นักวิจัยจาก Technical University of Munich ประเทศเยอรมนี พัฒนาน้ำหมึกสำหรับการสักที่มีคุณสมบัติพิเศษสามารถเปลี่ยนสีได้เมื่อปริมาณกลูโคสในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง
ไม่เพียงแต่กลูโคสเท่านั้น ทีมวิจัยยังพัฒนาหมึกสร้างรอยสักที่เปลี่ยนสีเมื่อตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของค่า pH และปริมาณสาร albumin (เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งในกระแสเลือด) ในร่างกายได้ด้วย
โดยทั่วไปแล้วการสักก็คือการฉีดหมึกสีต่างๆ เข้าสู่ผิวหนังชั้นหนังแท้ ซึ่งงานวิจัยของทีมวิจัยนี้ได้พัฒนาหมึกแบบพิเศษมาใช้แทนหมึกสำหรับการสักทั่วไป พวกเขาได้ทดลองใช้หมึกพิเศษเหล่านี้สร้างรอยสักลงบนผิวหนังหมู โดยรอยสักจะเปลี่ยนเฉดสีไปตามการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบทางเคมีของสารเหลวในเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นของเหลวที่ออกจากเส้นเลือดฝอยมาอยู่ในบริเวณช่องว่างระหว่างเซลล์ในเนื้อเยื่อผิวหนัง
ทีมวิจัยเน้นการตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมี 3 อย่างของสารเหลวในเนื้อเยื่อ อันได้แก่ กลูโคส, ค่า pH และ albumin เนื่องจากการวัดค่า 3 อย่างนี้เป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญสำหรับผู้มีอาการป่วยต่างๆ ดังนี้
ทีมวิจัยได้อาศัยการสักด้วยหมึกสีเหล่านี้ลงไปบนผิวหนังหมูแทนการฉีดสร้างรอยสักจริงบนผิวหนังมนุษย์ โดยรอยสักเพื่อวัดค่า pH นั้นเป็นรอยสักเดียวที่สีของมันสามารถเปลี่ยนกลับไปมาระหว่างสีเหลืองและสีฟ้าได้ตามการเพิ่ม-ลดของค่า pH ในขณะที่รอยสักที่ใช้หมึกเพื่อตรวจจับปริมาณกลูโคสและ albumin นั้นแม้จะเปลี่ยนมีสีเข้มขึ้นเมื่อสารที่มันตรวจจับเพิ่มปริมาณขึ้นได้ แต่สีจะไม่จางลงในภายหลังแม้ว่าปริมาณสารเหล่านั้นจะลดน้อยลงแล้ว
ทีมวิจัยคิดว่าการพัฒนาให้รอยสักใช้ประโยชน์เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของร่างกายคนได้นั้นอาจเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์หาสาเหตุความผิดปกติของร่างกายเจ้าของรอยสักได้ในกรณีฉุกเฉิน โดยเป้าหมายขั้นต่อไปของงานวิจัยคือการพัฒนาหมึกที่สามารถเปลี่ยนสีกลับคืนได้เมื่อปริมาณสารเคมีที่มันตรวจจับนั้นกลับมาอยู่ในระดับปกติ และทดลองการสร้างรอยสักกับสัตว์ทดลองที่มีชีวิตจริงเพื่อศึกษาผลข้างเคียงต่อร่างกายสิ่งมีชีวิต
ที่มา - Science Alert via Ubergizmo, เอกสารงานวิจัย
Comments
ปรากฎ => ปรากฏ
เพิ่่ม => เพิ่ม
เหมือนตะไคร่เกาะ สวยไปอีกแบบครับ
เดี๋ยวบรรจุข้าราขการไม่ได้~
คำถามที่ควรต้องถามคือ methyl red, bromothymol blue และ phenolphthalein นั้น toxic ต่อร่างกายคนมั้ย