บ่อยครั้งที่มีข่าวเรื่องความรุนแรงของเด็ก เรามักจะพบเห็นคอมเม้นท์ที่โยงว่าพฤติกรรมก้าวร้าวดังกล่าวเกิดจากการเล่นเกมที่รุนแรงแทบทุกครั้งไป ล่าสุดงานวิจัยที่มหาวิทยาลัย Oxford และ Cariff ทำร่วมกันได้ชี้ว่า ไม่พบหลักฐานที่ชี้ว่าความรุนแรงของเกม จะส่งผลต่อพฤติกรรมที่ก้าวร้าวของเด็กแต่อย่างใด
งานวิจัยนี้ได้ทำกับวัยรุ่นอายุราว 14-15 ปีและพ่อแม่ รวมกันทั้งหมด 1,000 คน ขณะที่คำถามก็มีระยะเวลาที่เล่น, เล่นเกมประเภทไหน, เรตติ้งเกม, รู้สึกว่าตัวเองหรือลูกมีพฤติกรรมก้าวร้าวขึ้นหลังเล่นหรือไม่ เป็นต้น โดยพบว่าเด็กผู้ชายกว่า 2 ใน 3 และผู้หญิงราว 50% ที่ทำแบบสอบถามระบุว่าตัวเองเล่นเกม ขณะที่การวิเคราะห์ ทีมวิจัยเลือกใช้วิธีการวิเคราะห์แบบถดถอย (regressive analysis)
ผลคือทั้งตัวเด็กและผู้ปกครอง ไม่พบพฤติกรรมรุนแรงที่เกิดขึ้นจากเกมโดยตรง มีแค่อาการหัวร้อนชั่วคราวเท่านั้น เมื่อเล่นเกมคนเดียว, เล่นเกมออนไลน์หรือเล่นกับเพื่อนแล้วแข่งกันเอง รวมถึงไม่พบพฤติกรรมว่าเด็กไม่เข้าสังคม/ต่อต้านสังคมเพราะเกมด้วย
ที่มา - Medical Express
ภาพจาก Shutterstock
Comments
มันเกิดจากเพื่อนร่วมทีมมากกว่า เลยพาให้หัวร้อน
ผู้นำหัวรุนแรงบางประเทศ ก็ไม่ได้เป็นเด็กติดเกม
Absolutely truth.
ผมว่าไม่ใช่ความรุนแรงหรอกที่ทำให้ก้าวร้าว แต่เป็นจังหวะ ทักษะ ความล้มเหลว และอัตราการแพ้/พลาดในเกมมากกว่าที่ทำให้ก้าวร้าว
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
โอกาสยิงโดน 98% แล้ว Miss เนี่ย
XCOM ใช่มั้ย
อยู่กันซึ่งๆ หน้า ทำไมได้แค่63%
น่าจะประมาณว่าเป้าหมายมีค่าหลบหลีกสูงและตัวที่ยิงก็มีค่าความแม่นยำไม่สูงมากหน่ะครับ
ปล. อันนี้มองจากมุมคนที่ไม่เคยเล่น XCOM แต่เล่นเกมแนวคล้ายๆ กันมาเยอะหน่อยครับ
อยู่ที่ปัจจัยรอบข้างทั้งนั้น
กลับกัน เราสามารถเอาความอัดอั้นต่างๆ ไประบายลงในเกมได้
คำว่า "antisocial" ตามข่าวต้นฉบับ
ผมว่า ไม่ใช่ "ไม่เข้าสังคม" นะครับ
แต่เป็นการ "ต่อต้านสังคม" มากกว่า
ความหมายผิดกันเยอะมาก
อินเตอร์เน็ตไม่เสถียรทำให้หัวร้อน 555
ควรปิดพวกไมค์พวกแชท สำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ทั้งหมด ฮ่าๆๆๆ
ผมว่ากับเด็กอายุน้อย
ช่วงไม่ถึง 12 ปี ไม่ว่าจะเกม หนัง ละคร มีผลต่อการแสดงออกทางพฤติกรรมนะครับ
เห็นด้วย
อายุของผู้เข้าร่วมวิจัยอยู่ในช่วงวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่อารมณ์เติบโตค่อนข้างเป็นรูปร่างแล้ว มีความรู้ผิดชอบชั่วดี มีทักษะทางสังคม มีความเป็นตัวของตัวเองแล้ว ยากที่ปัจจัยภายนอกจะมาเปลี่ยนลักษณะนิสัย/พฤติกรรมในระยะยาวครับ
ผมก็ยังสันนิษฐานคล้ายๆ กับข้างบนคือปัจจัยเหล่านี้อาจจะมีผลในเด็กเล็ก วัยประถม แต่งานวิจัยใน vulnerable subject แบบนี้จะทำได้ยากครับ
และ เรียนผู้โพสต์ข่าวครับ
Multiple regression analysis เป็นชื่อกระบวนการเฉพาะทางสถิตินะครับ ผมคิดว่าไม่ต้องแปลชื่อ และควรสะกดชื่อตามนี้ครับ
ถ้าจะแปล คำแปลคือ การวิเคราะห์แบบถดถอยหลายตัวแปร ครับ
เกมหลังๆ มันเล่นออนไลน์กันปกติ ไม่เหมือนสมัยก่อนที่เล่นกันคนสองคน การที่เล่นออนไลน์กันเยอะมันอาจทำให้เกิดการเข้าสังคมก็ได้