เมื่อวานนี้ Donald Trump แถลงหลังการเจรจาทวิภาคีกับจีนในการประชุม G20 ว่าอนุญาตให้บริษัทสหรัฐกลับมาทำธุรกิจกับ Huawei แล้ว แต่ก็ไม่ได้ให้ความกระจ่างว่าแค่ไหนอย่างไร รวมถึงสถานะของ Huawei ที่อยู่ใน Entity List
ล่าสุด Larry Kudlow ประธานสภาเศรษฐกิจแห่งชาติของสหรัฐให้ความกระจ่างเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากการยืนยันกับ Fox News ว่ากระทรวงพาณิชย์จะอนุญาตให้ทำการค้าเฉพาะสินค้าที่วางขายทั่วโลก (general availability) และไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคง อย่างเช่นไมโครชิปหรือบริการด้านเทคโนโลยี ขณะที่อุปกรณ์หรือสินค้าที่มีความอ่อนไหวด้านความมั่นคงจะไม่เข้าเกณฑ์นี้ด้วย
ภาพจาก Shutterstock
Kudlow ยืนยันคำพุดประธานาธิบดีอีกครั้งว่ารัฐบาลยังให้ความกังวลในประเด็นด้านความมั่นคงเกี่ยวกับ Huawei พร้อมทั้งยืนยันว่า Huawei จะยังคงอยู่ใน Entity List ของกระทรวงพาณิชย์ต่อไป ซึ่งเท่ากับว่าหากบริษัทสหรัฐจะทำการค้าก็ต้องขออนุญาตและผ่านการตรวจสอบจากกระทรวงเช่นเดิม
ประธานสภาเศรษฐกิจย้ำด้วยว่า รัฐบาลสหรัฐจะพูดคุยกับรัฐบาลจีนเรื่อง Huawei อย่างจริงจังหลังการเจรจาการค้าได้ข้อสรุป (ที่จะต้องพูดคุยกันอีกหลายครั้ง) ซึ่งเท่ากับว่าอนาคตของ Huawei ก็ยังคงคลุมเครือต่อไปเช่นเดิม
Comments
แล ?
สภาเศรษฐ ?
จากนี้ต่อไปอีกไม่เกิน 2 ปี หลายประเทศรวมทั้งจากสหรัฐอเมริกา(ที่ไม่ใช่รัฐบาล) อาจจะช่วยกันตั้งองค์กรของเทคโนโลยีที่มีข้อตกลงร่วมกันว่า จะร่วมมือกันพัฒนา แบ่งปันกันใช้ และจะไม่ยอมไม่เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น โดยร่างเป็นปฏิณญาร่วมกันแน่ ๆ เช่น OS, Chip, AI, autopilot และอื่น ๆ
คิดว่าสมดุลจากนี้น่าจะเปลี่ยนแปลงในระยะยาว
ผมเคยเห็นความเห็นแนวนี้บ่อยๆนะ เลยเถิดไปจะถึงบอกว่าต้องเป็นของสาธารณะเลย
พอผมถามว่าถ้าเกิดการละเมิดใครจะคุ้มครองกันยังไง เจอแต่จะตอบว่าให้ไปเอาตัวรอดกันเอง...
I need healing.
คุ้นๆเหมือน opensource software ที่มักจะบอกชัดเจนว่า "no warranty"
ผมว่ามันไกลเกินจริงไปหน่อยครับ ไม่ถูกใจก็แตกคอแยกไปทำโครงการใหม่ เหมือนพายเรือในอ่างยังไงยังงั้น
จีนอยากผลักดันก็ทุ่มเงินบริจาคตั้งมูลนิธิเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ให้มนุษยชาติเลยครับ
ไม่ใช่แค่รอของฟรีมาใช่ต่อแบบ AOSP
ถ้ามันง่ายขนาดนั้น Linux คงครองโลกไปแล้วละครับ
ฝั่ง Server ครอวได้แล้วครับ
ฝั่ง Desktop Linux ไม่มีเอกภาพมากพอครับ
ฝั่ง Mobile ก็ครองโลกอยู่ครับ
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
ไอ้ที่ครองฝั่ง mobile นี่ไม่น่าจะใช่ Linux แบบที่เข้าใจกันนะครับ ส่วนฝั่ง desktop นี่ อนาคต WSL2 น่าจะครองแทน
ผมว่าของแบบนี้มันเกิดได้เรื่อยๆ นั่นแหละ ถ้ายังหาทางออกไม่ได้ นอกจากทำเป็น Public domain หรือร่วมกันพัฒนาแล้วเปิดให้ใช้งานได้ไม่จำกัดฝ่าย แต่เสียค่าธรรมเนียมให้สมาคม และสมาคมสามารถเอาผิดร่วมได้อัตโนมัติเมื่อเกิดการละเมิด
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
Public Domain ที่เก็บ Royalty Fee มันก็เหมือนกับ Private Blockchain นั่นแหละครับ
แนวคิดเดียวกับสมาคมต่างๆ อย่าง MPEG LA นี่ก็ใช่
I need healing.
ผมว่าจริงๆ Trump คงรู้แล้วว่าถึงดึงดันต่อไป บ. usa ก็หาทางขายชิพให้ Huawei ใด้ ( https://www.blognone.com/node/110567 )
... คิดว่าคงจะแลกอะไรเล็กๆน้อยๆกับจีนแล้วแปะตรงนี้ เพื่อเล่นข่าวนั้นแหละ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ผมกลับคิดว่า เพราะ Hongmeng มากกว่า
ยอมให้ Huawei ผลิต + แพร่ google service ต่อไปในตลาดโลก
ดีกว่าหักดิบจนจีนดัน Hongmeng ออกมาในตลาดโลก
แล้วอเมริกาจะหลุดการควบคุม+ดักฟังในระดับโลกไป
กำลัง imply ว่า Google Service คือเครื่องมือในการดักฟังของรัฐบาลอเมริกาหรือเปล่าครับ?
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
พูดยังกะ แอนดรอยด์ มียี่ห้อเดียว
Hongmeng ที่ว่ากันว่าเอา AOSP มาดัดแปลงต่อเนี่ยนะ?!?!?!?! ก็แค่เลี่ยงเรื่อง license แต่ก็ใช้ของเขาต่อไปด้วยซ้ำ
ถ้าคิดใหม่ทำใหม่เอง ก็ดู OS อื่นๆที่ล้มไปก่อนหน้าเป็นตัวอย่างแล้วกัน