได้ยินจริงๆครับ ผมสนใจแฮะ ว่าแต่เขาจัดสอบแบบนี้เขาไม่กลัวจะลอกข้อสอบกันเหรอครับ หรือฝรั่งเขาไม่ลอกกัน? (ผมว่าฝรั่งก็คน คงไม่ต่างจากคนไทยเท่าไหร่มั้ง - -a) หรือว่าเขาจะไปจับผิดในตอนสัมภาษณ์อีกทีว่าลอกมารึเปล่า? แต่ถ้าสอบ 100 คน ดันลอกมาซะ 40-50 คน สุดท้ายก็ต้องเหนื่อยสัมภาษณ์อยู่ดีรึเปล่า จะว่าไปก็พูดยากเหมือนกันว่าสอบแบบนี้กับคัดกรองใบสมัครก่อนอันไหนมันยุ่งยากกว่ากัน (ถ้ามันเป็นอย่างที่ผมเดา) แต่ถ้าพูดถึงจำนวนที่ได้คืนมา (เหลือแค่ 50-60 คน) วิธีสอบน่าจะเป็นวิธีที่ดีกว่าอยู่ดี อืมๆ น่าสนใจครับ
แต่ปัญหามันก็จะกลับไปอยู่ที่ข้อสอบอีก ถ้าง่ายเกินก็ตอบได้กันหมด (หรือไปถามคนเก่งๆเอาก็ได้) ถ้ายากเกินก็ไม่มีใครทำได้ และอาจจะเกินขอบข่ายงานที่รับผิดชอบอีก (เก่งเกินแต่งานน้อย) คิดแล้วปวดหัวเลิกคิดดีกว่า - -"
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ถึงสอบได้ สมัครเข้าไปได้ แต่ทำงานไปไม่ผ่านโปร ก็โดนเด้งออกมาอยู่ดีครับ
เค้าถึงมีระยะทดลองงานไงครับ สามเดือน หกเดือน ปีนึง ก็ว่ากันไป
ThaiGameDevX -- The First Game Developer Community in Thailand.
เรื่องส่ง บ.ข้อสอบมาทางเมล์ ลองหาดูครับใน blognone ก็มีประกาศอยู่เหมือนกัน เป็นบริษัทต่างชาติ
หรือไม่ก็ มีโพสข้อสอบให้ทำกันหน้าเว็บก็มี บ.ไทย (บ.ของเด็กจบจาก จุฬา ทำเกี่ยวกับ text to speech) เป็นต้น อืม เรื่องลอกเขาไม่กลัวหรอกครับ ลอกน่ะลอกได้ แต่ถ้าคุณเขาไปแล้วทำไม่ได้ คุณจะเข้าไปทำไม่กันครับ สุดท้ายก็โดนเด้งอยู่ดี
มันไม่สำคัญเท่าไหรหรอกเรื่องขั้นตอนการรับเขา มันสำคัญที่ว่า ผู้โดนว่าจ้างจะทำงานได้จริงหรือปล่าว ไม่ได้ก็ออกอย่างเดี่ยวครับ ไม่มีใครเขาเอาไว้หรอกครับ
<mOkin/>
คนเราต่างกันไป คิดต่าง ทำต่าง
จะไม่รักเพราะคิดเหมือน จะไม่เกลียดเพราะคิดต่าง
จะแสดงออกอย่างตรงไปตรงมา และจะไม่ปลุกปั่นให้ใครต้องเห็นตามด้วย<mOkin/>
ไม่มีผลครับ ฝีมือต่างหากครับที่วัดกันเลยครับ
ตอบในฐานะ คนรับสมัคร
ไม่มีผลอย่างสิ้นเชิงค่ะ ทั้ง เกรด ทั้ง cert
ขอให้ทำข้อสอบของเราได้
และ คุยกันรู้เรื่องตอนสัมภาษณ์
เราก็รู้แล้วว่าจะรับเค้าไว้ไม๊น่ะค่ะ
สถาบันไหน จะบอกว่าเหมือน ๆ กันหมดคงไม่ได้
แต่เบ้าเดียวกัน มันคุยกันรู้เรื่องน่ะค่ะ
เคยแบบ เออ เอาคนนี้แหละ มาดูอีกที โอ๊ะ รุ่นน้องเรานี่หว่า 5 5 5
ตกลงจะบอกว่ามีผลใช่ไหมครับ - -"
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
รับสมัครพนักงาน .....
คุณสมบัติผู้สมัคร
1.จบปริญญาตรี สาขา.....
2.จบมหาลัยเอกชนเกรด 3.0 ขึ้นไป
3.จบมหาลัยรัฐเกรด 2.5 ขึ้นไป
ผมเคยเห็นที่ไหนสักแห่งนี่ละ ดังนั้นหากเทียบกับนักศึกษาจบใหม่เหมือน ๆ กันไม่เอาที่มีประสบการณ์ มีผลแน่นอน ดังนั้นท่านที่จบจากบางแห่งหรืออีกหลาย ๆ แห่ง หากท่านจบจากที่ไม่มีสี
จงหางานให้มากขึ้น แล้วโอกาสจะหามาท่านเอง คงช่วยได้แค่นี้แหละ แต่สำหรับผมเจ้านายอยากจะได้จากที่เดียวกันเป็นญาติกันหรือเพื่อนกันยิ่งดี เนื่องจากสามารถตามหาตัวหรือหากว่ามีการทุจริต จะได้เอาเพื่อน ๆ เป็นตัวประกันได้ เพราะเขาคิดว่างานมันสอนกันได้ ไม่มีใครเก่งกว่าใคร แต่ใครจะรับผิดชอบมากกว่าใครก็เท่านั้นเอง
เคยเห็นแต่เกรด 3.0 ไม่น่าเชื่อเหมือนกันว่าจะมีแบบ เอกชน 3.0 รัฐบาล 2.5 ... (แบบนี้นี่สงสัยไม่รับราชภัฎเลยมั้งเนี่ย ????)
ปล. มหาลัยผม (เอกชน) วิทยาคอม มีคนได้สูงกว่า 3.0 อยู่...ไม่ถึงสิบเปอร์เซนท์เองล่ะมั้ง ยิ่งเกียรตินิยมอันดับหนึ่งคนแรกห่างกับคนที่สอง...สิบกว่ารุ่นได้ ก็พอจะพูดได้ระดับนึงมั้งว่า่ค่อนข้างเคี่ยวน่ะครับ
ThaiGameDevX -- The First Game Developer Community in Thailand.
ลองเข้าไปดูของ ปตท. สิครับ
ผู้ประกาศอาจจะมองว่า "ที่มีน้อยๆน่ะ ไม่ใช่ว่าเคี่ยว แต่ไม่มีคนเก่งต่างหาก" ก็เลยตั้งกำแพงเกรดต่างกันแบบนั้น
เห็นด้วยกับทัศนะคติของผู้จ้างครับ แต่ไม่เป็นกับทุกคนครับ ที่เคยเจอมาครับ ก็มีเยอะครับเน้นที่ความสามารถจริง ๆ
ฝึกฝนในด้านที่ตัวเอง ชอบและถนัดที่สุด ให้ดีไว้ อย่าทิ้ง
ทำไมใครจึงเลือกวิทยาศาตร์ เพราะ ศึกษาเน้นการสร้าง การออกแบบ คอมพิวเตอร์ในเชิงลึก มากกว่า การประยุกต์ใช้ไอทีครับ หลายๆท่านผู้มีชื่อเด่นในวงการไอที ผู้สร้าง ผู้บุกเบิก มาจากสาขานี้เป็นส่วนใหญ่ครับ
และสุดท้ายความคิดเห็นผม ไม่เจาะจง ภาษาคอมฯ ไหนเป็นพิเศษครับ ทุกภาษาล้วนมีข้อดี ข้อเสีย เลือกให้เหมาะสมกับงานที่เราจะนำคอมพิวเตอร์มาช่วยแก้ปัญหาครับ
เล่าเรื่องราว-บล๊อกส่วนตัว
ผมว่ามีส่วนนะครับ ผมเองไม่มีประสบการณ์ทางการเรียนคอมพิวเตอร์หรอกนะครับ แต่ว่าเรียนมาทางวิศวะ ป ตรีจบที่นึง ป โทจบอีกที่นึง เห็นได้ชัดว่าการเรียนการสอนต่างกันมาก ยิ่งมาเรียนเอกต่างประเทศแล้วยิ่งเห็นชัดครับ ก็เข้าใจนะครับว่าทำไมบริษัทถึงรับคนที่เรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงก่อน ลองนึกแค่ว่ากว่าจะเข้ามหาวิทยาลัยพวกนี้ได้ก็แข่งขันกันน่าดู กว่าจะจบมาได้ก็ยาก เพราะฉะนั้นมันก็แสดงว่าคนจากมหาวิทยาลัยนี้เค้าีดีจริงจึงรับไว้ก่อน
"เพราะฉะนั้นมันก็แสดงว่าคนจากมหาวิทยาลัยนี้เค้าดีจริงจึงรับไว้ก่อน"
ผมคิดว่าใช้คำว่า "มีแนวโน้มดีจริง" น่าจะถูกต้องกว่านะครับ ^^ (ซึ่งผมก็คิดแบบนี้ครับ)
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
มีตอนที่เค้าอ่านใบสมัครครับ แต่จะไม่มีผลเลยตอนสัมภาษณ์
เพราะเค้าจะดูที่คาแรคเตอร์ที่คุณแสดงออก ว่าเหมาะกับองค์กรไหม
ระหว่างเรียน ควรมอง Connection ที่เกี่ยวข้องไว้เยอะๆครับ บางทีคุณอาจได้เป็นนายจ้างก่อนเรียนจบก็ได้ครับ พอจบก็จะมีแต่คนเข้ามาหาครับ
ตัวอย่างก็แบบคุณแชมป์ exteen.com ครับ
สถาบัน มีความสำคัญ เป็นทุกคณะ ทุกอาชีพ ครับ
ไม่ใช้แต่โปรแกรมเมอร์
แต่ถ้าถามว่า
"จะเป็นโปรแกรมเมอร์ คณะ/สถาบันที่จบสำคัญแค่ไหน?"
เทียบกับอะไรครับ
คณะอื่น สถาบัน จะมีความสำคัญมากกว่าหรือป่าว หรือไง งง
เดาว่าเทียบกับคณะอื่นละกัน
ความสำคัญผมว่าไม่มากนะ งานสายนี้คุณสามารถพิสูจน์ความสามารถให้คนอื่นเห็นได้ชัดด้วยซ้ำไป
ถ้าเทียบกับคณะอื่น โอกาศจะแสดงความสามารถอาจจะไม่มากเท่านี้
"มีผลแน่นอนครับ มองในมุมบริษัทก็เหมือนเค้าซื้อรถ แต่ละค่ายราคาไม่เท่ากันอยู่แล้วและคุณภาพย่อมไม่เท่ากันแน่นอน"
อันนี้คือความคิดของคนของคนที่กำลังจะเสื่อมครับ เอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับรถ
รถไม่สามารถพัฒนาความสามารถด้วยตัวเองได้ครับ ซึ่งต่างกับคนมากเหลือเกิน
แน่ใจหรือว่า ค่ายที่ดีกว่าจะผลิต ทรัพยากรที่มีคุณภาพกว่า เสมอไป
กรุณาอ้างอิงบทวิจัยด้วยครับ ทิ้ง ref ไว้เดียวตามไปอ่าน
"แต่บางทีเค้าเลือกแค่รถอีแต๋นเพราะงานเค้าใช้รถอีแต๋นก็พอแล้ว"
น่าแปลกที่บ่อยครั้ง ผมเห็นบริษัท เอา ferrari มาขับแทนรถอีแต๋น ทำงานแบบที่รถอีแต๋น จ่ายน้อยกว่าด้วยซ้ำ
ตอบหน่อยได้ไหม ทำไม ferrari ไม่ทำงานของมันมาแย่งงาน รถอีแต๋นทำ
บอกให้เอาบุญ อันนี้คือพื้นฐานของการบริหารงานง่ายๆ มากๆ
ซื้อรถ วันแรกก็คิดค่าเสื่อมราคาเลย(รู้จักป่าว ถ้าไม่รู้จักก็หัดหาข้อมูลเอาเองบ้างนะ พวกเอาแต่เรียน) เอาค่าเสื่อมราคาไปหักภาษี ตกแต่งงบการเงินได้อีกนิดหน่อย
หักค่าเสื่อมราคาหมดแล้ว ก็ได้หาประโยชน์ซาก
จ้างคน วันแรกนั่งเฉยๆ 1 เดือนผ่านไป อาจจะอ่าน Document อย่างเดียว สองเดือน ผ่านไป คุณอาจจะ ได้ อ่าน Document Train
ถ้าทำงานได้ดี เงินเดือนก็อาจขึ้นมากด้วยซ้ำ หรือถ้าทำได้ดีจริงๆ จะไปยังยอมจ่ายค่า keep คุณไว้
"ถ้าถามว่าโปรแกรมเมอร์จะเก่ง สถาบันมีส่วนเกี่ยวข้องมั้ย ผมว่ามาก"
เรียน 4 ปี จบมาจะชมกันเองว่าเก่งแล้วหรอ รู้ไหมพึ่งเริ่มต้น
เป็นอะไรก็ตาม จะเก่ง ไฝ่รู้ มีส่วนเกี่ยวข้อง ผมว่ามาที่สุด จำไว้
พูดแรงไปนิด แต่จริงครับ
เด็กจบใหม่ พอทำงานแรก ๆ ไม่ว่าจบจากที่ไหนเลเวลก็ต่างกันไม่มากหรอก ยกเว้นบางคนที่อาจจะรับงานมาโชกโชนมาในช่วงที่ยังเรียนหนังสือ แต่เท่าที่เคยเห็น ... ผมว่ามีไม่มากนักหรอกครับที่รับจ๊อบเขียนโปรแกรมตั้งแต่สมัยเรียน และก็มีไม่มากนักที่เขียนได้ดีด้วย
แต่ทุก ๆ อย่างมันก็มีข้อยกเว้นนะครับ ;-)
ThaiGameDevX -- The First Game Developer Community in Thailand.
คิดว่าสถาบันที่จบมีความสำคัญนะ
เพราะอย่างน้อยก็ทำให้นายจ้างได้อุ่นใจมาบ้างว่าเขารับคนที่จบจากสถาบันที่มีชื่อเสียง
ฉะนั้นความสามารถของคนที่จบก็น่าจะเป็นไปในทิศทางเดียวกับชื่อเสียงที่สถาบันนั้นๆมี