เมื่อช่วงกลางเดือนมีนาคม นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ได้แถลงข่าวเกี่ยวกับการศึกษาความเป็นไปได้ของเทคโนโลยี Hyperloop ในประเทศไทย โดยได้ว่าจ้างบริษัท TransPod จากประเทศแคนาดามาศึกษาเป็นระยะเวลา 5 เดือนด้วยค่าใช้จ่ายส่วนตัวของนายธนาธรเอง พร้อมระบุว่าตั้งใจจะปล่อยให้ประชาชนอ่านรายงานดังกล่าวได้ฟรี แต่ติดข้อกฎหมายเลือกตั้ง
ล่าสุดนายธนาธรได้โพสต์บนเพจตนเองว่าขณะนี้พร้อมปล่อยรายงานให้อ่านกันแล้ว โดยระบุว่าขอมอบผลการศึกษาชิ้นนี้ไว้เป็นสมบัติแห่งสาธารณะ สามารถนำไปพัฒนา, อ้างอิง, ทำซ้ำ, ดัดแปลง รวมถึงวิพากษ์วิจารณ์ได้เต็มที่ และหากมีคำถามใดๆ ให้เขียนอีเมลไปถาม TransPod โดยตรง
สามารถดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่ Google Drive
ใครอ่านแล้วเจอประเด็นตรงไหนน่าสนใจก็เอามาคุยกันได้ในคอมเมนต์ครับ
ที่มา - Facebook: Thanathorn Juangroongruangkit - ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
ภาพจากรายงานของ TransPod
Comments
[[ถ้าคอมเมนต์ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาข่าวอีกจะถูกแบน เตือนครั้งสุดท้าย - admin]]
มาตอน 1 April 2019 - 00:02 นี่ไม่ค่อยอยากเชื่อ
กลายเป็นระแวงทุกข่าวไปเลย
อ่านแล้วเมื่อเทียบกับรถไฟความเร็วสูงมีข้อสงสัยตามนี้ครับ
อันที่พอจะนึกออกว่าด้วยเงื่อนไขนี้แล้วเป็นไปได้แน่ๆ น่าจะประมาณนี้ครับ
ข้อแรก hyperloop น่าจะเป็นความเร็วสูงสุดเชิงทฤษฎีเพราะยังไม่มีของจริงมาเทียบ ส่วนอันอื่นเอาของจริงมาเลย
ข้อหก คิดเฉพาะ tube infra อย่างเดียว ไม่ได้คิดเรื่องค่าใช้จ่ายการบริหารจัดการที่ดิน/ความปลอดภัย/การรักษาความดันอากาศให้คงที่
สรุปประเด็นจาก Executive Summary เขาทำไว้แค่ 3 เส้นทาง กรุงเทพ - เชียงใหม่ | กรุงเทพ - ภูเก็ต แล้วก็เชียงใหม่ - ภูเก็ต
กรุงเทพ - เชียงใหม่: 52 นาที 1012 บาท
กรุงเทพ - ภูเก็ต: 58 นาที 1458 บาท
เชียงใหม่ - ภูเก็ต: 1 ชั่วโมง 28 นาที 2516 บาท
ระบบนี้จะทำรายรับรวม 1 พันล้านบาทต่อปีในปีที่ 10 1.6 พันล้านบาทต่อปีในปีที่ 20 2.7 พันล้านบาทต่อปีในปีที่ 30
ต้นทุนค่าสร้าง เขาให้ว่าถูกกว่า HSR ของญี่ปุ่น 3% ระบบไฟฟ้าที่ใช้จะมาจาก Solar Power ERR 13.8% ภายใน 40 ปีของระบบ (สร้าง 5 ปี ดำเนินการ 35 ปี) เงินลงทุนเบื้องต้น 25B USD จะได้มูลค่าทางเศรษฐกิจ 31B USD สร้างานได้ 1.8 แสนตำแหน่ง
แต่ ทั้งหมดใน Executive Summary ไม่บอกว่า ระบบนี้พร้อมสร้างได้เมื่อไหร่ ปีไหน อย่างไร ก็เลยไม่รู้ว่าตัวเลขที่ว่ามาทั้งหมดนี้ จะได้เห็นกันเมื่อไหร่ 10 ปี 20 ปี ไม่มีใครรู้ กว่าวันนั้นของ Hyperloop จะมาถึง จะมีเทคโนโลยีการคมนาคมขนส่งอะไรที่ดีกว่า Hyperloop เกิดขึ้นหรือไม่ ที่แน่ๆ HSR ทั้งจีน ญี่ปุ่น หรือระบบอื่นๆ เกิดได้ก่อน Hyperloop แน่ๆ ถ้ารัฐบาลต่อๆ ไปไม่สั่งยกเลิกน่ะนะ
ข้อสังเกตอีกอย่าง ราคาไม่ต่ำแบบที่เหมือนแฟนคลับอนาคตใหม่หลายคนเชียร์ไว้ตอนช่วงนโยบายนี่ออกใหม่ๆ ราคาสูสีกับ Low Cost Airlines เผลอๆ อาจจะแข่งกับ HSR ด้วย (ซึ่งไม่แน่ใจว่าราคาโลว์คอสต์เมื่อ Hyperloop สร้างเสร็จมันจะมากกว่านี้เพราะเงินเฟ้อ หรือถูกลงเพราะเทคโนโลยีอากาศยานและการแข่งขัน) ซึ่งแน่นอนว่า Hyperloop ไม่ได้ทำเพื่อคนจนแน่ๆ คนจะใช้ได้ก็คือชั้นกลางขึ้นไป + นักท่องเที่ยวที่ไม่ได้เป็นแบบ Backpack จ๋าๆ มันจะกลายเป็นมาแข่งกันเองระหว่าง 3 อย่างนี้หรือเปล่า
้ข้อสังเกต 2: รายงานนี้อ้างอิง Hyperloop ของ บ. Transpod ที่ธนาธรไปดีลไว้เจ้าเดียว ไม่ได้เอา Hyperloop ของเจ้าอื่นๆ ที่กำลังวิจัยแข่งกันอยู่ (เช่นของ Virgin ของ HTT และอีกหลายๆ บริษัท) โปรดระวัง Bias ด้วย
ในรายละเอียดมีบอกว่าเริ่มสร้างปี 2025 เริ่มใช้ปี 2030 ครับ
เรื่องค่าโดยสารนี่ผมว่าไม่ได้ต่างจากคาดนะครับ และเค้าก็เปิดตั้งแต่รอบก่อนแล้วว่าถูกกว่ารถไฟความเร็วสูงหน่อยนึงเอง และถ้าตามเรื่องรถไฟความเร็วสูงอยู่แล้ว ราคามันไม่ได้ต่างจาก low cost airline หรอกครับ มันเป็นตัวเลือกของคนเน้นความเร็ว ไม่ใช่เน้นราคาถูก เน้นถูกก็ต้องรถไฟปกติหรือ bus แลกกับเวลาที่ช้ากว่า
ศึกษาไว้ก่อนดีแล้วเวลามีอะไรใหม่มา แต่ไม่ได้แปลว่าเราต้องใช้ของใหม่สุดตลอด และแน่นอนว่ารถไฟความเร็วสูงเริ่มได้ก่อนอยู่แล้วเพราะมันใช้งานจริงแล้ว มีข้อมูลก็ใช้พิจารณาไปว่าเดินไปแบบไหนดีที่สุด
ส่วนตัวไม่ได้เชียร์ hyperloop นะครับ และยังมีอีกหลายข้อสงสัยเพราะมันยังไม่ได้ใช้จริง และยังต้องรอเวลาอีกในขณะที่รถไฟความเร็วสูงทำได้เลย
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
อ่านเจอแต่ผลด้านจราจรและเศรษฐกิจ ไม่เจอด้าน implementation เลย
เหมือนมา report แต่ด้านดีๆ จะเรียกว่าโฆษณาดีหรือเปล่า
ผมชอบธนาธรนะ แต่เรื่อง hyperloop ที่ up in the air นี่รู้สึกแปลกๆ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
แล้วก็จะมีพวกเชื่อโฆษณานี้ด้วยนะ เพราะเห็นเป็นศัพท์อังกฤษ ศัพท์แปลกๆที่ตัวเองไม่เคยเห็นแล้วก็คิดเองเออเองว่ามันดีเลิศ พอใครแย้งก็ไม่ฟัง
+1 ครับ
มุมมองเรื่องอื่นๆ ผมว่า (จาก debate/ปราศรัย) เค้าดู OK นะ
แต่เรื่อง hyperloop นี่ "รู้สึก" ว่าเป็นการสร้างกระแสมากกว่า
+1 ครับ
ผมชอบเรื่องอื่น ๆ ของเขา แต่เรื่อง hyperloop ดูยังไงก็ขายฝันมากไปหน่อย ตัวจริงยังอยู่ในระหว่างการวิจัยอยู่เลย
+100 เหรียญย่อมมีสองด้าน แต่เอาแค่ด้านเดียวมาก็......นะ
จากรายงานเห็นภาพแผนที่วางรางตัดตรงแบบนั้นค่าเวรคืนน่าจะบาน 25B เอาไม่อยู่แน่
Edit
อ่านแล้วเจอเรื่องตลกอยู่เรื่อง
ก่อนปล่อยเอกสาร
ค่าใช้จ่ายเพียง 598ล้านบาท/กม. เท่านั้น
ถูกกว่ารถไฟความเร็วสูงที่ทุนก่อสร้างสูงตั้ง 727ล้านบาท/กม. แน่นอน...
หลังปล่อยเอกสาร...เอาข้อมูลมาจากหน้า 48
24,851MUSD / 580km = 42.120MUSD/km * 32THB/USD = 1,347.84 ล้านบาท/กม. อ้าว
หน้า 48 นั่นยังไม่รวมค่าแรงนะครับ ค่าวัสดุล้วนๆ
หน้า 47 ครับ และไอ้ พันสามร้อยกว่าล้านนั่นรวมค่าแรงงานแล้วครับ
หน้า 48 นั่นละครับ ในตาราง Figure 29: Total infrastructure costs ได้ 24,851 M USD แต่ผมเบลอเองเรื่องค่าแรง มันเป้น Indirect Costs ที่ 2,203 M USD
ข้างบนบอกระยะเวลาสร้างประมาณ 5 ปี ถ้าอยู่ในวงการก่อสร้าง จะรู้เลยว่าตัวเลขนี้บ้าบอมาก แค่การเวนคืนที่ก็สิ้นเปลืองเวลานานกว่านั้นอีก แล้วผมคำนวนไม่ถูกว่าเขาเอาเรทค่าแรงที่เท่าไหร่และใช้ตน/แรงงานมากแค่ไหนนี่สิ
หน้า 47 ป่าวครับ
โม้จนคนหัวอ่อนบางคนนึกว่าเรื่องจริง
hyperloop จำเป็นจริง ๆ สำหรับเมืองไทยจริงเหรอ บางทีคิดแล้วก็เหมือนเราอยากได้มือถือรุ่นใหม่สุด ทั้ง ๆ ที่ซื้อรุ่นรองได้ราคาถูกกว่า แถมเพียงพอต่อการใช้งานเราด้วย
อันนี้ก็เหมือนตอนสร้างรถไฟฟ้าบีทีเอส มีคนท้วงว่าทำไมไม่ทำรถราง BRT เพราะถูกกว่า แต่พอทำออกมาแล้วก็ใช้ประโยชน์กันสะดวกสบายดี
ของแบบนี้ มันกึ่งๆเสี่ยงดวง เหมือนกันนะครับ
พอทำออกมาใช้จริงถึงค่อยรู้ว่าเวิร์คมากมั้ย มีอะไรที่คาดไม่ถึงอีกรึเปล่า
อีกตัวอย่างก็โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ 3 miles island
ตอนแรกใครๆก็คิดว่าค่าไฟจะถูกกว่า ไปๆมาๆค่า maintenance แพงมากจนค่าไฟแพงกว่าซะงั้น....
แล้วไอ้บีอาร์ทีทีมีก็พยายามทิ้งขว้างกัน เบื่อมาก
ผมว่า BRT มีอนาคต แต่ปัญหาคือ เราทำผิดแบบไงครับ และหลังทำแล้วมันไม่ได้ดีอย่างที่คิดตามเหตุผลแรกที่กล่าวไป อนาคตเลยดับ
สิ่งที่ควรจะเป็นคือระบบปิด หรือระบบลอยฟ้าแบบ BTS เหมือนที่จีนใช้งานในตอนนี้ครับ เท่ากับว่าระบบ BRT บ้านเราห่วยเลย เพราะดันใช้ระบบจราจรร่วมกับถนนปกติ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
พอเพียง พอประมาณ ฐานะของประเทศ ควรซื้อบ้านที่เทคโนโลยีใหม่ที่สุดหรือเปล่า?
มือถือที่ออกเทคโนโลยีใหม่ ส่วนใหญ่ มักจะมีปัญหาตามมา มันเป็นเรื่องธรรมดาของสิ่งใหม่ ที่เรายังไม่รู้ปัญหา ยังแก้มันไม่หมด ลงทุนสูง แล้วหวังว่าอนาคตมันจะดี ผมว่าด้วยเงินที่เรามีน้อยนิด เอาไปลงทุนกับสิ่งที่เห็นผลว่าได้แน่ๆดีกว่า
มีแต่นักการเมือง หาโครงการใช้เงิน ไม่มีโครงการหาเงินอย่างอื่นนอกจากเก็บภาษีเพิ่มเลย
เท่าที่เคยฟังเค้าพูด เหมือนจะไม่ใช่แค่การซื้ออเทคโนโลยีมาใช้ แต่เป็นการผลักดันให้ประเทศเราเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนและอุตสาหกรรมเกี่ยวกับ Hyperloop ในภูมิภาคด้วยนะครับ
คือเสี่ยงดวงกับเทคโนโลยีที่คาดว่าจะเกิด แต่ก็ต้องมีการศึกษาอีกมาก
เราไม่ควรเอาคำนี้มาเป็นวาทะกรรมในการขัดขวางการพัฒนาเลยครับ การเริ่มต้นมันลำบากเสมอแหละครับ โครงการนี้ไม่ใช่ซื้อแต่จะเริ่มต้นเลยนี่ครับ
คนไอทีบ้านเราเรียกร้องการพัฒนา แต่ก็กลัวกับอะไรสักอย่างจนค้องหาวาทะกรรมมาตอบความกลัวนี้เสียงั้น
I need healing.
นึกถึงเรื่องสร้างงานรึยังฮะ ถ้าเป็นรถไฟความเร็วสูง อัตราจ๊างต่างชาติ VS สร้างคนไทยต่างกันยังไง
สิงคโปร์คงไม่ใช่ผู้นำในย่านนี้ถ้าหากยึดติดกับปัจจัยทางกายภาพและข้อจำกัดของตัวเอง หรือถ้ามองใกล้ๆ ตัวหน่อยก็ บุรีรัมย์ model ครับ
เหตุผลนี้เหมือนตอนค้านประมูล 3G เป๊ะ ตอนยังไม่มีก็นึกไม่ออกหรอกว่าจะเอามาทำอะไร ลองนึกภาพทุกวันนี้เราไม่มี 3G 4G สิ
เค้าเอามาเทียบกับรถไฟความเร็วสูงนะครับ ถ้ามีงบทำรถไฟความเร็วสูง ก็ทำตัวนี้ได้ แต่เลือกทางไหนคุ้มกว่า ทั้งในแง่ลงทุน เศรษฐกิจ ความเสี่ยง ก็ต้องถกกันไป ไม่ได้หาเรื่องจ่ายเงินเพิ่มซักหน่อย
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
โครงการนี้ของอคม.ที่ผมชอบคือมีการมองยาวไปว่าจะเป็นคนผลิตเพื่อส่งออกเองด้วยครับ
ถึงตัวโครงการรวมๆจะเลื่อนลอยไปหน่อย แต่ไอเดียที่จะทำบางอย่างเพื่อต่อยอดไปอีกอย่างด้วยนี่ไม่ค่อยมีพรรคไหนทำกันเท่าไหร่
นโยบายนี้ศึกษา วิจัย ตั้งโรงงาน ผลิต เองทั้งหมดครับ ไม่ได้ซื้อเทคโนโลยีสักอย่าง เหลือใช้ส่งออกอีก แต่ผมมองว่าฝันไกลเกินไปนิดหนึ่ง แต่การศึกษา/วิจัยก่อนคนอื่นเขาก็เป็นข้อดีที่ควรจะทำ
ยังคิดว่าค่าโดยสารแพงไปหน่อย
แต่อีก 4-5 ปีข้างหน้าต้นทุนอาจถูกลงได้อีก อาจเวิ้กก็ได้ครับ
ป.ล.
วิจัยด้วยเงินส่วนตัว ปล่อยให้เป็นสาธารณะ ผมว่าควรขอบคุณเขานะ
Hyperloop ก็เป็นเทคโนโลยีตัวหนึ่ง ใครออกตัวก่อน ใครหยิบฉวยโอกาสได้ก่อน ก็ได้เปรียบ
อย่างน้อยก็กล้าฝัน และให้คนรุ่นใหม่ที่ไม่มีทุนวิจัยได้ฝันไปด้วยกัน
ไม่มีทางที่จะถูกกว่า รถไฟความเร็วสูงครับ ในเมือค่าก่อสร้าง พอๆ กันหรือมากกว่า แถมผมไม่คิดว่าค่าดำเนินการจะถูกกว่าด้วย
ครื่องบินกรุงเทพ-เชียงใหม่ใช้เวลา 4 ชั่วโมง 15 นาที นี่ก็เกินไปครับ ไม่รู้คนเขียนรายงายเอาข้อมูลมาจากไหน
ผิดครับ อ้างอิงตามหน้า 54
เอกสารฉบับนี้บอกว่าเครื่องบินจาก กรุงเทพไปเชียงใหม่ ใช้เวลา 5 ชั่วโมง 45 นาที
ขอบคุณครับที่เเก้ให้
หน้า 28 ใช้เวลา 4.15 ชั่วโมง
หน้า 54 คือ 4.2.3.5 Discussion on the sensitivity
คุณอ่านอันเดียวกับผมรึเปล่าครับ
อ่าน figure40 ครับ
น่าจะเป็นเวลาเฉลี่ยนะครับ เชคอินก่อน 2 ชม บินจริง 1 ชม ถึงแล้วรอรับกระเป๋า ที่สายพาน 15-20 นาที แต่บางคนก็ไปก่อนมากกว่า 2 ชม อย่างผมจะไปก่อน 3 ชม เผื่อเวลารถติดด้วย
แต่ถ้าเป็น Pod ที่ออกบ่อย ๆ มันไม่ต้องไปรอล่วงหน้านานขนาดนั้นครับ ไปถึงลากกระเป๋าขึ้นเลย ถึงแล้วก็เดินลงมา
ใน report กรุงเทพ เชียงใหม่ใช้เวลา 5 ชั่วโมง 40 นาที
air asia บอก 1 ชัวโมง 20 นาที
ให้เวลาเช็คอิน 2 ชั่วโมงเลยเอ้า
เรื่องมาก่อนหลบรถติดไม่นับครับ ต่อให้ hyperloop ก็ต้องไปก่อนเวลา
ถ้ามี Pods ออกทุก 10 นาที อาจจะไม่ต้องจองล่วงหน้าครับ และในเมื่อไม่ต้องจองล่วงหน้าก็ไม่ต้องเผื่อเวลาครับ ไปตอนไหนก็ได้ที่เราถึงไม่จำเป็นต้องก่อนเวลาครับ
แต่ถ้าต้องจองล่วงหน้าก็ตามนั้นครับ ต้องเผื่อเวลารถติดเหมือนกัน
รวม embarking time ด้วยครับ พวกตรวจต่างๆ ครับ อ่านหน้าถัดไปครับ
embarking time รวมแล้วใช้เวลาเดินทาง เกือบ 6ชั่วโมง?
ผมว่ามันสูงไปนะ เอาตัวผมนี่บินไปอีสานบ่อยๆ บ้านอยู่ดินแดงเต็มที่ผมให้ 4ชั่วโมง
จากบ้านผม สมมติผมจะไปดอนเมืองหรือสุวรรณภูมิเร็วสุดก็ 1 ชม. ด้วย Taxi และควรไปก่อนเวลาปิดเกต(ไม่ใช่ปิด Counter Checkin)ซึ่งอยู่ในตั๋วอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ปกติ flight time เชียงใหม่ไม่รวมเวลา Taxi ของเครื่อง 45 นาที แต่จาก Gate to gate รวมเวลาที่ Ground ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 15 นาที ยังไม่นับเวลารอกระเป๋าสนามบินปลายทางอีกประมาณ 30 นาทีนับจากเครื่องเริ่ม unloading นับตามนี้ก็ 5 ชม ตั้งแต่ก้าวออกจากบ้านจนถึงก้าวออกจากสนามบิน
ประเด็นคือธนาธรเค้าระบุว่า hyperloop ใช้เวลาแค่ 1 ชั่วโมง 40 นาทีในการเดินทาง อ้างอิงตามเอกสาร ผมว่าเค้าคิดแค่เวลา gate to gate
จากเอกสารอ้างถึงการเดินทางระหว่างใจกลางเมืองกรุงเทพกับเชียงใหม่ซึ่ง Hyperloop อ้างว่าจะมีสถานีอยู่กลางเมืองจึงไม่คิดเวลาเดินทางด้วย Taxi (ซึ่งผมว่าก็ไม่ถูกนัก ทีนี้ลองเอาเวลาเดินทางกลับไปบวกใน Hyperloop เพิ่มอีก 1 ชม ก็จะอยู่ที่ 2 ชั่วโมง 12 นาที ก็ยังน้อยกว่าเวลารวมของการเดินทางด้วยเครื่องบิน) แต่ประเด็นที่คุยกันตามกระทู้นี้คือเวลาเดินทางด้วยเครื่องบินที่บอกว่า 5 ชั่วโมง 45 นาทีนั้นมากเกินไปนี่ครับ อย่าเพิ่งไปถึง Hyperloop สิ
ซ้ำครับ
หลังงานแห่ปราสาทผึ้งก็จะไปลองขอเค้านั่งดูครับ เอาเปเปอร์นี่ไปนั่งอ่านด้วย
การจะทำให้ท่อเป็นแวคคั่มยาวหลายร้อยกีโลไม่ใช่เรื่องง่าย
แต่ที่ยากกว่าคือจะรักษาการเป็นแวคคั่มไว้ตลอดได้อย่างไรต่างหาก
เกิดรอยรั่วขึ้นมาตรงจุดไหนต้องมาแวคคั่มใหม่ทั้งระบบ ค่าไฟจะทำแวคคั่มให้ได้จะคุ้มมั้ย
อีกอย่างห้องโดยสารต้องมีแรงดันและอากาศปกติที่ภายนอกเป็นแวคคั่ม
ห้องโดยสารต้องซีลอย่างดีเลยนะ แต่ต้องใช้งานหลายสิบปี ค่าซ่อมบำรุงพวกซีลต่างๆมหาศาล
มันเป็นเทคโนโลยีที่เป็นไปได้ แต่ไม่คุ้มกับการลงทุนครับ
ผมยังไม่เชื่อเทคโนโลยี Hyperloop อยู่ดี
เพราะมันเหมือนเอายานอวกาศติดระบบ Maglev แล้ววิ่งในตัวถังเรือดำน้ำ
ส่วนตัวให้ทำ R&D ระบบมอเตอร์ไฟฟ้า + Maglev ก่อนดีกว่า เพราะยังไงก่อนได้ Hyperloop ก็ต้องมี Maglev อยู่ดี
ผมเสียดายรถไฟความเร็วสูงจากรมต.ผู้แข็งแกร่ง ทำไมมันถึงเสียเวลาเสียโอกาสขนาดนี้เนี่ย
+1 ยังไม่ค่อยจะเชื่อในเทคโนโลยี Hyperloop เหมือนกันครับ และก็ยังไม่เชื่อใจในบริษัทที่วิจัยด้านนี้ซักบริษัท
ทำอะไรใหม่เป็นที่แรกอาจจะเสี่ยง แต่มันก็มีข้อดีตรงที่เป็นการลงทุนครั้งเดียวที่ผลตอบแทนสูง
ถ้าตอนนี้สร้างรถไฟความเร็วปานกลาง อีก 5 ปีทั่วโลกสร้าง hyperloop แล้ว การที่ไทยจะมาลงทุนเปลี่ยน
อีกครั้งไม่ใช่เรื่องง่าย แปลว่าต้องใช้รถไฟให้คุ้มเงินลงทุนไปก่อน ซึ่งเราอาจจะช้าไปแล้วก็ได้
อีกอย่างจะเป็นการสร้างงานจำนวนมหาศาลครับ
report ยังเหมือนจะยกเมฆอยู่เลย
อะไรเนี่ย ยิ่งแกะยิ่งพบความผิดปกติ ใครมีเอกสารแนะนำให้เซฟเก็บครับ ธนาธรมีสิทธิ์แก้
ในเอกสารค่าก่อสร้างถูกกว่ารถไฟฟ้าความเร็วสูงที่ญี่ปุ่น แค่ 3%
ไม่เหมือนที่คุยกันไว้นี่นา
ขอชื่นชมในการบุกเบิกวงการนี้ในประเทศไทยครับ
(แม้จะไม่ได้ชอบเจ้าตัวก็ตาม)
ผมว่าทุกคนไม่เห็นดอกจันเล็กๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ในเอกสารตอนแรกรึเปล่าครับ ที่เขียนว่า *ใช้เพื่อการโฆษณาเท่านั้น
อย่างน้อยก็มีโฆษณาให้เห็นนะครับ
เอาข้อมูล หรือพวกหัวข้อเหล่านี้มาศึกษาเพิ่มเติมได้ต่อ ไม่ได้จบที่เจ้านี้แน่ๆ ยังไงยังต้องศึกษาอีกเยอะครับ
เล็กจนผมมองไม่เห็นเลยครับ ...
แหม ... มันก็แค่รายการการการศึกษาเบื้องต้นเฉยๆครับ แม้เป็นโฆษณาก็ยังทำให้เห็นข้อมูลบางชนิดได้บ้าง อย่างน้อยช่วยให้คนมองไปจุดใกล้เคียงกันก่อนได้
ตอนแรก็อคติ แต่พอไปดูประวัติ อ๋อเขาจบวิศวกรรม ก็ไม่แปลกที่จะสนใจแถมทำธุรกิจแนว ๆ นี้ด้วย
อื้อหือ กินไฟหลักแสนล้านบาทต่อปี อันนี้คอมเม้นเฉยๆ เพราะยังไม่มีข้อมูลอัตตรากินไฟรถไฟฟ้า
จำได้ว่าอ่านเจอว่าเขาจะวาง solar cell panel ตลอดทาง ทำให้เป็น energy positive ฮะ แต่ไม่รู้ว่ารวมในรายงานรึยัง (รวมถึงต้นทุนด้วย)
ผมยังหาข้อมูลอัตราการกินไฟรถไฟความเร็วสูงไม่เจอเลย แต่สิ่งที่คิดจะเอาโซลาพาเนลมาติดตั้งนี่ผมว่า funny มากๆ ใหนจะสถานที่ติดตั้งใหนจะค่าดูแล
ต่อให้ทำได้ รถไฟความเร็วสูงอย่างอื่นก็ทำได้ครับ
สำหรับผม มองว่าเป็นไอเดียที่ดี และเหมาะกับเส้นทางที่ใช้งานสูงมากกว่า แต่จากสภาพแวดล้อมบ้านเรา ปัญหาน้ำท่วม ดินทรุด ไฟฟ้าไม่เสถียร ทำให้เกิดอุปสรรคได้ แถมต้นทุนก็ไม่ได้ต่างจากรถไฟฟ้าความเร็วสูงนัก อาจแพงกว่าด้วย
ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในตอนนี้คือ
- อัพเกรดเส้นทางรถไฟปกติให้เป็น 2 รางทั่วประเทศ แล้วให้เป็นระบบรางลอยฟ้าแบบที่ทำในขอนแก่น (แล้วทำสถานีลอยฟ้าไปเลยน่าจะดี ป้องกันน้ำท่วมซ้ำซาก)
- เปลี่ยนหัวรถจักรไปใช้ Diesel Electric หรือสายพาดเหนือขบวนแทนเพื่อลดมลภาวะ
- ทำโรงไฟฟ้าและจุดเก็บพลังงานเลี้ยงระบบรถไฟฟ้า (ง่ายสุดก็โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ทั้งหาง่ายและมีเยอะมากรอการใช้งาน)
- สร้างระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงไปยังเส้นทางที่มีการใช้งานสูงมากๆ เป็นหลัก
แค่นี้ ผมมองว่าโอเคกว่า Hyperloop ที่ดูแล้วน่าจะเป็นจริงได้ยาก แถมการเมืองก็นะ ตัวการขัดขวางความเจริญเลย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
โรงไฟฟ้าพลังงานขยะไม่น่าจะเพียงพอสำหรับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงนะครับ เราควรเพิ่มโรงไฟฟ้าถ่านหินได้แล้ว
ปัญหาที่จะตามมาคือ เกิดมลภาวะจากถ่านหินอีก แม้จะมีเทคโนโลยีดีแค่ไหนก็ตาม คนก็ต่อต้านซะเยอะ (ซึ่งต่อต้านหมดทุกอย่างว เพราะหวงความสุขและพื้นที่ของตนเองจนสุดโต่ง) แล้วส่วนใหญ่ก็ลดการใช้โรงไฟฟ้าถ่านหินแล้วใช้แหล่งพลังงานอื่นแทน เพราะสะอาดกว่า
ส่วนที่ผมบอกว่าให้ใช้โรงไฟฟ้าขยะ เพราะในประเทศ แค่ขยะก็มหาศาลแล้ว ลองให้รวบรวมส่งมาที่ศูนย์โรงไฟฟ้าฯ ผมว่าใช้งานได้อีกเป็นทศวรรษ
ขยะที่เรามี มักจะถูกทิ้งอย่างไร้ค่า ทั้งฝังกลบและกองภูเขา บางส่วนก็หมักหมมจนเกิดก็าซมีเทน ที่คนส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่า แถมไม่เอามาใช้ก็เกิดผลเสียต่อชั้นบรรยากาศอีก ดังนั้นโรงไฟฟ้าพลังงานขย์จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในตอนนี้แล้วหละครับ ลงทุนก็ไม่ได้สูงมากด้วย ดีกว่าถ่านหินด้วย ที่ต้องขุดจากเหมืองหรือนำเข้ามา มันจะไม่คุ้มในระยะยาว
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
สุดท้ายโดนต้านเหมือนถ่านหินอยู่ดี NGO เจ้าเดิมๆ ปลุกชาวบ้านที่ไม่ได้รู้ข้อมูล
ถ้าจะเอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน เอาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาเสียยังดีกว่า
ขอข้อมูลที่บอกว่าดีกว่ามากกว่านี้ด้วยครับ นอกจากการพูดลอยๆผมจะได้ยกเนื้อหามาเถียงให้ถูกประเด็น
ความรู้มีอยู่รอบตัว
ขอไม่คุยกับคนไม่มีความรู้ละกันครับ
ถ้าคิดว่าตัวเองรู้มากอยู่คนเดียวก็ตามสบายครับ
รถไฟรางคู่ก็มีอัพเกรดเรื่อยๆ และจะทำทั้งหมดแน่ครับ การทำทางยกระดับเรียกว่าแพงไป เหมาะกับการทำในเมืองมากกว่า แม้จะมีการต่อต้านจากพวกที่รุกที่การรถไฟฟ้าตาม
ส่วนรถดีเซลไฟฟ้า ยุโรปอาจจะไป Fuel Cell นะครับ
I need healing.
ซ้ำซะงั้น
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ถ้าทำแล้ววิจัยเทคโนโลยีโดยถือ License ที่สามารถผลิต เพื่อจำหน่ายต่อได้สนับสนุนครับ เพื่อพัฒนาบุคคลากรของเราไปด้วย เพราะเทคโนโลยีด้านเก็บพลังงานไฟฟ้า และผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอในการทำงานของระบบดูน่าสนใจสุดในโครงการนี้ น่าจะต่อยอดด้านอื่นได้อีกเยอะ ถ้าพัฒนาสำเร็จ อาจทำสายสั้นๆ ง่ายๆ ก่อน อย่างกรุงเทพ ชลบุรี หรือ กรุงเทพฯ นครราชสีมา วิ่งไปตามแนวถนนมอเตอร์เวย์ จะได้ไม่ต้องเวนคืน แล้วค่อยคิดทำสายยาวๆ
แต่ถ้าจะซื้อมาเพื่อใช้งานอย่างเดียวไม่สนับสนุนครับ มันยังใหม่เกิน ที่จะมาลอง แล้วเราก็ไม่ได้อะไรเลย
ผมว่าพลังงานไฟฟ้าไม่พอ ต่อให้โซล่าเซลล์ก็ไม่พอ ช่วงไหนพายุเข้าก็ ง่อย ทั้งลมทั้งแสงอาทิตย์ ถ้าพลังงานถ่านหินหรือปรมาณูไม่ผ่านก็อย่าหวังใช้อะไรที่ต้องกินพลังงานไฟฟ้าสูงๆเลยครับ ยิ่งตอนนี้ให้เพื่อนบ้านผลิตให้ถ้าเพื่อนบ้านเริ่มต้องใช้ไฟเยอะขึ้นบ้างเราจะเสียหายมหาศาล เพราะขาดไฟฟ้าจนต้องปิดบางระบบเพื่อให้บางระบบใช้ได้
นึกถึงเกมสร้างเมืองเลย ถ้าไม่สร้างโรงไฟฟ้าปรมาณูยังไงไฟก็ไม่พอ ต้องปิดบางอย่างเปิดบางอย่างสลับกันไปเพื่อให้เมืองอยู่รอด ซื้อไฟจากเมืองข้างๆนี่มันไม่สมจริงนิดหน่อยคือซื้อเท่าไหร่ก็ได้ตราบที่มีเงินแต่ของจริงต้องดูว่าเพื่อนบ้านเหลือมาจ่ายให้เราเท่าไหร่ยกเว้นทำสัญญากันไว้ จะสร้างโรงงานไฟฟ้าเพิ่มก็ไม่ทันแล้วไม่งบหมดก็ไม่มีที่ดินพอ วิบัติมากๆเลยหล่ะ
สภาพตอนนี้ไทยน่าจะเรียกว่าเหมาโรงไฟฟ้าจากลาวแล้วครับมีขายเท่าไหร่ไทยซื้อเรียบ อาทิตย์ก่อนกัมพูชาไฟดับมาขอซื้อยังไม่พอแบ่งขายให้เลย สภาพตอนนี้ถ้าทำโครงการใหญ่ใช้ไฟฟ้ามากๆ ไฟไม่พอจ่ายให้แน่นอนนอกจากต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม
นั่นสิครับ แล้วนี่รถยนต์ไฟฟ้าก็รณรงค์กันจัง แต่ไม่เห็นใครพูดเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเลย เดี๋ยวมาจริงเมื่อไหร่ค่าไฟบ้านพุ่งพรวดๆอีกแน่
ผมว่าไปศึกษาเรื่อง solar farm จริงจังให้ใช้ทั่วไทยเลยดีกว่า
เพราะที่ดินรกร้าง ตาบอด ตาถั่ว ฯลฯ ในไทยมีเยอะมาก ทิ้งไว้ตากแดดเหี่ยวแห้งทุกวัน
ถ้าไปลงทุนศึกษาหาวิธีวาง solar farm ในที่ดินร้างรายย่อยๆทั่วประเทศ
แล้ววางท่อวางสายไปสถานีท้องถิ่น ให้คุ้มๆ
ศึกษาวิธีแบ่งไฟฟ้า แบ่งกำไร วิธีให้กู้ลงทุน วิธีผ่อน ฯลฯ ด้วย
...น่าจะ boost เศรษฐกิจไทยได้แรงและยั่งยืนกว่าเยอะ
แถมได้พลังงานสะอาดเพิ่มเยอะแยะด้วย
เผื่อแทนที่โรงไฟฟ้าพลังน้ำมัน,ถ่านหิน ได้ในอนาคต
เรื่องความคุ้มค่าอาจจะไม่คุ้มครับ
แดดในไทยร้อนแต่ความเข้มแสงน้อยผลิตพลังงานได้ไม่มาก แถมโซล่าเซลดูแลรักษายาก เจอมรสุมเข้าทีก็ลำบาก
ที่สำคัญมันมีอายุการใช้งานที่จำกัดด้วยครับ แถมมีปัญหาเวลากำจัดมันตอนที่เป็นขยะ
สนับสนุน solar farm สำหรับรัฐอยากให้เอามาทำหลังคาทางเดินตามฟุตบาทมากครับ มันทำให้คนเดินได้ด้วยเพราะบ้านเราร้อนเดินลำบาก หลายจุดไม่ได้อยู่ตามแนวรถไฟฟ้าหรือทางด่วนแดดงส่องทั้งวันเลยครับ
ก็คิดซะว่าส่วนนึงก็หักเป็นคาหลังคาที่ควรทำอยู่แล้วคนจะเดินทางระยะสั้นกันได้ง่ายขึ้นหลายคนก็ไม่ได้อยากนั่งวินเลยนะแต่ทางเดินแดดมันร้อนเกิน ช่วยลดการใช้โรงไฟฟ้าช่วงใช้ไฟเยอะๆตอนกลางวันได้ด้วย
ประเด็นที่ทำให้Solar Farm มันไม่เวิร์คก็คือ ต้นทุนมันแพงกว่าค่าไฟฟ้าในปัจจุบันมากครับ
แผงมันมีวันเสื่อมสภาพ แผงมันต้องดูแลเช็ดถู สร้างพลังงานได้ไม่ต่อเนื่อง และมันก็ไม่ได้สะอาดอะไรมากด้วย พอมันเสื่อมสภาพแล้วก็กำจัดได้ยากเหมือนกัน เป็นมลพิษเหมือนเดิม เมืองไทยร้อนจริง แต่เป็นแบบร้อนชื้น ร้อนอบอ้าว เมฆเยอะ ผลิตกระแสไฟฟ้าได้น้อย ฯลฯ
อีกอย่าง ดินเมืองไทยนั้นถือว่าอุดมสมบูรณ์ สังเกตได้จากปลูกอะไรก็ขึ้นง่าย เหมาะกับการเอาไปทำเกษตรกรรรมสร้างอาหารมากกว่าเอามาผลิตกระแสไฟฟ้าอันน้อยนิดที่ได้จากSolarcell
และเผื่อไม่สังเกต แดดเมืองไทยมันก็ร้อนเท่าๆกันทุกหน้านั่นแหละ ที่รู้สึกร้อนๆนะมันร้อนจากอากาศ ปรากฏการณ์เรือนกระจก และความร้อนจากซีเมนต์ที่สะสมไว้คายออกมา
ที่พักผมตอนนี้อยู่ชานเมืองอากาศช่วงค่ำเย็นสบายดี กลางคืนเปิดพัดลมนอนยังต้องตื่นมาปิดเพราะหนาว
แต่พอกลับบ้านที่อยู่ในตัวเมืองกลับร้อนมาก ต้องเปิดแอร์นอนทั้งคืน
สรุปใจความที่อ่าน
1. Hyperloop ของ Transpod ยัง R&D อยู่ แค่ศึกษาความเป็นไปได้ โดยเปรียบเทียบต้นทุนกับรถไฟความเร็วสูงญี่ปุ่น ในเส้นทางเดียวกัน
2. ในรายงานนี้ บอกผลการศึกษาเบื้องต้น ต่อการลงทุนในประเทศไทย (พวกความคุ้มทุน จุดเลิกบริการ ฯลฯ ซึ่งไม่มีอะไรเกี่ยวกับ Hyperloop technology / คิดว่ารายงานนี้ ขายฝัน ก็คงไม่ผิดนัก)
ความเห็นต่อรายงานนี้
1. รายงานเหมาะแก่ผู้ลงทุน / insider มากกว่า ประชาชนทั่วไป ไม่ได้พูดถึงปัญหาหรือความเสี่ยงจากการใช้งานเลย ยกเว้นเกี่ยวกับไฟแนนซ์ของ hyperloop
2. ตัวเลขหลายๆตัว คิดว่าอ้างอิงมาจาก รายงานอื่นๆ มากกว่าคำนวณต้นทุนที่ถูกต้องเอง(เพราะ R&D อยู่)
ส่วนตัว
คิดว่าเสียเวลาอ่านฟรี จะมีให้ wow ว่ามีการศึกษาความเป็นไปได้ แต่จบด้วยการมีแต่ตัวเลขทางบัญชี
เอา Disclaimers (หน้า 117) มาไว้หน้าแรกก็คงจะดี ผู้อ่านจะได้เห็นง่ายๆในเบื้องต้นว่ารายงานมองในขอบเขตแค่ไหน
ผมเชื่อว่า assumptions ที่ TransPod คิดว่าไว้ยังมีความห่างจากความเป็นจริงในไทยอยู่พอสมควรเลย หลากหลายเรื่องอย่างที่หลายๆคอมเม้นกล่าวไป
ด้านข้อมูลที่มีก็น่าจะแม่นยำขึ้นเรื่อยๆ ถ้าได้วิศวะกรในประเทศเริ่มศึกษาวิจัยเรื่องนี้กันต่อ (ซึ่งก็ต้องมี R&D บ้างอยู่แล้ว)
แม้ส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยตั้งแต่แรกกับ hyperloop หากอคม.เข้ามาแล้วบอกจะสร้างโครงสร้าง hyperloop ทันทีเลย(ยังไงหว่า?) ผมนี่ส่ายหน้า แต่ถ้าบอกว่าเข้ามาแล้วเริ่มทำการทดลองแค่ไม่กี่กิโล อันนี้ผมว่าก็โอเคนะ
สุดท้าย รายงานนี้ช่วยให้ผมแน่ใจเรื่องเดียวว่า ถ้าคุณจะให้ทดลองทำไม่กี่กิโลเมตรเพื่อการวิจัย ผมเห็นด้วย อาจจะล่มในที่สุด แต่ผมยอมเสียภาษีเพื่อ possibility อันนี้ (ดีกว่าเรือเหาะแล้วกันฟร่ะ ผมยังมึนงงกับเรือเหาะไม่หาย)
ผมว่าเรื่องเรือเหาะยังเล็ก เรื่องเรือดำน้ำนี่ยิ่งกว่า ซื้อมาแล้วยังไม่มีอู่ให้จอดด้วย ส่วนรถถังก็ไม่รู้ว่าจะใช้ดีหรือเปล่า และอีกหลายเรื่อง
แต่ผมเห็นด้วย ถ้าคิดจะสร้างเป็นศูนย์ทดสอบขนาดเล็กสำหรับดูความเป็นไปได้ แล้วค่อยขยายสเกลทดสอบระยะสั้น ผมว่าโอเค อาจมาแนวเดียวกับรถไฟฟ้าความเร็วสูงของลุงตู่ที่อนุมัติช่วงไม่กี่กิโล แต่อันนั้นไปเริ่มของจริงแถมราคาแพงด้วยซะงั้นนะ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
โดนส่วนตัวคิดว่า ควรศึกษาให้ดีแล้วทำใหญ่ไปน่าจะคุ้มกว่า ทำสั้นๆ เพื่อการทดลองอาจจะไม่คุ้ม เพราะประเทศเราไม่ได้รวยขนาดเอาเงินมาทดลองอะไรแบบนี้ได้ ถ้าจะทำทดลองก็ไปศึกษาต่างประเทศเอา แล้วเอางบไปช่วยหน่วยงานอื่นจะดีกว่า จะประหยัดงบกว่านะครับ
คห.เรามี disconnect กันตรงนี้ว่าประเทศไม่ได้รวยนี่ละครับ เพราะผมกลับเชื่อว่าประเทศเรามีเงินพอทำอะไรแบบนี้ ถ้าบริหารเงินได้ดี ... รวมถึงงบที่ลงไปไม่หายระหว่างทางเยอะเกินไป ฯลฯ เราควรมีเงินพอครับ พอแบบแบ่งให้ไปทำเรื่องอื่นพร้อมกันด้วย
จะไม่มีใครว่าอะไรอนาคตใหม่เลย ถ้าการนำเสนอข่าวพรีเซ็นเตชันที่ผ่านมา ตรงกับข้อมูลในผลการศึกษาฉบับเต็มฉบับนี้
ค่าก่อสร้างก็ไม่พูดถึง
แถมยังแนะนำให้ข้ามรถไฟความเร็วสูงไปเลย รอ Hyperloop อ้างอิงตามข่าวเก่า
ผมว่านี่ไม่ใช่การขายฝันหละ