สหรัฐฯ เคยถูกรัสเซียแทรกแซงการเลือกตั้งในประเทศโดยใช้ Facebook ไต้หวันเองก็เตรียมรับมือกับปรากฏการณ์นี้ด้วย โดยไต้หวันเตรียมจะแบนวิดีโอสตรีมมิ่งของจีนจาก Baidu และ Tencent เพราะเกรงว่าจะมีเนื้อหาที่เป็นโฆษณาชวนเชื่อแทรกแซงการเลือกตั้งไต้หวันที่กำลังจะมีขึ้นในปี 2020
นาย Chiu Chui-Cheng รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกิจการแผ่นดินใหญ่ของไต้หวันบอกว่า รัฐบาลเตรียมจะแบน iQiyi สตรีมมิ่งรายใหญ่ของจีนที่มี Baidu เป็นเจ้าของ รวมทั้งจะปิดกั้นการเข้ามาของสตรีมมิ่งจาก Tencent ที่จะเข้ามาตีตลาดในไต้หวันในปลายปีนี้ ด้วยเกรงว่าเนื้อหาสตรีมมิ่งจะมีอิทธิพลทางวัฒนธรรมและการเลือกตั้งในไต้หวัน ซึ่งเป็นไปได้มากว่า เนื้อหาจะมีส่วนหนึ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญโฆษณาชวนเชื่อของจีน หรืออาจมีข้อความเนื้อหาที่เชื่อมโยงกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ภาพจาก iQiyi
ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไต้หวันเริ่มเสื่อมถอยลง ตั้งแต่ ไช่ อิง เหวิน ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีที่มาจากพรรคหัวก้าวหน้า และจีนก็มีความเชื่อว่าพรรคของเธอกำลังแสวงหาทางให้ไต้หวันเป็นเอกราชจากจีน
iQiyi ได้รับความนิยมในไต้หวันพอสมควร ข้อมูลจากบริษัทระบุว่าตัวแพลตฟอร์มมีคนไต้หวันใช้งานรายวันถึงสองล้านคน เนื้อหาที่นำเสนอก็มีพวกละครจีน ละครเกาหลี เช่น "Story of Yanxi Palace" และ "Ruyi Royal Love in the Palace" เกี่ยวกับการต่อสู้ของสตรีเพื่ออำนาจในราชสำนักโบราณของจีน
ปัจจุบัน ไต้หวันไม่อนุญาตให้มีแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งจีน ประจำการอยู่ที่ไต้หวันอยู่แล้ว แต่ที่คนไต้หวันสามารถดู iQiyi เพราะเป็นการทำธุรกิจผ่านบริษัทตัวแทนคือ OTT Entertainment
ที่มา - Nikkei Asian Review
Comments
จะเรียกว่าแทรกแซงเหรอ ในเมื่อไต้หวันเป็นของจีน ?
มุมมองของคนจีนแผ่นดินใหญ่: ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน
มุมมองของคนไต้หวัน: ไต้หวันเป็นเอกราชและไม่ขึ้นตรงต่อจีน
เลือกมุมมองไหนดี อีกอย่างไต้หวันก็โดนจีนยึดที่นั่งใน UN ด้วย
คนสองประเทศนี้ เค้าไม่ไป มาหาสุ้กัน เหรอ
ไม่ถูกกันตั้งแต่เจียงไคเช็คกับเหมาเจ๋อตุง ตอนอพยพออกจากจีนพร้อมวัตถุโบราณจากจีนไปไต้หวันแล้ว จริงๆ ลแ้วควรจะแยกเป็นอิสระไปนานแล้วด้วยซ้ำ แต่จีนไม่ยอมไง มันก็ยังคาราคาซังอยู่จนถึงทุกวันนี้
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ผมเคยคุยกับเพื่อนคนนึง ซึ่งเป็นคนจีน แต่ผมไม่รู้ว่าเป็นคนจีนจากที่ไหน
ผมถามเค้าไปว่า
Are you from China or Taiwan ?
หลังจากนั้นผมก็โดนสวนกลับทันที
I'm from China and Taiwan is not a country.
หลังจากนั้นผมเริ่มระวังการตั้งคำถามแบบนี้มากขึ้น
ผมจะใช้คำว่า Mainland China, Hong Kong, Macau หรือ Taipei แทน
ส่วนเรื่องจีน ไต้หวัน ไปมาหาสู่กันไม๊ ในด้านธุรกิจ และ การท่องเที่ยว เป็นเรื่องปกติครับ
ไปๆมาๆกันอยู่แล้ว นักท่องเที่ยวจีนแผ่นดินใหญ่ก็ไปเที่ยวไต้หวันกันเยอะ จนมีบางร้าน ใส่ Menu หรือป้าย เป็นตัวเขียนย่อ เอาไว้ด้วยเลย (ที่ไต้หวันใช้ตัวเขียนเต็ม)
ส่วนเรื่องการเมืองการทหาร ก็ว่ากันไป ตามข่าวที่เรารู้ๆกัน
ผมอยากตอกกลับใส่มากเลยว่า "But for me, maybe for others and other country, Taiwan is a country."
ผมไม่ค่อยชอบการต่างประเทศของจีนเอาเสียมาก ๆ มีเรื่องอื้อฉาวเยอะ และชอบหาเรื่องพิพาทระหว่างดินแดนบ่อย
บางอย่างต้องรักษาความสัมพันเพื่อเป็นช่องทางทางธุรกิจหรือคอนเน็คชั่น ถ้าคุณทำแบบนั้นแล้วเขาแบนคุณขึ้นมาจะอยู่ยากครับ ของจีนแรงนะ ถ้าเกลียดคุณขึ้นมาข้อมูลคุณอาจจะกระจายในจีนก็ได้จนติดต่อเรื่องอะไรเขาไม่อยากตอบรับเลย คุณอยากจะลองก็ได้เพราะผมก็อยากรู้ว่าจะโดนแอ็คชั่นตอบกลับมาระดับไหนเหมือนกัน แต่ผมไม่อยากเสี่ยงเองหน่ะนะ ยิ่งตอนนี้ใครอยากทำมาค้าขายต้องเล็งจีนก่อนนั่นหล่ะ
ปัญหานี้แก้ได้หลายวิธี แต่มักจะเป็นไปไม่ได้
ปัญหาไต้หวันกับจีน ก็คงจะนานเหมือนกับ Series การเมืองบ้านเราตั้งแต่ 2475 เลยครับ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
พอคุณลิสท์มาแบบนี้แล้วกลายเป็นว่า ถ้ากลับไปย้อนอ่านดู
ข้อ 1 ที่ว่าเป็นไปไม่ได้นั่นแหละ ที่มีโอกาสเป็นไปได้ง่ายที่สุดเมื่อเทียบกับข้ออื่น
ก็อย่างที่บอกไป จีนกับไต้หวันไม่ถูกกันตั้งแต่เจียงไคเช็คหนีจากจีนมาก่อตั้งไต้หวัน แล้วเป็นมายาวนานด้วย นานกว่าสองเกาหลีด้วยซ้ำ ไม่น่าเข้าร่วมง่ายครับแบบนี้ ยกเว้นจีนจะแทรกแซงแบบเดียวกับที่ทำกับฮ่องกงไง
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ติข้อ 3. ถ้าสาธารณรัฐประชาชนจีน (ปักกิ่ง) ล่มจริง สาธารณรัฐจีน (ไทเป) ก็จะอ้างสิทธิ์เป็นรัฐบาลจีนโดยชอบธรรมแทน ตลอดที่ผ่านมารัฐบาลไทเปไม่ประกาศเอกราชแยกเป็นอีกประเทศหนึ่งไป เพราะยังคงอ้างสิทธิ์เป็นรัฐบาลของประเทศจีน กระแสให้ไต้หวันแยกออกมาเป็นเอกราชเพิ่งมีเห็นด้วยมากขึ้นในสมัยหลังจากที่ความแตกต่างในด้านต่าง ๆ ของทั้งสองรัฐบาลทิ้งห่างกันมากจนหลายคนเองก็ไม่เห็นแววว่ารัฐบาลไทเปจะได้กลับมาเป็นรัฐบาลเพียงหนึ่งเดียวของประเทศจีน