Tesla จดสิทธิบัตรใหม่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมการเดินสายไฟในรถ ซึ่ง Elon Musk เคยพูดไว้ตั้งแต่ปี 2017 แล้วว่า Tesla ต้องการลดความยาวของสายไฟในรถเพื่อให้กระบวนการผลิตง่ายขึ้นและใช้หุ่นยนต์ช่วยประกอบรถได้มากขึ้น
Elon ยังเคยบอกไว้ด้วยว่าความยาวรวมของสายไฟในรถ Tesla Model S อยู่ที่ 3 กิโลเมตร และ Tesla สามารถลดความยาวสายไฟในรุ่น Model 3 ลงมาได้เหลือ 1.5 กิโลเมตร แต่นั่นก็ยังไม่พอ โดย Tesla ตั้งเป้าว่าจะลดความยาวสายไฟให้เหลือเพียง 100 เมตรเท่านั้นในรุ่น Model Y
Tesla Model Y
ในสิทธิบัตรดังกล่าวระบุว่าสถาปัตยกรรมการเดินสายไฟแบบใหม่จะรวมระบบย่อยๆ ไว้ด้วยกันในแต่ละจุดของรถ ตัวอย่างคือบริเวณประตูก็อาจจะติดตั้งกล่องที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์หลายอย่างไว้ด้วยกัน เช่นชิ้นส่วนล็อคประตูรถ, ไฟส่องสว่าง, ระบบเครื่องเสียง ฯลฯ จากนั้นก็เชื่อมต่อกล่องควบคุมแต่ละกล่องเข้ากับระบบสายไฟหลัก (wiring backbone) ของรถอีกที ไม่ต้องเดินสายไฟแยกจากคอมพิวเตอร์หรือแหล่งจ่ายไฟมาหาชิ้นส่วนแต่ละชิ้น ซึ่งโรงงานสามารถประกอบกล่องควบคุมระบบย่อยเหล่านี้ไว้ก่อนได้เลย
ภาพด้านบนของรถยนต์ที่แสดงให้เห็นการเดินสายไปจุดต่างๆ แบบใช้ระบบสายไฟหลัก
นอกจากนี้สิทธิบัตรยังระบุว่า Tesla จะเปลี่ยนไปใช้ชุดสายไฟ (wiring harness) ที่เอื้อให้หุ่นยนต์ทำงานได้ง่ายขึ้นด้วย โดยปัญหาใหญ่ที่ Tesla เคยเจอคือพยายามใช้หุ่นยนต์ในสายการผลิตมากเกินไป ทั้งที่มนุษย์ทำงานบางอย่างได้ดีกว่า
ภาพแสดงการเชื่อมต่อกล่องควบคุมระบบย่อยกับระบบสายไฟหลัก
Tesla บอกว่าการเดินสายไฟในรถยนต์ปัจจุบันนิยมใช้วิธีต่อสายแยกเส้นกัน คือแต่ละชิ้นส่วนก็มีสายของตัวเอง ทำให้ต้องใช้สายไฟจำนวนมาก (ลองเปิดฝากระโปรงรถดู ก็จะเห็นสายไฟเป็นมัดๆ) ผลคือรถยนต์หนึ่งคันอาจมีสายไฟยาวรวมกันหลายไมล์
ที่มา - Electrek, World Intellectual Property Organization
ภาพทั้งหมดโดย Tesla
Comments
มันก็คือ PCI bus สำหรับรถยนต์ ถ้าไม่นับระบบเสียง เอาจริงๆ CAN/I2C น่าจะพอสำหรับรถทั้งคันอยู่แล้ว?
lewcpe.com, @wasonliw
i2c เร็วไม่พอครับ ผมเคยเล่นกับรถตัวเองมาแล้วทั้งคัน (Alfa Romeo)
ถ้าเร่ง i2c bus มากกว่า 100kHz ก็เละเลยครับ เพราะ noise จาก Dy-charge กวนมากมาย
พอเหลือแค่ 100kHz ก็ไม่พอ Update ค่าต่างๆ โดยเฉพาะ pulse จากวัดรอบเกียร์ที่เคยส่งขึ้นมาเพื่อคำนวนความเร็วรถ ซึ่งมันใช้ bus ถี่มาก
ถ้าต้องลดความเร็วรอรับ noise คงไม่ทันครับ แต่ถ้าได้ความเร็วดิบๆ 100-200kbps++ ก็น่าจะพอ?
ส่วนจะ wiring ยังไงให้มันทน noise นี่อีกเรื่องล่ะ
lewcpe.com, @wasonliw
เอ้อ... แต่เดี๋ยวนะ..ผมเพิ่งฉุกคิด
Tesla มันรถไฟฟ้านี่หว่า ไม่มี Dy-charge...
ก็ไม่มี noise...
แบบนี้ wiring ดี เขาอาจทำได้ถึง 1Mbps เชียวนะเนี่ย
motor ที่ขับเคลื่อนปั่นไฟย้อนกลับมาไม่นับเหรอครับ?
มันประสิทธิภาพดีกว่า Dy-charge ดาดๆ ที่เครื่องสันดาปใช้อยู่ครับ
อีกทั้ง noise ที่เกิดของ Dy-charge เป็นผลพวงมาจากการทำงานแบบเครื่องยนต์สันดาปครับ ไม่ใช่มาจาก factor ของตัวมันเพียงอย่างเดียว
ทั้งจาก Coil ที่ต้องกระชากกระแสไป spark หัวเทียนถี่ยิบ ทั้ง Solenoid หัวฉีดก็ถี่ยิบ ไหนจะ AC ปั๊ม (ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิง) ฯลฯ พวกนี้ไม่ได้มีความถี่และ impedance ที่แน่นอนตลอดเวลา แย่กว่าแอร์และ motor พัดลมไฟฟ้า
....เดี๋ยวผมจะนอกเรื่องไปไกล ได้ยกเครื่องยนต์เล่นเองทั้งหมดจริงๆ แล้วเจอเยอะเลยครับ จนผมยอมแพ้เลย แอบคิดว่าจะลากสาย fiber ในรถแทนเลยล่ะ
แต่ตอนนี้ ด้วยอายุ ก็เลิกทำรถมาสัก 10 ปีได้แล้ว สายตาก็ยาว มองอะไรก็ลำบากขึ้น เรี่ยวแรงก็ถดถอย เลยชักไม่สนุกแล้ว
ผมเอา Alfa ออกมาขับแค่ปีละ 2~3 ครั้งแล้วครับ รถที่ขับใช้งานจริงๆ ก็เกียร์ auto แล้ว วัยถดถอย..
ขอบคุณครับ
+1
ต้นทุนจะเพิ่มหรือจะลดหว่า
ผมว่าต้นทุนเพิ่ม แต่ ผลิตได้เร็วขึ้น ขายได้มากขึ้น
อ๋อ แยก ECU หลายกล่อง เอาไว้ในห้องโดยสาร วิ่งด้วย CAN Bus นะครับ OK
วันดีคืนดี ขับรถอยู่ แมววิ่งตัดหน้า เหยียบเบรค แก้วโค๊กจาก McDonald หกใส่พรม ป๊าบบบ
ต้องนั่งภาวนาทั้ง 3 พระ , พระพุทธ พระธรรม พระสงค์ วิจิตรธรรมโชติ อาจารณ์ อ. อุบล ช่วยด้วย
ขอให้ดลบัลดาร ว่า โค๊กที่ไหลไปนั่น อย่าได้ไหลเข้ากล่อง อัลไลซักกล่อง ใต้พรมนันทีเถิด เพี๊ยงงง
..
ไม่รอด (ชัวร์ คิดว่าใช่ ต้องช่แน่ๆ)
กล่องสายไฟ ถูกยกสูงกว่าพื้นรถ และส่วนใหญ่ถูกยัดไว้ในคอนโซลหน้ารถหมดแล้วครับ พื้นรถ เปิดพรมมา ก็มีแต่เหล็กปั๊มขึ้นรูปเป็นตัวถัง จะมีอย่างมากก็เลข Chassis
คือ ... คิดว่าเค้าไม่ test เรื่องพวกนี้เลยเหรอครับ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ชนที เบิกอะไหล่กล่องหมดตัวแน่นอน
หนูแทะทีเปลี่ยนยกคัน
สิ่งแรกที่แว๊บเข้ามาในหัวคือใช้ Tesla coil ส่งไฟฟ้าแทน
อ่านหัวข้อข่าวตอนแรกนึกว่าใช้ตัวถัง ทำรายปริ้นเลย ( Printed circuit board)
ชนทีคงได้เปลี่ยนทั้งคันละ