หากใครแก่พอ ในอดีต อุปกรณ์ต่างๆ ของพีซีไม่สามารถเสียบแล้วใช้งานได้ทันที จนกระทั่งไมโครซอฟท์เริ่มนำแนวคิด Plug and Play (PnP) มาใช้ครั้งแรกใน Windows 95 ทำให้ชีวิตของผู้ใช้สะดวกขึ้นมาก
ปัญหาแบบเดียวกันกำลังเกิดขึ้นในโลกของอุปกรณ์ IoT เพราะสินค้าของผู้ผลิตแต่ละรายใช้งานร่วมกันได้ยาก ไมโครซอฟท์จึงพยายามแก้ปัญหาด้วยวิธีการคล้ายของเดิม และรอบนี้ใช้ชื่อว่า IoT Plug and Play
IoT Plug and Play เป็นภาษาที่ใช้กำหนดสเปกการเชื่อมต่อของฮาร์ดแวร์ (modeling language) ที่ไมโครซอฟท์กำหนดขึ้นมาให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ใช้ร่วมกัน (และแน่นอนว่าเชื่อมต่อกับบริการของ Azure ได้) ตอนนี้มีบริษัทฮาร์ดแวร์เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับไมโครซอฟท์แล้วหลายราย เช่น Compal, Kyocera, Sharp, VIA, STMicro, Espressif เป็นต้น
อุปกรณ์ IoT ที่ผ่านการรับรองจากไมโครซอฟท์แล้ว จะอยู่ในฐานข้อมูล IoT Catalog เพื่อให้นักพัฒนาสามารถดูข้อมูลเพื่อวางแผนล่วงหน้าก่อนเริ่มลงมือพัฒนาได้ด้วย
ที่มา - Microsoft
Comments
ยังทันสมัยต่ออุปกรณ์กับ LPT port ใน Windows 3.11 / Windows 95/98 แล้วต้องเสียบแผ่น floppy disk กด setup driver และเลือกพอร์ตที่ต่อก่อนจะใช้งานได้ กว่าจะใช้งานอุปกรณ์ได้ก็ซักพักอยู่
มายุคนี้เสียบ USB จบเลย detect เอง ลง driver ให้เองด้วย แป็บเดียวคุยรู้เรื่อง USB นี่มันเปลี่ยนโลกจริงๆ นะ ขนาดจนทุกวันนี้เราก็ยังใช้ USB พอร์ตเดิมกันอยู่เลย
+1 ทุกวันนี้เสียบแล้วไม่รู้จักว่าเป็นอุปกรณ์ประเภทไหน หรือใช้ๆ อยู่ก็เสียไปดื้อๆ ก็เดาได้เลยว่ามันน่าจะเสียแล้ว แต่สมัยโน้นต้องจัด IRQ ให้ ถ้าจัดชนกัน เครื่องก็ค้างอีก แถมต้องมาดูก่อนว่าอุปกรณ์ไหนใช้ IRQ ไหนได้บ้างเพื่อจะได้จัดให้ใช้งานได้ แถมต้องลง driver ก่อนถึงจะรู้ว่าอุปกรณ์ใช้ได้หรือเปล่า
Expressif > Espressif
ไม่มีผู้ผลิตอุปกรณ์ (Xiaomi, Philips, Samsung) หรือผู้สร้างแพลตฟอร์ม (Phiplips, Google Home, Alexa, Apple Home) ร่วมวงเลย
lewcpe.com, @wasonliw
ผมว่าเขาได้หัวหาดเป็นบรรดา Hardward ที่ผู้พัฒนาต้องใช้ของเหล่านี้เป็น Pototype หรือใช้ในแวดวงอุตสาหกรรม อย่างน้อยก็เก็บภาคอุตสาหกรรมเรียบร้อยครับ แถม IoT ที่ทำเงินจริงมันคือ Industry ไม่ใช่ Consumer ด้วย