Tags:
Node Thumbnail

เมื่อวันอังคารที่ 30 กรกฎาคมที่ผ่านมา Josh Hawley สมาชิกวุฒิสภาได้เสนอการออกกฎหมายใหม่ที่จำชื่อกันง่ายๆ ว่ากฎ SMART (Social Media Addiction Reduction Technology Act) ซึ่งมีเป้าหมายหลักคือบีบให้ผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ทั้งหลาย รวมทั้งสารพัดเว็บต้องปรับเปลี่ยนตนเองเพื่อให้ผู้ใช้ลดอาการ "เสพติดสังคมออนไลน์" ลง

เนื้อความของร่างกฎ SMART นั้นมีการอ้างชื่อ Facebook, Instagram, YouTube และ Twitter แต่เป้าหมายนั้นคือการบังคับใช้กฎกติกาเดียวกันกับผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ทุกราย ให้ปรับเปลี่ยนไปในทางที่จะลดเวลาการใช้งานของผู้ใช้ (ซึ่งแน่นอนว่าขัดกับเป้าหมายขั้นพื้นฐานของการพัมนาแพลตฟอร์มเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างจัง) โดยเนื้อหาของร่างกฎ SMART นี้จะให้อำนาจแก่ FTC (คณะกรรมาธิการการค้าแห่งชาติของสหรัฐ) ในการลงโทษผู้ให้บริการที่ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของกฎนี้

หากกฎ SMART นี้ผ่านความเห็นชอบของสภาและมีการบังคับใช้จริง เราน่าจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างของบรรดาเครือข่ายสังคมออนไลน์ (ซึ่งทั้งหมดเริ่มจากโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้คนใช้เวลากับหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนน้อยลง) ตัวอย่างเช่น

  • วิดีโอโฆษณาแบบเล่นอัตโนมัติจะหายไปจาก YouTube
  • ฟีเจอร์ Snapstreak ของ Snapchat จะหายไป
  • ทุกแพลตฟอร์มเครือข่ายสังคมออนไลน์จะต้องปรับโฉมหน้าใหม่ โดยห้ามการแสดงโพสต์ไล่เรียงกันไปแบบที่ไร้จุดสิ้นสุด (infinite scroll) จำนวนโพสต์หรือข้อความที่ปรากฏจะต้องถูกจำกัดไว้ (หากผู้ใช้อยากย้อนดูโพสต์หรือข้อความย้อนกลับไปมากกว่านั้น ก็จะต้องมีปุ่มให้กดเพื่อเรียกดูโดยเฉพาะ)
  • หน้าแสดงข่าวหรือพื้นที่แสดงบทความหรือเนื้อหาต่างๆ จากแหล่งเนื้อหาภายนอกจะต้องมีการแสดงผลแบบเริ่มต้นโดยการแสดงเนื้อหาที่ประมาณว่าผู้ใช้จะอ่านข้อความหรือโพสต์ทั้งหมดได้ภายใน 3 นาที (และมีปุ่มให้ผู้ใช้กดเมื่อต้องการอ่านเนื้อหาทั้งหมด)
  • ทุกแพลตฟอร์มจะต้องมีฟีเจอร์ติดตามการใช้งานของผู้ใช้ว่าใช้เวลาอยู่กับเว็บหรือแอพนั้นๆ นานเท่าไหร่
  • ยกเลิกการให้รางวัล (ป้ายเครื่องหมาย, สัญลักษณ์พิเศษแทนตัวตนผู้ใช้) เมื่อมีการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์นั้นๆ เป็นระยะเวลานาน
  • ปุ่ม "ยอมรับ" หรือ "ปฏิเสธ" ที่ใช้เพื่อยืนยันการยอมรับเงื่อนไขการใช้งานต่างๆ ของผู้ให้บริการแต่ละรายจะต้องถูกแสดงแบบเดียวกัน (ไม่เลือกปุ่ม "ยอมรับ" เป็นค่าเริ่มต้น, ไม่เน้นสี, ขนาดหรือเครื่องหมายที่ส่งผลจูงใจให้คนกด "ยอมรับ" มากกว่า "ปฏิเสธ")
  • ผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จะต้องตั้งค่าจำกัดเวลาใช้งานของผู้ใช้ไว้ที่ 30 นาทีต่อวันมาแต่ต้น หากผู้ใช้ต้องการใช้งานเกินข้อจำกัดเวลานั้นจะต้องให้ผู้ใช้เข้าไปแก้ไขการตั้งค่าเอง และการเปลี่ยนแปลงเรื่องจำกัดเวลานี้จะต้องคืนค่าโดยอัตโนมัติทุกเดือน (หากผู้ใช้ต้องการปลดข้อจำกัดเวลาใช้งานต่อวันให้มากกว่า 30 นาที ก็จะต้องมาทำการแก้ไขการตั้งค่าเองอย่างนี้ไปทุกเดือนนั่นเอง)

ที่มาที่ไปของการผลักดันกฎ SMART นี้มาจากความกังวลเรื่องพฤติกรรมการติดสมาร์ทโฟนของผู้คนจำนวนมากที่เกรงกันว่ามีความเชื่อมโยงถึงปัญหาเรื่องความเครียด, ทักษะการเข้าสังคม รวมทั้งผลกระทบด้านสุขภาพร่างกายของผู้ใช้

อย่างไรก็ตามกฎ SMART นี้ยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาโดยวุฒิสภา และต่อให้มีการประกาศใช้จริง แต่หากภายใน 3 ปีให้หลังไม่ผ่านการลงมติเห็นชอบโดยรัฐสภา ก็จะถูกยกเลิกการบังคับใช้ไปโดยอัตโนมัติ

No Description

ที่มา - Ubergizmo, MIT Technology Review, Quartz, Vox

Get latest news from Blognone

Comments

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 6 August 2019 - 10:36 #1122783
panurat2000's picture

จำนวนโพสต์หรือข้อความที่ปรากฎจะต้องถูกจำกัดไว้

ปรากฎ => ปรากฏ

ที่ใช้เพื่อยืนยันการยอมรับเงื่อนไขการใช้งานต่างๆ ของผุ้ให้บริการแต่ละราย

ผุ้ให้บริการ => ผู้ให้บริการ

By: Patchan
iPhone
on 6 August 2019 - 12:15 #1122806

Add on ใหม่ปรับ setting 30 นาทีออกทุกเดือนกำลังจะมา

By: zerocool
ContributoriPhoneAndroid
on 7 August 2019 - 03:03 #1122889
zerocool's picture

ส่วนตัวผมว่ามันจริงนะที่การติด social media ส่งผลต่อสภาวะจิตใจของมนุษย์ในทางที่แย่ลง สังเกตจากตัวเองแล้วก็เด็กที่ติดอะไรจำพวกนี้มาหลายปี


That is the way things are.