Panos Panay หัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ ให้สัมภาษณ์กับ Mashable ในประเด็นที่หลายคนสงสัย ว่าทำไม Surface Pro 6 และ Surface Laptop 2 ถึงยังไม่มีพอร์ต USB-C
Panay บอกว่าพอร์ต USB-C ยังไม่พร้อมใช้งาน และยังมีความสับสนอยู่มากเรื่องสายชาร์จ เช่น เราไม่สามารถนำสายชาร์จ Android มาชาร์จ Surface ได้ แม้เป็นพอร์ต USB-C เหมือนกัน เขายังระบุว่าต้องการเก็บพอร์ตแบบเดิมไว้สำหรับลูกค้ากลุ่มองค์กร
อย่างไรก็ตาม Panay ระบุว่ายินดีจะใช้พอร์ต USB-C ในอนาคต เมื่อเวลาเหมาะสม ไมโครซอฟท์จะใส่มาแน่นอน
หมายเหตุ: สินค้าอื่นใต้แบรนด์ Surface คือ Surface Go, Surface Headphones, Surface Studio 2 ใช้พอร์ต USB-C เรียบร้อยแล้ว
ที่มา - Mashable
Comments
Thunderbolt 3 ไงครับพี่??
อะไหล่มันเหลือก็บอก ตัวอื่นมันทำทีหลังผลิตใหม่หมดงี้เปล่า ฮ่าๆ
ฝั่ง Apple นี่หักดิบ Thunderbolt 3 ใน notebook ตัวเองหมดเลย ลง USB-C มาตัว ส่วน Mobile Device ก็อีกพอร์ท
คิดจะขายแค่ตลาดองค์กรแค่นั้นเหรอพี่ ผู้ใช้ตามบ้านทั่วไปล่ะ
หากใส่ USB-A และเพิ่ม USB-C มาอีกสักช่อง(เล็กกระตึ๋ง) คงไม่มีคนครหาวิจารณ์หรอกครับ
ผมตัดสินใจซื้อ Surface Go เพราะ USB-C เลยนะ เพราะผมพก Adaptor USB PD ไปไหนมาไหนอยู่แล้ว นี่ยังไม่ได้แกะใช้งาน Adaptor ที่มากับเครื่องเลย แถมตอนนี้ Dongle USB-C ก็ใช้งานได้หลากหลายมาก
จริงๆแล้วอยากได้จอใหญ่หน่อยตอนแรกห่วงเรื่องจอกับ CPU แต่ได้ใช้จริงแล้ว Pentium Gold เพียงพอต่อ everyday task ดีกว่าที่คาดไว้
เมื่อไหร่จะพร้อม
แต่ไม่ให้ Windows 10 Pro?
+1
oxygen2.me, panithi's blog
Device: HP Zbook, iPad Pro, iPhone 15PM, iPhone 16+, Nothing Phone 1
เกือบคล้อยตามที่ Panos พูดแล้วครับ จนกระทั่งเจอคอมเมนต์นี้ 5555
ถ้าจะรอตลาดองค์กรณ์ แนะนำเพิ่มพอร์ต VGA มาด้วยนะครับ
ยังใช้กันอยู่บาน
+1
ผมว่า MS ทำถูกต้องมากกว่านะครับ ในระดับองค์กร ถ้าทำเครื่องพังที มันมีค่าเสียเวลาในการซ่อมแซมมาก ไหนจะงานที่ทำอยู่อาจต้อง Format ทิ้ง รวมถึงเงินที่อาจจะต้องจ่ายเพิ่มอีก
รวมถึงว่า Surface รุ่นก่อนหน้ามี mini dp อยู่แล้วสายต่อจอก็หนีไม่พ้น mini dp to บลาๆๆ ถ้าจะให้องค์กรมาลงเงินซื้อสายใหม่มันไม่ใช่เรื่องดีเลยครับ
ผมยังไม่ค่อยได้เห็นคนทดสอบว่าถ้าเอาสายระดับ Thunderbolt มาเสียบ port ที่รับไฟได้ไม่เกิน 5 - 10 watt มันจะฟังไหม แต่ผมว่าถ้าไม่มี limit ไว้ก็ไม่น่ารอดนะ อีกอย่างนึงเราต้องคำนึงถึง Form factor surface ด้วยว่าถ้าเรายัดไฟขนาด 100 watt (ถ้าผมจำไม่ผิดนะ) ความร้อนที่เกิดขึ้นจะขนาดไหนด้วย แล้วเครื่องจะรับไหวไหม (อันนี้สำหรับการนำ Thunderbolt มาเป็น port surface นะ)
แต่จะให้ทำเป็นสองรุ่นน่าจะยากเพราะมันจะทำให้มีปัญหาเรื่อง Supply ด้วยหรือเปล่า อย่าบอกว่า Apple ทำได้แล้วทำไม MS ทำไม่ได้นะ เพราะ Ms น่าจะไม่อยากทำ surface pro / laptop แบบหลาย Form Hardware มากกว่า มันเป็นหนทางของบริษัทมั้งครับ
Apple MacBook Pro เอง Adaptor ที่ให้มาจ่ายได้แค่ 87W เองนะครับ ไม่ถึงร้อย
ส่วนเรื่องไฟ ถ้าเครื่องไม่ไหว Adaptor ก็จ่ายไฟออกมาน้อย แบบ USB-A ธรรมดาๆ ที่เราใช้กันนะครับ (เช่นเอา Adaptor จ่ายสัก 2A ไปชาร์ทอุปกรณ์เล็กๆ พวก นาฬิกา หรือมือถือเก่าๆ มันก็ออกมาน้อย
Apple MacBook ธรรมดาๆ adaptor ก็ 30W แต่ให้สายชาร์ท USB-C รองรับได้หมดนะครับ ยัน 87W
Thunderbolt คือส่งข้อมูลครับ ไม่เกี่ยวกับชาร์จ ส่วนชาร์จนั้นมันอยู่ที่เครื่องเรารับไหวแค่ไหน อแดปเตอร์ก็ปล่อยมาแค่นั้น เช่นเครื่องเรารับได้ 60W เอาอแดปเตอร์ 100W มาเสียบมันก็เข้าแค่ 60W จริง ๆ เป็นแบบนี้มานานแล้วนะครับ โนตบุคธรรมดาก็เป็นงี้ หลักการทำงานของของพวกนี้คือมันสามารถ "ดึง" ไฟได้เท่าไร แล้วตัวจ่ายไฟจ่ายได้แค่ไหนครับ
ส่วน usb pd ที่ใช้ใน usb c มันจะเหนือกว่านั้นคือมันจ่ายไฟแบบหลายระดับแรงดันไฟได้ มันเลยชาจอุปกรณ์ได้หลากหลาย เรียกว่าอแดปเตอร์ตัวเดียวชาจได้ทุกสิ่ง (ช้าเร็วอีกเรื่องตามสแปกของอแดปเตอร์)
เอาจริงๆคือแรงดันไฟเท่าเดิมแต่มันลดกระแสครับ จนได้เป็น W
ครับ ผมไม่ได้บอกว่าแรงดันเปลี่ยนนะครับสำหรับอแดปเตอร์โนตบุคทั่วไป แต่เห็นต้นทางพูดรวม ๆ ว่า watt ผมเลยไม่ได้อธิบายลึกครับ
ที่เปลี่ยนคือ usb pd ครับอันนั้นแรงดันเปลี่ยนตามอุปกรณ์ที่ใช้
อ่า องค์กรที่ออกแบบมาดีระดับหนึ่งเขาจะมีเครื่องสำรองไว้เปลี่ยนใช้งาน ส่วนเครื่องที่มีปัญหาฝ่าย SI ก็รับไปซ่อมไปพลางๆ ข้อมูลผู้ใช้ก็เก็บไว้ใน network อยู่แล้วน่ะครับ
ส่วน thunderbolt คุ้น ๆ ว่ามันเป็นสาย active เสียบไปก็ไม่น่าจะทำงานนะ
อ้างเหมือนเดิมอีกรอบ ผู้ใช้สับสน คำนี้คงใช้หากินไปอีกนานสินะจะได้ไม่เปลี่ยน
ถ้าแค่เพิ่ม usb-c มาพอร์ตนึง ไม่ตัดพอร์ตอื่น องค์กรก็ไม่บ่นหรอก
เอาจริง ๆ ก็สับสนอยู่นะครับ คนใช้ Macbook นี่พอร์ตพังไปก็หลายคน พวกหัวต่อราคาถูก ๆ นี่ทำเครื่องแพง ๆ พังมาก็เยอะ
แล้วจะให้ซื้อ Adapter แปลงเป็น HDMI แท้ ๆ ก็สู้ราคาไม่ไหว ส่วนยี่ห้ออื่น ๆ ผมยังหวั่น ๆ
สุดท้ายก็มาใช้ Xiaomi
มันไม่สบายใจเหมือนตอน USB-A เลย ถ้าอุปกรณ์เสริมไม่ดี แล้วพังที่อุปกรณ์เสริมผมก็ว่าไม่ค่อยอะไรหรอกครับ แต่นี่มันทำพอร์ตของเครื่องพังไปเลย
ก่อนหน้านั้นผมคิดว่า USB-C อะไร ๆ ก็เหมือนกันซื้อตัวละ 100 - 200 มาก็ได้ที่ไหนได้มันไม่ใช่แบบนั้นน่ะสิครับ
มันพังง่ายแบบนั้นเลยเหรอครับ มีข้อมูลมีข่าวให้อ่านมั้ยครับ
https://www.blognone.com/node/77599
"With the first link, the chain is forged. The first speech censured, the first thought forbidden, the first freedom denied, chains us all irrevocably."
คือในนั้นผมก็อ่านและเข้าไปตอบอยู่ครับ ซึ่งข่าวนั้นก็ตั้งแต่ปี 2016 แล้ว ตอนนี้รอบๆ ตัวก็ยังไม่เคยเจอคนที่มีปัญหานี้เลย ก็เลยสงสัยว่ามันมีการพังอะไรมากมายขนาดที่ว่าเป็นปัญหาขั้นวิกฤติระดับไหนแล้ว และสองปี่ที่ผ่านมามันไม่มีการปรับปรุงอุปกรณ์เพื่อป้องกันเหตุการณ์ทำนองนี้เลยเหรอ
ตอนนี้ก็กำลังคิดอยู่ว่าถ้ามันมีความเสี่ยงในการใช้งานขนาดนี้ แสดงว่าต้องมีอะไรผิดพลาดในขั้นตอนการออกแบบแล้วล่ะ ซึ่งพอลองมองย้อนกลับมาในโลกแห่งความเป็นจริง มันก็มีหลายอย่างที่ผู้ใช้ก็จำเป็นต้องศึกษาและใช้งานผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้เหมาะสม อย่างขับรถเติมน้ำมันเบนซินเห็นว่าเติมพวกแก๊สโซฮอลต่างๆ ก็ได้เหมือนกัน เลยลองไปเติมดีเซลดูบ้าง พอเครื่องพังก็ออกมาโวยวายแบบนี้ก็อาจจะเทียบได้กับคนที่ซื้ออุปกรณ์เสริมที่ไม่เหมาะสมมาใช้แล้วทำให้เครื่องพังแล้วก็โวยวายได้เหมือนกัน
มันไม่ใช่เพราะ user error หรอกหรอที่ทำให้เครื่องพังอ่ะ คุณจะซื้อ 50-100 บาทมา แล้วบอกว่ามันไม่ได้มาตรฐาน ก็เห็นแก่ของถูกเองนี่ครับ พวก Mico USB ที่ใช้ๆกัน มันรับไฟกันไม่เยอะนิ เลยไม่เป็นอะไรเลย แต่ C รับได้หลายระดับ และเหมือนว่าตรงหัวจะต่างจากตัวก่อนหน้าอีกนะ
พวกไฟฟ้านี่ ยอมซื้อแพงหน่อยแต่อุ่นใจกว่าเยอะ
มันไม่ใช่ user error แน่นอนครับ เพราะมันไม่มีมาตรฐานบังคับว่า หัวชาร์จตัวนี้รองรับไฟเท่าแจ้งให้ชัดเจน ถามว่าของแพงมันอุ่นใจกว่าแต่เราก็ไม่มีทางรู้ว่าเพราะแค่ขึ้นราคาขายเฉยๆหรือเปล่าใช่ไหมละครับ จะบอกว่าต้องซื้อของแบรนด์เท่านั้นมันก็เป็นความล้มเหลวของมาตรฐาน usb-c เลยครับ ว่าทำมาตรฐานมาแต่มีสินค้าที่ทำมาตรฐานไม่ได้มาขายเกลื้อนแล้วทำของคนใช้พังด้วย
ผมก็ไม่เห็นด้วยนะครับถ้าจะนับเป็น user error แค่เพราะราคาถูก เพราะ user เห็นว่าเสียบได้และผู้ผลิตเคลมว่าใช้งานได้ แต่เป็นความผิดของผู้ผลิตที่ปล่อยสินค้าไม่มีคุณภาพออกมา
user ใช้ผิดวิธีครับถึงจะเรียกว่า user error อันนี้ใช้ถูกวิธีแต่ของมันห่วย
ผมใช้หัวแปลงให้สายชาร์จ ThinkPad X1 จาก USB-C ให้กลายเป็นคล้ายๆ MacSafe ของ Macbook Pro รุ่นเก่า จริงๆ มันทำมาขาย MBP รุ่นใหม่ที่ใช้ USB-C แหละครับ แต่ผมเอามาใช้กับ X1 ใครก็ได้ช่วยให้ความเห็นหน่อยว่ามันจะไม่ทำเครื่องผมพังครับ
https://www.snapnator.com/store/products/131525-snapnator-pro-magnetic-connector-for-usb-c-macbook-and-other-type-c-devices
ถ้ามองในมุมองค์กรนี่ผมเห็นด้วยกับ Microsoft นะ
เอาจริงๆมองในมุม Consumer ก็เห็นด้วย
พอพอร์ตมันเป็น Universal แล้วอะไรๆมันต้องทำมาเพื่อป้องกันปัญหาจากความ Universal ค่อนข้างมาก และองค์กรโดยทั่วไป มี PC/Laptop ไว้ใช้ ไม่ใช่ไว้ดูแลซะด้วย (ดูตัวอย่างงาน IT Support ในบ้านเราก็ได้)
ถ้าต้องให้ USB มาพอร์ตเดียวก็เรื่องนึง แต่ถ้ามีพอร์ตที่สองสามสี่ การจะให้ USB-C พอร์ตไหนเป็นพอร์ตที่ PD ได้ พอร์ตไหนไม่ได้ก็ต้องป้องกันไว้ทั้งหมดทั้งปวง เสียบชาร์ตผิดพอร์ตแล้วพังเอยอะไรเลย
แล้วยังไม่นับว่าเจอ USB-C Supply ที่ไม่ได้มาตรฐานอีก หรือความเข้าใจผิดอื่นๆที่ว่า หัวมันก็เหมือนกันต้องใช้กันได้อีก .. ในฝั่งอุปกรณ์นี้เอาจริงๆ นอกจากซื้อของแท้(ซึ่งสามารถตั้งราคาได้ตามใจ) ก็จะตัดสิทธิ์การใช้อุปกรณ์อื่นที่ไม่ได้ certify ไปเลยเพราะเสี่ยง .. อุปกรณ์นี้นอกจาก Supply แล้ว สายที่ห่วยก็มีผล
ในมุมของ User error ถ้าบอกว่า User ต้องรู้ ... ให้กลับไปดูอาชีพ IT Support ในบ้านเรา ว่าทรมานกับปัญหาขนาดไหน ... user องค์กรไม่รักษาของหรอก แล้วก็พิสูจน์ว่าพังเพราะ user พลาดยากเย็นด้วย
ปล. มีเคสศึกษาเยอะอยู่เหมือนกันนะครับ
ปล.2. อะไรที่มีภาครับไฟ กับ ภาคจ่ายไฟอยู่ด้วยกันนี่มันอ่อนไหวนะครับ ตอนเป็นพอร์ตมือถือคือคนส่วนมากก็ใช้กับที่ชาร์จมือถือ 5V/3A (12V/1.5A-3A) กัน มันยังไม่ค่อยอันตรายเท่าไร (และ USB-PD Adapter ที่ขายในตลาดตอนนี้มีแต่ของแพง) ... แต่พอขยับมาเป็นฝั่ง notebook นี่ความเข้าใจกับวิถีชีวิต การใช้งานมันต่างกับมือถือเลย
ถ้าอย่าง MacBook Pro นี่ USB-C ทุกพอร์ท ใช้ชาร์ทได้ทุกพอร์ทนะครับ ออกแบบรอบคอบมาก เหมือนตอน USB 3.0 มาใหม่ๆ ก็ใส่ USB 3.0 ทั้งหมด ไม่เหมือน notebook ยี่ห้ออื่น ใส่ USB 2.0 ปน 3.0 ทำให้ผู้ใช้สับสน ต้องมานั่งดูสีว่าพอร์ทสีฟ้าหรือเปล่า
usb-C..ทำไมอยากได้หรือ? โดยปกติตัว3ก็ใช้ได้ไม่มีปัญหาเหมือนตัวC..หรือว่า ตามความนิยมตลาดอีกประเภทเท่านั้น
https://www.blognone.com/node/105623#cid-1074081
คนที่ใช้แลปท็อปที่เป็น PD อยู่แล้วสามารถใช้อแดปเตอร์ตัวเดียวร่วมกันอุปกรณ์ที่เป็น PD อื่น ก็ไม่ต้องซื้ออแดปเตอร์หลายตัวน่ะครับ (สำหรับคนที่ชาร์จที่บ้านกับที่ทำงานก็ต้องมีอแดปเตอร์สองตัวแล้วล่ะครับ)
รอ USB ตัวใหม่ออกมา MS ค่อยเปลี่ยนก็ยังไม่สายนะ ตอนนั้นตลาดโลกไม่ว่าจะองค์กรหรือผู้ใช้ทั่วไปคงพร้อมแล้วล่ะ
ถ้าไม่ยอมเปลี่ยนมันก็จะช้าอยู่แบบนี้ 55+
มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ
ถ้าใส่มาบอดี้จะสวยกว่านี้ เหลือรู USB c แค่รูเดียว ที่เหลือไปต่อที่ HUB
NB ผมมี USB-c มือถือชาต USB-C ถ้าเสียบสายชาต USBA to USBC ชาต 5 ชั่วโมง
ถ้าเสียบ USBC to USBC ชาต 1.5 ขม แค่นี้ก็เป็นประโยชน์กับผมสุดๆ พกแค่ NB ก็ชาตมือถือได้ ไม่ได้พกอีก adaptor
เท่าที่อ่านๆ คือไอ้เจ้าตัวนี้มันเอาไว้ชาร์จไฟใช่มั๊ยครับ
ไม่สนใจตลาดบ้าน ๆ เจาะแต่องค์กร ก็แล้วแต่
ลองบอกเหตุผลสิว่าทำไมถึงให้ Windows 10 Home กับตลาดองค์กร
ผมคิดว่าเป็นเรื่องของต้นทุนการผลิตมากกว่า ถ้าใส่ usb-c ตอนนี้อาจจะยังไม่คุ้มทุน เลยเก็บไว้รุ่นต่อไป (อาจจะเป็น surface pro 7)
คิดว่าน่าจะเก็บ USB-C เอาไว้สำหรับตัว All New Design นะครับ
ไม่กล้า หักดิบ แบบ เอเปิล สินะ
ขาย Windows 7 ต่อด้วยสิ
ไอ้ที่ไม่ให้ usb-c ยังพอเข้าใจได้ แต่ที่ไม่เข้าใจคือ ทำไมไม่ให้ windows 10 pro ในเมื่อทำมาเพื่อขายให้พวกลูกค้ากลุ่มองค์กร
เพราะผู้ใช้ในองค์กรยังไม่พร้อมใช้งาน และยังมีความสับสนอยู่มากกับ windows 10 pro ครับ