พ.ร.บ.ร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร เปิดให้แสดงความคิดเห็นมาตั้งแต่เดือนเมษายนปีที่แล้ว และผ่านสภาสนช. ช่วงปลายปีที่ผ่านมา วันนี้ก็ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาแล้ว โดยมีผลทันทีในวันที่ 21 มีนาคม 2562 และสถาบันการเงินต้องส่งข้อมูลรอบแรกในวันที่ 31 มีนาคม 2563
กฎหมายฉบับที่ประกาศจริงต่างจากร่างไปเล็กน้อย โดยอนุญาตให้ออกกฎกระทรวงให้เพิ่มเพดานของยอดธุรกรรมได้ หากเพิ่มเพดาน จำนวนคนที่ธนาคารต้องส่งข้อมูลให้สรรพากรก็จะลดลง
รายละเอียดอื่น จะออกประกาศกระทรวงตามมาภายใน 180 วัน
นับแต่การเปิดบริการพร้อมเพย์ ทางกรมสรรพากรสนับสนุนให้ใช้งานอย่างหนัก จนมีข่าวลือเมื่อปี 2017 ว่า หากมีเงินเข้าออกบัญชีเกิน 10 ครั้งต่อวันจะถูกตรวจสอบภาษี ซึ่งทางกรมสรรพากรออกมาระบุว่าไม่เป็นความจริง แต่หลังจากร่างพ.ร.บ. ออกมา ก็นับว่าข่าวลือใกล้เคียงกับในกฎหมายทีเดียว
ที่มา - ราชกิจจานุเบกษา
Comments
ผมว่าไม่ควรไปโยงกับพร้อมเพย์นะครับ อันนี้มันคุมทั่วไปทุกบัญชี จะพร้อมเพย์ไม่พร้อมเพย์ก็บังคับหมด และเห็นเขียนว่ารวมทุกบัญชีด้วย ซึ่งที่เค้าเคยปฏิเสธก็ถูกแล้ว เพราะไปถามเรื่องพร้อมเพย์เรื่องห้ามใช้พร้อมเพย์ไม่งั้นจะโดนตรวจสอบ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ข้อเท็จจริงคงอยู่ในข่าวแล้ว แต่ "ความเชื่อ" ของผมคือของพวกนี้เขาคิดกันมาเป็นชุดเดียวกันล่ะครับ (โอนฟรี -> คนโอนมากขึ้น -> ตรวจสอบจากการโอน)
ซึ่งก็ไม่ได้ผิดอะไร (คิดเป็นชุดนี่ดีแล้ว) แต่ไม่บอกตั้งแต่แรก ไม่มีใครพูดได้ทั้งหมดว่าจะทำอะไรกัน ปล่อยให้มีข้อความออกมากระปริดกระปรอย ตรวจสอบย้อนกลับได้ยาก แบบนี้มันก็สร้างข่าวลือที่ไม่ตรงแบบนี้ล่ะครับ
ตัว พร้อมเพย์ เอง ทุกวันนี้ก็ไม่ได้หมายถึงการ "ลงทะเบียนพร้อมเพย์" แบบเมื่อตอนเปิดตัวครั้งแรกแล้ว การโอนเงินแทบทั้งหมดก็วิ่งผ่าน NITMX ทั้งนั้น ตามแผนการที่คิดไว้แต่แรก แต่อย่างคนทั่วไปไม่ได้รับรู้ว่าข้างหลังเปลี่ยนเส้นทางโอนด้วยเลขบัญชีไปแล้ว
มุมมองของผมมันคือเรื่องเดียวกันครับ
lewcpe.com, @wasonliw
การโอนทั้งหมดวิ่งผ่าน NITMX แต่สรรพากรก็ไม่ได้ไปตรวจ transaction ที่ NITMX หนิครับ เป็นธนาคารหรือสถาบันการเงินส่งรายงานเฉพาะส่วนที่เข้าเงื่อนไข ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับหลังบ้านเลยว่าจะโอนระบบไหน และไม่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลโดยตรง
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ฝากหรือรับเงินทุกบัญชีรวมกันไม่เกิน 3000 ครั้ง สมมุติลูกค้าคนนึงมีหลายธนาคารธนาคารใดธนาคารหนึ่งจะทราบได้อย่างไรครับว่าลูกค้าคนนี้ฝากหรือรับเงินเป็นจำนวนกี่ครั้ง ถ้าไม่ตรวจสอบผ่านระบบ NITMX หรือ 3000 เฉพาะธนาคารเดียวเหรอครับ
ดูแยกรายธนาคารครับ ธนาคารมีหน้าที่รายงานเฉพาะส่วนของตัวเองที่เข้าเงื่อนไข
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ผ่าน NITMX แล้วมัน "ฟรี" ครับ โครงสร้างราคาใหม่มันมาพร้อมกับโครงการพร้อมเพย์
lewcpe.com, @wasonliw
ดีครับ ลากพวกปลิงออกมาจ่ายภาษีให้หมด
คาดว่าจะไม่เจอสักตัวครับ ดูจากเงื่อนไขแล้ว
แล้วจะมีบางกลุ่มออกมาบอกว่า รังแกคนจน 55555+
ดีครับการค้าขายจะได้เท่าเทียมกันมากขึ้น
ก่อนหน้านี้แม่ค้าตามตลาดรับ True รับ Line pay
หลังจากนี้ต้องดูว่ายังจะรับอยู่อีกมั้ย
เชิญชวนให้ใช้ พอใช้แล้วติดใจ(ติดกับ)ก็จัดซะ
ไม่ใช่ว่าสนับสนุนการหลีกเลี่ยงภาษีนะ แต่การจัดเก็บแบบสุดโต่งมันช่วยพยุงเศรษฐกิจมั้ย
ค่อยเป็นค่อยไปดีมั้ย
แต่ก่อนเงินสีเทาสะพัดจากหนี้นอกระบบ สถานบริการเปิดยันเช้า พี่ท่านก็กวาดเรียบ
มันดีนะไม่ใช่ไม่ดี แต่เงินก็หายจากระบบนะ แล้วนี่เศรษฐกิจแบบนี้ยังจะรีดภาษีมันทุกเม็ดอีก
เยี่ยมครับเยี่ยม
ผมว่าเศรษฐกิจรวมมันไม่ต่างอะไรมากหรอกครับ คนจะโอนไม่โอน ธุรกรรมมันก็ยังเกิดอยู่ดี
แต่มุมผมมองว่า "ให้คนโอนแทนเงินสด สำคัญกว่าให้คนจ่ายภาษี (ที่ได้จากการโอน) ครบ" และที่ "เชิญชวนให้ใช้ พอใช้แล้วติดใจ" นี่ผมมองว่ายังไม่เกิดขึ้น คนยังไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันขนาดนั้น จำนวนนึงใช้เพราะโปรโมทชั่นคืนเงินเป็นหลักด้วย
การโอนโดยไม่ใช้เงินสดนี่มันมีข้อดีของมันเองที่ควรสนับสนุน ถ้าทำดีๆ มันเร็วกว่าเงินสด (ไม่ต้องทอน), ของไม่ต้องขึ้นราคาทีละ 5 บาท (จ่าย 3.98 บาทได้ไม่ต่างจาก 5.00 บาท), มือถือหาย เงินไม่ได้หาย (กระเป๋าตังค์หายนี่ภาวนาได้แค่บัตรกลับมา), การตรวจสอบภาษีได้เป็นแค่ข้อนึง
อย่างข่าวเก่าเรื่องข่าวลือพร้อมเพย์ ทางสรรพากรเองก็บอกอยู่แล้วว่ามีอำนาจในการเรียกดูข้อมูลอยู่แล้ว "หากมีเหตุสงสัย" ถ้าข้อมูลมันอยู่ในธนาคารแล้ว สรรพากรจะส่งชื่อไปปีละหมื่นชื่อตามเหตุ คนรับโอนน่าจะตื่นกลัวน้อยกว่านี้เยอะ
lewcpe.com, @wasonliw
แล้วยังไงดีล่ะครับ เราทุกคนอยากให้ประเทศพัฒนา เราอยากให้มีงบประมาณทำตรงนั้น ทำตรงนี้ แต่คนเสียภาษีกลับเป็นชนกลุ่มน้อย เป็นพนักงานเงินเดือนที่อยู่ในระบบ เลี่ยงยังไงก็ไม่ได้
ผิดกับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ อย่างมากก็จ่ายแค่ vat บางคนขายจนร่ำรวยออกรถคันละหลายล้าน แต่พอจะให้เสียภาษีกลับบอกรัฐขูดเลือดขูดเนื้อประชาชน
หลายคนบอกรักประเทศนี้มาก แต่ให้เสียภาษี ฉันเลี่ยงดีกว่า
vat เป็นภาษีก้อนใหญ่ที่สุดในประเทศนะครับ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่าที่รู้ก็ไม่ใช่ก้อนใหญ่ครับ ทั้งนี้ผมสนับสนุนให้เก็บภาษีการค้าออนไลน์นะ
ภาษีก้อนใหญ่แต่ขอเคลมคืนแทบไม่เหลือ ใหญ่จริงต้องภาษีนิติบุคคล กับบุคคลธรรมดาครับ
เอ Vat นี่เคลมคืนได้ด้วยเหรอครับ? ชี้ช่องหน่อยครับ เผื่อเอาไปเคลมคืนมั่ง
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
แน่ใจเหรอว่าทุกวันนี้ไม่สุดโต่ง ทุกวันนี้ร้านค้าส่วนใหญ่ก็เสียภาษีแบบเหมาทั้งนั้นเพราะไม่ต้องการทำบัญชีให้วุ่นวาย ซึ่งผมเคยเจอสรรพกรเข้ามานับยอดขายร้านก๋วยเตี๋ยว แล้วมาตอนไหนรู้มั้ย... มานับตอนเที่ยงถึงบ่าย แล้วคูณชั่วโมงที่เปิดร้านไปประเมินเป็นยอดขาย เล่นมานับตอนช่วงพีคของวันแบบนี้ก็คิดดูแล้วกันว่ายอดมันจะเกินจริงไปเท่าไหร่
ผมสนับสนุนให้ตรวจสอบแบบนี้นะ ถ้าให้ดีควรต่อยอดระบบนี้ไปเลยด้วยซ้ำ เช่น ให้ร้านค้าลงทะเบียนไปเลยว่าใช้บัญชีไหนสำหรับการค้าขาย สรรพกรก็ตรวจสอบยอดขายได้ชัดเจน ช่วยให้การจัดเก็บภาษีมีความถูกต้องขึ้นไปอีก ส่วนยอดของบัญชีอื่นๆ ถ้าไม่มากเกินไปก็ให้ถือว่าเป็นบัญชีรับจ่ายส่วนตัวไป หรือธนาคารอาจจะพัฒนาต่อยอดไปถึงขั้นทำบัญชีให้ร้านค้าก็ยังได้ จัดการเรื่องภาษีให้เสร็จสรรพ สะดวกต่อผู้ประกอบการด้วย
สรุป คือ มี 2 เคส ใช่ไหมครับ
รับโอน ทุกบัญชีชื่อเดียวกัน เกิน 3,000 ครั้ง ต่อปี ถึงจะส่ง เข้า พรบ
กับ รับโอน เกิน 400 ครั้ง ต่อปี และยอดต้องเกิน 2 ล้านเท่านั้น ถึงจะส่ง เข้า พรบ
ผมยังสงสัยอยู่เลย ถ้าคนละชื่อบัญชี, บัญชีร่วม ฯลฯ จะทำไง?
หรือตอนนี้มีธนาคาร 20 ธนาคาร ก็แค่เปิดบัญชีวนไป?
lewcpe.com, @wasonliw
เดาว่าช่วงแรกคงเฉพาะแต่ละธนาคาร ธนาคารก็มองเห็นแต่ของตัวเอง ก็ส่งเฉพาะที่เกินของตัวเองไป แต่ต่อไปข้อมูลคงรวมเป็นหนึ่งเดียวกันมีเจ้าภาพคนเดียวเป็นคนส่งรายงาน
เคยได้ยินว่าทางรัฐจะมีให้ทำ KYC รวมนะครับ ก็คงจะช่วยให้ระบุว่าบัญชีไหนเป็นของใครง่ายขึ้น แล้วค่อยหาเงื่อนไขมาจับอีกทีละมั้ง
ไม่เกี่ยวครับ ID ของเลขบัญชีมันอ้างไปถึงเลขบัตรประชาชนได้อยู่แล้ว
อย่าง ผมเปิดสองธนาคาร แต่ละธนาคารรับเงิน 1500 ครั้งจะรู้ได้ยังไง ต้องเปิดเผยจำนวนธุรกรรมของ "ทุกคน" ให้สรรพากรทราบ? (ซึ่งเป็นอำนาจเกินกฎหมาย) หรือจะให้ธนาคารซิงก์กันเอง? (ใช้อำนาจอะไรไปดูข้อมูลธนาคารอื่น)
lewcpe.com, @wasonliw
ในทางปฏิบัติผมเชื่อว่าสุดท้ายคงดูแยกเป็นรายแบงก์ครับ เท่าที่ผมทราบ ขนาด ปปง. (ซึ่งกฎหมายน่าจะแรงกว่า?) จะตรวจสอบทรัพย์สินของบุคคลๆ นึงยังต้องส่งหมายไปขอข้อมูลทุกแบงก์เลย เพราะไม่รู้ว่ามีบัญชีที่ไหนบ้างครับ
ครับ โดยส่วนตัวก็เชื่อแบบนั้น
ซึ่งน่าจะทำให้เกิดอาการ "เปิดบัญชีหลายธนาคาร" กลับมาอีกบางระดับ หลังจากหายไปมากแล้วเพราะพร้อมเพย์
lewcpe.com, @wasonliw
อยากรู้ว่าสรรพากร มองเห็น Transaction ทั้งหมดทุกอย่าง
หรือว่าเฉพาะที่แตะ Threshold 5,000 ครั้ง หรือ 400 เท่านั้น?
ธนาคารก็ให้ทีมงานเขียนโปรแกรมตามเงื่อนไขนี้เลย
"ปีละ 5,000 ครั้ง" หรือ "ปีละ 400 ครั้งและยอดรับรวมเกิน 4 ล้านบาท"
สังคมไร้เงินสดตอนปีก่อน ร้านค้าเล็กๆ ขายผลไม้ มีป้ายให้จ่ายได้เลยยผ่านมือถือ พอข่าวนี่ออกมา คนเอาออกกันซะเยอะเลย T_T ไม่รู้กลัวอะไรกัน
เสียภาษีเป็นหน้าที่ของเราทุกคน
ถ้าแยกข้อมูลของใครของมัน
คือ แต่ละแบงค์ ต้องถึง 3,000 ครั้ง ถึงจะส่งเข้า พรบ
นายเอก
แบงค์ A มี 2 บัญชี รับโอนไปมารวม 1,500 ครั้ง
แบงค์ B มี 1 บัญชี รับโอน 1,000 ครั้ง
Truemoney รับโอน 501 ครั้ง
รวมโอนภายในชื่อนายเอก 3,001 ครั้ง แต่ไม่เข้า พรบ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง โดยเฉพาะคนขายของบน Facebook, แม่ค้าออนไลน์, ขายตรง และร้านขายครีมทั้งหลาย
แต่พอมาดูสิ่งที่เราเสียไป บางทีก็ไม่คุ้มกับสิ่งที่ได้มาเลย อย่างบริการของรัฐที่มีทั้งปัญหา ล่าช้า หรือแม้แต่ราคาแพงก็มี อย่างค่ารถไฟฟ้า และบริการที่ห่วยก็มี อย่างรถโดยสารเก่าๆ ควันก็เยอะ แม้แต่รัฐบาล นักการเมือง และข้าราชการก็ยังเอาภาษีไปโกงกินอย่างกับของได้มีฟรีจนอิ่มที่ผ่านๆ มาก็มีให้เห็นตลอด ทุจริตก็เยอะ ทำงานไร้ประสิทธิภาพ
ไม่ต้องไปไกล ก็เรื่อง PM2.5 ที่เอาเงินประชาชนมาออกรถพ่นน้ำ ประชาสัมพันธ์ แก้ไขปัญหา (ไม่ถูกจุดและไม่มีประสิทธิภาพ) และไปตรวจสอบปัญหาควันดำที่แจ้ง กลับไม่พบอะไร ซึ่งตรงข้ามกับสิ่งที่ประชาชนเห็น จนคนเกลียดและเอียนกันแล้ว ไม่ต้องอะไรมาก แค่นี้ก็หมดความน่าเชื่อถือที่จะเอาภาษีไปให้ละลายน้ำเล่นแล้ว
บางคนก็เลยเสียดายเงิน ถึงไม่อยากเสียภาษีให้ เพราะมองว่าเงินที่เสียไปเอาไปทำอะไรได้คุ้มค่ากับชีวิตตัวเองมากกว่า
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ก็น่าจะมีการปรับปรุงและทำให้เกิดความไว้วางใจกับประชาชนมีส่วนร่วมกับการเสียภาษีให้มากขึ้น หยุดการเลี่ยงภาษี และต้องทำให้มั่นใจว่า ภาษีที่เสียไปคุ้มกับสิ่งที่ได้มาจริงๆ แบบพลิกหน้ามือเลย ถ้าทำได้แบบนั้นสิ เงินภาษีมาแน่นอน
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
คนที่เสียดายเงิน เพราะมีความคิดว่า เงินภาษี=ส่วนของกำไร ครับ
เรื่อง PM 2.5 นั่นเขาไม่ได้คิดเยอะขนาดนั้นหรอก จ่าย 3 บาท 5 บาท แต่จะเอารัฐสวัสดิการ นี่แหละคนไทย
คนไทยขายเล็กๆ น้อยๆ โดนภาษีกันไป แล้วเว็บขายออนไลน์ต่างชาติละ
+1
ผมว่าเขาส่งภาษีนะ ผมซื้อของ lazada ก็ขอใบกำกับภาษีตลอด
น้อยๆ คงไม่แต่ 3,000 ครั้งต่อปีหรอกครับ
ถ้าทำเป็นอาชีพ หรืออาชีพเสริม ก็ควรจ่ายภาษีครับ
ผมสงสัยนิดหน่อยครับ คือสมมติถ้าผมโอนเงิน 2.5 ลบ. ไปซื้อที่ดินเนี่ย แต่รวมแล้วทั้งปีบัญชีผมมีจำนวนโอนไม่เกิน 400 ครั้ง ผมจะเข้าข่ายไหมครับ
ปีละ 400 ครัั้ง"และ"ยอดรับรวมเกิน 2 ล้านบาท
เงื่อนไข "และ" คือต้องเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อครับ
ถ้าโอนยอด 2.5 ลบ. แต่มีแค่หลักสิบครั้ง ก็ไม่โดนครับ
โอนไปซื้อของไม่น่าจะเข้าข่ายนะครับ ผมว่าคนที่ต้องนำส่งภาษีน่าจะเป็นผู้ขายมากกว่าผู้ซื้อนะ
นับขารับเงินครับ ไม่ใช่จ่ายเงิน
งั้นต้องแก้ที่ชื่อหัวข้อข่าว จาก 3,000 เป็น 5,000 ด้วยรึเปล่าครับ
เข้าใจว่า ณ ตอนนี้เป็น 3,000 ครับ แต่สามารถออกกฏกระทรวง เพิ่มเพดานเป็น 5,000 หรือมากกว่าได้ครับ
จริงๆตอนนี้ Cashless กำลังมาเรื่อยๆ รัฐทำแบบนี้จะทำให้พวกรายย่อยกลับไปให้ Cash เหมือนเดิม
ทำให้ Cashless ชะงัก หรือ ถอยกลับไปอีก ร้านค้าที่รับ QR Payment อาจจะเปลี่ยนไปรับเงินสดอย่างเดียว
ดังนั้นรัฐควรหามาตรการอย่างอื่นแทนดีกว่า เช่น นโยบายที่ลดภาษีสำหรับผู้ประกอบการที่รับเงินอิเล็กทรอนิกส์
และไปเพิ่มภาระอะไรก็ตามที่ทำให้ธุรกิจรับเงินสดทำได้ลำบากขึ้น เพื่อให้ทุกรายไม่ว่าเล็ก กลาง หรือใหญ่อยู่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน
+1 ไม่ใช่ไม่เห็นด้วยว่าควรเก็บภาษีนะ แต่มันเร็วไป น่าจะรอให้ติดงอมแงมอีกซักนิดนึง (ผมว่าอีกซักครึ่งปีถึงปีนึงก็น่าจะเข้าข่ายงอมแงมละ ถ้ามีมาตรการผลักดันไปเรื่อย ๆ) แล้วค่อยประกาศว่าจะเก็บก็ยังไม่น่าจะสาย แต่เข้าใจเลยว่ารีบเข็นออกมาเพราะจะหมดวาระละ กลัวตัวเองไม่ถูกเลือก เดี๋ยวไม่ได้ออก ๕๕๕
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
จริงครับ คิดว่าร้านเล็กๆ น้อยๆ ที่มีหน้าร้านน่าจะถอยหลังกลับไปรับแต่เงินสดเหมือนเดิม แต่กฏหมายนี่ตั้งใจออกมาดัดหลังแม่ค้าออนไลน์จริงๆ เว้นแต่แม่ค้าขายเสื้อผ้า ขายครีมหน้าขาวจะคิดค้นวิธีเลี่ยงได้ซะก่อน
- เพิ่มบัญชีรับเงิน
- เพิ่มนอมินีในการรับเงิน
- อาจจะแยกบัญชีเป็นรายเดือนเลย มค. มี 10 บช. กพ. ให้โอนไป บช. อื่นๆ อีก 10 บช. วนไป
เชื่อดิ่ คนไทยเราเป็นเจ้านวัตโกงอยู่แล้ว
ดูแล้วเหมือนเป็นกฎหมายสนับสนุนคนกลับมาใช้เงินสดเลยครับ
เป็นไปได้ไหมว่าแบบนี้พ่อค้าแม่ค้าจะไปรับเป็น coin มากขึ้น?
ควรเปิดบริษัท เข้าระบบภาษีให้ถูกต้องครับ
ส่วนภาษีที่เสียเพิ่มก็เป็นธรรมดีครับ ต่อไปราคาสินค้าจะได้ไม่แตกต่างกันมาก เพราะบางที่ไม่จ่ายภาษีเลย ขายราคาต่ำๆ
oxygen2.me, panithi's blog
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6