เมื่อพูดถึงแพลตฟอร์มระดมทุนออนไลน์แนว crowdfunding หลายคนอาจคิดถึงโปรเจกต์ล้ำๆ ใน Kickstarter, Indiegogo, GoFundMe ซึ่งออกแนวนำเสนอสินค้าเจ๋งๆ หรือโครงการแก้ปัญหาอะไรบางอย่างในสังคม ถ้าเจ๋งพอก็จะได้รับการระดมทุนเยอะ นำเงินไปสานต่อโครงการให้สำเร็จได้
แต่สำหรับครีเอทีฟสร้างผลงานทางศิลปะ พวกเขาต่างใช้ช่องทางโซเชียลในการลงงาน ไม่ว่าจะเป็น YouTube, SoundCloud, Facebook แต่โมเดลรายได้ก็ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับว่าจะมีแมวมองตาดีมาจ้างถ้ามียอดคนติดตามมากพอในโซเชียลมีเดีย ยังไม่นับเรื่องอัลกอริทึมที่คาดเดาไม่ได้ของโซเชียลมีเดีย เรียกได้ว่าต้องพึ่งพาตัวเองสูงมากกว่าจะมีรายได้เข้ามา
ภาพจาก Patreon on Facebook
Patreon ถือเป็นแพลตฟอร์มระดมทุนอออนไลน์อีกตัวหนึ่ง แต่เน้นระดมทุนให้ครีเอเตอร์งานศิลปะโดยเฉพาะ จุดต่างของ Patreon กับแพลตฟอร์มอื่นคือใช้ระบบจ่ายค่าสมาชิก (subscription) แทนการระดมทุนรายชิ้นธรรมดา
กล่าวคือ เราอาจคุ้นเคยกับการเห็นโครงการอะไรน่าสนใจ อยากสนับสนุน ก็เลือกบริจาคให้กับสินค้าหรือโครงการนั้นๆ แต่ Patreon จะให้คนบริจาคเป็นสมาชิกจ่ายรายเดือน แถมยิ่งจ่ายมาก ก็มีโอกาสเข้าถึงงานพรีเมี่ยมของศิลปินแต่ละคนได้มากขึ้น
ครีเอเตอร์บน Patreon มีตั้งแต่นักวาดการ์ตูน คนทำเพลง คนทำโปรดักชั่น ไปจนถึงคนทำพอดคาสต์ และนักเขียน โดยแต่ละคนจะโพสต์ผลงานตัวเองลงในหน้าโปรไฟล์ ผู้ชมสามารถกดดูผลงานแต่ละชิ้นได้ และบนโปรไฟล์จะระบุจำนวนคนติดตามที่สมัครสมาชิกจ่ายรายเดือนเพื่อจะเข้าถึงเนื้อหาของครีเตอร์นั้น
แต่ไม่ใช่ทุกผลงานที่ผู้ชมจะดูได้ เพราะบางงานต้องเป็นสมาชิกที่จ่ายเงินแล้ว (patron) โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่เดือนละ 5 ดอลลาร์
ยกตัวอย่างเช่นการ์ตูน 4 ช่องของ Extra Ordinary Comics ที่หน้าโปรไฟล์จะแสดงให้ดูแค่บางส่วน แต่ถ้าอยากเห็นทั้งหมด จะต้องเป็น patron จ่ายรายเดือน 5 ดอลลาร์ จึงสามารถดูการ์ตูนได้ทั้งหมด และยังสามารถเข้าถึงเนื้อหาพิเศษ เบื้องหลังการวาดของนักวาดการ์ตูนคนนี้ได้ด้วย
โมเดลราคารายเดือนมีหลายราคา แล้วแต่ตัวครีเอเตอร์จะกำหนดว่าจ่าย...ดอลลาร์ จะสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ระดับไหน โดยเริ่มตั้งแต่ 1 ดอลลาร์ต่อเดือนไปจนถึง 20 ดอลลาร์
ยกตัวอย่างเช่น พอดคาสต์ของ Crime Junkie Podcast ถ้าผู้ใช้เป็น patron หรือเป็นสมาชิกที่จ่าย 5 ดอลลาร์ทุกเดือน จะได้ฟังพอดคาสต์ของเขาเดือนละ 1 ตัว และมีโอกาสได้โหวตหัวข้อที่อยากฟัง หากถ้าเป็นสมาชิกรายเดือนที่จ่าย 10 ดอลลาร์ จะได้ฟังพอดคาสต์ตอนพิเศษเพิ่มมาอีกเดือนละตัว ได้ไฟล์ mp3 ไปเก็บไว้ เป็นต้น ส่วนถ้าใครเป็นแฟนคลับของนักดนตรี หรือติดตามผลงานเพลงของใครคนหนึ่งอยู่ นักดนตรีนั้นๆ ก็สามารถกำหนดสิทธิพิเศษได้ เช่น ยิ่งจ่ายมาก แฟนๆ ก็ยิ่งมีโอกาสได้พบปะพิเศษ หรือเข้าชมมินิคอนเสิร์ต
ครีเอเตอร์ยังสามารถให้รางวัลคนที่สนับสนุนเขาด้วยของเล็กๆ น้อยๆ เช่น สติกเกอร์ เสื้อยืด แล้วแต่ครีเอเตอร์แต่ละคนจะกำหนดได้อย่างอิสระ แต่ต้องระบุรายละเอียดให้ชัดบนหน้าโปรไฟล์
Patreon จะเก็บค่าคอมมิชชั่นจากครีเอเตอร์ มี 3 ระดับคือ
Patreon ก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2013 โดย Jack Conte นักดนตรีที่หารายได้จาก YouTube พัฒนาแพลตฟอร์มอุปภัมภ์ศิลปินร่วมกับ Sam Yam เพื่อร่วมสถาบันเดียวกัน ปัจจุบันทำหน้าที่เป็น CTO เป้าหมายคือ ทำให้ Patreon เป็นช่องที่เรียบง่ายในการขายสินค้าของผู้สร้างงาน
ทางบริษัทระบุว่าในช่วง 18 เดือนแรกนับแต่ก่อตั้ง มีผู้ใช้งานที่จ่ายเงินเพื่อสนับสนุนผู้สร้างงาน 125,000 ราย จนกระทั่งปลายปี 2014 บริษัทระบุว่ามีผู้ใช้งานจ่ายเงินใ้ผู้สร้างงานแล้ว 1 ล้านดอลลาร์ ต่อเดือน
ข้อมูลจาก Patreon ระบุว่าปัจจุบันมีผู้ใช้งานแอคทีฟรายเดือนที่ 2 ล้านราย และผู้สร้างงานที่แอคทีฟ 1 แสนราย เฉพาะปี 2018 มีผู้ใช้สนับสนุนรายได้ให้ผู้สร้างงาน 300 ล้านดอลลาร์ ทางบริษัทยังบอกอีกด้วยว่า Patreon ช่วยให้ผู้สร้างงานมีรายได้เพิ่มขึ้นสองเท่า
ตัว Jack Conte ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์เคยให้สัมภาษณ์สื่อ พูดถึง pain point ของการผลิตคอนเทนต์ซึ่งตัวเขาก็เป็นนักดนตรีมีช่อง YouTube เขาบอกว่าครีเอเตอร์รู้สึกหงุดหงิดกับความแตกต่างระหว่างสิ่งที่พวกเขารู้สึกว่าคุ้มค่า กับเงินที่พวกเขาทำได้จริง ยอดรับชมบน YouTube ไม่ได้นำมาซึ่งรายได้ และการที่อัลกอริทึม Facebook เปลี่ยนแปลง คัดเลือกเฉพาะบางเนื้อหาขึ้นหน้าฟีด หรือการที่ครีเอเตอร์พึ่งพาแพลตฟอร์มใหญ่ในการแสดงงานนั้นเป็นสัญญาณไม่ดี อ่านข้อมูลได้ที่ 1, 2
สำหรับคนไทย Patreon อาจดูไกลตัว และยังดูงงๆ แต่โมเดลธุรกิจทำนองนี้ในไทยก็พอมีให้เห็นบ้างแล้ว เช่น การจ่ายเงินเพื่ออ่านนิยายตอนถัดไปของนักเขียนคนโปรดใน Fictionlog หรือจ่ายเพื่ออ่านการ์ตูนใน WEBTOON เพียงแต่ Patreon ขยายของเขตของงานสร้างสรรค์ให้ครอบคลุม ไม่เทหนักไปงานประเภทใดประเภทหนึ่ง ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถเข้ามาเลือกประเภทงานที่ตัวเองชอบเสพเป็นประจำอยู่แล้ว กดเลื่อนดู เห็นใครน่าสนใจหรือเราติดตามใครอยู่ก็เลือกจ่ายเงินเริ่มที่เดือนละ 5 ดอลลาร์ เพื่อจะได้ดูงานของเขาต่อได้เรื่อยๆ
Comments
พูดตรงๆนะครับผมรู้จักแพลตฟอร์มนี้จากคอนเท้นต์เถื่อน กับ 18+ ครับ แต่ไม่ได้ไปใช้บริการหรอกนะแค่รู้ว่ามีเฉยๆ
+1 จาก tumblr อีกที
Jack Conte นี่กล้ามคอดีมากครับ เล่นดนตรีแล้วโยกคอดึ๊กๆ เหมือนนก ดูแกเล่นดนตรีแล้วปวดคอแทน
Open source ใช้งานเยอะนะครับ แต่ไม่ค่อยจะโอเคกับการจ่ายรายเดือน คนไม่ชอบ เขาชอบจ่ายครั้งเดียวมากดว่า
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
ละเอียดดีครับ ^^
ສະບາຍດີ :)
รู้จักจากเพจหิ่งห้อย
┬┴┬┴┤ ͜ʖ ͡°) ├┬┴┬┴
กดเวอร์ชั่นมืดปกติหรือเคโมะไปครับ
รู้จักผ่าน DotA imba โหมดที่เวอร์วังอะลังการ จนลืมเล่นแบบธรรมดาไปเลย
สนับสนุนครับ รายได้ถึงมือเจ้าตัวศิลปินจริงๆ งานสร้างสรรค์ก็ควรได้รับค่าตอบแทน
:)
ปลาทอง
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
รู้จักครั้งแรกจาก h-game LoL
The Dream hacker..
ปลาทองสินะครับ รู้จักครั้งแรกจากเหล่านักวาดของต่างชาติ(ผมตามพวกงาน tag:furry)
แต่บางท่านพอได้ยอดคนซับเยอะๆ ก็ขึ้นราคาโดยไม่แจ้ง โก่งราคาเปลี่ยนTireงานปกติให้สู้ขึ้นบ้าง
บางท่านจากซับ10$/เดือน(ได้รับทุกงานที่ทำในเดือนนั้นๆ)ไปๆมาๆเปลี่ยนเป็น10$/งาน(เดือนไหนมีออกมา3งานโดนไป30$)
รู้สึกเหมือนโดนหักหลังอะครับ สุดท้ายก็ Un-sup. เกือบหมด ที่เหลืออยู่ส่วนใหญ่ก็ต่างชาติทั้งนั้นเลยครับที่ราคาคงที่ซับมาเป็นปีๆไม่มีเปลี่ยน
ที่ว่ามาทั้งหมดไม่ได้แอนตี้คนไทยแต่อยากเตือน
จะเริ่มซับงานอะไรใครก็คอยเช็คเงื่อนไข Rewards กันบ่อยๆด้วยครับเพราะเปลี่ยนกันได้
ไม่งั้นชื่นชมผลงานอยู่ดีๆก็เสียความรู้สึกกันได้ครับ จากประสบการณ์ตรง