มีรายงานจากผู้ใช้ Apple Watch Series 4 ในออสเตรเลียบางคน พบปัญหานาฬิการีบูทวนติดลูปไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งแบตเตอรี่หมด ซึ่งเมื่อพิจารณาสาเหตุแล้ว พบว่าทุกรายล้วนตั้งค่าหน้าปัดนาฬิกา (Watchface) เป็นรูปแบบที่มีการแสดงผล Infograph หรือคะแนนการทำกิจกรรมในแต่ละวัน (Activity)
ปัญหาก็คือในคืนที่ผ่านมา ออสเตรเลียมีการปรับเวลาออมแสง (Daylight Saving Time) ให้เร็วขึ้น 1 ชั่วโมง จึงน่าจะเป็นเหตุให้กราฟ Infograph เกิดการขาดช่วงไปและเกิดปัญหานาฬิกาค้างจนรีบูทวนนั่นเอง ซึ่งเมื่อผู้ใช้บางรายได้ลองเปลี่ยนรูปแบบหน้าปัดเป็นตัวที่ไม่แสดง Infograph ผ่านแอป Apple Watch ใน iPhone ปัญหานี้ก็หายไป
แอปเปิลยังไม่ได้ออกมาชี้แจงรายละเอียดหรือวิธีแก้ไขเบื้องต้น แต่คาดว่าแอปเปิลก็คงออกตัวอัพเดตแก้ปัญหานี้ออกมาเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากในยุโรปและอเมริกาจะมีการปรับเวลาออมแสงในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้ ทั้งนี้แอปเปิลกับปัญหา Daylight Saving Time นั้น ไม่ ได้ เป็น เรื่อง ใหม่ แต่อย่างใด
ที่มา: 9to5Mac
Comments
DST จะมีไปเพื่ออะไร ในเมื่อมีผลการวิจัยมากมายที่บอดเป็นเสียงเดียวกันว่า "เปล่าประโยชน์และไร้สาระ"
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ผมก็สงสัยมีไว้ทำไมหว่า เวลามัน 24 ชม. เท่าเดิม
คือเรื่องประหยัดพลังงานนั่นมันก็ไม่ช่วยหรอครับ หรือว่าก็ยังทำกิจกรรมเหมือนเดิม
ไม่ช่วยครับ ไม่ใช่แค่ทำให้พลังงานถูกใช้มากกว่าเดิม แถมมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิตมีมากกว่าเดิมด้วย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
มันก็ไม่ไร้ประโยชน์ซะทีเดียวนะครับ อาจจะไม่ได้มีผลกับคนสักเท่าไหร่ แต่มีผลกับอุปกรณ์พวกที่ตั้งเวลาการทำงานต่างๆ
เช่น Time Switch ตั้งเวลาเปิด/ปิด ไฟถนน ไฟตามอาคารสถานที่ต่างๆ ทำให้ประหยัดพลังงานได้ถึง 1 ชั่วโมง
เอ้อ ผมไม่เคยมองในมุมนี้เลยแฮะ ดูจำเป็นขึ้นมาเลย
ผมว่ามันไม่ได้ประหยัดลงเลยนะ เผลอ ๆ ต้องใช้มากขึ้นจากการเปิดไฟเร็วขึ้นด้วยมั้งน่ะ
ประหยัดครับ เช่น ช่วง Winter ตั้งเวลาเปิดไฟไว้ 17.30 น. และปิดตอน 6.30 น.
พอเปิด DST และอยู่ในช่วง Summer เวลาที่ตั้งเปิดไว้ 17.30 น. มันจะไปเปิดที่ 18.00 น. และปิดตอน 6.00 น. แทนครับ
Time Switch บางรุ่นตั้งเวลา Sunrise และ Sunset ได้ด้วยนะครับ ทำให้มีความแม่นยำขึ้นไปได้อีก
*** ทำไมเมืองนอกไม่ใช้สวิตช์แสง (Light Activated Switch) แบบบ้านเรา ***
เพราะความแม่นยำมันไม่ได้ครับ อย่างเมืองหนาว สวิตช์แสงราคาถูกไม่ทำงาน เพราะความร้อนที่ตัวสวิตช์ไม่พอเปลี่ยนสถานะตัวเทอร์โมสตัท หรือหิมะปกคลุมตัวรับแสง ทำให้ทำงานไม่ได้ เป็นต้น เลยทำให้ Time Switch นิยมกว่า ไม่งั้นก็ใช้แบบ Manual ไปหรือควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์เลย แต่ก็นั่นแหละ หลีกเลี่ยง DST ไม่พ้นอีก
สวิตช์แสง กับพวก จับการเคลื่อนไหว ห่วยมากครับ ในหมู่บ้านผม ติดแบบ outdoor พอกลางคืนนี่ ติดๆ ดับๆ ตลอด มีคนไม่มีคนก็ติดดับๆ ไม่รู้จับใบไม้ไหวหรือไงก็ไม่รู้ ฮ่าๆ
คุมด้วยคอมนี่เลี่ยง DST ได้สิครับ ไม่จำเป็นต้อง fix เวลาเลย ตั้งเปิดปิดตามเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ตก แต่ละวันเลยก็ยังได้ แต่ระบบพวกนี้มีมานาน บางระบบก็คงไม่คุ้มที่จะเปลี่ยน
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
-
Jusci - Google Plus - Twitter
ผมว่าปัญหามันไม่ได้เกิดจาก DST นะ
ต้องบอกว่าเป็น Legacy จากในอดีตครับ ถ้าผมจำที่เคยอ่านมาไม่ผิด คนคิดเขาต้องการจะประหยัดเทียน แล้วก็ทำต่อกันมาจนปัจจุบัน
เรื่องนี้ก็แนวเดียวกับสิ่งที่ทำตามกันมาอีกหลายอย่าง ซึ่งก็ไม่ยอมเปลี่ยนทั้งที่ควรเปลี่ยนได้แล้ว เช่น Imperial Unit / ปลั๊กไฟ ฯลฯ แต่ DST จริงๆ น่าจะเปลี่ยนง่ายสุดแล้ว
ทำงานบริษัท Germany เกลียดมากกกกกกกก กับ DST เนี่ย
ปีหนึ่งๆ 2 หน ทำ DB, Client application เพี้ยนไปหมด เพราะ developers เสือกใช้ DB เป็น เวลา local ที่ Munich แต่บริษัทดันขาย service ได้ทั่วโลก
เบื่อจะด่า software development
บางที dev ก็ไม่สามารถเลือกได้ครับ เพราะ "มันเป็นนโยบายบริษัท" มาตั้งแต่เก่าแก่โน่นเลย
(ผมก็เจอ)
ของแบบนี้ ต้องแก้ไขแบบหักดิบกันไปข้างครับ ถึงจะเกิดการพัฒนา คล้ายปัญหาเรื่องศาสนาเลย เคร่งครัดมาก แต่ไม่ปรับตามยุคสมัย สร้างปัญหามากมายจนคนเกลียดหรือไม่นับถือใครเลยก็มี
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว