Facebook พยายามแก้ไขปัญหาความเกลียดชังในพม่ามาได้ระยะหนึ่งแล้ว เนื่องจาก Facebook เป็นหนึ่งในตัวกระตุ้นสำคัญต่อเหตุสลดและการฆาตกรรมชาวโรฮิงญา เช่น แบนเพจที่มีส่วนเผยแพร่ความเกลียดชัง เพิ่มบุคลากรแก้ปัญหานี้โดยตรง
Facebook เผยว่าในการแก้ปัญหาได้ร่วมมือกับ Business for Social Responsibility หรือ BSR องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ในการทำรายงานและหาแนวทางแก้ไขปัญหาในพม่า
ผลการรายงานคือ Facebook มีสิ่งต้องทำอีกมากในการแก้ปัญหานี้ ที่สำคัญที่สุดคือ Facebook ต้องบังคับใช้นโยบายด้านเนื้อหาอย่างเคร่งครัด และเพิ่มการมีส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่ในพม่าและกลุ่มประชาสังคมในพม่าด้วย รวมทั้งต้องเตรียมรับมือกับข้อมูลเท็จข่าวปลอมที่อาจแพร่สะพัดในช่วงเลือกตั้งพม่าปี 2020
BSR ยังระบุด้วยว่าการที่ Facebook ร่วมมือกับภาคประชาชนในท้องถิ่น จะช่วยให้การแก้ปัญหามีความคืบหน้า แต่ในขณะเดียวกัน กลุ่มคนที่ Facebook ทำงานด้วยนั้นอาจถูกเพ่งเล็งจากฝ่ายรัฐบาลพม่าเอง
ในไตรมาสสามของปี 2018 Facebook ได้จัดการกับเนื้อหา 64,000 ชิ้นที่เข้าข่ายเป็นข้อความสร้างความเกลียดชังของแพลตฟอร์ม 63% สามารถใช้ซอฟต์แวร์จัดการเนื้อหาได้ ซึ่งทำได้มากกว่าไตรมาสก่อนหน้าที่ทำได้ 52%
ผู้อ่านสามารถดูรายงานแบบละเอียดได้ ที่นี่
ที่มา - Aljazeera
Comments
ประเด็นละเอียดอ่อน พอๆกับบางเรื่องในไทย
เอาแค่ FB ไม่ส่งข้อมูลส่วนตัวหรือ IPให้พวกล่าแม่มดได้ ก็น่าจะดีระดับหนึ่งแล้ว
ปัญหาเกิดจากระบบกับคนใช้ในท้องถิ่นพัฒนาไม่สอดคล้องกัน แบบเฟตมีชื่อบ้านเราบางที่ก็โพสเวปพนันเวปอนาจารเป็นหลัก หรือบางที่ก็เป็อวตาลโพสด่าใส่ร้ายกันแบบไม่มีหลัฐานก็มาก เอาผิดก็ยาก ปิดก็ไม่ได้ ถ้าทำเกตเวแบบai และเป็นระบบที่เปิดเผยว่ากลองอะไรบ้างน่าจะเหมาะกับประเทศที่มีปัญหาแนวนี้ เพราะกว่าจะสะสมลูกบ้านก็นานปิดเปิดใหม่ก็ต้องใช้เวลา น่าจะป้องกันการปลุกกระแสได้ในระดับนึง จนกว่าจะเจอต้นตอ ดีกว่าไปออกกดหมายที่มีอำนาจมากเกินไป แล้วมีแนวโนมจะถูกใช้กับบางคนในข่าวก่อนๆ