ทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติในชื่อกลุ่ม Event Horizon Telescope (EHT) เปิดเผยภาพหลุมดำที่ถ่ายได้เป็นภาพแรกของโลกซึ่งเป็นภาพของกาแล็กซี่ M87 ที่ห่างออกไปจากโลก 55 ล้านปีแสง ภาพที่ได้นี้ใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุจาก 8 ที่ในการถ่าย
จากภาพถ่ายที่ปรากฎศูนย์กลางวงกลมสีดำเป็นขอบของ event horizon ซึ่งเป็นบริเวณที่วัตถุหรือแม้แต่แสงไม่สามารถหนีออกจากแรงโน้มถ่วงของหลุมดำได้และขอบสว่างโดยรอบที่เรียกว่า ring of fire เกิดจากแก๊สความร้อนสูงที่หมุนอยู่โดยรอบและเลี้ยวเบนเข้าสู่ศูนย์กลาง ซึ่งตรงตามทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอสไตน์ที่ทำนายไว้ก่อนหน้านี้
กลุ่ม EHT อาศัยเทคนิคที่เรียกว่า very-long-baseline interferometry (VLBI) ที่ต้องนัดจังหวะเวลาจับภาพระหว่างกล้องโทรทรรศน์ในกลุ่มให้พร้อมกัน และอาศัยการหมุนตัวของโลกเพื่อให้ได้ภาพที่เหมือนมีกล้องโทรทรรศน์ขนาดเท่าโลกทั้งใบ โดยกล้องโทรทรรศน์ในกลุ่มจับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ความยาวคลื่น 1.3 มิลลิเมตร
กล้องโทรทรรศน์ที่ร่วมสร้างภาพครั้งนี้ได้แก่ ALMA, APEX, IRAM 30-meter telescope, James Clerk Maxwell Telescope, Large Millimeter Telescope Alfonso Serrano, Submillimeter Array, Submillimeter Telescope, และ South Pole Telescope (ดูแผนที่ตำแหน่งกล้องท้ายข่าว) กล้องแต่ละตัวจับคลื่นความแม่เหล็กไฟฟ้าความยาวคลื่นที่กำหนดในช่วงเวลา 10 วันในปี 2017 โดยกล้องโทรทรรศน์แต่ละตัวสร้างข้อมูลวันละ 350 เทราไบต์ ทำให้ไม่สามารถส่งผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้จึงต้องส่งข้อมูลที่บรรจุในฮาร์ดไดร์ฟเพื่อนำไปประมวลผลภาพ
ข้อมูลทั้งหมดถูกส่งไปประมวลผลโดยใช้ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่สถาบันวิทยุดาราศาสตร์ Max Planck และ MIT Haystack Observatory ร่วมกัน
ที่มา - Event Horizon Telescope, BBC
Comments
10 วัน = 3.5 เพตาไบต์ * 8 ตัว
ก็ควรแล้วที่ประมวลผลตั้งแต่ปี 2017
ตอนอ่านถึง 2017 ก็สงสัยว่า เอ๊ ทำไมเพิ่งเปิดเผยตอนนี้ แล้วก็คิดต่อว่าแบบนี้ถ้าทำโครงการไปเรื่อยๆ เป็นปีๆ ได้ภาพมาหลักหลายร้อยหลายพันภาพจะประมวลให้เห็นภาพชัดๆ ได้มั้ย
พอถึง 350 TB ก็.... บาย
ปล. ว่าแต่ต้องส่งฮาร์ดดิสก์ทีละกี่ตัวกันนะ
น่าจะส่งทั้งตู้ SAN เลย
ไม่รู้คือทั้งหมดเลยเปล่าน ทำไมดูน้อยๆ
ของสถานีเดียวรึเปล่าครับ ปีนั้นHDD ที่ใหญ่ที่สุดน่าจะ 16TB แต่น่าจะใช้ตัวที่รองลงมาคือ 12 หรือ 10 มากกว่า
ดูจากที่มีแล้วน่าจะแค่ 800-960TB เป็นอย่างมาก
แล้วข้อมูลขนาดนั้นไม่แน่ใจว่ามีเทคนิคในการบีบอัดด้วยรึเปล่า
ไม่ใช่ทั้งหมดครับ
ขอบคุณครับ
Disk เยอะขนาดนี้จะเอาเข้าเครื่องไหนอ่านเนี่ย
ในหน้า Technology หัวข้อ Data Collection at Wide Bandwidths ของเว็บ EHT บอกว่าใช้เครื่อง Mark 6 ครับ
ขอบคุณครับ
ดูเป็นเครื่องทำมาเฉพาะทางเลย
350TB ในอีก 30 ปี ข้างหน้ามองกลับมา จะเหมือนเรามอง Harddisk เมื่อ 30 ปีที่แล้วไหม
คิดว่า hdd จะเหมือน floppy disk นะ ส่วน ssd อาจจะแทนที่ hdd
ผมคิดว่าตอนนั้นเราคงไม่ต้องใช้หน่วยความจำแล้วครับ cloud อย่างเดียว
แล้ว cloud ก็ต้องใช้หน่วยความจำอยู่ดีนะครับ แถมมีกรณีที่ไม่จำเป็นต้องใช้ Cloud หรือ ไม่สามารถใช้ Cloud ได้อีกนะครับ
55ล้านปี ป่านนี้ตรงนั้น ณ เวลาเดียวกับเรา จะเป็นยังไงบ้างนะ
ผมว่ามันอาจจะใหญ่กว่าเดิมนะครับ
I need healing.
ทำไมจ้องดูภาพนานๆ แล้วเหมือนภาพมันเคลื่อนไหวได้ด้วย O_O
อ่านผ่านๆนึกว่าเป็นกาแลกซีเดียวกับมนุษย์ยักษ์สีแดง 5555
ถามเอาความรู้หน่อยครับ ทำไมหลุมดำที่แม้แต่แสงก็หนีไม่พ้น แต่กลับถูกถ่ายด้วยกล้องได้ครับอยากรู้ ในทางปฏิบัติกล้องที่ใช้สัญญาณวิทยุเป็นตัวช่วยบันทึกภาพไม่น่าจะถ่ายติดหลุมดำได้ ความคิดผมหลุมดำมีสภาพเหนือกว่าพลังงานหรือวิญญาณในลัทธิความเชื่อ
กล้องน่าจะเป็นกล้องจับภาพที่เฉพาะแสงที่เราเห็นหรือเปล่าครับ แล้วความถี่แสงที่ปล่อยออกมาอาจจะอยู่ในย่านที่ตาเรามองเห็น
ส่วนทำไมเห็นแสงได้ เพราะมันอยู่ในขอบฟ้าเหตุการณ์ แสงยังออกมาได้
มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ
เดา:
เราไม่ได้ถ่ายหลุมดำ เราถ่ายแสงรอบๆ
ตามนี้ครับ ในเนื้อข่าวก็มีอธิบายว่าตรงกลางที่ดำๆ คือในเขต event horizon
ว่าแต่ ring of fire นี่มันบางจนถ่ายตรงกลางได้มืดขนาดนั้น
ลองเปรียบหลุมดำเป็นดาวเสาร์ ring of fire = accretion disk เสมือนวงแหวนดาวเสาร์ แล้วมองไกลๆ จากบริเวณขั้วดาวเสาร์ คงจะได้ภาพทำนองนี้ครับ
ขอบคุณครับ ผมก็ลืมไปว่ามันต้องวิ่งรอบด้วยไม่ใช่แค่ไปคลุมเป็นฟองสบู่
หลุมดำเมื่อเริ่มดูดสสารรอบข้างเข้าสู่ตัวเองมากขึ้น มวลก็จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆครับ มวลที่เพิ่มสูงมากขึ้น ก็ส่งผลให้แรงดึงดูดสูงขึ้นตามเช่นกัน มวลมันมากจนสร้างแรงดึงดูดที่แม้แต่แสงที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าก็ยังต้องถูกดูดกลับดข้าไปครับ แล้วแสงที่ถ่ายได้โดยรอบคือพลังงานในพื้นที่ส่วนที่ยังไม่เข้าไปสู่จุด No Return Point
จริงๆ แล้ว แสงเป็นทั้งคลื่นและอนุภาคครับ และด้วยสมบัติของการเป็นอนุภาค แสงจึงสามารถตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสนามโน้มถ่วงได้
แสงเป็นอนุภาคที่ไม่มีมวล ไม่น่าตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสนามโน้มถ่วงหรือเปล่าครับ?
ไม่ถูกครับ แสงเองก็อยู่ภายใต้อิทธิพลจากสนามโน้มถ่วงครับ ดูเรื่อง Einstein ring ก็ได้ครับ
ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพแล้วแรงโน้มถ่วงเป็นแรงเสมือนจากกาลอวกาศที่บิดโค้งครับ ดังนั้นเมื่อกาลอวกาศบิดตัว แสงที่เดินทางก็จะต้องบิดตามเช่นกันครับ
ซึ่งถ้ามองในแง่กาลอวกาศบิดโค้งนั้นก็ไม่น่าเกี่ยวกับว่าเป็นทั้งคลื่นและอนุภาค เพราะแม้แต่คลื่นล้วนๆ เองก็ต้องบิดโค้งไปด้วยหรือเปล่าครับ? จะว่าไปคลื่นความโน้มถ่วงนี่จะถูกบิดได้ด้วยหรือเปล่า
อิทธิพลของสนามโน้มถ่วง ถ้ามองแบบ Newtonian ก็คือ w=mg ก็เลยทำให้ Newtonian physics คิดว่าไม่มีผลต่อแสง
อิทธิพลของสนามโน้มถ่วง ถ้ามองแบบ Einsteinian มันคือ space time curvature ที่วัตถุจะไหลไปสู่สุดที่ potential energy ต่ำสุด รวมถึง photon ด้วย
{$user} was not an Imposter
ถ่ายเพื่อให้ติบขอบด้านข้าง (ขอบฟ้าเหตุการณ์) ซึ่งแสงยังคง ลอดออกมาได้อยู่
จากนั้นจุดที่ถ่ายไม่ติด แต่มีแสงอยู่รอบๆตัวมัน มันก็คือหลุมดำนั่นเอง
https://youtu.be/omz77qrDjsU?t=835 ประมาณนี้ครับ
ดาวฤกษ์มันไปติดรอบๆ ขอบฟ้าเหตุการณ์ (event horizon) มันหมุนเร็วมากๆ (คล้ายๆกับโลกที่หมุนรอบดวงอาทิตย์) ภาพที่เห็นน่าจะเป็นดาวฤกษ์
หลุมดำน่าจะเป็นส่วนที่เป็นสีดำตรงกลางครับ ส่วนสีแดง ๆ โดยรอบคือแสดงที่เกิดจากความร้อน เป็นส่วนที่ยังไม่ถูกดูดเข้าไป
ขอเสริมจากเม้นท์บนๆ ลองดูคลิปนี้เป็นตัวอย่าง ring of fire ที่สปินรอบๆ หลุมดำครับ
https://www.youtube.com/watch?v=zUyH3XhpLTo
ที่ผมดูมา อันนี้อธิบายได้ชัดเจน มากที่สุด
แต่ถ้าถามความเชื่อส่วนตัว ผมว่าถ่ายติดปรากฏการณ์ Einstein cross มากกว่า เพราะมันมี Signature ของภาพอยู่คือ ฉากหลังมืด มีจุดแสงสามจุด บนวงแสงด้านหนึ่ง ทำมุมกัน 60 องศา
ด้านตรงข้าม มี กลุ่มแสงอีก จุดหนึ่ง สว่างต่ำๆ
+10^10
{$user} was not an Imposter
นึกถึงหนังเรื่อง interstellar เลย เหมือนเปี๊ยบ
https://www.youtube.com/watch?v=MfGfZwQ_qaY
หลุมดำเหมือนเป็น Bug ของจักรวาลเลย พี่แกจะดูดๆ ทุกอย่างไปเรื่อยๆ สะสมมวลเข้าไปอีกจนทุกอย่างดับสูญหมด
อาจจะเป็นฟีเจอร์ที่พระเจ้าสร้างไว้ ตั้งเวลาเพื่อล้างขยะทั้งหลายในจักรวาล เพิ่มพื่นที่ว่างไว้สร้างสิ่งใหม่ๆ วันนึงเราอาจเป็นหนึ่งในขยะเหล่านั้น
กลัวว่ามันล้างจนไม่เหลือ แบบไม่สามารถสร้างอะไรใหม่ได้เลย พอมีสิ่งเกิดใหม่ก็โดนดูดหายไป รอจนกว่ามันจะระเบิดล้างเริ่มต้นกันใหม่
ของที่ถูกดูดเข้าไป อาจจะกลายเป็น Resource ในการสร้างจักรวาลใหม่ภายในหลุมก็ได้นะ
มีทฤษฎีว่า สสารที่ถูกดูดไม่ได้หายไปไหนครับ ไม่ได้ดับสูญแต่เป็นกบายข้อมูลอยู่บริเวณอีเวนท์ฮอไรซันครับ
ข้อมูลนี่ บิต 0, 1 งี้เลยหรอครับ แต่ผมว่ามันน่าจะเป็นสะสารสักอย่างสะสมๆ ในหลุมดำทำให้หลุมดำขยายไปเรื่อยๆ
ขอเสริมครับ ส่วนวงมืดตรงกลางนั้นไม่ใช่แค่ตัวขอบฟ้าเหตุการณ์ (event horizon) พอดีครับ แต่มันยังรวมพื้นที่รอบขอบฟ้าเหตุการณ์ที่แสงจากตาเราโดนเลี้ยวเบน (unstable circular photon orbits) ซึ่งรัศมีประมาณ 2-3 เท่าของขอบฟ้าเหตุการณ์
ส่วนแสงที่เห็นคือแสงจานพอกพูนมวล (accretion disk) ที่เกิดจากมวลสารก่อนที่จะตกเข้าสู่หลุมดำ มันจะต้องชนกับมวลสารอื่นๆ เพื่อเสียพลังงานเชิงมุมก่อนจะตกเข้าสู่หลุมดำ พลังงานที่เสียไปส่วนใหญ่ก็จะอยู่ในรูปพลังงานความร้อน เป็นล้านองศา ทำให้มวลสารเปล่งแสงในช่วงความถี่ต่างๆออกมาให้เราบันทึกไว้ได้
บางคนตั้งข้อสงสัย ทำไมภาพมันดูเบลอๆ ไม่ชัด ต้องบอกว่า หลุมดำมีขนาดเชิงมุมเล็กมากจากโลก อย่างรูปหลุมดำ M87 นี้ มันเล็กเสมือนพยายามถ่ายรูปแผ่นซีดี ที่วางบนดวงจันทร์ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องพัฒนาเทคนิคและความร่วมมืออย่างมากมายในการถ่าย/และสร้างรูปนี้ขึ้นมาให้สำเร็จ
ส่วนที่เป็นเหตุการณ์ใหญ่ เพราะนี่เป็นครั้งแรกที่มีการบันทึกภาพหลักฐานโดยตรงของการมีอยู่ของหลุมดำ ก่อนหน้านี้เป็นการอนุมาน จากการเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์ขนาดใหญ่รอบๆพื้นที่ต้องสงสัย แต่ไม่เคยถ่ายรูปตรงๆสำเร็จ
+1
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
ขอบคุณครับ หายสงสัยไปเยอะเลย
#InsertBlackHoleMemeHere
ขนาดของข้อมูลยังไม่สามารถที่จะส่งทางอินเตอร์เน็ทได้
ตรงนี้น่าสนใจ ว่าอนาคตจะทำได้หรือไม่ และจะทำได้ภายในระยะเวลาเท่าไหร่
กล้องโทรทรรศน์ตัวหนึ่ง อยู่ที่ขั่วโลกใต้ครับ จริงอยู่ว่าอาจจะมีอินเตอร์เน็ตให้ใช้งานได้ แต่ bandwidth น่าจะต่ำ (ผู้ให้บริการปกติคงไม่มีใครจะไปลงทุนตั้งโครงข่ายเน็ตความเร็วสูงบนนั้น? - เท่าที่เคยดูสารคดี ไม่มีบริการมือถือที่นั่นนะ) จนไม่คุ้มที่จะถ่ายโอนข้อมูลปริมาณ 3500 TB จากกล้องฯผ่านเน็ต
สู้โอนลง HDD แล้วรอหน้าร้อน (ซึ่งเอาจริงก็ไม่ได้ร้อนสักเท่าไร แต่สภาพอากาศจะทารุณน้อยกว่าหน้าร้อนมาก) แล้วค่อยขนส่งมา น่าจะไวกว่าส่งผ่านหลอดยาคูลท์ครับ
ปัญหาคือ ใครจะไปลงทุน infrastructure ครับ ไหนจะค่า maintenance ในสภาพอากาศที่ทารุณขนาดนั้นอีก
จริงๆ ทุกวันนี้ ข้อมูล 1TB+ นี่ผมว่าส่งฮาร์ดดิสก์คุ้มกว่าทั้งนั้นนะครับ พวกคลาวด์ส่งระหว่าง datacenter ในเมืองก็แบบนี้ทั้งนั้น
lewcpe.com, @wasonliw
รบกวนแก้ไข"สัมพันธภาพ" เป็น "สัมพัทธภาพ" ด้วยนะครับ คนไทยยังคงใช้คำนี้ผิดอยู่มาก สายวิทยาศาสตร์เห็นแล้วหงุดหงิดมากๆ
แก้สความร้อนสูงที่หมุนอยู่โดยรอบและเลีี้ยวเบนเข้าสู่ศูนย์กลาง
ชื่นชมในความพยายามและความเก่งกาจของนักวิทยาศาสตร์ทุกๆท่านครับ ถ้าไอสไตน์ยังอยู่ แกคงดีใจเนอะ
..: เรื่อยไป
คลิปนี้อธิบายไว้ดีมากเลยครับ
อวกาศที่ระยะทางเป็นอนันต์ หาที่สิ้นสุดไม่ได้ หรือว่าเราก็อยู่ในหลุมดำหลุมนึง ที่ไม่สามารถออกไปนอก Event Horizon ได้