Bloomberg รายงานว่า Alphabet ยกเลิกโครงการ Mineral หุ่นยนต์ที่เดินตามไร่เพื่อวิเคราะห์พืชทีละต้น ซึ่งเริ่มทำในปี 2020 ภายใต้โครงการ X และแยกตัวมาเป็นบริษัทลูกในเครือ Alphabet เมื่อปี 2023
ในเอกสารภายในของ Alphabet ที่ Bloomberg ได้มา ระบุว่า Mineral ค้นหาโมเดลธุรกิจที่เหมาะสมไม่เจอ อีกทั้งธุรกิจหุ่นยนต์การเกษตรมีการแข่งขันสูง อัตรากำไรต่ำ และสุดท้าย Alphabet ตัดสินใจขายเทคโนโลยีของ Mineral ให้กับบริษัท Driscoll's ที่ทำธุรกิจด้านปลูกเบอร์รี่ ซึ่งเป็นพาร์ทเนอร์ทดสอบระบบหุ่นยนต์กันอยู่ก่อนแล้ว
มีรายงานว่า eFishery สตาร์ทอัพสายเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์น้ำจากอินโดนีเซีย ได้รับเงินเพิ่มทุนในซีรี่ส์ D อีก 108 ล้านดอลลาร์ ทำให้มูลค่ากิจการเพิ่มเป็น 1,260 ล้านดอลลาร์ จึงเป็นสตาร์ทอัพรายล่าสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีสถานะยูนิคอร์น (มูลค่ากิจการมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์)
ผู้ลงทุนรายหลักในรอบซีรี่ส์ D นำโดยกองทุน 42XFund จาก UAE ร่วมด้วยกองทุน Vision Fund 2 ของ SoftBank และมีผู้เคยลงทุนก่อนหน้านี้คือ SoftBank, Sequoia Capital ส่วนธุรกิจอินเดีย และกองทุน Temasek ของสิงคโปร์
สตาร์ตอัพ Monarch Tractor เริ่มผลิตรถแทรกเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ Founder Series MK-V ที่มีระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติในตัว (เลือกได้ทั้งขับเองและให้ขับอัตโนมัติ)
Monarch เป็นบริษัทรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติที่น่าสนใจ เพราะทีมผู้ก่อตั้งเคยทำงานใน Zoox บริษัทรถยนต์ไร้คนขับที่ Amazon ซื้อกิจการไปเมื่อปี 2020 จากนั้นก็นำความเชี่ยวชาญที่มี ลาออกมาตั้งบริษัทใหม่ เน้นตลาดเฉพาะทางคือรถแทรกเตอร์เพื่อการเกษตร
นักวิจัยจาก Hokkaido University พัฒนาฟิล์มโปร่งแสงแบบพิเศษที่ช่วยให้พืชผักสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ดีขึ้น โดยผลการทดสอบพบว่าพืชที่ได้รับแสงผ่านฟิล์มนี้มีลำต้นโตสูงกว่าปกติราว 1.2 เท่า และมีเนื้อไม้มากกว่าปกติ 1.4 เท่า
การวิจัยนี้มีที่มาจากการศึกษาเรื่องกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช โดยปกติแล้วพืชใช้ประโยชน์จากแสงสว่างใน 2 ย่านความถี่เป็นหลัก นั่นคือ คลื่นแสงสีแดง และคลื่นแสงสีน้ำเงิน (ส่วนคลื่นแสงสีเขียวนั้นแทบไม่ถูกดูดซับและจะถูกสะท้อนกลับออกมาโดยมาก สังเกตได้จากการเรามองเห็นใบไม้เป็นสีเขียว) ส่วนคลื่น UV ที่มาด้วยกันกับแสงอาทิตย์นั้นกลับไม่ได้ก่อประโยชน์ต่อพืชสักเท่าใดนัก
Pinduoduo แพลตฟอร์มโซเชียลคอมเมิร์ซที่มาแรงของจีน รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2021 มีรายได้เพิ่มขึ้น 89% เทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 23,046 ล้านหยวน และมีไฮไลท์คือไตรมาสนี้บริษัทมีกำไรสุทธิเป็นครั้งแรกคือ 2,414 ล้านหยวน อย่างไรก็ตาม Tony Ma รองประธานฝ่ายการเงินของ Pinduoduo ก็ให้ข้อมูลว่ากำไรในไตรมาสนี้น่าจะเป็นเหตุการณ์เฉพาะคราว เนื่องจากบริษัทยังต้องลงทุนอีกมาก จึงไม่คาดว่าจะมีกำไรในระยะสั้นจากนี้
รายได้ของ Pinduoduo มาจากค่าการตลาดออนไลน์ 18,080 ล้านหยวน, ค่าดำเนินการ 3,007 ล้านหยวน และมีจากการขายสินค้า 1,958 ล้านหยวน มีจำนวนผู้ใช้งานเป็นประจำทุกเดือน (MAUs) เพิ่มขึ้นเป็น 738 ล้านคน
Alphabet เปิดตัวโครงการ moonshot ภายใต้แล็ป X ใหม่ในชื่อว่า Mineral เป็นโครงการพัฒนาหุ่นยนต์สำหรับตรวจสอบพืชแต่ละต้นเพื่อสร้าง big data
ทีม X ของ Alphabet มองว่าการนำดิจิทัลมาใช้กับการเกษตรในทุกวันนี้ถือว่ายังไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่คาดหวังไว้ ซึ่งโลกในอนาคตยังมีความจำเป็นในการผลิตอาหารสูงขึ้นในขณะที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ผลผลิตน้อยลง ทำให้ทีมคิดจะพัฒนา Mineral ขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ในด้านนี้อย่างจริงจัง
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในฐานะองค์กรผู้ดูแลโครงการ "เยียวยาเกษตรกร" เปิดเผยเบื้องหลังการพัฒนาเว็บไซต์ เยียวยาเกษตรกร.com ซึ่งเป็นช่องทางให้เกษตรกรลงทะเบียนรับเงินเยียวยาจากภาครัฐ ที่เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม
ธ.ก.ส. ระบุว่าเบื้องหลังของเว็บไซต์ เยียวยาเกษตรกร.com เลือกใช้แพลตฟอร์มคลาวด์ Microsoft Azure ด้วยเหตุผลด้านการสเกลรองรับผู้ใช้จำนวนมาก และมีฟีเจอร์ด้านความปลอดภัย-ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
"ฟาร์มแม่นยำ" คือแอพเพื่อเกษตรกรที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง ดีแทค และ รีคัลท์ สตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียมและ machine learning เพิ่มผลผลิตให้เกษตรกร มีฟีเจอร์สำคัญคือ พยากรณ์อากาศเฉพาะพื้นที่แบบรายชั่วโมง, อุณหภูมิ, โอกาสในการเกิดฝน และปริมาณฝนในพื้นที่ล่วงหน้าทั้งแบบรายวัน, 7 วัน, 6 สัปดาห์ และ 9 เดือนล่วงหน้า
ล่าสุดดีแทคร่วมกับ รีคัลท์ ออกมาคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง ให้เกษตรกรเตรียมรับมือ ดังนี้
เทคโนโลยีกับแวดวงเกษตรกรรม ไม่จบอยู่เพียงแค่รูปแบบของการเก็บเกี่ยว หรือเครื่องทุ่นแรงที่ใช้ในการทำการผลิต เช่น รถเกี่ยว, รถไถ หรือเครื่องจำกัดศัตรูพืชเท่านั้น ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการเกษตรไปไกลถึงขั้นมีหุ่นยนต์เป็ด (Roboducks) ที่จะช่วยกำจัดศัตรูพืชและหว่านปุ๋ยในไร่นาแล้ว โดยไม่ต้องให้เกษตรกรลงพื้นที่เพื่อไปทำเองอีกต่อไป
ผู้ผลิตหุ่นยนต์เป็ดนี้ก็คือบริษัท Nissan ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งโครงการนี้ยังเป็นโครงการทดลอง ความพิเศษของหุ่นยนต์เป็ดนี้ก็คือ สามารถเปิดใช้งาน GPS ได้ ผ่านการเชื่อมต่อ Wifi และใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
Infarm เป็นสตาร์ทอัพจากเยอรมนีที่ให้บริการในแบบที่อาจเรียกได้ว่า Farm-as-a-Service โดยนำฟาร์มกล่องขนาดเล็ก ไปวางไว้ตามจุดต่าง ๆ ในเมือง เน้นที่ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านอาหาร โดยล่าสุดเพิ่มรับเงินทุนซีรี่ส์ B อีก 100 ล้านดอลลาร์ สตาร์ทอัพรายนี้มีความน่าสนใจในการผสานเทคโนโลยี มาใช้กับธุรกิจการเกษตร ที่เน้นจับลูกค้าในเมืองซึ่งมีข้อจำกัดพื้นที่
บริการของ Infarm คือการติดตั้งตู้กระจกสำหรับปลูกผักแนวตั้ง ทำให้สามารถวางได้ในพื้นที่ทั้งเล็กหรือใหญ่ แล้วให้พื้นที่นั้นร่วมดูแลจัดการผักที่ปลูกในตู้เอง ขณะที่ฝั่ง Infarm ก็เชื่อมต่อข้อมูลการเพาะปลูกด้วย IoT เพื่อเก็บข้อมูล และควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต เมื่อถึงเวลาที่เก็บเกี่ยวทีมของ Infarm ก็จะเข้ามาทำการเก็บผลผลิต
JD.com อีคอมเมิร์ซรายใหญ่เบอร์สองของจีน ประกาศความร่วมมือกับ Mitsubishi Chemical ของญี่ปุ่น เพื่อสร้างโรงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจีน พื้นที่ 11,040 ตารางเมตร สำหรับจำหน่ายบนแพลตฟอร์มของ JD.com
โดยโรงเพาะปลูกนี้เป็นการปลูกด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ในระบบปิด ซึ่งไม่ใช้ดิน และนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาดูแลจัดการ ซึ่งการที่ JD.com เป็นผู้จัดจำหน่าย ได้เข้ามาควบคุมตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำนี้ ทำให้สามารถดูแลคุณภาพสินค้าได้ว่าปลอดภัย มีโภชนาการ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยผักจากโรงเพาะปลูกนี้จะจำหน่ายผ่านช่องทางทั้งออนไลน์และออฟไลน์ของ 7FRESH ซูเปอร์มาร์เก็ตของ JD
Alibaba Cloud บริการคลาวด์ของ Alibaba เปิดตัวแพลตฟอร์ม ET Agricultural Brain ที่ได้พัฒนาขึ้นมา เพื่อเป็นระบบ AI สำหรับช่วยเหลือเกษตรกรและธุรกิจการเกษตร โดยเบื้องต้นเน้นไปที่ฟาร์มเลี้ยงสุกร และการปลูกพืช
เทคโนโลยีด้าน AI ที่นำมาใช้ใน ET Agricultural Brain มีหลายอย่าง อาทิ ระบบรู้จำภาพ, ระบบรู้จำเสียง, ระบบตรวจสอบตัวแปรสิ่งแวดล้อมแบบเรียลไทม์ เช่น ข้อมูลพฤติกรรมสุกรรายวัน, ตัววัดการเติบโต, การตั้งครรภ์ ตลอดจนปัจจัยสุขภาพต่าง ๆ ทำให้ผู้ทำฟาร์มสุกรเห็นข้อมูลที่ละเอียดมากขึ้น
Alibaba Cloud ประเมินว่า ET Agricultural Brain จะช่วยเพิ่มผลผลิตและลดอัตราการสูญเสียได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปต่อยอดในเกษตรกรรมด้านอื่นได้อีกมาก
Alphabet ได้เปิดตัวโครงการวิจัยใหม่ที่จะใช้ AI เพื่อการพัฒนาความสามารถในการผลิตอาหาร รวมถึงการนำโดรนและหุ่นยนต์มาใช้งานในฟาร์มด้วย โดยโครงการนี้จะอยู่ภายใต้ X
องค์กรอาหารและการเกษตรของสหประชาชาติได้ประมาณการว่า ทุกวันนี้การผลผลิตจากการเพาะปลูกทั่วโลกได้สูญเสียไปเป็นสัดส่วนกว่า 20-40% ในแต่ละปีเนื่องมาจากโรคระบาดและสัตว์ ซึ่งการค้นหาหนทางการพัฒนาการทำการเกษตรแบบใหม่ ๆ จะเป็นประโยชน์แก่คนทั่วโลกอย่างมาก และ X ได้เริ่มวิจัยโครงการนี้แล้ว
ตลาดเกษตรกรรมญี่ปุ่นกำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน และแรงงานทุกวันนี้ก็อายุมากขึ้นทุกที งานฉีดยาฆ่าแมลงยังเป็นงานอันตรายอีกด้วย ปัจจุบันญี่ปุ่นมีเกษตรกร 1.81 ล้านคน โดย 70% มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดเกษตรกรรม จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย หนึ่งในเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความสนใจในขณะนี้ คือโดรนฉีดยาฆ่าแมลง
ในอีกไม่นาน แอปเปิลพันธุ์ Golden Delicious ที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรมแบบใหม่เพื่อขจัดปัญหาเนื้อแอปเปิลเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลคล้ำ จะถูกวางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา
ผลงานการพัฒนาแอปเปิลนี้เป็นของ Arctic Apples ซึ่งอธิบายได้คร่าวๆ ว่าการที่ทำให้แอปเปิลไม่เปลี่ยนสีคล้ำเข้มหลังจากที่หั่นหรือปอกไว้นานนั้น ทำได้โดยการทำให้กระบวนการปฏิกิริยาทางเคมีของสารที่เรียกว่า PPO (polyphenol oxidase) และ Polyphenolics นั้นไม่เป็นที่สังเกตเห็นได้
อธิบายถึงเรื่องปฏิกิริยาของสารเคมี 2 ตัวหลักที่ทำให้แอปเปิลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลคล้ำกันเสียเล็กน้อย
กระทรวงการเกษตรสหรัฐฯ (US Department of Agriculture หรือ USDA) ทำโครงการให้ประชาชนเข้ามากู้เงินทำการเกษตรสมัยใหม่โดยใช้เทคโนโลยีควบคุมแสงและอุณหภูมิผ่านระบบ LED ในชื่อโครงการว่า USDA Microloans ทำมาตั้งแต่ปี 2013 แต่ในปี 2016 นี้มีการลงทุนให้กับเกษตรกรสูงสุดตั้งแต่เริ่มโครงการมา
Fujitsu ในฟินแลนด์ เปิดบริษัทร่วมทุน Fujitsu Greenhouse Technology Finland Oy กับบริษัทปลูกผักออร์แกนิกส์เรือนกระจกในท้องถิ่น Robbe's Little Garden Ltd สร้างโรงงานปลูกผักที่อาศัยเทคโนโลยีไอทีเข้าช่วย ตั้งเป้าไม่เพียงขายในประเทศแต่หวังส่งออกทั่วยุโรป
Fujitsu ระบุว่าเป็นโรงงานปลูกผักที่ใช้เทคโนโลยีคลาวด์เป็นพื้นฐาน ควบคู่ไปกับการใช้แสงไฟ LED มีถาดหลุมเป็นแปลงปลูก และดำเนินการเพาะปลูกด้วยระบบอัตโนมัติ
ฟินแลนด์มีภูมิอากาศหนาวเป็นส่วนใหญ่ การปลูกผักใบเขียวจึงทำได้ยาก อาหารที่คนฟินแลนด์กินคือ มันฝรั่ง, ธัญพืช, เบอร์รี่, เนื้อหมู, เป็ด และกะหล่ำปลี คนฟินแลนด์ยังกินกาแฟเฉลี่ยต่อคนสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก และอาหารมีราคาแพงมากด้วย
บริษัทเทคโนโลยีการเกษตรของญี่ปุ่น ได้แก่ Innotech Corp จากเมืองโยโกฮาม่า, Nextech Co Ltd จากเมืองซับโปโร และ Iwasaki Co Ltd จากเมืองซับโปโร ประกาศสร้างระบบวินิจฉัยดินเพื่อการเกษตร โดยพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมด
ระบบนี้ใช้เครือข่ายไวร์เลสพลังงานแสงอาทิตย์ Poggimo ของ Nextech และเซนเซอร์ดินจากพลังงานแสงอาทิตย์ EDYN ของ Innotech โดยอุปกรณ์ทั้งสองตัวทำหน้าที่เก็บข้อมูลดินโดยไม่ต้องใช้แหล่งจ่ายไฟจากภายนอกเลย
ด้านบริษัท Iwasaki ใช้แนวทางการเกษตรแบบ ICTs (information and communication technologies) มาใช้ระยะหนึ่งแล้ว จนถึงตอนนี้ก็ได้นำระบบนำทางดาวเทียม GNSS มาใช้หาพิกัดรถแทรคเตอร์ รวมถึงระบบใส่ปุ๋ยอัตโนมัติและใช้เซนเซอร์ตรวจสอบการเติบโตโดยใช้ UAV หรือ เครื่องบินไร้คนขับ
กลุ่มมิตรผล เป็นอีกองค์กรที่สนใจและให้ความสำคัญกับ เศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Bioeconomy) หรือการสร้างระบบเศรษฐกิจจากสังคมที่ยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่พืชเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถใช้ทดแทนทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไปได้
รถยนต์ไร้คนขับเป็นเทคโนโลยีที่มาแรงมากในปีนี้ ข่าวคราวของรถโดยสารไร้คนขับถูกนำไปทดสอบในหลายประเทศ ทั้งที่เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคล และรถโดยสารสาธารณะ ซึ่งบางแห่งก็เตรียมเปิดให้บริการกันจริงภายในปีนี้แล้ว แต่ในเมื่อโลกของเราไม่ได้ใช้งานรถเพื่อการโดยสารเพียงอย่างเดียว หากแต่มีการใช้งานเพื่อการขนส่งและทำงานอื่นๆ จึงไม่แปลกที่จะได้เห็นรถไร้คนขับที่ทำงานได้เองเพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจากการเดินทางด้วย และวันนี้ก็มีข่าวรถไร้คนขับเพื่อการเกษตรออกมาแล้ว
Spread บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายพืชผักจากญี่ปุ่น เผยโครงการสร้างฟาร์มผักกาดแบบใช้งานหุ่นยนต์ในกระบวนการผลิตแทนคนแทบทั้งหมด ตั้งเป้าเริ่มใช้งานได้จริงในช่วงกลางปีหน้า
DJI ผู้ผลิตโดรนรายใหญ่สัญชาติจีนยังคงขยายไลน์ของตัวเองอย่างต่อเนื่อง หลังจากเปิดตัวโดรนสำหรับผู้ใช้ทั่วไปมาหลายรุ่น ในรุ่นล่าสุดแหวกแนวไปไกลด้วยการเปิดตัว Agras MG-1 โดรนสำหรับงานเกษตรกรรมโดยเฉพาะ
Agras MG-1 เป็นโดรนแปดใบพัดกันน้ำกันฝุ่นกันสารเคมี สามารถบรรทุกน้ำยาปริมาณมากถึง 10 ลิตรต่อ 1 เที่ยว ครอบคลุมพื้นที่กว่า 40-60 เอเคอร์ใน 1 ชั่วโมง โดย DJI เคลมว่าการใช้งาน Agras MG-1 นั้นได้ผลดีกว่าปกติถึง 40 เท่า และยังมาพร้อมกับฟังก์ชันอำนวยความสะดวกตั้งแต่การสแกนความสูงของพื้นเพื่อรักษาระดับกับพื้น ตั้งค่าฉีดยาอัตโนมัติ และยังสามารถพับเก็บหลังการใช้งานได้
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ร่วมมือกับกรมการข้าว พัฒนาระบบพยากรณ์การอพยพของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว เพื่อใช้พยากรณ์พื้นที่ที่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะอพยพเข้าไป ซึ่งจะทำให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องแจ้งเตือนชาวนาได้ล่วงหน้าเพื่อให้เตรียมการรับมือต่อไป