Health Feedback เครือข่ายนักวิทยาศาสตร์ที่ประเมินความน่าเชื่อถือของการรายงานข่าวด้านสุขภาพ ทำงานร่วมกับ Credibility Coalition เพื่อตรวจสอบบทความด้านสุขภาพจากเว็บไซต์ข่าวมีชื่อเสียง ที่เผยแพร่ลงในโซเชียลมีเดียและได้รับความนิยมมากที่สุดในปี 2018
ผลการวิจัยพบว่า 10 โพสต์ที่มียอดแชร์สูงสุดมาจากเว็บไซต์ข่าวมีชื่อเสียงทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็น Your Health Guide, The Guardian, Time, Daily Mail เป็นต้น และพบว่ามีเพียง 3 ใน 10 บทความเหล่านี้ที่ข้อมูลถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์และหลักสุขภาพมีความน่าเชื่อถือสูง และมีสามบทความที่ทีมวิจัยติดตัวแดงไว้เลยว่าไม่น่าเชื่อถือ มีข้อมูลหลอกลวง ตีความไม่ถูกต้อง
ตัวอย่างบทความเรื่อง “Is everything you think you know about depression wrong?” จากเว็บไซต์ Guardian มีการแชร์ไป 469,000 ครั้ง คิดอันดับข่าวแชร์สูงสุดลำดับที่ 9 โดยผู้เขียนบทความนี้ระบุว่ากรณีของภาวะซึมเศร้าส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากความไม่สมดุลในสมอง แต่มาจากการขาดความสมหวังในชีวิต ซึ่งทีมวิจัยบอกว่าบทความนี้เป็นบทความที่ตัดตอนมาจากหนังสือยั่วยุที่เขียนโดยบุคคลทั่วไปที่ต่อต้านจิตเวชศาสตร์อย่างชัดเจน
ภาพจาก Shutterstock
เมื่อทีมวิจัยไปดูบทความที่แชร์สูงใน 100 อันดับ พบว่า มีบทความที่เชื่อถือได้ในระดับสูงนั้น น้อยกว่าครึ่ง และมีข้อมูลที่ถึงกับทำให้ทีมวิจัยกุมขมับไม่ว่าจะเป็นเบคอนมีอันตรายเท่ากับบุหรี่ กินราเมนเสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์ เป็นต้น
ทีมนักวิจัยยังบอกด้วยว่า แพลตฟอร์มที่มีการแชร์บทความสุขภาพที่มีข้อมูลไม่น่าเชื่อถือนั้น คือ Facebook คิดเป็น 96% Reddit 2% และ Twitter 1%
ผู้อ่านสามารถอ่านงานวิจัยฉบับเต็มได้ ที่นี่
ที่มา - Fast Company
Comments
ถ้าบ้านเราก็ Facebook, LINE เห็นบ่อยที่สุดแล้วครับ ยังไม่ต้องหาความถูกต้องและความน่าเชื่อถือเลย เพราะคนแชร์ไม่เคยคิดถึงตรงนี้เลยด้วยซ้ำ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
พบบทความสุขภาพที่แชร์กันเยอะยังมีขอมูลผิด > ข้อมูลผิด
แลพตฟอร์มที่มีการแชร์บทความสุขภาพที่มีข้อมูลไม่น่าเชื่อถือนั้น > แพลตฟอร์ม
ต่อต้านจิตเวชศาสตร์
แลพตฟอร์ม => แพลตฟอร์ม
มะนาวโซดา เอาคนโดนไฟช็อตวางบนสังกะสี หรือฝังดิน ฯลฯ
สำหรับเว็บไซต์ไทยยิ่งแล้วใหญ่ คนเขียนบทความทางสุขภาพในเว็บไซต์ทั่วๆไปก็ไม่ได้มีความรู้ทางการแพทย์เลย เจ้าของเว็บก็ไม่ได้แคร์ เพราะเจ้าของเว็บก็ไม่ได้อยู่หรือคลุกคลีในวงการแพทย์ ไม่มีความรู้ที่จะมาตรวจทาน ไม่มีการรีวิวใดๆ หวังจะรวยจาก traffic เน้นทำ seo กันท่าเดียว คนเขียนก็เขียนกันไป เอานี่เอานั่นมาแปะๆ แหล่งอ้างอิงก็ไม่มี ผลสุดท้ายก็เป็นดั่งที่เห็นแชร์กันเยอะๆ
ในไทย
กิน....เสี่ยงเป็นมะเร็ง
มาคู่กับ
กิน(ใส่ชื่อผักแปลกๆ)รักษามะเร็ง/ไตวาย/โรคหัวใจ/เบาหวาน ท้ายบทความเสริมด้วย "ไม่อยากให้คนไทยต้องเสียค่าโง่ให้บริษัทยาต่างประเทศเอายาแพงๆ มาหลอกขาย"
อ้าว น้ำมะนาวไม่ได้แก้มะเร็งได้เหรอ
ถ้าพิจารณากันดูดีๆ บทความที่แชร์ก็เป็นเรื่องเดิมๆ ทางเจ้าของ Platform ก็ทำฐานข้อมูลเอาไว้ แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญ Approve ถ้ามีการกดปุ่มแชร์บทความที่เป็นเท็จ แล้วมีในฐานข้อมูล ก็แจ้งให้ทราบว่ามีข้อมูลไม่ถูกต้องก็น่าจะช่วยลดได้ ปัญหานี้แก้ง่ายกว่าข่าวเยอะ เพราะข่าวมีมีเวลาสั้น ตรวจสอบลำบากกว่าบทความเยอะ
เวลาเจอบทความสุขภาพแล้วรู้สึกทะแม่งๆ ก็ไปเช็ตจากฐานข้อมูล NCBI Pubmed อีกที
ป่าช้าเหงา อีก
ตอนนี้กลายเป็นป่าช้าคึกคักไปแล้ว เพราะไตวายและหยุดยาแผนปัจจุบัน
พันทิปบ้านเราก็ตัวดี
ผมดูแต่ ชัวร์ก่อนแชร์ อย่างเดียว