ปี 2022 เจสัน อัลเลน ชนะการแข่งขันศิลปะดิจิทัลในโคโลราโด ด้วยภาพ Théâtre D'opéra Spatial โดยใช้ AI Midjourney สร้างผลงานและ Gigapixel โดยหลังจากนั้นเขาออกมากล่าวว่า “ศิลปะตายแล้ว AI ชนะ มนุษย์แพ้”
แต่ต่อมาเขาอ้างว่าได้สูญเสียรายได้หลายล้านเหรียญจากการถูกขโมยผลงานจนมูลค่าของภาพลดลง เนื่องจากผลงานจาก AI ไม่ได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์
สัปดาห์ที่ผ่านมาเขาจึงได้ร้องต่อศาลจากการที่สำนักงานลิขสิทธิ์สหรัฐฯ ไม่จดลิขสิทธิ์ให้กับภาพของเขา
Google Arts & Culture ประกาศอัพเดตฟีเจอร์ Art Selfie ที่แปลงรูปถ่ายเซลฟี่ให้เป็นภาพงานศิลปะหรือฉากอื่น ๆ โดยเวอร์ชันใหม่ Art Selfie 2 นี้ เป็นการแปลงภาพถ่ายด้วยพลัง Generative AI มีทั้งทำให้เป็นภาพฉากหลังเขาเอเวอเรสต์, บรรยากาศใน Monet's Garden และอื่น ๆ ซึ่งตอนนี้มีให้เลือกมากกว่า 25 รูปแบบ และจะเพิ่มเติมอีกในอนาคต
ชุมชนงานศิลปะออนไลน์บางกลุ่ม เช่น Newgrounds, Inkblot Art, และ Fur Affinity แบนรูปภาพที่สร้างจาก AI อย่าง Midjourney, Stable Diffusion หรือ DALL-E
อย่าง Fur Affinity ประกาศว่าไม่อนุญาตให้โพสต์ภาพที่สร้างจาก AI เพราะ “ไม่มีคุณค่าทางศิลปะ” (lacked artistic merit) ส่วน Newgrounds ได้ออกแนวทางใหม่ที่ไม่อนุญาตให้สร้างภาพใหม่จากผู้ให้บริการวาดภาพจาก AI รุ่นใหม่ ๆ ที่รวมถึง Midjourney, DALL-E และ Craiyon รวมถึงเว็บไซต์อย่าง ArtBreeder นอกจากนี้ InkBlot แพลตฟอร์มงานศิลปะที่ได้รับการสนับสนุนจาก แหล่งระดมทุน Kickstarter ก็ไม่ยอมรับงานศิลปะที่สร้างจาก AI ด้วยเช่นกัน
ศิลปิน Jason Allen โพสต์รายละเอียดในห้อง Discord ของ Midjourney ว่า รูปที่ใช้ Midjourney วาดและพิมพ์ลงผืนผ้าใบของเขาในชื่อ “Théâtre D'opéra Spatial” ชนะการประกวด Colorado State Fair ในหมวด Digital Arts
Allen ระบุว่าเขาสร้างภาพด้วย Midjourney จากคำสั่งของเขากว่า 100 ภาพก่อนจะเลือก 3 ภาพที่ดีที่สุดมาอัพสเกลด้วย Gigapixel และพิมพ์ลงผืนผ้าใบ ซึ่งเขาก็ระบุตอนส่งผลงานประกวดด้วยว่า ภาพนี้เป็นภาพที่ใช้ AI สร้างขึ้นมา
ประเด็นของ Allen ทำให้เกิดข้อถกเถียงและการตั้งคำถามอย่างมาก ไม่ว่าจะบน Twitter, Reddit หรือ Discord เช่น อนาคตของศิลปินที่เป็นมนุษย์จริง ๆ จะเป็นอย่างไรต่อไป บางคนก็บอกว่าเราก็น่าจะปรับตัวในแง่การใช้งานจริงกับเทคโนโลยี แบบเดียวกับเสียงสังเคราะห์ในอุตสาหกรรมเพลง
NFT ยังเป็นกระแส และถูกพูดถึงในไทยต่อเนื่อง KASIKORN X หรือ KX ผู้พัฒนา Coral แพลตฟอร์มจำหน่ายงานศิลปะ NFT จึงร่วมกับ สภากาชาดไทย จัดงาน Digital Arts NFT RedCross x KX เพื่อจัดแสดงผลงานศิลปะจากฝีพระหัตถ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ถือเป็นครั้งแรกที่ผลงานศิลปะของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ถูกแปลงเป็นดิจิทัลไฟล์ และผู้สนใจสามารถครอบครองงานศิลปะดังกล่าวผ่านเทคโนโลยี NFT ได้ ทั้งยังได้บุญผ่านการบริจาคให้สภากาชาดไทยเพื่อใช้ช่วยเหลือประชาชนจากภัยพิบัติต่าง ๆ
Stijn van Schaik นักเรียนศิลปะในกรุงเฮก ลงขายวิญญาณของเขาเองในรูปแบบงานศิลปะ NFT ชื่อ “Soul of Stinus” หรือ “วิญญาณของ Stinus” ที่เป็นชื่อผู้ใช้ของเขา บนเว็บไซต์ OpenSea
Stijin หรือ Stinus ทำเว็บไซต์อธิบายการขายวิญญาณของเขา พร้อมมีหน้าข้อตกลง “Sale of Soul Agreement” ระบุในสัญญาว่าผู้ซื้อสามารถทำอะไรกับวิญญาณเขาได้บ้าง เช่น สามารถประกาศตัวในสาธารณะได้ว่าเป็นเจ้าของวิญญาณเขา รวมถึงสามารถโอนวิญญาณเขา และบูชายัญวิญญาณเขาให้กับเทพองค์ใดก็ได้
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงปีที่ผ่านมา วงการ NFT ค่อนข้างเป็นที่คึกคัก ได้รับความสนใจทั้งในระดับประเทศและระดับโลก โดยเฉพาะการถูกนำมาเป็นแพลตฟอร์มการซื้อขายผลงานศิลปะ ให้ศิลปินมีช่องทางการขายและสร้างชื่อเสียงได้ง่ายขึ้น ขณะที่นักสะสมก็สามารถแสดงเป็นเจ้าของผลงานศิลปะนั้นได้จริงๆ
แต่หากกลับมามองในประเทศไทย ก่อนหน้านี้ทั้งศิลปินและนักสะสม ยังต้องพึ่งพาแพลตฟอร์มต่างประเทศแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งก็อาจมีอุปสรรคและปัญหาในหลายๆ ส่วน ไม่รวมวงการศิลปะเองที่กำลังเผชิญปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ ผลงานถูกขโมยและนำไปวางขายในแพลตฟอร์มต่างประเทศ ยากแก่การดำเนินเรื่อง ขณะที่แพลตฟอร์มเองก็ยากที่จะพิสูจน์ว่าผลงานดังกล่าวเป็นของผู้ที่วางขายจริงหรือไม่
Bored Ape หรือชื่อเต็ม Bored Ape Yacht Club เป็นงานศิลปะ NFT ที่มีจำนวนจำกัด 10,000 แบบสร้างจากการมิกซ์และแมตช์องค์ประกอบต่างๆ ออกมาเป็นภาพลิงที่มีเอกลักษณ์ และมีดาราเช่น Jimmy Fallon และ Steph Curry เป็นเจ้าของ โดยเคยทำสถิติราคาขายที่ 2.25 ล้านดอลลาร์ ในงานประมูลของ Sotheby’s และเป็นของสะสมที่มีค่าในวงการ NFT คล้ายงานชุด CryptoPunks
แอปพลิเคชัน Google Arts & Culture เพิ่มลูกเล่นสนุกๆ พร้อมทั้งเสริมความรู้งานศิลปะด้วยการเปิดตัวฟีเจอร์ Pet Portraits จับคู่รูปภาพสัตว์เลี้ยงของเรา กับสัตว์ที่มีอยู่จริงในผลงานศิลปะ
วิธีการคือ ถ่ายรูปสัตว์เลี้ยงประเภทต่างๆ ผ่านกล้องจากแอป หลังจากนั้นตัวแอปจะใช้ Machine Learning จับคู่รูปกับงานศิลปะ ซึ่งอาจจะไป match กับรูปศิลปะอียิปต์โบราณ หรืองานสตรีทอาร์ตสไตล์เม็กซิกัน และภาพเขียนจีน เป็นต้น
Adobe อัพเดต Photoshop ด้วยการเพิ่มเครื่องมือ Content Credentials ตัวระบุความเป็นเจ้าของผลงานศิลปะที่นักออกแบบสร้างขึ้น แก้ปัญหาผลงานถูกขโมยไปลงขาย NFT นอกจากนี้ นักออกแบบยังสามารถเชื่อมบัญชีของตัวเองเข้ากับบัญชีวอลเลตคริปโตได้ ผู้ที่มาซื้อผลงาน NFT จะได้มองเห็นว่าบัญชีวอลเลตของเจ้าของผลงาน กับบัญชีวอตเลตที่นำผลงานขึ้นระบบ NFT (minting) เป็นคนเดียวกัน
Ai-Da หุ่นยนต์ศิลปินที่มีหน้าตาเหมือนมนุษย์ตัวแรกของโลกจากประเทศอังกฤษ และ Aidan Meller ผู้สร้าง ถูกทางการอียิปต์กักตัวไว้ 10 วัน หลังมาถึงอียิปต์เพื่อเตรียมจัดแสดงงานศิลปะในบริเวณใกล้เคียงกับมหาพีระมิดในงาน Forever is Now สัปดาห์นี้
ทางการอียิปต์กังวลว่ากล้องในตาของ Ai-Da และโมเด็มในตัว จะสามารถทำให้ Ai-Da ล้วงความลับทางการของอียิปต์ได้ จึงกักตัวทั้ง Ai-Da และผู้สร้างเธอไว้จนกว่าจะยืนยันรายละเอียดได้ว่าพวกเขาไม่ใช่สายลับก่อนจะได้รับการประสานงานจากสถานทูตอังกฤษ และได้รับการปล่อยตัว
KX หรือ KASIKORN X บริษัทลงทุนที่มุ่งผลิตสตาร์ทอัพด้าน Decentralized Finance and Beyond ออกสู่ตลาด อยู่ในเครือ KBTG เปิดตัว Coral แพลตฟอร์ม NFT Marketplace หนุนศิลปินไทยและเอเชียขายผลงานศิลปะ NFT สามารถใช้เงินธรรมดาอย่างเงินบาท หรือเงินดอลลาร์สหรัฐฯหรือ Fiat money ซื้อได้ และสามารถซื้อได้ผ่านบัตรเดบิต เครดิตและแอปธนาคาร แต่ยังซื้อผ่าน Cryptocurrency ไม่ได้
ขายหัวเราะ หนังสือการ์ตูนขำขันที่อยู่คู่คนไทยมายาวนาน และในยุคหลังเริ่มปรับตัวให้เข้ากับยุคดิจิทัลมากขึ้น ทั้งมีแฟนเพจบน Facebook และวางขายทั้งบน Meb และ Ookbee
ตอนนี้ขายหัวเราะเตรียมล้ำไปอีกขั้น ด้วยการนำผลงานต้นฉบับออริจินัล จากนักเขียนชื่อดังรุ่นใหญ่ตั้งแต่ยุค 70 เช่น อาวัฒน์ ตาโต จุ๋มจิ๋ม และอื่นๆ กว่า 50 ภาพ มาลงขายแบบ NFT บนแพลตฟอร์ม OpenSea และจะมี rare item เป็นต้นฉบับภาพวาดที่ได้เป็นปกขายหัวเราะยุคบุกเบิก ทยอยปล่อยให้ติดตามทุกสัปดาห์
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ เตรียมทำโปรเจกต์ชิ้นงานศิลปะดิจิตอลแบบ NFT ร่วมกับ NFT1 โปรดักชั่นเฮ้าส์ผลิตงานศิลปะ NFT สัญชาติไทย ที่เคยร่วมผลิตผลงาน NFT ให้กับศิลปินอย่าง YOUNGOHM
โปรเจกต์นี้ยังไม่เปิดเผยว่าเป็นงานศิลปะประเภทไหน ลงประมูลแพลตฟอร์มได้ หรือเริ่มเปิดประมูลเมื่อไร แต่ข้อมูลเบื้องต้นจากโพสต์ทวิตเตอร์ของธนาธร ระบุว่ารายได้ทั้งหมดจากการประมูลงานชิ้นนี้จะถูกนำไปบริจาคให้กับกองทุนด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย เพื่อเป็นส่วนในการสนับสนุนการต่อสู้ของประชาชน
NFT หรืองานศิลปะที่มาพร้อมโทเค่นแสดงความเป็นเจ้าของที่ทำงานบนบล็อกเชน เริ่มเป็นกระแสในศิลปินไทยมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจาก ไข่แมวที่ลงขายงานบน OpenSea และคนอื่นๆ แล้ว ยังมี “โบว์” ปัณฑิตา มีบุญสบาย ศิลปินชื่อดัง ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ลงประมูลงาน NFT สองภาพ บนเว็บไซต์ Foundation เว็บประมูลงานศิลปะ NFT
ภาพทั้งสองมีชื่อว่า “Banana is a truth art. (Add it can eat)” ปิดการประมูลไปที่ 1.97 ETH หรือราว 123,000 บาท และ “Reject humanity return to monkey.” ปิดการประมูลไปที่ 2.6951 ETH หรือราว 173,000 บาท
ไข่แมว ศิลปินภาพการ์ตูนแนวเสียดสีสังคม ลงขายงานศิลปะแบบ NFT (Non-Fungible Token) หรืองานศิลปะดิจิทัลที่มีโทเค่นเอกลักษณ์แนบไปด้วย เพื่อเป็นเครื่องหมายระบุความเป็นเจ้าของบนบล็อคเชน
งานศิลปะของไข่แมวลงขายบนเว็บไซต์ OpenSea เว็บไซต์ตลาดซื้อขาย NFT บนเครือข่าย Ethereum ในราคาชิ้นละ 0.3 ETH หรือราว 21,000 บาท ภาพที่นำออกขายในครั้งแรกมีจำนวนถึง 31 ภาพ แต่มีภาพหนึ่งเป็นเพียงกรอบ 4 ช่องเปล่าๆ โดยไข่แมวโพสต์แชร์บน Facebook
เมืองวิลเนียส ประเทศลิทัวเนีย สร้างงานศิลปะชื่อว่า PORTAL เป็นหน้าจอทรงกลมพร้อมกล้องถ่ายวิดีโอสองทาง แสดงภาพเมืองลับลิน ประเทศโปแลนด์ ที่อยู่ห่างไปราว 600 กิโลเมตร และคนทั้งสองฝั่งสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้เสมือนเป็นประตูมิติที่เชื่อมถึงกันตลอดเวลา ดีไซน์ของโครงการระบุอิงจาก “กงล้อแห่งเวลา” และยังระบุว่าได้แรงบันดาลใจจาก “สัญลักษณ์บางอย่างที่รู้กันในวงการไซไฟ” (ซึ่งน่าจะเป็นสตาร์เกต)
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon สร้างหุ่นยนต์วาดรูปเพื่อทำการวิจัยและหาคำตอบว่า หุ่นยนต์จะสามารถเลียนแบบสไตล์การลงฝีแปรงตามศิลปินชื่อดังได้หรือไม่
ทีมวิจัยใช้ระบบ AI ร่วมกับแขนหุ่นยนต์ และใส่ข้อมูล input เป็นรูปแบบการลงฝีแปรงของศิลปิน จากนั้นให้แขนหุ่นยนต์จุ่มแปรงลงในสีและวาดรูป portrait ของคนๆ หนึ่งโดยใช้เทคนิคการลงแปรงพู่กัน จากนั้นจึงให้ผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์ 112 คนดูรูป พบว่ามีกว่าครึ่งที่ไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นรูปที่วาดโดยหุ่นยนต์
Adobe เปิดตัว Adobe Fresco แอพพลิเคชั่นวาดรูปแยกออกมาอีกตัว โดยเน้นที่ Brush พู่กันสีน้ำและสีน้ำมันเสมือนจริง โดยเริ่มใช้บน iPad ก่อน ล่าสุด Adobe ประกาศจะขยาย Fresco ไปยังอุปกรณ์ไมโครซอฟท์ และ Wacom ด้วย
สามารถใช้งานได้ในอุปกรณ์ ดังนี้
Google ร่วมมือกับกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ให้ผู้ใช้งานสำรวจวังหน้าในรูปแบบดิจิทัลบนแอพพลิเคชั่นและเว็บไซต์ Google Arts & Culture ผ่านนิทรรศการ วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา ซึ่งจะมีเนื้อหาการสำรวจวังหน้าในมุมมองต่างๆ พร้อมด้วยภาพ Street View มีไฮไลต์ดังนี้
ในงาน Adobe Max ปี 2018, Adobe เปิดตัว Project Gemini แอพพลิเคชั่นวาดรูปในตระกูล Adobe Creative Cloud ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานบน iPad และปากกา Apple Pencil โดยเฉพาะ ล่าสุด Adobe เปลี่ยนชื่อ Project Gemini เป็น Adobe Fresco และเริ่มเปิดให้ลงทะเบียนใช้งานเวอร์ชั่นเบต้าแล้ว
จุดเด่นของ Fresco คือฟังก์ชั่นสีน้ำและสีน้ำมันที่ให้ความรู้สึกเหมือนกำลังวาดสีบนปูนหรือผ้าใบจริงๆ โดย Blognone มีโอกาสได้ลองใช้งานแอพเวอร์ชั่นเบต้ามาช่วงสั้นๆ ก่อนจะเปิดให้ใช้งานจริงภายในปีนี้
เมื่อพูดถึงแพลตฟอร์มระดมทุนออนไลน์แนว crowdfunding หลายคนอาจคิดถึงโปรเจกต์ล้ำๆ ใน Kickstarter, Indiegogo, GoFundMe ซึ่งออกแนวนำเสนอสินค้าเจ๋งๆ หรือโครงการแก้ปัญหาอะไรบางอย่างในสังคม ถ้าเจ๋งพอก็จะได้รับการระดมทุนเยอะ นำเงินไปสานต่อโครงการให้สำเร็จได้
แต่สำหรับครีเอทีฟสร้างผลงานทางศิลปะ พวกเขาต่างใช้ช่องทางโซเชียลในการลงงาน ไม่ว่าจะเป็น YouTube, SoundCloud, Facebook แต่โมเดลรายได้ก็ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับว่าจะมีแมวมองตาดีมาจ้างถ้ามียอดคนติดตามมากพอในโซเชียลมีเดีย ยังไม่นับเรื่องอัลกอริทึมที่คาดเดาไม่ได้ของโซเชียลมีเดีย เรียกได้ว่าต้องพึ่งพาตัวเองสูงมากกว่าจะมีรายได้เข้ามา
Patreon ถือเป็นแพลตฟอร์มระดมทุนอออนไลน์อีกตัวหนึ่ง แต่เน้นระดมทุนให้ครีเอเตอร์งานศิลปะโดยเฉพาะ จุดต่างของ Patreon กับแพลตฟอร์มอื่นคือใช้ระบบจ่ายค่าสมาชิก (subscription) แทนการระดมทุนรายชิ้นธรรมดา
โลโก้หน้า Google หรือ Doodle ที่เปลี่ยนไปตามเทศกาลและวาระสำคัญ และบุคคลสำคัญต่างๆ สร้างความประทับใจให้ผู้ใช้ทั่วโลกมานาน ล่าสุดเปิดตัวเป็น Doodle เวอร์ชั่น 360 องศา และผลงานแรกคือ À la conquête du pôle หรือ Back to the Moon ของ Georges Méliès ผู้สร้างภาพยนตร์ชาวฝรั่งเศสในตำนานที่ทำหนังมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1
วันนี้ผู้ใช้ตะเห็น Doodle บน Google จะเปลี่ยนเป็นชายร่างผอมที่มีชุดสูทที่เก่าแก่ เมื่อคลิกเข้าไปแล้วจะได้พบกับผลงานของ Méliès ถือเป็น Doodle 360 ตัวแรกตั้งแต่มี Doodle มา ผู้ใช้สามารถใช้เมาส์คลิกลากดูงานรอบๆ หรือใช้แว่น VR Cardboard, Daydream โดยต้องโหลดแอพ Google Spotlight Stories (แอพดูวิดีโอแบบ 360 องศา) มาก่อน
Google Arts & Culture แอปพลิเคชั่นเพื่องานศิลปะของ Google ร่วมมือกับ CyArk บริษัทสร้างฐานข้อมูลดิจิทัลในรูปแบบสามมิติเน้นเก็บข้อมูลสถานที่ขนาดใหญ่ ทำสถานที่โบราณที่เสียหายไปแล้วในรูปแบบสามมิติ ให้ผู้ใช้ได้ชื่นชม เช่น วัด Ananda Ok Kyaung ในเมียนมาร์ที่เสียหายจากภัยธรรมชาติในปี 2016, โบราณสถานสมัยอยุธยาของไทย, โบราณสถานในอัฟกานิสถานที่เสียหายจากกลุ่มตอลีบัน เป็นต้น
เทคโนโลยีของ CyArk สามารถจับภาพสถานที่โบราณและแสดงภาพที่ให้รายละเอียดอื่นเช่น พื้นผิวผนัง สี รูปทรงเรขาคณิต โดยใช้เครื่องสแกนเลเซอร์ที่ให้ความแม่นยำสูง เก็บข้อมูลด้วยโดรน เมื่อได้ข้อมูลมาก็สร้างโบราณสถานแห่งใหม่รูปแบบดิจิทัลในสภาพก่อนที่จะเกิดความเสียหายจากปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติ เก่าไปตามกาลเวลา หรือเสียหายจากพฤติกรรมนักท่องเที่ยว
Google กำลังทดลองฟีเจอร์ใหม่น่าสนุกให้ลองเล่นกันในแอพ Google Arts & Culture เป็นฟีเจอร์จับคู่รูปภาพเซลฟี่ตัวเองกับภาพวาดของศิลปินมีชื่อเสียงและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
Google ใช้เทคโนโลยี computer-vision ในการตรวจสอบใบหน้าเซลฟี่ของผู้ใช้ ว่าคล้ายคลึงกับภาพวาดใด โดยเทียบกับคลังภาพวาดที่มีเป็นพันๆ ชิ้นตามพิพิธภัณฑ์ที่เชื่อมข้อมูลกับแอพ Google Arts & Culture อย่างไรก็ตามฟีเจอร์นี้ยังอยู่ในขั้นตอนทดลอง และใช้งานได้เฉพาะในสหรัฐฯ
แอพ Google Arts & Culture เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2016 เป็นแอพที่ให้ผู้ใช้ทัวร์ชมงานศิลปะในพิพิธภัณฑ์ระดับโลกได้ผ่านแอพ ทัวร์ชมพิพิธภัณฑ์กว่า 1,000 แห่งผ่านแว่น VR พร้อมสำรวจคลังข้อมูลงานศิลปะ โบราณวัตถุ โบราณสถานระดับโลกได้