Infarm เป็นสตาร์ทอัพจากเยอรมนีที่ให้บริการในแบบที่อาจเรียกได้ว่า Farm-as-a-Service โดยนำฟาร์มกล่องขนาดเล็ก ไปวางไว้ตามจุดต่าง ๆ ในเมือง เน้นที่ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านอาหาร โดยล่าสุดเพิ่มรับเงินทุนซีรี่ส์ B อีก 100 ล้านดอลลาร์ สตาร์ทอัพรายนี้มีความน่าสนใจในการผสานเทคโนโลยี มาใช้กับธุรกิจการเกษตร ที่เน้นจับลูกค้าในเมืองซึ่งมีข้อจำกัดพื้นที่
บริการของ Infarm คือการติดตั้งตู้กระจกสำหรับปลูกผักแนวตั้ง ทำให้สามารถวางได้ในพื้นที่ทั้งเล็กหรือใหญ่ แล้วให้พื้นที่นั้นร่วมดูแลจัดการผักที่ปลูกในตู้เอง ขณะที่ฝั่ง Infarm ก็เชื่อมต่อข้อมูลการเพาะปลูกด้วย IoT เพื่อเก็บข้อมูล และควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต เมื่อถึงเวลาที่เก็บเกี่ยวทีมของ Infarm ก็จะเข้ามาทำการเก็บผลผลิต
แนวคิดหลักของ Infarm คือการยกฟาร์ม ที่เป็นพื้นที่เพาะปลูกผลิตผลทางการเกษตร ให้ใกล้ถึงมือผู้บริโภคมากขึ้น จึงนำตู้เพาะปลูกมาวางตามพื้นที่จัดจำหน่ายให้มากที่สุด นอกจากนี้ยังได้ประโยชน์จากการลดพื้นที่มาเป็นการปลูกในอาคาร ลดปริมาณคาร์บอนได้อีกด้วย
ปัจจุบัน Infarm มีตู้เพาะปลูกกว่า 350 แห่งในเยอรมนี ส่วนเงินเพิ่มทุนล่าสุดก็จะนำมาขยายสาขาสู่อเมริกานั่นเอง
ที่มา: TechCrunch
Comments
จุดขายแข็งแกร่งมาก ผักออร์แกนนิคที่ผู้ซื้อเลือกเก็บจากแปลงปลูกได้เอง ได้ทั้งภาพผักสด และ experience ครบจริง เหมาะกับชุมชนเมืองที่ประชากรหนาแน่น ต่อไปคงมีร้านสะดวกซื้อแบบขายผักออร์แกนนิกทำสลัดอย่างเดียว ไม่มีพนักงานในร้าน ใครซื้อก็เข้าไปเก็บแล้วตัดเงิน ระบบก็เอาแขนกลแบบในตู้คีบตุ๊กตาเอาต้นใหม่มาใส่แทน พวกผักออร์แกนนิคทำสลัดราคาค่อนข้างสูงอยู่แล้ว สร้างภาพเรื่องสุขภาพ และความสนุกในการเก็บผักหน่อยก็น่าจะเกิดได้
เป็นผักไฮโดรโปนิกครับ ใช้ปุ๋ยเคมีผสมไปกับน้ำ ถ้าผักออร์แกนิคจะจะใช้พวกปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยมูลสัตว์แทน
นี่คือ “เกมปลูกผัก” IRL ^__^
ดูทีแรกคิดว่าไม่น่าจะเกิด เพราะ productivity มันไม่น่าจะพอ คนที่กินประจำคงไม่ซื้อ แต่จุดขายมันก็น่าจะทำให้สายสุขภาพชอบจริงๆนั่นล่ะ
คิดเหมือนกันครับ
ผมว่าไอเดียดูไม่ค่อยคุ้มค่าทางอุตสาหกรรม แต่เกิดเฉยเลย
สายสุขภาพน่าจะเฉย ๆ นะ
เพราะมันใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช่ Organic
แต่คนทานสลัดปรกติจะชอบด้วยเหตุผลว่า ผักมันสดใหม่ ไม่ต้องลุ้นว่าเจอผักเก่า เหี่ยว แค่นั้นเอง
คุณค่าทางอาหารมากกว่าอยู่นะครับ
we are told that currently 45% of plant nutrients is lost by the time it arrives in the supermarket
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
บ้านเราก็มีทำนาแบบ organic ดูที่นาตัวเองผ่าน IP camera ได้ แต่อันนั้นเป็นแนวซื้อประสบการณ์มากกว่า จะเน้นเรื่องผลิตผลจริงๆจังๆ