ช่วงนี้เห็นผู้คนคุยกันว่าแรม DDR4 สำหรับพีซีราคาเริ่มมีแนวโน้มลดลง ล่าสุดมีข่าวจาก SK Hynix แบรนด์ผู้ผลิตชิปเมมโมรีใหญ่อันดับสองของโลก ออกมาระบุว่า แรมแบบ DDR5 พร้อมแล้วที่จะเปิดตัวลงตลาดในปี 2020 นี้ และขณะเดียวกันก็กำลังวางแผนพัฒนา DDR6 อยู่ซึ่งจะเริ่มผลิตในระยะห้าถึงหกปีข้างหน้า
ส่วนสเปคของ DDR5 ที่ SK Hynix ระบุไว้เมื่อปลายปี 2018 คือชิปชิ้นหนึ่งมีความจุ 16Gb (หรือ 2GB) สามารถทำงานได้ที่ 5200MT/s (เข้าใจได้ว่าเป็น 5200MHz) ที่แรงดันไฟ 1.1 โวลต์ จะทำแบนวิดธ์ได้เป็นสองเท่าของ DDR4-2666 ซึ่งวางแผนจะนำไปใช้กับวงการรถยนต์ในอนาคตด้วย
ที่มา - CDRinfo
ภาพประกอบ DDR5 จากข่าวประชาสัมพันธ์ของ SK Hynix
Comments
เริ่มต้นอันละ64GBคงหมดปัญหาแรมไม่พอไปอีกนาน
ผมดีใจมากครับ ในที่สุดก็จะได้หมดปัญหาเปิดโครมได้แค่แท็ปเดียว
ยังใช้ DDR3 อยู่เลย
ที่ Office พึ่งเปลี่ยนเครื่อง DDR2 โล๊ะทิ้งบานเลยครับ ตอนนี้ 3กับ4 ล้วนๆๆ
DDR4 แพงมาก
เปลี่ยนเมนบอร์ดทีก็โละแรมทิ้งที เมนบอร์ดอันต่อไปนี่น่าจะรองรับ ddr5 นี่แหละ
DDR5 จะมีความเร็วเริ่มจาก 3200MT/s per pin ถึง 6400MT/s ต่อขา ดังนี้
-มี Bus clock เริ่มต้นตามมาตรฐานที่ 1600 MHZ(3200 MT/s)(3.2GT/s)(51.2 Gbps)(5120 MB/s)(5.12 GB/s) Dual Channel
-มี Bus clock สูงสุดตามมาตรฐานที่ 3200 MHz(6400MT/s)(6.4GT/s)(102.4 Gbps)(12800 MB/s)(12.8 GB/s) Dual Channel
-มีจำนวนขา 288 ขาเท่ากับ DDR4 แต่มีรอยบากไม่ตรงกันเพื่อป้องกันการเสียบหน่วยความจำผิดประเภทที่ใช้แรงดันไฟต่างกัน
และจากการทดสอบของ SK เองโดยใช้หน่วยความจำ DDR5 แบบชนิด RDIMM จำนวน 1 แถว (Single Chennel)ที่มีความเร็ว 5200MT/s/p หรือมีเบสบัสคล๊อคที่ 2600MHz สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 41.6 Gbps/p หรือมีความเร็ว 5.2 GB/s/p เลยทีเดียว
ที่มา
https://www.techquila.co.in/sk-hynix-develops-first-16-gb-ddr5-5200-memory-chip/
แปลกที่ทำไมไม่ทำ Slot เดียวแต่อัพเกรดสเปคแบบ PCI-E, SATA หรือ USB เนี่ย กลายเป็นอัพเกรดทั้งที ต้องซื้อบอร์ดใหม่เลย ย้อนแย้งเป็นบ้า ปัญหานี้รวมไปถึง CPU ด้วย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
มันเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมในแต่ละยุคด้วยครับ เมื่อต้องการเพิ่มความเร็วให้มากกว่าเดิมจำเป็นต้องออกแบบใหม่ แต่ที่ไม่ทำให้ใช้กับของเก่าไม่ได้โดยเฉพาะอินเทล ก็ด้วยเหตุผลด้านการค้า อย่าง Ship X570 กับ X470 ของค่ายเอเอ็มดี ต่างกันตรงที่ รองรับ PCIE แบบ 4.0 กับ 3.0 เท่านั้น แต่เมื่อมองดูตลาด VGA จะพบว่า ยังไม่มีการ์ดจอเจ้าไหนที่ใช้แบนด์วิดท์เกิน 16 GB/s ที่ PCIE 3.0 สามารถรองรับได้ในปัจจุบัน เพราะ GTX 2080Ti เองก็วิ่งได้สูงสุดที่ 14GB/s เท่านั้น แต่ตามเนื้อหาข่าวที่ถูกเปิดเผยในเบื้องต้น X570 จะออกมากลาง ๆ ปี หรือราว ๆ ต้นเดือนมิถุนายน ในตอนนั้นคงจะมีการ์ดจอที่มีความเร็ว มากกว่า 16GB/s ก็อาจเป็นได้ แต่คาดว่าน่าจะเป็นปลายปี 2019 หรือราว ต้นปี 2020 ถึงจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นรหัส 3000 สำหรับค่ายเขียว สำหรับหน่วยความจำที่ต้องเปลี่ยนแนวช่องเสียบใหม่ก็ด้วยเหตุผลด้านพลังงาน เป็นเพราะ DDR5 ผลิตที่ความละเอียดที่ 10 นาโนเมตเตอร์ ทำให้ต้องการไฟเลี้ยงเพียง 1.1 โวลต์ในขณะที่ DDR4 ใช้ไฟเลี้ยงที่ 1.2 โวลต์ และส่วนที่ต่างคือ ซีพียูในตระกูลใหม่บางตัว อาจจะมีระบบควบคุมหน่วยความจำทั้งแบบ DDR4 และ DDR5 แต่บางรุ่นอาจจะมีแต่ DDR5 เพียงอย่างเดียว ทำให้เมนบอร์ดบางรุ่นที่ใช้ DDR5 จึงไม่รองรับ DDR4 เพื่อเป็นการเปลี่ยนแปลงให้ผู้คนหันไปใช้ของที่ใหม่ขึ้น นั่นเอง. (และที่สำคัญคือ เพื่อขายของหรือการค้านั่นแหล่ะ สำคัญที่สุด ๆๆ)
ถ้ามันวิ่งไม่ถึงก็ปรับไปวิ่ง PCIe 4.0 x8 ครับ เลนก็เหลือไปทำอย่างอื่นได้อีกเยอะ
เอาเข้าจริง ปัจจุบันมี PCI-E หลายๆ lane ให้ได้มากสุดเป็นดีครับ เช่นอย่าง NVMe เองก็วิ่งบน PCI-E ด้วย หาก AMD ให้ CPU control PCI-E แบบปัจจุบันการมี PCI-E ให้ใหม่สุด มากสุด ถือว่าเป็นจุดขายที่ดีอย่างหนึ่งเลย ตรงนี้ผมว่า AMD มองเกมถูก
เข้าใจผิดแล้วครับ PCI-E bandwidth กับ VRAM memory bandwidth เป็นคนละตัวกันนะครับ
PCI-E bandwidth คือ bandwidth ระหว่าง CPU-GPU ครับ ส่วน VRAM เป็น internal bandwidth มีไว้ให้ GPU ใช้เท่านั้น ไม่ได้เอามาวิ่งผ่าน PCI-E โดยตรง
ตัวเลข 14GB/s สำหรับ 2080Ti นี่คงไม่ใช่ครับ น่าจะเป็นตัวเลข 14Gbps หรือจะพูดให้ถูกขึ้นมาหน่อยคือตัวเลข 14GT/s ที่เป็น memory speed/transfer ต่อพิน ของ VRAM ครับ ดังนั้นถ้าพูดถึง memory bandwidth จริงๆจะเป็น transfer*bus_width ซึ่งเท่ากับ 14GT/s*4928bit = 4928Gbps = 616GB/s ครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ตัวเลข 14GB/s สำหรับ 2080Ti นี่คงไม่ใช่ครับ น่าจะเป็นตัวเลข 14Gbps หรือจะพูดให้ถูกขึ้นมาหน่อยคือตัวเลข 14GT/s ที่เป็น memory speed/transfer ต่อพิน ของ VRAM ครับ ดังนั้นถ้าพูดถึง memory bandwidth จริงๆจะเป็น transferbus_width ซึ่งเท่ากับ 14GT/s4928bit = 4928Gbps = 616GB/s ครับ(อันนี้ถูกต้องแล้วครับไม่ผิด Memory Speed 14GB/s นั่นแปลงจากพินของ 14GT/s(14Gb/s/p) ให้แล้วครับ ความเร็วที่ GDDR6 ที่ค่ายเขียวเลือกใช้)
ที่ผมเคยเขียนไว้ลองไปพิจารณาดูครับ ปริมาณความเร็วของ PCIE ในแต่ละรุ่น :
ภายในปีนี้ ระบบพีซีไออีบัส แบบ เวอร์ชั่น 4.0 จะถูกนำมาใช้ทดแทน เวอร์ชั่น 3.0 ซึ่งกำลังจะถึงทางตันแล้ว
ประสิทธิภาพ PCI-E ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ความเร็วต่อลิงค์ ดังนี้
รุ่น 1.0,a,1
เริ่มปี 2003
ขนส่งข้อมูลใช้ 8 bit/ถอดรหัสข้อมูลใช้ 10 bit ต่อ link (8bit/10bit)
มีความเร็วต่อลิ้งที่ 2.5 GT/s
ความเร็วเริ่มต้น 250MB/s(1x) ถึง 4 GB/s(16x)
รุ่น 2.0,1
ปี 2007
data/encode: 8b/10b
5.0 GT/s
500MB/s(1xLink) - 8.0 GB/s(16xLink)
รุ่น 3.0,1
ปี 2010
data/encode: 128b/130b
8.0 GT/s
984.6 MB/s - 15.8 GB/s
รุ่น 4.0
เริ่มใช้เฉพาะเมนบอร์เซิฟเวอร์บางสำนักในปี 2017 คาดว่าจะถูกใช้ในเมนบอร์ด Desktop ในปี 2019 หรือปีนี้
ใช้จำนวนบิตเรทในการขนส่งข้อมูลแบบ 128bit/ใช้จำนวนบิตเรทในการถอดรหัสข้อมูลแบบ 130bit
ความเร็วต่อลิ้งสูงสุดที่ 16.0 GT/s
ความเร็วเริ่มต้น 1969 MB/s ที่ความเร็ว 1x และสูงสุด 31.5GB/s(32GB/s)ที่ความเร็ว 16x
สำหรับการ์ดจอในตลาดรุ่นทอปในขณะนี้
GTX 1080ti มีความเร็ว 11 GT/s ใช้เม็ดหน่วยความจำแบบ GDDR5X ที่ความเร็ว 10 GB/s หรือ 10.83 Gbit/s per pin(11Gbps per pin) มีปริมาณแบนด์วิดธ์สูงสุด 484GB/s(352bit) บนระบบบัสแบบ PCI-E v3.x ที่ 16x รองรับความเร็วสูงสุดได้ 15.8 GB/s (16 GB/s)
GTX 2080ti มีความเร็วประมาณ 14.25 GT/s(15GT/s) ใช้เม็ดหน่วยความจำแบบ GDDR6 ที่มีความเร็ว 14GB/s หรือ 14 Gbit/s per pin มีปริมาณแบนด์วิดธ์สูงสุด 616GB/s(352bit) บนระบบบัสแบบ PCI-E v3.x ที่ 16x รองรับความเร็วสูงสุดได้ 15.8 GB/s (16 GB/s)
สรุปคือ VRAM to GPU มีปริมาณแบนด์วิดท์ 616GB/s PCI-E BUS TO CPU มีความเร็วสุงสุดไม่เกิน 14-16 GB/s และ CPU I/O DDR4 SDRAM ก็ตามสภาพที่เลือกใช้ แค่นี้ก็เยอะแล้วนะครับ เกมส์ปัจจุบัน มีข้อมูลที่โหลดใช้ประมาณ 3-11 GB ขึ้นอยู่กับความละเอียดที่เลือกใช้งาน FHD 2K 4K
ผิดไปเยอะครับ ความเร็วต่อพินของ GDDR บน VRAM ไม่เกี่ยวอะไรกับ PCI-E เลยครับ การทำงานแยกส่วนกัน
RAM <-----> Memory Controller <-----> CPU(/DMA) <-----> GPU <-----> GPU Memory Controller <------> VRAM
PCI-E ที่คุณพูดถึงมันอยู่ส่วน CPU(/DMA) <-----> GPU ครับ แต่ GDDR transfer คือส่วน GPU Memory Controller <------> VRAM ครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ครับขอบคุณที่แนะนำ ก็ตามนั้น ที่ผมกล่าวมาก็ตามนี้เลยไม่ผิด
.... คุณบอกว่า
ดังนั้นมันผิดอยู่แล้วครับ ข้อความของคุณบอกว่า 14GB/s|16GB/s ไปวิ่งบน PCI-E ซึ่งมันไม่ใช่ เพราะมันคือ 616GB/s วิ่งบน GPU เท่านั้นและไม่เกี่ยวข้องกับ PCI-E
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)