Blognone Tomorrow 2019 ประกาศชื่อ speaker เพิ่มเติม 1 ท่านคือ คุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ จะมาพูดในหัวข้อ Hyperloop and Path Skipping Development Strategy หรือแปลเป็นภาษาไทยคือ "Hyperloop กับการพัฒนาแบบเสือกระโดด"
การบรรยายของคุณธนาธร จะมีขึ้นในช่วงสุดท้ายของงาน ต่อจากตารางกำหนดของงานที่ประกาศไปแล้ว โดยกำหนดเวลาที่ชัดเจนจะประกาศอีกครั้ง
เมื่อเดือนมีนาคม 2019 คุณธนาธรและทีมงานพรรคอนาคตใหม่ ได้แถลงข่าวเรื่องรายงานศึกษาความเป็นไปได้ของ Hyperloop ในประเทศไทย และ Blognone ได้นำเสนอข่าวเรื่องนี้ไปแล้ว โดยรายงานฉบับนี้ได้เผยแพร่ต่อสาธารณะในเดือนเมษายน 2019 และมีหลายคนได้อ่านกันไปแล้วเช่นกัน
Blognone เล็งเห็นว่าเทคโนโลยี Hyperloop เป็นเทคโนโลยีด้านการคมนาคมที่น่าสนใจ และที่ผ่านมาก็นำเสนอข่าวเกี่ยวกับ Hyperloop อยู่บ่อยครั้ง จึงได้เชิญคุณธนาธรเข้าร่วมบรรยายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อนี้กับผู้ฟัง
เนื้อหาการบรรยายหัวข้อ Hyperloop and Path Skipping Development Strategy อาจไม่ได้เน้นที่รายละเอียดทางเทคนิคของ Hyperloop โดยตรง แต่จะเน้นไปที่บทบาทของการใช้เทคโนโลยี Hyperloop ในการผลักดันภาคอุตสาหกรรมไทยให้เติบโตแบบก้าวกระโดด โดยไม่ต้องรอเติบโตทีละขั้น อย่างการรอให้เกิดอุตสาหกรรมรถไฟความเร็วสูงขึ้นก่อน
Comments
-_-
หนึ่งในหลายความเป็นไปได้อะนะ
อ่านจากเนื้อข่าวก็เน้นบทบาทหน้าที่ของมัน ตามสไตล์ผู้บริหาร
แต่ผมอยากได้สไตล์วิศวะกรมาพูดเรื่องเทคนิคมากกว่า แต่เข้าใจว่านี่ไม่ใช่งานเวิร์คช็อป
ไม่มีวิศวกรไทยคนไหนจะรู้เรื่องดีเท่าวิศวกรผู้สร้าง hyperloop เองหรอก แต่อย่างน้อยธนาธรเองก็จบวิศวกรรมเครื่องกลมา และบริษัทเค้าก็เกี่ยวกับด้านวิศวกรรม
ธนาธรจบวิศวะเครื่องกลก็จริง แต่ไม่มีความรู้เลยเพราะเค้าเคยให้สัมภาษณ์ว่า ใจเค้าไม่รัก เรียนไม่รู้เรื่อง
การเรียนก็ล่อแล่เต็มที
จริง ฮ่าๆๆๆๆ ผมว่าเรียนเพื่อเป็นหน้าตาให้ครอบครัวแหละ
เป็นไปได้แน่นอนถ้ามีการใช้งานจริงในหลายๆประเทศและพิสูจแล้วว่ามีความคุ้มค่าและใช้งานได้ในความเป็นจริงเมื่อเทียบกับระบบเดิม และคิดว่าทุกๆคนพร้อมที่จะสนับสนุนเหมือนรถไฟฟ้าในปัจจุบนัน
แต่ตอนนี้ไม่น่าจะมีความจำเป็นที่ต้องรีบร้อนเพราะเราเองไม่ได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีที่สามารถนำไปขายต่อได้
และในโลกเทคโนโลยีก็มันจะเห็นกันอยู่บ่อยๆคือเหตุการณ์รุ่นแรกหรือรุ่นทดสอบมีบักเสมอและเทคโนโลยีนี้เกี่ยวกับชีวิตคนในความคิดเห็นส่วนตัวคือเทคโนโลยีที่ถูกพิสูจน์ด้วยการเวลาต้องถูกเลือกมากกว่าของใหม่ถ้ามันเกียวกับชีวิตคน
เท่าที่ตามมาก็ยังไม่ได้รู้สึกว่ามีความจำเป็นขนาดนั้น
อารมณ์ประมาณเครื่องบิน Concorde โอเค... อาจจะมีกลุ่มผู้โดยสารมาใช้บริการ แต่จะทำให้ Mass ก็คิดว่าน่าจะยาก ค่าโดยสารก็น่าจะสูง (ผู้โดยสารบางคนของ Concorde เก็บเงินนานหลายปีเพื่อที่จะแค่ได้ "สัมผัส" สักครั้งหนึ่ง)
ผมค่อนข้างเชื่อว่าถึงแม้เทคโนโลยีจะนำไปไกล ไปเร็วแค่ไหน มันจะมีจุดนึงที่ทำให้ทุกอย่างมัน Optimum ที่สุด เหมาะสมกับสภาวะทางกายภาพของมนุษย์อยู่ดี
ถ้าพูดถึงความจำเป็น ส่วนมากเทคโนโลยีใหม่ๆที่เกิดขึ้นมาเราจะมองว่าไม่จำเป็นเท่าไหร่
ผมยกตัวอย่างมือถือที่มีความจุมากๆ ตอนแรกๆก็ไม่ค่อยมีคนเห็นความสำคัญเพราะราคาจับต้องได้ยาก แต่มันก็ยังถูกผลักดันออกมาให้กับลูกค้ากลุ่มหนึ่งจนได้รับความนิยม ถึงตอนนั้นราคามันก็ลงมาเองตามกาลเวลาของมัน ผู้คนจับต้องได้มากขึ้นความจำเป็นก็จะตามมาครับ
ผมอยากเห็นมันเกิดขึ้นนะ อนาคตอาจจะมีเทคโนโลยีที่ดีขึ้นและต้นทุนถูกลงจนทำให้จับต้องได้โดยคนทั่วไป
สร้างเมตรแรกไม่เป็นอะไร พอลงเสาเข็มเมตรที่สอง......
เสาเข็มยาว 8 เมตร
ไฟไหม้เสาเข็ม ไหม้ขนาดนั้นใครๆก็คิดว่าพังแน่
สรุปไม่พัง ?
ไม่....ไม่เหลือ
ผมว่ามันก็ดีที่เรามองหาทางเลือกใหม่ ๆ มองข้ามปัจจุบันไปยังความเป็นไปได้ในอนาคตเลย แต่ผมยังคิดว่าเทคโนโลยีนี้ยังไม่ practical เท่าไร
That is the way things are.
อย่าภูมิใจในความเป็นไทย ที่ใช้ควายไถนา จนไม่ยอมเปิดโอกาสให้รถไถนั่งขับ :)
ยังไม่เชื่อ Hyperloop เหมือนเดิม
ดูข่าวความคืบหน้าเหมือน Kickstarter ที่ Design อย่างเดียว ไม่มีการทดสอบในระบบใกล้สูญญากาศ
รอดูอินเดียก่อนก็ได้นะ กลัวว่าสุดท้ายจะเหมือนรถไฟฟ้าวิ่งในท่อเฉยๆ
ทำรถไฟความเร็วสูงอะไรก็ได้น่าจะดีกว่า
Blognone คงเห็นคนเถียงไปมาเยอะ เลยเชิญมาให้รู้แล้วรู้รอด ถามเจ้าตัวไปเลย ปีต่อไปเชิญไลอ้อนมัสก์มาให้ได้นะ
เฮ้อ ขนาด Maglev เยอรมันยังเจ๊งไปแล้ว ทำออกมาขาย มีประเทศเดียวที่ซื้อคือ จีน แต่จีนทำต่อไหม? ก็อย่างที่เห็น... Hyperloop = Maglev + ท่อจำลองความดันชั้นบรรยากาศให้เป็นสูญญากาศ ทำให้แรงต้านน้อยลง ทำให้ตัว pod เคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น จบ
จีนยังทำต่อครับเน้นเชื่อมจุดเป็นหลัก เช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่จะเชื่อม Tokyo - Osaka ในราว 1 ชม. เพราะ Maglev ยังทำความเร็วได้มากกว่ารถไฟเทคโนโลยีอื่นๆ
maglev เยอรมันมันต้องลงทุนสูง แถมยังใช้รางแบบพิเศษ คล้ายกับครีบ
“...อาจไม่ได้เน้นที่รายละเอียดทางเทคนิคของ Hyperloop โดยตรง...” เยี่ยมไปเลยครับ เจ้าภาพเค้าออกตัวไว้ให้เรียบร้อยแล้ว
ทีนี้ speaker ก็โม้ได้เต็มที่เลยว่า ถ้าทำแล้วจะดียังงู้น ก้าวกระโดดยังงี้ ทั้งๆที่ในความเป็นจริงมันอาจจะจบตั้งแต่ hyperloop มัน fail ในตัวมันเองตั้งแต่แรกแล้ว
fail ยังไง
มันเป็นเทคโนโลยีในอุดมคติที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจะสามารถใช้งานได้จริงๆ
สิ่งที่มาพูดในงานก็คงเป็นแค่คำพูดประดิษฐ์ขายฝัน
hyperloop กับประชาธิปไตยไทยอุดมคติพูดๆกันนั้น ผมว่า Hyperloop เกิดก่อนแน่ๆ
+1 ตามนั้นครับ แบบนี้ไม่ต่างกับไปฟังขายฝันเฉยๆ
+1 ครับ
ยิ่งรวมกับที่ไม่ได้มีอยู่ในตารางกำหนดการตั้งแต่แรก ยิ่งทำให้คิดว่าสมาชิกพรรคคนใดคนนึงได้ข่าวงานนี้เลยขอเข้าร่วมกระทันหันเพื่อใช้เป็นโอกาส pr พรรค
ส่วนตัวคิดว่าถ้าออกมาเป็นแบบนั้นจริงดูไม่ค่อยเหมาะกับแนวทางของงานซักเท่าไร :/
แต่ในข่าวก็บอกอยู่นะครับว่า blognone เป็นคนเชิญคุณธนาธรเอง
พรรคนี้เค้าการตลาดดีจริงๆ รอดูว่าจะวกเข้ามาเรื่องเรียกร้องประชาธิปไตยกับแก้ รธน ไหม
อนาคตใหม่จำเป็นต้องมีการตลาดดีครับ เพราะไม่ได้มีแบ็คใหญ่คอยอุ้มเหมือนพรรคอื่นๆ ผมหมายถึงเพื่อไทยกับทักษิณนะ อิๆ
อยากซื้อตั๋วให้ thunderf00t กับผู้กองท่านหนึ่งจัง
555 thunderf00t นี่เป็นคนแรกที่ผมคิดถึงเลยเวลามีคนพูดถึง hyperloop
ดีครับ ผู้นำที่ดีต้องเปิดใจให้กล้างไขว่คว้าหาโอกาสและอนาคตอยู่เสมอ
สำหรับความคิดผมนะ ยังไงเอาเงินภาษีผมมาลองทดสอบ + พัฒนาวิจัยไฮเปอร์ลูป ก็รู้สึกมีประโยชน์กว่าเอาเงินไปซื้อเทคโนโลยีเก่าๆ แบบรถถัง เรือดำน้ำ เครื่องบินรบตกรุ่นที่เค้าโละขายนะครับ
แน่นอนว่ามันมีความเสี่ยงว่าจะเสียเงินฟรีในการวิจัย หรือทำแล้วไม่เวิค แต่อย่างน้อยมัน "มีความเป็นไปได้" ก็เป็นอะไรที่น่าลองดูครับ ไม่งั้นก็รอไปครับ เหมือนที่เราเพิ่งจะมีรถไฟความเร็วสูง (หรือป่าว?) ตามหลังพวก เกาหลี ญี่ปุ่น จีน เพราะรอเทคโนโลยีมันชัวร์ก่อนมานานหลายสิบปี เราเลยยังคงใช้รถไฟไทยแบบที่เป็นอยู่...
อ่อ รถไฟไทยเรา เริ่มสมัย ร.5 เป็นผู้นำเลยนะครับ ปัจจุบันเทคโนโลยีก็ยังใช้เหมือนเดิม 555+
ฟังนักการเมืองให้น้อยลง ศึกษาค้นคว้าทั้งสองด้านให้มากขึ้น
เราซื้อเครื่องบินรบตกรุ่นลำไหนช่วยบอกที?
รถถังตกรุ่นรุ่นไหน?
อาวุธมีความสามารถในการป้องกันประเทศ (อย่าบอกนะว่าสมัยนี้เขาไม่รบกันแล้ว)
เคยศึกษาไหมครับว่าทำไมไฮเปอร์ลูปความเป็นไปได้ต่ำ มันไม่ใช่แค่เทคโนโลยีสูง แต่มันมี unobtanium อย่างเช่นการรักษาแรงดันต่ำหรือสุญญากาศในระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร
ถ้ามันเวริค์ค่อยซื้อเค้าถูกกว่าเสียเงินค่าวิจัยนะ
ถ้าคำนึงถึงเรื่องภาครัฐเราเบิกจ่ายช้ามากชงเรื่องกันเป็นปี กว่าจะทำเสร็จประเทศอื่นคงทำกันเสร็จก่อนนานแล้ว
แน่นอนกว่าเสียเงินค่าวิจัยฟรีนั่นล่ะ...
และถึงมันเวริค์ของพวกนี้ก็สร้างไม่ได้ทันที สิ่งที่ประสบปัญหามานานทำให้โครงการล่าช้าทุกยุคสมัย คือ การเวนคืนที่ดิน
เรือดำน้ำ ประเทศไทยปลดประจำการมาล่าสุด 60 กว่าปีแล้ว ที่ซื้อนี้เอาไว้ปกป้องน่านน้ำไทย แล้วซื้อ 2 ลำ ฟรี 1 ลำ (จาก รบ จีน) คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม ลองดูประเทศรอบๆเราก็ได้ เวียดนามมี 10++ ลำ สิงคโปร์ มี 19 ลำ พม่าไม่แน่ใจมีกี่ลำ แต่มากกว่าไทยทุกประเทศ ยกเว้นขเมรไม่มี เพราะไม่มีพื่นทีติดทะเล
จำผิดหรือเปล่าครับ ลาวที่ไม่มีพื้นที่ติดทะเล ส่วนเขมรที่ไม่มีเรือดำน้ำเพราะเศรษฐกิจเขายังไม่เอื้อให้ซื้อ ส่วนพื้นที่ติดทะเลมีแน่นอน ถัดจากจังหวัดตราดขึ้นไปก็ทะเลเขมรแล้ว
แก้ไขเป็นลาวครับ
จะ loop ไปไหน เอารถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง ในเทคโนโลยีที่เป็นไปได้ให้มันครอบคลุมทั่วประเทศก่อนเถอะ
ถนนลูกรังยังไม่หมดเลยนะครับ
//หลอกๆ
ยังไม่ได้พูด ยังไม่ได้ฟัง รู้กันไปหมดละ
รอฟังครับ คิดเองได้ จะขายฝันจะขี้โม้ ก็ขอฟังก่อน
ฟังไปหลายทีแล้วครับ น่าจะรีไซเคิลจากฟอรั่มทั้งหลายที่จัดตอนหาเสียง
อะไรๆ สมัยก่อน ที่คนจะบินได้ ดำน้ำสำรวจ ไปอวกาศ ร่องเรือข้ามทวีปกัน คนสมัยนั้นก็คิดว่าอะไรๆ ก็ไม่ได้ทั้งนั้น
อีกสิบ ร้อยปี เทคโนโลยีมันถึงมันก็เป็นไปได้ ยิ่งถ้ามีการแข่งขันทำเงินได้ก็ยิ่งไปไว หรือไม่ก็เกิดสงคราม ฮ่าๆ
ถูกต้องครับ สิ่งใหม่ๆกว่าจะเกิดขึ้นมาได้นี่ว่ายากแล้ว แต่การจะฝ่าฟันพวกที่คิดว่า "เป็นไปไม่ได้" หรือโดนหาว่า "บ้า" นี่ยากยิ่งกว่า ไหนจะทั้งถูกดูถูกต่างๆนาๆ พอเค้าทำสำเร็จแล้วยังไงครับ เงียบ... และใช้ของเค้าไป
นักวิจัยที่ค้นคว้าอะไรใหม่ๆขึ้นมาได้ก็เพราะชอบคิดนอกกรอบและพยายามทำในสิ่งที่คนส่วนใหญ่คิดว่าเป็นไปไม่ได้ครับ
แต่บางครั้งมันก็ไม่เคยเกิดขึ้นได้เพราะมันยังมี unobtainium นะครับ เช่น ไอ้พลังงานฟรีไม่มีต้นทุนของ Nikola Tesla หรือลิฟท์อวกาศ
แต่ว่าวิจัยพันอย่างประสบความสำเร็จซักสิบอย่างก็คุ้มอยู่นะครับ
ไฮเปอร์ลูป จะอยู่ฝั่ง 990 หรือ ฝั่ง 10 ล่ะครับ
เห็นคนตั้งข้อสงสัย ในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง ผมพอเข้าใจ
แต่คนที่ชื่นชม กับผลงานที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง นี่ได้ด้วยหรอ
งานวิจัยนี่เค้าต้องชื่นชม หรือเริ่มตอนที่สำเร็จแล้วเหรอครับ
ลอจิคแบบนี้ตบมือให้เลยครับ
แค่ประหลาดใจ เวลาเห็นคนเอาอะไรแบบนี้มาเกทับ หรืออวดใส่กันน่ะครับ ไม่ชินจริงๆ
ส่วนตัวจะชอบอะไร ที่ทำได้จริง หรือทำให้เห็นแล้ว
มันเหมือน คน เอาจิตนาการ มาโม้ใส่กัน น่ะครับ ผมพูด ถึงประเด็นนั้น
+1 อย่างน้อยต้นแบบต้องใช้งานได้ ค่อยมาโม้
ไม่เถียงครับว่าการวิจัยมันต้องมีล้มเหลวแน่ๆอยู่แล้วครับ แต่เพราะกลุ่มคนที่คิดต่างนี่หละครับทำให้เราๆได้ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆเสมอ
อยากให้เน้นไปที่ ความพร้อมของประเทศ
และ ข้อจำกัดของเทคโนโลยีนี้ กับ รูปแบบของลักษณะภูมิประเทศ
แล้วก็ ทำไมยังไม่มีประเทศไหนนำเทคโนโลยีนี้มาใช้งานจริง ๆ จัง ๆ
เพราะจากที่เห็นมีแค่นำมาทำสอบกันเฉย ๆ
อ่อ แล้วก็เรื่องอื่น ๆ ที่มีคนยิงประเด็นไว้อีกเต็มไปหมด
คิดว่าถ้าจริงใจ ก็คงจะไล่หาเองได้
คือบอกตรง ๆ ว่า รู้สึกว่ามันจะเป็นแค่การ pr สร้างภาพลักษณ์ของคน ๆ นี้อย่างเดียว
โดยไม่สนว่าความจริงจะเป็นยังไง
ถ้าไม่มี ก็ . . . นะ
+1
ตกลงว่ารอคนอื่นทำได้ก่อนแล้วค่อยซื้อมาใช้ดีที่สุด
ประเทศแห่งการพัฒนา
โครงการบางอย่าง ควรทำในสเกลเล็กและหาความเป็นไปได้กับความพร้อมในการลงมือทำแล้วค่อยขยายขนาดโครงการ ยังจะดีกว่าทำในสเกลใหญ่เลยแล้วพังไม่เป็นท่า บางอย่างเราไม่จำเป็นต้อมซื้อมาใช้ ถ้ามาโอกาสและศักยภาพที่ดีพอ และมีการสนับสนุนจากหลายด้าน รวมถึงรัฐบาลด้วย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ประเทศเราไม่ได้สร้างทรัพยากรมนุษย์มาเพื่อรองรับการวิจัยพื้นฐานที่เพียงพอ ดังนั้นวิธีการแบบทางประเทศตะวันตกที่เน้นพัฒนางานวิทยาศาสตร์พื้นฐาน คงใช้กับเมืองไทยลำบากโอกาสที่โครงการจะล้มเหลวมีสูง แต่ถ้าวันนึงทรัพยากรมนุษย์ในเมืองไทย ถูกพัฒนามารองรับให้เพียงพอ ในการพัฒนาเทคโนโลยีพื้นฐาน ก็น่าสนใจครับ
บ้านเราไม่ได้ร่ำรวยอะไร การลงทุนอะไรก็คงต้องดูด้วยว่าความเสี่ยงสูงแค่ไหน บ้านเราจะเหมาะกับนำเทคโนโลยีพื้นฐานมาพัฒนาต่อยอด แบบญี่ปุ่น เกาหลี จีนใจช่วงแรกๆ แล้วถึงจุดนึงเรามีคนเพียงพอ เราก็สามารถพัฒนาเทคโนโลยีพื้นฐานจากองค์ความรู้ที่เราได้มาจะเหมาะสมกับสถานะการเงินประเทศมากกว่า อย่างภาครัฐที่ชัดเจน ก็คือกองทัพเรือ ยังใช้วิธีการซื้อ Know-how จากยุโรปมาต่อเรือเอง แล้วเอาองค์ความรู้พัฒนาต่อยอดดัดแปลงก่อน สุดท้ายเขาก็จะพัฒนาเรือในแบบของตัวเองได้ ตรงนี้น่าจะ Model ที่เหมาะกับประเทศไทยมากกว่าในเวลานี้
แนวคิด hyperloop นี่ ยังมีข้อจำกัดและอุปสรรคสำคัญอีกหลายอย่าง กว่าจะสามารถออกเป็น product จริงๆ ได้
ที่สำคัญ ยังมี product อื่นๆ ที่ทำได้ไกล้เคียงกัน เป็นคู่แข่งที่ทำได้จริง ใช้งานจริงแล้วด้วย มาเบียดอีก
มองว่า ยังไงก้เกิดยาก และไม่น่าคุ้มที่จะลงทุน
การลงมือวิจัย Hyperloop แม้สุดท้ายแล้วเราอาจไม่ได้ Hyperloop แต่เราก็ยังได้ความรู้และประสบการณ์มหาศาลเลยนะครับ
นี่แหละ คือที่ผมคิด แบบนี้เลย
ขอบคุณที่เมนต์อธิบายยาวครับ ผมเลยไม่ต้องขยายความอีก ? ไม่ตรงกันแต่ก็แนวคิดทางเดียวกัน แทนกันได้อยู่
เรามองว่ามันใหญ่เกินตัว ไม่กล้าทำ ไม่จำเป็น
แต่เรามองแค่ผลสำเร็จ กลัวไม่สำเร็จ กลัวล้มเหลว เราไม่มองสิ่งที่เราจะได้อื่นๆจากเรื่องนี้
เทคโนโลยีหลายๆอย่างก็แตกลูกมาจากแนวคิดใหญ่อีกที เช่น การค้นคว้าวิจัยเทคโนโลยีเรื่องอวกาศของ นาซ่า เทคโนโลยีเหล่านั้นเมื่อมันศึกษามาแล้ว จะเอาไปใช้ได้หรือไม่ได้บนอวกาศ ก็ยังมีความรู้ไปใช้ได้กับอย่างอื่น
เราไม่เก็บเกี่ยวสิ่งระหว่างทาง รอจะเก็บเกี่ยวแต่ผลผลิตอย่างเดียว เราก็ปล่อยสิ่งน่าสนใจหลายๆอย่างทิ้งไป ผมมีปัญหานี้กับบริษัทตลอด คือสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากศูนย์มา พัฒนาผิด/ถูก ฟันฝ่ากันจนจบ สุดท้ายเก็บผลผลิตนั้นไว้ แต่ไม่ใส่ใจแนวคิดที่สร้างมันมา ไม่สร้าง Proposal เก็บไว้ บีบคนที่ทำจนลาออก ดีใจกับสิ่งที่ได้ แต่พอจะสร้างใหม่ ... ไม่รู้วิธี คนที่ทำก็ไม่อยู่ จะต่อยอดจากสิ่งที่รู้ก็ไม่ได้ สุดท้ายต้องทำทีมใหม่ ลงไปวนเวียนปัญหาเดิมใหม่ เอวัง
นี่คือข้อเสียของแนวคิดของสังคมไทย ที่มองผลลัพธ์แต่ไม่เก็บเกี่ยวบทเรียนหรืความรู้ไว้พัฒนา
บางเม้นกล่าวถึงว่าเรายังไม่มีบุคลากรเหมาะสม
ก็เพราะเราไม่มี เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ที่เหมาะสม เราก็เฉื่อยชาไม่สร้างทรัพยากรที่เหมาะสม ถ้าเรามีเป้าหมายยิ่งใหญ่พอและสนับสนุนทุกๆคนไปยังเป้าหมาย ก็จะจึงจะเกิดการผลักดันพัฒนาบุคลากรเพื่อสนับสนุนเป้าหมายนั้น อันนี้หมายรวมไปถึงแนวคิดและเทคโนโลยีต่างๆด้วย ถ้าเราไม่มีเป้าหมายที่น่าสนใจและยิ่งใหญ่พอ เราก็ไม่มีแนวคิดและเทคโนโลยีใหม่ๆขึ้นมา
ญี่ปุ่นตอนแพ้สงคราม เป็นหนี้เป็นสิน ไม่มีอะไรเลย เมื่อก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมรถยนต์ ถามว่าวันนั้นญี่ปุ่นคิดอะไร คิดจะสร้างสิ่งที่เกินตัวหรือเปล่า จนทุกวันนี้ เราไม่ได้แค่ขับรถยี่ห้อญี่ปุ่นอย่างเดียว แต่แนวคิด การจัดการ การบริหารโปรเจค การตรวจสอบผลิตภัณฑ์ การทำงานในโรงงานอุตสาหกรมม ก็เอาแนวคิดญี่ปุ่นมาใช้ สิ่งเหล่านี้ แตกยอดออกมาจากเป้าหมายครั้งนั้น ไม่ใช่ได้แค่รถยนต์มาอย่างเดียว
ถ้าเราตั้งใจทำ จะไฮเปอร์ลูปหรืออะไรก็ได้ แล้วผลักดันมัน เก็บเกี่ยวความรู้และต่อยอดมันอย่างเข้มข้น เราจะได้อะไรจากมันมากมาย ไม่แน่ เริ่มต้นมันอาจจะเป็นไฮเปอร์ลูป แต่จุดจบเราอาจจะได้อย่างอื่นมาแทนมากมายก็ได้ ติดอยู่อย่างเดียว เรากล้าที่จะก้าวหรือเปล่า
ในบรรดาคอมเม้นทั้งหมด ผมชอบอันนี้ที่สุดแหะ ขอบคุณครับ
ถ้าเอกชนออกทุนวิจัยเองคงไม่มีใครว่าอะไรหรอกครับ
แต่ถ้าภาครัฐทำเองนี่รู้ๆ กันอยู่ ระบบรัฐเราไม่เอื้อขนาดนั้น เบิกได้ช้ากับช้ามาก
แถมมันต้องมีหน่วยสังกัด ถ้าเอาไปลงหน่วยที่ไกล้เคียงสุดคือ การรถไฟ ซึ่งก็...
NASA ก็ไม่ใช่เอกชน แต่มีส่วนร่วมกับเทคโนโลยีต่างๆมากมาย
ถ้าไม่ใช่ ก็ต้องทำให้มันใช่ เพราะเราไม่มีระบบ เราจึงไม่สนใจทำสิ่งที่น่าจะทำหรือ
ถ้าสิ่งนั้นทำให้เราก้าวหน้าพัฒนา เราก็ต้องสร้างแนวคิด ระบบการจัดการใหม่ๆเพื่อ Support มัน
กลับไปที่คำอธิบายข้างบนเหมือนเดิม เรามองว่า ระบบเราไม่เอื้อเลยไม่น่าทำ แล้วทำไมเราไม่มองกลับกันว่าถ้าเราอยากทำ เราต้องปรับระบบเราให้ดีขึ้น
คิดแบบแรก เราก็ยังได้ระบบเดิม และไม่ได้ทำ
คิดแบบอย่างหลัง เราได้ทำ แล้วยังพัฒนาระบบขึ้นใหม่
ไอคิดแบบอย่างหลังนี่แหละ ที่เป็นแนวคิดให้โตโยต้าพัฒนาระบบแบบใหม่ๆมาเยอะแล้ว อาจจะโดนอ้างอิงว่าโตโยต้าเป็นเอกชนอีก แต่ผมว่าถ้ารัฐบาลสนับสนุนและมีแนวคิด มันก็เกิดขึ้นในระบบภาครัฐได้
เรื่องระบบมีคนพยายามมาทุกยุคสมัยนะครับ แต่ยังไม่เคยสำเร็จ (เงินไม่พอ)
ไม่แน่ใจว่าเคยเข้ามาเห็นระบบในราชการไทยแบบลึกๆ มั๊ยครับ ฝันใหญ่ดีครับแต่ต้องมองความเป็นจริงด้วย เป้าหมายที่จะพัฒนาคนได้ คนที่มีส่วนร่วมในนั้นต้องมองเห็นความสำคัญของเป้าหมายนั้น ถึงจะช่วยกันผลักดันจนพัฒนาได้ ถ้าแต่ละคนยังห่วงเรื่องปากท้องเรื่องผลประโยชย์ตัวเองอย่างเดียวเหมือนตอนนี้ ก็เหมือนเอาเงินโยนลงบ่อทิ้งไปเฉยๆแค่นั้นครับ
เทียบประเทศญี่ปุ่นกับไทย อย่าลืมเปรียบเทียบความสามารถของผู้คนด้วยนะครับ
ความรักประเทศ ความสู้ชีวิต ความขยัน ความเป็นระเบียบ มันคนละชั้นเลยนะ
แล้วตอนนี้ไทยก็เริ่มเรียนรู้ในเทคโนโลยีรถไฟจากจีนแล้ว
ถึงมันจะไม่หวือหวา แต่มันก็ไม่ได้หยุดซะทีเดียว
แต่ขนาดนี้คนยังด่าเลย ว่าจะได้อะไร
แล้วความรักชาตินี่ ยิ่งหนัก ทุกคนบอกอยากให้ประเทศดีขึ้น แต่มีกี่คนที่ลงมือเปลี่ยนแปลงตัวเอง โดยไม่เอาแต่ด่าให้คนอื่นเป็นคนเปลี่ยนแปลง
อย่างเคสล่าสุด คนที่กล้าลุกขึ้นมาปฏิเสธความไร้จิตสำนึกในสังคมไทย ก็เป็นคนญี่ปุ่นด้วยซ้ำไม่ใช่คนไทย
เห็นชอบยกญี่ปุ่นมาอ้างในการด่าประเทศตัวเองกัน แต่ " ส่วนใหญ่ " ก็ไม่ได้แก้ไขปรับปรุงตัวเองเลยสักนิด แล้วมันน่าหงุดหงิดจริง ๆ
/ แล้วอุตสาหกรรมรถยนต์ของญี่ปุ่นนี่ ลองไปดูอีกทีนะครับ ว่าทำไมถึงเข้ามาได้
ไม่ใช่ว่าเพิ่งทำกันเองหลังจากแพ้สงครามนะ เขาเริ่มกันมาก่อนหน้านั้นอีก
จะเรียกว่า สามารถเข้าสู่อุตสาหกรรมรถยนต์ เพราะสงครามด้วยซ้ำ
/ คำพูดที่ดูดี อาจทำให้ความรู้สึกคนมันเปลี่ยนได้ แต่มันก็ไม่ได้ทำให้ความจริงมันเปลี่ยนไป
ผมเชื่อว่าชาติไม่ต้องการความรักครับ ?
ที่เสนอ อยากจะพัฒนา นู้นนี่นั่นให้กับประเทศนี้ นี่ นี่ไม่ได้รัก หรือครับ
ผมเข้าใจว่า ที่อยากเห็นมันดีขึ้น เจริญขึ้น นี่ทำไปเพราะรักเสียอีก
ประเทศจะเจริญได้ไม่เกี่ยวกับว่ารักชาติหรือไม่รักครับ ถ้าทุกคนทำหน้าที่ของตัวเองก็พอ ถ้ารักก็ดี แต่ไม่รักก็ไม่ได้ทำให้ประเทศไม่เจริญแต่อย่างใดถ้ายังทำหน้าที่อยู่ ทำงาน ไม่ทำตัวเป็นภาระเกินจำเป็น จ่ายภาษี ฝั่งส่วนกลางก็เอาเงินภาษีไปใช้ ทำไปตามหน้าที่
อยากเห็นมันดีขึ้นเจริญขึ้นเพราะอยากให้ตัวเอง ลูกหลาน เพื่อน ญาติ และทุกคนได้อยู่ดีอยู่สบายขึ้นครับ
จะว่าไปรักชาติกับรักประเทศนี่เหมือนกันรึเปล่านะครับ
มันเป็นการเล่นคำ เพื่อเลี่ยงให้ไม่ซ้ำกับ คำว่ารักชาติ ที่ใช้กันจนเฝือก่อนหน้านี้เฉยๆครับ
ขอบคุณครับ ?
มันเลยเป็นแบบนี้ไงครับ ?
เป็นแบบไหนเหรอครับ?
ไม่ใส่ใจสภาพแวดล้อม / สภาพสังคม
ด่าอย่างเดียวไม่ลงมือทำอะไรทั้งสิ้น
เอาเปรียบอะไรสังคมได้ ก็เอาเปรียบ
พอมีคนจะลุกขึ้นมาทำอะไร ก็แซะ
อะไรที่ไทยทำ ตีไปว่า แย่ไว้ก่อน
ฯลฯ
เยอะเลยครับ
คือเข้าใจว่า อาจอคติกับคำว่ารักชาติ หรือ ชาตินิยม
แต่ถ้าเกิดเราจะ อคติ แล้วตามไปกับกระแสชังชาติ แล้วคิดว่าเป็นหัวก้าวหน้า (พูดรวม ๆ อาจไม่ใช่คุณ) อันนี้อันตรายนะ
เข้าใจว่าออกแนวไม่รับผิดชอบครับ ไม่ต้องรักก็ได้ เพราะผมเห็นคนรักกันหลายคนก็ไม่มีความรับผิดชอบต่อกัน และต่อตนเองนะครับ
ถ้ามีความรับผิดชอบ ต่อให้ไม่รักกันผมเชื่อว่ามันจะขับเคลื่อนได้ แต่ถ้ารักด้วยจะทำให้ก้าวหน้าได้ด้วยครับ
คนไทยส่วนนึงขาดความรับผิดชอบ และขาดสติครับ
ทำไมถึงได้ไม่ชอบคำนี้นัก ห้ะๆๆ
เพราะพวกรักชาติปลอม ๆ ไม่กี่คนนั่นเหรอ
ไม่เห็นต้องให้ค่าพวกนั้นเลย
ไม่ใช่ไม่ชอบอ่ะ ไม่มีปัญหาอะไรที่จะชอบ หรือไม่ชอบครับ
มันเป็นลอจิคมากกว่า ผมไม่รักงานที่ผมทำก็ได้ แต่ถ้าผมรับผิดชอบก็โอเคใช่มั้ยครับ
ผมเข้าใจว่าคุณ hisoft ก็ไม่ได้ต่อต้านคำนี้เช่นกัน แต่ตามลอจิคแล้วความรักชาติมันไม่จำเป็นในระดับนึงครับ แต่พอขยับไปอีกระดับผมเห็นว่ามันจำเป็นครับ
ใช่ครับ ขอบคุณครับ
พอดีผมไล่อ่านเจอตรงไหนควรตอบผมจะหยุดอ่านแล้ว reply ก่อนน่ะครับ - -" เลยไขว้ๆ กันบ้าง
ผมว่าเราอาจเข้าใจไม่ตรงกัน
ถ้าจะเอาแค่ในส่วนของ รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเอง
จะบอกว่าเป็นแบบนี้ก็ได้นะครับ
แต่ผมพูดถถึงความรักชาตินินา ความต้องการที่จะช่วยให้ประเทศ/สังคมเราพัฒนาขึ้น
การจะลุกขึ้นมาเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองและสังคม
อย่างที่ยกตัวอย่างเรื่องด้านล่างมา
การรับผิดชอบต่อหน้าที่ของ ก็เป็นเรื่องดีนะครับ ถ้าทำได้สังคมก็จะดีขึ้นเช่นกัน
อันนี้ควรเป็นอันดับแรกด้วยซ้ำที่ทุกคนควรทำกัน
แต่ถ้าอยากให้ประเทศพัฒนาไปได้ การทำเท่านี้อาจจะไม่พอ
อาจจะมองแคบ ๆ แค่สังคมเราก็ก่อนก็ได้ เช่นเรื่องเล็ก ๆ ในสังคม
การบอกหรือตำหนิคนที่ทำผิดเมื่อพบเจอ ก็อาจทำคนนั้นเข้าใจ และเปลี่ยนแปลงตัวเองได้
การช่วยกันสนับสนุนสิ่งของที่ผลิตขึ้นในสังคม หรือ ประเทศเราก่อน
การช่วยกันลดการใช้ขยะที่อาจสร้างปัญหา
การแยกขยะ
ฯลฯ
และ เชิญชวนคนรอบข้างให้มาทำด้วยกัน
ถ้าเกิดผู้คนมีความรักในประเทศ สังคมที่เราอยู่ และอยากเปลี่ยนแปลงมัน
มันก็จะเดินหน้าไปในทางที่ดีได้
หรือจะบอกว่าเป็นเรื่องของชาตินิยมก็ได้ สิ่งที่ผมต้องการจะสื่อ
/ จากเรื่องใน post เรามาถึงจุดตรงนี้กันได้ยังไง
ผมไม่ได้รู้สึกอะไรกับประเทศเป็นพิเศษ (คือไม่ชังไม่เกลียดด้วยนะครับ อย่าเข้าใจผิด) แต่ผมเดินขวางทางมอไซค์บนทางเท้า เค้าไล่ผมไม่หลบ ปั่นจักรยานเบียดๆ มอไซค์ย้อนศร (แบบบีบให้เค้าออกไปกลางถนนนั่นแหละ) โอเคไม่ได้ถึงขั้นไปยืนขวางจี้รายคนแต่เป็นที่ระดับที่ต่างกัน ถ้ามอไซค์ขึ้นวาจามาต่อว่าผมก็ตอบโต้ไปตามความรุนแรงที่เค้าเปิดมา เคยข้ามถนนตรงทางม้าลาย (ซึ่งผมค่อนข้างจะเปรี้ยวกว่าปกติ แต่เป็นแบบทำเป็นเดินออกไปแต่ก็ยังยั้งในระดับที่โดดถอยหลบทัน เว้นแต่จูงจักรยานอยู่จะเข็นยื่นออกไปเลยถ้าเป็นลักษณะที่ว่ารถควรหยุดได้ทัน) มีบิ๊กไบค์บีบแตรแล้วตะโกนด่า ผมก็ด่ากลับตรงนั้นเลยนะ (คือบิ๊กไบค์คันนั้นขับคร่อมเลนมา แต่กระทั่งรถยนต์ทั้งเลนซ้ายและขวาเค้าหยุดให้หมดแล้ว พี่แกไม่แคร์ ขับพุ่งเสียบมาแล้วมาเบรคเพราะเจอผมอีกที)
ผมลดการใช้ขยะมานานมาก ผมไม่รับถุงพลาสติกและหลอดพลาสติกแบบแทบจะไม่รับเลยมาเกือบสิบปีแล้ว ถ้าแจ้งพนักงานแล้วพนักงานลืมและท้วงไม่ทันผมล้วงหยิบแต่ของออกไปด้วยซ้ำ ของอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นนอกจากพลาสติกก็เป็นลักษณะเดียวกัน ชวนคนรู้จักที่อยู่รอบตัวเสมอด้วยถ้ามันดูเป็นลักษณะที่เค้าไม่ได้ลำบากขึ้นเท่าไหร่
ผมแยกขยะเสมอทุกครั้งที่ทำได้ แม้จะเห็นว่าในถังมันปนๆ กันแล้วก็ตาม กระทั่งขยะประเภทเดียวกันบางทีผมก็แยกย่อยไว้ให้เค้าอีกที (แบบพวกกระดาษ แบตเตอรี่)
ผมแค่อยากให้ชีวิตผมและคนอื่นดีอย่างเสมอกันไม่ให้บางคนมาเอาเปรียบครับ ไม่ได้เกิดจากรู้สึกรักชาติเป็นพิเศษแต่อย่างใดแล้วก็ไม่ได้รู้สึกว่าเรื่องที่ทำมานี่ผูกติดกับแค่ระดับชาติด้วย ถ้าเป็นระดับมนุษยชาตินี่ก็อาจจะใช่
ตรงนี้ส่วนที่เป็นปัญหาผมมองว่าเกิดจากอาการตรรกะพังอยู่บ่อยๆ นะครับ แต่ก็ไม่ใช่ทุกเคสเสียทีเดียว
ถ้าอ่านไล่ๆ มาก็พอมีที่มาที่ไปครับ โอเคอยู่ ?
ผมไม่ได้รักชาติครับ ไม่มีความเป็นชาตินิยมใดๆ แต่ผมต้องการให้สังคมดีขึ้นครับ และผมทำได้ด้วยการรับผิดชอบต่อตนเอง
ต่อให้ผมย้ายไปอยู่อีก 10 ประเทศผมก็เป็นแบบนี้ครับ และไม่เคยคิดว่าจะต้องมีใครรักประเทศใดๆ ด้วย แต่ไม่ได้ห้ามว่าใครจะรักประเทศนะครับ
ผมมองว่าคนอีกหลายคนก็ไม่ได้รักประเทศแต่ห่วงอนาคตของลูกหลานตัวเอง ในขณะที่อีกหลายคนต้องการพัฒนาอะไรสักอย่าง และทำเพื่อ achievement ส่วนตัว แต่ประเทศได้ผลประโยชน์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเพราะตำแหน่ง หรือขอบเขตความรับผิดชอบก็ตาม
หลายคนทำเพราะรักถิ่นฐาน รักภูมิลำเนา และผมก็เชื่อว่ามีคนที่ทำเพราะความรักประเทศจริงๆ ด้วย
แต่ผมก็ยังยืนยันคำเดิมครับ ความรักชาติไม่ได้เป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ชาติพัฒนา คนรักชาติก็ไม่ได้ทำให้ประเทศพัฒนาเสมอไป
ความรักเป็นความรู้สึก แต่สิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนาชาติคือการลงมือทำเพื่อชาติ หรืออย่างน้อยก็ทำตามขอบเขตความรับผิดชอบของตนเองให้ดีที่สุด
นาฬิกาต้องการแค่เฟืองที่ทำหน้าที่ของมันแค่นั้นแหละครับ
สรุปสั้นๆ ผมอยากให้สังคมดีขึ้น แต่ผมไม่ได้รักชาติ หรือมีความเป็นชาตินิยมใดๆ เลยครับ และผมไม่ให้ความจำเป็นที่จะต้องรักด้วยครับ ถ้าสังคมดีขึ้น ผมเองก็สบาย ลูกหลานผมก็สบาย ทุกคนก็สบายครับ และผมคิดว่าผมทำให้สังคมดีขึ้นโดยการรับผิดชอบต่อตัวเอง และสังคมให้ดีที่สุด เพราะผมเชื่อว่าสังคมประกอบด้วยคนทุกคน และสังคมจะดีขึ้นเพราะคนในสังคมรับผิดชอบตัวเองได้ดีครับ ผมรักตัวเองครับ
ปล. บล็อกนันก็คุยออกนอกไปประเด็นรองกันเป็นปกติเนอะ
เห็นด้วยเป็นส่วนมากครับ
ที่ผมพิมพ์ไปนี่ผมแค่จะบอกว่าผมไม่ได้รู้สึกอะไรก็ทำที่ว่ามาทั้งหมดนั่นได้นะ อ่านอีกทีแล้วเหมือนอวยตัวเองเลย - -"
ผมรักตัวเอง แต่ไม่ได้รักประเทศฮะ ฮ่าๆๆๆ
ผมขอแจ้งไว้อย่างชัดเจนก่อนเลยนะครับ ผมไม่มีปัญหาใดๆ กับการรักชาติและชาตินิยม ผมแค่มองว่ามันไม่ได้เป็นทางเลือกเดียวที่จะดีได้ครับ
คือไม่ว่าจะรักชาติ จะเฉยๆ ชาติ หรือจะชังชาติ ถ้าทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีแล้วเป็นการผลักดันให้ประเทศชาติเจริญได้ทั้งนั้น
แสดงว่าคนญี่ปุ่นไม่รักชาติ?????
ห้ะ ยังไงนะครับ???
ของญี่ปุ่นนี่ เขารักชาติในแง่คนในชาติ คุณภาพ การแข่งขัน การฟื้นฟู การสู้กับเศรษฐกิจและปัญหาของตัวเอง และเห็นแก่อนาคตคนรุ่นหลังของชาติตัวเอง
ส่วนในไทยที่พูดกันเหรอ เป็นแค่วลีกับสำนวนวาทกรรมที่ใช้เล่นงานคนอื่น ตรงข้ามกับการรักชาติเลยครับ
ชาติที่เราถืออยู่เนี่ยไม่ต้องการความรักเลย แต่ต้องการความก้าวหน้าและก้าวกระโดดของประชาชนและคุณภาพมวลรวมของประเทศ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
อันนี้คือเคสรักชาติแบบปลอม ๆ ครับ
ไม่อยากให้นับเป็นการรักชาติเลย
ออกไปทาง รักตัวเอง และ เห็นแก่ตัวมากกว่า
เม้นคุณชวนให้คิดเรื่อง mindset ครับ ผมว่าไม่มีอันไหนถูกอันไหนผิด แต่มันคือการตั้ง mindset ให้กับคนในประเทศ
อยากจะปลอดภัยทุกอย่าง ไม่เสี่ยงอะไรเลย หรืออยากจะเสี่ยงทุกอย่าง จะก้าวหน้าอย่างเดียวจนไม่สนปัญหาที่มีคนแสดงความกังวลไว้เลย
หรือจะวางแผน หาทางแก้ปัญหา แล้วทำไปด้วยให้ได้มากที่สุด ฯลฯ
คนไทยส่วนนึงกลัวพวกทุจริตจนไม่อยากให้ทำอะไร คนไทยอีกส่วนก็บอกว่าอย่าไปกลัว ต้องเริ่ม ไม่เริ่มไม่ก้าวหน้า อีกฝ่ายนึงก็อยากให้แก้ปัญหาปากท้องของจนก่อน
มัน clash กันตลอดทั้งๆ ที่แก้ปัญหาได้ แต่ไม่ค่อยมีใครจะพูดถึงเรื่องการแก้ไข หรือการป้องกัน หรือการวางแผน
mindset แบบไม่ซ้ายก็ขวา ไม่ดำก็ขาวเป็นอะไรที่สร้างความปวดหัวมากๆ ให้กับผม และผมคิดว่าสร้างความแตกร้าวให้สังคมไทยค่อนข้างเยอะมาก ไม่ค่อยมีใครจะพูดถึง approach เท่าไร เพราะเมื่อเห็นปัญหาส่วนมากก็มีการตอบโต้แค่ 2 อย่าง กระโดดข้าม ไม่ก็ถอยหนีเลย
ผมเห็นด้วยกับหลายส่วนของคุณ การพัฒนาจริงๆมันก็เริ่มจากตอนไม่พร้อมนี่แหละครับ
เพียงแต่ความเห็นผมคือ ไม่ควรยึดว่าต้องเป็น Hyperloop เพราะผมคิดว่ามันเกือบเป็นไปไม่ได้ จนไม่คุ้ม
ความยากในการสร้าง Hyperloop ที่ทำงานได้เร็ว สะดวก ปลอดภัยผมว่าอาจจะง่ายกว่าการสร้างสิฟต์ไปอวกาศนิดเดียวเลย
แต่ผมเห็นด้วยในการทำรถไฟความเร็วสูงอะไรก็ได้ จะใช้ล้อ หรือแม่เหล็ก อะไรก็ได้ที่เร็ว ปลอดภัย ไม่ต้องตรวจผู้โดยสารหยุมหยิม ไม่แพงเกิน รางกว้างและเป็นรางคู่
+65536 คอมเมนต์มีคุณภาพแบบนี้ได้นานๆจะเห็นที
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
อย่าทำอะไรเกินตัว ให้ใช้ชีวิตแบบพอเพียง
ค่อนข้างเห็นด้วยครับ เรื่องสิ่งที่จะได้อะไรหลาย ๆ อย่างระหว่างทาง ผมคิดว่าเปรียบเทียบง่าย ๆ เหมือนจัดงานอีเว้นต์ซักอย่างให้กับจังหวัดหรือชุมชน ได้นักท่องเที่ยว เรื่องที่พัก อาหาร ชาวบ้าน ความร่วมมือ ความสุข จุดประสงค์ก็หลาย ๆ อย่างเลย (อาจจะนอกเรื่อง ขออภัยครับ)
ทั้งนี้อาจจะเทียบกับงบที่ลงทุนด้านนี้กับด้านอื่น เพื่อตัดสินใจว่าแบบไหนจะคุ้มค่ากว่ากัน ให้ปชช.เห็นชัดเจน
ผมว่าคนส่วนใหญ่ในนี้ก็คงไม่ได้คิดตื้น ๆ แบบนั้นหรอกครับ แค่รู้สึกว่า hyperloop มันดูเป็นเรื่องที่ทำได้จริงลำบาก อย่างตัวอย่างของคุณที่ญี่ปุ่นทำบริษัทรถยนต์ ผมเข้าใจว่า ณ ตอนนั้นรถยนต์มีใช้กันทั่วโลกแล้ว ญี่ปุ่นแค่ลอกเลียนแบบมาจากสิ่งที่สำเร็จแล้ว เหมือนกับเครื่องใช้ไฟฟ้า และกล้องถ่ายรูป พวกนี้ญี่ปุ่นเริ่มต้นจากการลอกเลียนแบบสิ่งที่ทำสำเร็จแล้วทั้งนั้นครับ แล้วค่อยมาสร้างเทคโนโลยีของตัวเอง ซึ่งในเวลาต่อมาก็มีเกาหลี จีน ก็ทำตามแนวทางนี้เหมือนกัน ในขณะที่ hyperloop ตอนนี้เท่าที่รู้ยังไม่มีโครงการที่สามารถเอามาใช้ได้เป็นชิ้นเป็นอันเลยครับ มันก็ดูดีนะครับที่เราพยายามจะทำเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าประเทศอื่น แต่บางทีผมก็รู้สึกว่าเราติดภาพลักษณ์แถมใจร้อนไปหน่อยอยากได้อะไรที่ดูดีแล้วก็เร็ว ๆ ด้วย ลองไปสนใจเรียนรู้สิ่งที่มันมีอยู่แล้วแต่ทุกวันนี้เรายังผลิตเองไม่ได้เลยที่มีอยู่เต็มไปหมด อันนี้มันอาจจะเริ่มต้นไม่ดีนักแต่มันก็ทำให้เรามีองค์ความรู้ในการผลิตจริง ๆ ซะที ไม่ใช่เป็นแค่เอามาประกอบ ผมเชื่อว่าน่าจะทำให้ต่อยอดไปในอนาคตได้เหมือนที่ประเทศอื่นทำมาแล้วครับ
เมนต์นี้ น่าสนใจ
ถ้าไม่ต้องคาดหวังว่าจะได้ product เป็น HyperLoop แต่ได้ความรู้เกี่ยวกับระบบท่อสูญญากาศ วัสดุ เทคนิคการก่อสร้างต่างๆ ระบบสื่อสารในสภาวะนั้น ก็น่าจะเอาไปต่อยอดได้อีกมากมาย
ซึ่งผมมองว่า ถ้าจะเอาองค์ความรู้ ก็วิจัยลงลึกเป็นเรื่องๆ ไปเลยโดยไม่ต้องมี hyperloop เป็นตัวตั้ง จะดีมากกว่าเยอะครับ
เมื่อองค์ความรู้พร้อมแล้ว ก็ค่อยมาดูต่อว่าจะสร้าง hyperloop มั้ย
อันนึงที่ผมคิดว่าเกิดขึ้นได้ยากคือเรื่องการดำเนินโครงการใดๆ เพื่อเอาองค์ความรู้อ่ะนะ เรามีรถไฟฟ้าพวก bts มา 20 ปีแล้วแต่เราก็ยังต้องซื้อตัวรถอยู่เหมือนเดิม
ถ้าจะเริ่มโครงการใดๆ เพื่อเอาองค์ความรู้เพื่อมาต่อยอด ผมว่าเป็นไปได้ยากในทางการเมืองครับ ฝ่ายการเมืองต้องการซื้ออย่างเดียว
อันนี้เป็นเรื่องน่าห่วงอย่างนึงครับ เคยได้ยินว่าบ้านเรามีงานวิจัยลอยๆ วิจัยทิ้งเยอะมาก วิจัยอย่างนึงได้ดีแต่ไม่มีการรวม ไม่มีการ implement ไม่มีการต่อยอด เป็นการวิจัยเดี่ยวๆ ที่วิจัยได้ดีแต่เอาไปทำอะไรไม่ได้
การเลือกอะไรมาสักอย่างนึงเป็นแกนมันทำให้การวิจัยมีความพยายามที่จะเอาเข้าไปทำงานด้วยกันอยู่ มีหัวเรื่องให้ดึงเข้าไปและให้แนวคิดว่าสิ่งที่วิจัยอยู่มันเอาไปเป็นประโยชน์ตรงไหนได้บ้าง ยิ่งปลายทางเป็นเทคโนโลยีสุดขอบก็ยิ่งดึงความสามารถในทุกรายละเอียดเลย
ผมว่าอย่างน้อยๆ ถ้าวิจัย Hyperloop แล้วก็ควรมีความรู้กันมากพอที่จะทำรถไฟไฟฟ้าออกมาเป็น product ได้เองหาก Hyperloop ไม่สำเร็จนะครับ
เอ้อ แต่ผมก็ไม่ได้หมายถึงว่าจะต้องทำ Hyperloop นะครับ จะว่าไปอะไรก็ได้แหละที่มีคนหนุนและผลักดันกันจริงจัง อันนี้มันเป็นเรื่องใหญ่และข่าวใหญ่ผมก็อยากสนับสนุนให้ทำแหละ อย่างน้อยก็ดีกว่าปล่อยให้ไปวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรนิรันด์ให้มาออกข่าวกันทุกสองสามปีอยู่แบบนี้ที่แม้แต่อาจารย์มหา'ลัยยังเข้าใจผิด
(ตอนผมไปนำเสนอเปเปอร์ที่เชียงใหม่ก่อนหน้าข่าวในลิงก์หลายปี มีอาจารย์มหา'ลัยท่านหนึ่งนำเสนอเรื่องเดียวกันเด๊ะๆ เลยครับ ผมนี่นั่งเหวอเลย)
อ่านแล้วนึกถึง ig nobel หน่อยๆ ครับ
ขอขัดเรื่องญี่ปุ่น
จริง ๆ อุตสาหรรมรถญี่ปุ่นนี้ เกิดจาก toyota ผลิตรถสำหรับใช้ในการสงครามป้อนสงครามโลกครั้งที่ 2 อยู่แล้วนะครับ
พอแพ้สงครามประเทศข้าวยากหมากแพงน้ำมันแพง เขาถึงพัฒนารถยนต์ประหยัดน้ำมัน
แต่ขายได้นิดเดียวเพราะญี่ปุ่นหลังสงครามไม่มีกำลังซื้อ แต่มีต่างชาติมาซื้อรถอยู่
toyota เลยเห็นว่ามีช่องทาง เลยไปเปิด บ รถยนต์ที่อเมริกา แล้วไปตีตลาดรถประหยัดน้ำมันได้ด้วย Toyota corona ครับ
สรุป เขาไม่ได้สร้างจาก 0 นะครับ ไม่เกินตัวด้วย เขาสร้างจากสิ่งที่เขาเชี่ยวชาญตั้งแต่แรกแล้ว แค่มองหาช่องทางทำกินเฉย ๆ
ขอบคุณทุกท่านที่เข้าใจและช่วยกันถกเถียงนะครับ
อย่างแรกตอบในเม้นนี้ทีเดียว คือต้องขอโทษก่อนเลยที่ข้อมูลเรื่องญี่ปุ่นผมไม่แน่นพอ การยกตัวอย่างจึงดูเป๋ๆไปหน่อย แต่สิ่งที่ผมต้องการสื่อคือ ขยายความเห็นเรื่องการได้ความรู้ต่างๆระหว่างทางไปสู่เป้าหมายโดยการตั้งเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่และมีความหมายและไม่ทิ้งความรู้ระหว่างทาง
ส่วนเรื่องไฮเปอร์ลูปก็อย่างที่ผมเขียนในย่อหน้าสุดท้าย คือจริงๆแล้วไม่ได้เน้นที่ไฮเปอร์ลูปขอแค่เป็นอะไรก็ได้ที่ใหญ่พอ
แต่เชื่อไหมพวกเราก็ยังวนอยู่ย่อหน้าแรกที่ผมพูดเลย เรากลัวมันเกินไปจนเราไม่กล้า ไฮเปอร์ลูป ไม่ใช่อะไรที่ "เป็นไปไม่ได้" มันแค่ "เป็นไปได้ยาก" เท่านั้นเอง แต่เราก็กลัวมันแล้ว
สิ่งเป็นไปไม่ได้คือไม่มีตรรกะสนับสนุนเช่น พยายามหาว่าสวรรค์มีจริงไหม พยายามเดินทางไปอีกกาแล็กซี่ภายในสองวินาที นี่คือสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ซึ่งใครลงทุนทำก็เหมือนเอาเงินไปละลาย
การทำสิ่งที่เป็นไปได้ยากมันก็มีขั้นตอนของมัน อย่างน้อยๆเราก็ต้องคิด Feaasbility ก่อนแน่ๆ แล้วจากนั้นก็ค่อยๆทำไปทีละขั้น เช่นที่โครงการ Hyperloop กำลังทำอยู่ตอนนี้แหละ เค้าไม่ได้สร้างท่อยาวพันไมล์แล้วก็ทำเลยนี่ ก็ต้องค่อยๆทำจากเล็กๆ สั้นๆ เพิ่มเงื่อนไขไปทีละนิด จนใกล้เป้าหมาย ระหว่างนี้ก็เก็บความรู้ระหว่างทางไป แบบที่ทำแข่งกันอยู่ทุกปี (ซึ่งล่าสุดก็มีทีมไทยแล้ว น่าดีใจมากๆ) และนี่คือจุดเริ่มต้นของการเริ่มเก็บเทคโนโลยีและความรู้แล้ว พวกเราลองคิดว่าทีมที่ทำ Hyperloop ส่งทุกๆปีเขาได้ความรู้อะไรไปบ้างแล้ว ทั้งที่เอาไปใช้กับ Hyperloop ได้และทั้งที่เอาไปใช้ไม่ได้ สมมติมันไม่สำเร็จ อาจๆได้ความรู้เรื่อง การเคลื่อนที่ในท่อสูญญากาศ การลดแรงเสียดทานในท่อ (สมมติน่ะนะครับ) นี่คือได้แล้วถ้าเราได้เริ่มทำ แต่คนที่รอตอนมันสำเร็จ จะไม่ได้เรียนรู้เรื่องเหล่านี้เลย นี่จึงทำให้เราเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาอยู่เสมอ เพราะกว่าจะสำเร็จสมบูรณ์เป็นรูปเป็นร่างให้เรามาศึกษา คนเริ่มคิดเขาได้ความรู้อะไรไปมากมายและเริ่มขั้นต่อยอดแล้ว เมื่อเรารู้เทคโนโลยีนี้จนหมด ก็พอดีเขาคิดเทคโนโลยีใหม่จากสิ่งที่ต่อยอดไปอีกทีเรียบร้อย เราก็วิ่งไล่ตามเขาร่ำไป
ไฮเปอร์ลูป ถึงมันไม่ใช่ทฤษฏีฟิสิกส์ใหม่ของโลกที่พึ่งคิดค้น แต่มันคือเทคโนโลยีเริ่มต้นที่ตอนนี้ทุกๆคนทุกประเทศ ยังอยู่ที่จุดเริ่มต้นเหมือนๆกัน (ถึงแม้บางคนจะมีแฮนดี้แคปอยู่บ้าง แต่ก็ถือว่ายังใหม่กับทุกคน) มันเป็นโอกาสแล้วที่เราจะได้เริ่มตอนโบกี้แรกออกสตาร์ท ไม่ต้องขึ้นรถขบวนสุดท้าย ทำไมเราไม่ขึ้นล่ะ
ส่วนประเด็นที่ว่าถ้ามันล้มเหลว มันจะเกิดความเสียหาย ผมว่ามันคนละประเด็นกับการเริ่มต้นนะ มันอยู่ที่เราบริหารความเป็นไปของมันยังไง เราบริหารความล้มเหลวยังไง โปรเจคความรู้แบบนี้ ไม่มีคำว่าล้มเหลวแบบสูญเปล่า มีแต่เราเก็บอะไรจากสิ่งที่ไม่สำเร็จได้บ้าง
+1 หลายคนพูดคิดเหมือนชาวสยามที่ดูถูกเจ้าของโรงงานทอผ้าญี่ปุ่นที่คิดจะทำรถยนต์ในยุคสมัยหนึ่งเลย ไม่มีพื้นฐาน เป็นไปไม่ได้
สงสัยจังว่าถ้าไม่ใช่คุณธนาธรเสนอแผนโครงการ เป็น Mr.P หรือคนพรรคอื่นๆ เสนอโครงการ จะมีคนสนับสนุนเพียงใด เอาแบบเนื้อหาโครงการไม่นับรวมตัวบุคคลนำเสนอนะ
ถ้าสำหรับผม HyperLoop เป็นโครงการที่ดูล้ำ แต่ลองพิจารณาดีๆ น่าจะเป็นจริงได้ยาก
แบบนี้ ใครเสนอ ผมก็ไม่เห็นด้วยอยู่ดีครับ
ไร้สาระ เหมือนคุยเรื่องกล้องวงจรปิดในลอนดอน แต่มีคนถามว่า มีกี่ตัวนั่นละ ตอบไม่ได้
ยกตัวอย่างมาเปรียบเทียบไม่โอเคนะผมว่า ถ้ามีคนหาข้อมูลกล้องฯ จริงๆคำตอบนี้มันคือ "นับได้" ผมว่าคำว่า"ไร้สาระ" อันนี้มันแรงไปสำหรับหัวข้อการบรรยายครับ
เอาวิศวกรที่เคยร่วมกับ Hyperloop one มาบรรยายายยังเห็นความเป้นไปได้ในประเทศ
เอานักการเมืองขี้โม้มมา จะมีประโยชน์อะไร
วิศวกรเชี่ยวชาญนำเสนอด้านเทคนิค
นักการเมืองนำเสนอด้านนโนบาย วิสัยทัศน์ ทิศทางการพัฒนาในระยะยาว
มันก็คงขึ้นกับว่าคนที่มาฟังอยากฟังอะไร
มันขึ้นกับว่าคนอยากด่าอะไรด้วยครับ แต่ละคนที่ด่าๆ นี่พูดเหมือนนี่เป็นงานที่จัดโดยรัฐบาล หรือจัดโดยฝ่ายการเมือง และเป็นงานที่เข้าฟรี
เงินก็ไม่ได้ออก งานก็ไม่ได้ไป ตั๋วก็ไม่ได้ซื้อ จะด่าอย่างเดียว
โอ้ยย ย่อหน้าสุดท้ายนี่ ผมเจ็บแทนหลายๆ คนที่ด่าไปแล้ว 555
ผมไม่ได้ด่าหรือตำหนินะฮ่าๆๆๆ ผมแค่บอกเตือนเผื่อหลายคนลืม
ว่านี่คืองานปิด เข้าได้เฉพาะคนซื้อตั๋ว แล้วถ้าไม่ชอบ ไม่อยากฟังก็แค่ไม่ซื้อตั๋ว
คือเค้าไม่ได้เชิญธนาธรมาเป็นนายก และร่วมลงทุนใน hyperloop อ่ะ
งานมันกึ่งๆ เสวนา แต่ด่ากันเหมือนธนาธรได้เป็นนายก และกำลังจะเซ็นต์สัญญาโครงการ hyperloop
ถ้าเทคโนโลยีมันเป็นไปได้จริง และถ้าจะมีสักจังหวัดนึงที่เป็น pilot ผมนึกถึงขอนแก่นฮะ
เงินลงทุนวิจัยถ้าเอามาวิจัยในประเทศ เงินที่จ่ายไปก็กลายเป็นเงินเดือนนักวิจัยหมุนเวียนในประเทศอยู่ดีแถมสร้างงานให้นักวิจัย ถ้าเอาเงินไปซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศเงินมันก็ออกนอกประเทศ ไม่กลับมาไทย ผมว่าถ้าจ้างคนในประเทศวิจัยได้จริงประเทศไทยคงมีนักวิจัยเก่งๆขึ้นอีกเยอะ เงินก็หมุนเวียนอยู่ในเศรษกิจไทย ประเทศก็เจริญขึ้น ดีกว่าโปรยเงินไปให้คนจนโดยที่ไม่มี product อะไรออกมา นอกจากเงินหมุนเวียนในเศรษฐกินเหมือนกัน
+1
แต่ถ้าเราทำได้ น่าจะเป็นการพัฒนาที่ก้าวกระโดดเลย โอเคอาจจะให้อินเดียลองก่อนก็ดี
ไม่งั้นทุกวันนี้เราก็นั่งรถทัวร์ ป.1 ป.2 ต่อไป (ที่ราคาตั๋วเกือบเท่าๆ เครื่องบินโลคอส)
เพราะโพสต์นี้มีนักการเมืองเป็นตัวชูโรง comment มันจะเยอะๆหน่อย เนื่องจากถือโอกาสแสดงออกความคิดเห็นทางการเมืองเชิงสร้างสรรค์ไปในตัว คนชอบธนาธร จะสนับสนุนเทคโนโลยีนี้ ใครไม่ชอบก็จะมองว่า hloop ไม่น่าเกิด //หยอกๆ
ถ้าจะเอาใช้งานจริงลอง Maglev ดูน่าสนใจกว่านะ ความเร็วระดับ 400 กว่ากิโลเมตรต่อชั่วโมง น่าจะเพียงพอสำหรับประเทศที่ไม่ได้กว้างขวางอะไรอย่างประเทศไทย ขนาดทดสอบกันมานาน ยังมีประเทศใข้งานจริงไม่กี่ประเทศเลย
Hyperloop นี่แหละครับที่ใช้ Maglev แต่เค้าลดขนาดมาวิ่งในท่อ ทำให้แก้ปัญหาขีดจำกัดด้านพลศาสตร์ไงครับ
มันไม่ได้มีแค่นั้นมั้ง ถ้ามีแค่นั้นคงมีโครงการจริงน่าเกิดขึ้นแล้ว ไม่ใช่แค่ให้นักศึกษามาระดมไอเดียกันเหมือนปัจจุบัน Maglev มันมีการทดสอบกันมานาน และใช้งานจริงกันแล้ว แต่ยังได้แค่ระยะทางสั้นๆ เลย ผมว่าจะเชียร์อะไรดูหลักความเป็นจริงให้เหมาะสมกับเศรษฐกิจของประเทศด้วยก็ดี บ้านเราไม่ได้ร่ำรวยอะไรขนาดที่ลงทุนอะไร ที่มีความเสี่ยงสูงขนาดนี้ ไม่ได้บอกว่ามันไม่ดี ถ้าครอบครัวคุณธนาธรลงทุนเอง ผมก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรหรอก แต่ถ้าต้องเอาเงินภาษีประชาชนมาลงทุนวิจัยกับโครงการที่มีความเสี่ยงสูง เป็นผมอย่างน้อยก็ให้แค่สัมประทาน เปิดประมูลให้เอกชนลงทุน แล้วให้เอกชนรับความเสี่ยงไปจะเหมาะกว่า
เอางี้คิดว่าตอนนี้เปิดให้เอกชนประมูล โดยเอกชนเฉพาะบริษัทจดทะเบียนในไทยลงทุน 100% ในเส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ ระยะเวลาสัมประทาน 30 ปี ระยะเวลาโครงการในการพัฒนา 5 ปี คิดว่าจะมีใครเข้าประมูลหรือเปล่า เอาแค่่นี้แหล่ะ ถ้ามีผมก็เห็นด้วยกับโครงการเพราะคิดว่าน่าจะเป็นจริงได้
ใครก็ได้ ทำ โพล ความนิยม พรรค ให้ โหวตหน่อยได้ ไหม ครับ อยากรู้จัก คนเห็น ต่าง เยอะแค่ไหน
เห็นข่าว อินเดียประกาศจะทำhyperloop จากมัมไบไปปูเน่ แต่ระยะทาง150km ใช้เวลาครึ่งชั่วโมง แปลว่าความเร็วเฉลี่ยอยู่ที่300km/hr เท่านั้น ก็คงได้เคลมว่ามี
เลยเกิดคำถาม ว่าระยะเบรกของhyperloopนี่ต้องยาวแค่ไหน แล้วระยะทางที่เหมาะสมสำหรับรถไฟความเร็วสูงมาก นี่เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดควรเป็นกี่กิโลเมตร
โห ระยะทางขนาดนี้ถือว่าสั้นมากเลย คู่แข่งเยอะมากเลยครับ
มองในระดับ mass transportation และเทียบกับค่าใช้จ่ายนะ
ทั้งรถทัวร์บนถนนแบบมอร์เตอร์เวย์ (อาจจะเพิ่มระบบไร้คนขับ), ระบบทางยกระดับ, รถไฟรางคู่, รถไฟความเร็วปานกลาง, รถไฟความเร็วสูง ฯลฯ แต่ระยะขนาดนี้ คงไม่เหมาะกับ เครื่องบิน หรือ MagLev
HyperLoop น่าจะต้องการระยะพอๆ กับ MagLev หรือสายการบินระยะสั้น ประมาณ กทม.-ชม. หรือ ชม.-หาดใหญ่ ประมาณ 1000-2000 กม. ละมั้ง
ปัญญาอ่อน ขอใช้คำนี้ เริ่มก้าวแรก เอกสารที่ปล่อยออกมา กับสไดล์เรื่องงบประมาณก็โกหกกันแล้ว
เท่าที่อ่านความเห็นคนที่ดูแคลนไฮเปอร์ลูป มักจะโจมตีพาดพิงไปเรื่องการเมืองนะ ถามจริงๆ เถอะ แต่ละคนอ่านเอกสารเชิงเทคนิค หรือได้ดูการนำเสนอจริงๆ แบบเต็มๆ กันรึยังครับ? ถ้าได้ดูแล้ว ช่วยถก หรือชี้จุดบอดของโครงการ หรือเรื่องที่เป็นไปไม่ได้มาทีละประเด็นกันหน่อย ประเภทเหมาๆ ว่าสไลด์มันโกหก ขอรายละเอียดแบบบรรทัดไหน เรื่องอะไรชัดๆหน่อยได้ไหมครับ รู้ว่าอยากระบายอารมณ์เฉยๆ แต่มันไม่ได้สร้างสรรค์อะไรเลย อยากได้การถกเถียงเชิงสร้างสรรค์ ไม่ใช่แค่มีอคติแล้วก็ปัดทิ้งความเป็นไปได้นะครับ
ถกกันไปก่อนหน้านี้แล้วครับ
https://www.blognone.com/node/108936
ไปอ่านเอกสารการศึกษฉบับเต็ม แล้วเอามาเทียบกับ สไลด์ที่เค้าเอามาเสนอครับ
จนถึงวันนี้คุณธนาธรก็ยังทำให้ผมเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยไปพร้อมๆกันอยู่ดี
ผมชอบแนวคิดที่ให้เรามองไปข้างหน้า ลงทุนในธุรกิจที่จะเป็นอนาคตมากกว่าปัจจุบัน พยายามทำให้ตัวเองเป็นต้นน้ำทางเทคโนโลยี
แต่ผมก็ยังไม่เห็นด้วยกับ Hyperloop อยู่ดีแฮะ มันวัดดวงมากไป ใกล้เคียงกับการเสี่ยงพนันมากกว่าลงทุน
ที่สำคัญคือผมยังไม่เห็นในนโยบายของคุณธนาธรพูดถึง"คู่ค้า"ที่เป็น strategic partner ของภูมิภาคนี้
ถ้าแผนของคุณธนาธรยังวางไปไม่ถึงจุดที่ว่า แค่เพื่อให้ได้การวิจัยเทคโนโลยีผมก็ยังไม่เห็นว่าคุ้มพอจะเสี่ยงครับ
ผมมองว่ายังมีเทคโนโลยีที่เข้ากับวิสัยทัศน์ของคุณธนาธร และมีความเป็นไปได้สูงกว่าอีกมาก แต่ก็เข้าใจได้ว่าคุณธนาธรก็มีหมวกของ"นักการเมือง"ที่ต้องเล่น วิสัยทัศน์ที่ดีแต่ไม่ว้าวมันเรียกคะแนนเสียงได้ยาก
ในแง่นี้ถือว่า Hyperloop ตอบโจทย์ทั้งความว้าวและแสดงวิสัยทัศน์ได้ดีล่ะนะ
Hyperloop ทฤษฎีดูโลกสวยดี ในแง่ปฎิบัติจริงก็เหมือนเอาทรัพยากรไปเททิ้งอยูดี
ผมไม่เข้าใจว่าที่เข้ามาด่านี้ ด่าการเมือง, ตัวคุณธนาธร, อคติส่วนตัว Hyperloop หรือมันผสมกันไปหมด
เพราะแบบนี้หละมั้ง คนรุ่นใหม่ถึงไม่อยากทำงานในไทยหรือบริษัทคนไทย เจอทั้งด่า นินทา ดูถูก สบประมาท และแทงข้างหลัง ขนาดแค่แนะนำวิทยากรยังเละขนาดนี้เลย
ถ้าเป็นไปได้ ไม่ต้องเอาการเมืองมายุ่งเลยจะได้ไหม ทุกฝ่ายเลย เละไปหมด แถมวนอยู่ที่เดิมไม่ไปไหน อยู่ตัวคนเดียว ทำเพื่อตัวเอง ยังจะดีกว่าทำเพื่อส่วนรวมแล้วโดนซะแบบนี้ เบื่อมากครับ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ผมชอบธนาธรนะ มีอะไรใหม่ๆ ไม่เก่าแก่เหมือนพรรคนั้น
แต่ hyperloop ไม่เห็ด้วยจริงๆ ไม่ต้องวิจัยหรอกครับ
ประเทศเราน่าเอางบไปแก้ไขปัญหาอื่นก่อนครับ
การศึกษาไทย อยากให้ลื้อทั้งระบบ เด็กไม่ต้องจำข้อมูลไร้ประโยชน์ใส่หัว
เห็นบางโรงเรียนให้เด็กท่องสูตรคูณถึงแม่ 15
ครูชอบดูงานทิ้งนักเรียน วันๆทำวิจัยทิ้งนักเรียน
สาธารสุข หมอเก่งๆไปเอกชน โรงบาลศูนย์ตามต่างจังหวัดคนแน่นมาก อนามัยไม่มีหมอ ไม่มีเภสัช บอกไม่มีรายได้
พี่ตูนวิ่งเพื่อเอาเงินช่วยโรงบาล
ค่างทหารแถวบ้านมีอนุสาวรีย์ในค่าย แต่งหรูหรากันใหญ่
กล้องวงจรปิดจับคนร้ายอย่างเบลอ จับความเร็วชัดกริ๊บแม้แต่ตอนกลางคืน
ยกเลิกวิ่ง 90 ที่ถนนหลัก
ส่งเสริม sme
แก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน แก้ปัญหาเงินฝืด
หาตลาดใหม่ใหัสินค้าประเทศเราที่มีบางอย่างล้นตลาด
วิจัยยางพาราทำถนน ทำให้มันใช้ได้จริงๆ
ฯลฯ
มันเยอะมากเลยที่ต้องทำมากกว่า hyperloop
ไม่เกี๋ยวกับ topic
แต่นี้อาจจะเป็นสาเหตุที่ เอายางพารามาใช้ทำถนนไม่ได้
https://www.youtube.com/watch?v=foyINv7cXLw
https://www.youtube.com/watch?v=h286llcaVIw
https://www.isranews.org/isranews-scoop/78785-report00-78785.html
เค้าพูดถึง hyperloop กันทั้งนั้น
ก็บอกว่าไม่อยากให้ทำ hyperloop เอางบไปทำอย่างอื่น เลยยกตัวอย่างปัญหาประเทศเรามันเยอะ
ไม่เกี่ยว topic ตรงไหน งง
อ่านหนังสือจำใจความหน่อย
ยางทำได้ทำไม่ได้ แค่ยกตัวอย่าง ไ่ม่ได้ต้องการรู้สาเหตุ
ไม่ต้องเอาคลิปมาให้ดูหรอก search google ดูก็รู้ พอดีอ่านหนังสือจับใจความเป็น
ผมว่าเค้าน่าจะหมายถึง Reply เค้าเองนะครับ
ที่ไม่เกี่ยว ผมหมายถึง reply ผมเองน่ะครับ
บางทีผมอาจจะเขียนสั่นไปหน่อยเลยทำให้จับใจความผิด
อ่าว ผมเข้าใจผิด ขอโทษครับ
อ่านความเห็นต่าง ๆ แล้วเปิดโลกดีครับ กำลังคิดเพลิน ๆ ว่าในเมื่อการทำให้เป็นรถโดยสารดูจะเป็นไปได้ยากหรือไม่ได้เลย ถ้าเราเปลี่ยนเป็น "พาหนะขนของ" แทนล่ะ? ขนาดลดลงครึ่งนึง ความปลอดภัยก็ไม่ต้องคำนึงถึงมากจนเกินไป ค่าใช้จ่ายในการสร้างก็น่าจะลดลงเยอะ (เกินครึ่งแน่ ๆ) ผมว่าก็น่าสนใจนะ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ขนของน่าจะทำได้ยากกว่านะ เพราะ 1 หน่วย พื้นนนที่ใช้งาน ของน่าจะมีน้ำหนักมากกว่าคน
ผมกลับคิดว่า น่าสนใจนะ ทำให้แข็งแรง คอมแพ็คหน่อย ไม่ต้องห่วงเรื่องแรง G มากนัก อารมณ์ประมาณตู้คอนเทนเนอร์น่ะครับ เรื่องระบบเบรคน่าจะลดต้นทุนได้โขอยู่
นึกถึงกระบอกส่งเอกสารในโรงพยาบาลรัฐแห่งนึง คุ้นๆ
น่าจะเป็นระบบอัดลมนะครับอันนั้น เป็นกระสวยใส่ของขนาดเล็กแล้วอัดลมเพื่อดันขึ้นตึกสูง ไว้รับส่งเอกสาร และของชิ้นไม่ใหญ๋มาก
เวลาวัตถุเคลื่อนในท่อ ที่มีรางเป็นแม่เหล็กไฟฟ้า วัตถุจะลอยเหนือรางเล็กน้อย ซึ่งแรงที่ต้องยกขึ้น ก็แปรผันกับน้ำหนักที่กดลง ยิ่งของหนักพลังงานไฟฟ้าก็ต้องใช้มากขึ้นเพื่อสร้างสนามแม่เหล็กให้เพียงพอต่อการยกของ และการผลักให้วิ่งไปในท่อ ดังนั้นต้นทุนต่อน้ำหนักจะมีผลค่อนข้างมาก ต้องเป็นสินค้าที่มีน้ำหนักไม่มาก ราคาสูง เช่น เอกสาร, ของมีค่า ฯลฯ ถึงจะคุ้มค่าต่อการขนส่งครับ
แต่ถ้าสามารถทำให้ท่อเป็นสุญญากาศได้ตามแบบที่ออกไว้ อาจจะทำให้การยกของหนักมีต้นทุนลดลง เพียงแต่ก็ต้องมีแรงผลักให้ของวิ่งไปตามท่ออีก คงต้องคิดอีกหลายตลบเพื่อการออกแบบให้เหมาะสมนั่นแหล่ะครับ
ตอบรวมกันหมดลยนะครับ
"ขนของน่าจะทำได้ยากกว่านะ เพราะ 1 หน่วย พื้นนนที่ใช้งาน ของน่าจะมีน้ำหนักมากกว่าคน" - ผมมองเรื่องของที่ช็อปกันออนไลน์อยู่ตอนนี้ ขนส่งกันสนุกเลย ของไม่ได้หนักหนาอะไร เชื่อว่าไม่มีทางที่จะมีความหนาแน่นไปกว่ามนุษย์แน่นอน เพราะยังไงก็ต้องแพ็คลงกล่อง มันต้องมีอากาศบ้าง
"นึกถึงกระบอกส่งเอกสารในโรงพยาบาลรัฐแห่งนึง คุ้นๆ" - ใช่เลย ผมนึกถึงในหนังซักเรื่องที่เคยดู เค้าส่งเอกสารไปตามท่อ ถ้าเราสร้างเจ้าท่อนี่เป็นโครงข่าย เชื่อมต่อกันทุกจังหวัด แล้วมันส่งได้ไวเหมือนที่ธนาธรโม้ไว้ (ที่บอกว่าเน้นขนส่งทีละน้อย ๆ แต่ส่งได้หลายรอบต่อชั่วโมง) ของมันก็จะแทบจะไปถึงมือคนรับได้ภายในวันเดียวได้เลย
"เวลาวัตถุเคลื่อนในท่อ ที่มีรางเป็นแม่เหล็กไฟฟ้า วัตถุจะลอยเหนือรางเล็กน้อย ซึ่งแรงที่ต้องยกขึ้น ก็แปรผันกับน้ำหนักที่กดลง ยิ่งของหนักพลังงานไฟฟ้าก็ต้องใช้มากขึ้นเพื่อสร้างสนามแม่เหล็กให้เพียงพอต่อการยกของ และการผลักให้วิ่งไปในท่อ ดังนั้นต้นทุนต่อน้ำหนักจะมีผลค่อนข้างมาก ต้องเป็นสินค้าที่มีน้ำหนักไม่มาก ราคาสูง เช่น เอกสาร, ของมีค่า ฯลฯ ถึงจะคุ้มค่าต่อการขนส่งครับ
แต่ถ้าสามารถทำให้ท่อเป็นสุญญากาศได้ตามแบบที่ออกไว้ อาจจะทำให้การยกของหนักมีต้นทุนลดลง เพียงแต่ก็ต้องมีแรงผลักให้ของวิ่งไปตามท่ออีก คงต้องคิดอีกหลายตลบเพื่อการออกแบบให้เหมาะสมนั่นแหล่ะครับ" - อันนี้เหมือนตอบคำถามในตัวเองไปแล้ว ๕๕๕ เอาเป็นว่าธนาธรบอกว่าค่าโดยสารจะไม่แพงอย่างที่คิด ถ้าเป็นจริง เอามาส่งของก็ควรจะถูกลงไปอีก (ตามที่ตอบไปด้านบนว่าเอาให้มันเล็กลง เน้นขนของเบา ๆ และมันทำให้เป็นสุญญากาศได้ง่ายกว่าขนคน) นึกภาพส่งพัสดุที่เร็วกว่า EMS อีก (ส่งภายใน 1 วันปกติมีแต่ในเขต กทม. ต่อไปจะทำได้ทั่วประเทศ หรือจังหวัดที่มีสถานีนี้อยู่ ก็ค่อย ๆ ขายไปก็ได้) แต่ราคาอาจแพงกว่านิดนึง ผมว่าน่าจะขายได้นะ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
น่าสนใจนะ
ถ้ามันเวิร์คนี่ ยกระดับการช็อปออนไลน์ไปอีกขั้นเลย
ถ้าช็อปออนไลน์นี่ใช้โดรนส่งของไม่ดีกว่าหรอครับส่งถึงหน้าบ้านเลย
การเดินทางและขนส่งมีหลายสเตปครับ
ให้โดรนบินจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ก็ไม่ไหวนะครับ ?
ก็จริง แต่ตัว Hyperloop ผมว่าใช้ส่งสินค้าไปไหวหรอกจะไปติดที่ค่าขนส่งแทนแล้วค่าโดยสารก็คงไม่ได้ถูกกว่า maglev เพราะมันก็คือ maglev ในท่อที่ต้องเพิ่มระบบอื่นๆเข้าไปอีก ถ้ามันคุ้มทุนจริงป่านนี้คงมีสักที่ใช้ maglev ข่นส่งสินค้าแล้วแหละ
ตรงนี้มองเรื่องวัตถุประสงค์ในการพัฒนามังครับ ผู้พัฒนา MagLev น่าจะมุ่งการขนส่งคนโดยสารเป็นหลัก เพราะอาจจะเริ่มคิดในช่วงที่จะแข่งกับเครื่องบินโดยสาร
แต่ในกรณีนี้ ในยุคที่การค้าแบบ e-commerce รุ่งเรือง แนวคิดที่เน้นการส่งสินค้าอย่างรวดเร็ว ไอ้เจ้า MagLev ที่วิ่งในท่อ (อาจไม่ต้องถึงขั้นสูญญากาศก็ได้ แค่ความหนาแน่นอากาศต่ำก็ดีมากแล้ว) ผมว่าน่าสนใจเลยนะ มันตอบโจทย์การส่งสินค้าขนาดเล็ก น้ำหนักไม่มาก ส่งน้อยๆ แต่ส่งบ่อยๆ
ถ้าพัฒนาไปในแนวทางที่สามารถสร้างเป็นเครือข่ายได้ เช่นระหว่างเมือง ส่งจาก ชม. ไป ภูเก็ต จากอุบลไปกาญจนบุรี อะไรแบบนี้ และอีกระบบเป็นแบบขนส่งในเมือง ระหว่างตึกที่บางนา ไปตึกที่สีลม อะไรแนวๆ นี้ ฝนตกก็ส่งได้ ไม่เหมือนโดรน หน้าฝนอดบินแน่นอน
ถ้าจะขนของผ่านระบบท่อ แล้วก็ไม่ยึดติดกับแนวคิดพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า ของ Hyperloop มากนัก ก็ใช้ระบบแรงยกตัว และแรงดันของของของเหลวมาใช้ก็ได้ โดยใช้ของเหลวที่มีความหนาแน่นเหมาะสมที่จะทำให้แคปซูลอยู่กลางท่อ แล้วใช้ระบบแบบท่อส่งน้ำมันเพื่อส่งวัตถุไปข้างหน้าน่าจะพอไหว เพียงแต่อาจได้ความเร็วไม่เท่าระบบแม่เหล็กไฟฟ้า เพราะมีแรงเสียดทานของเหลวกับท่อ ยกเว้นจะพัฒนาของเหลวที่มีสถานะทำให้วัถตุลอยตัวได้ดี แล้วก็แรงเสียดทานต่ำมาได้ รวมถึงต้องไม่ติดไฟด้วย แต่คงต้องมีงบ 2-3 พันล้านสำหรับก่อสร้าง ไม่รวมค่าวิจัย แต่คิดว่าค่าก่อสร้างน่า และการใช้พลังงานน่าจะถูกกว่า Hyperloop แน่นอน
จากตะเกียง เป็นหลอดไฟ จนถึงการถามหา Unobtainium
เราไม่มีความทะเยอทะยานแม้แต่จะกล้าคิด
แค่คิดยังกลัว กลัวการแข่งขันกลัวล้มเหลว
ตอนอเมริกันจะไปดวงจันทร์นี่คงไม่เรียกว่าบ้า เขาเรียกว่าเพ้อเจ้อ สินะ
อินเดียใช้ทุนไปดวงจันทร์ ต่ำกว่า งบการเลือกตั้งในไทย ลองคิดดูแล้วกัน
คนเขาเก่ง คนไทยไก่ ก็ไปมุมนี้เสนอในการโต้เถียง
ประเทศไทยผลิต doctor มานั่งกินเงินเดือนสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยอย่างเดียวสินะ
พอๆกับการมีนายพลมากกว่าอเมริกา ทั้งที่รบแค่กับประชาชน
ก็อยากเห็นไทยเป็นประเทศพัฒนาแล้วบ้างนะ ไม่ใช่พัฒนาแล้วแต่ได้แค่นี้ หรือกำลังพัฒนาจนจะเกือบ 30 ปี หรือมากกว่านั้น
สาเหตุที่เป็นแบบนี้ นอกจากคนไทยชอบดูถูก เห็นแก่พวกพ้องตัวเอง อยากได้หน้าแล้ว ยังมีไม่สนับสนุนงานวิจัย ไม่มองว่าระหว่างทางได้อะไรมา หรือไม่มองการณ์ไกล มองแต่สั้นๆ อย่าง hyperloop ก็มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เป้าหมายที่ตั้งอาจเป็น hyperloop แต่ระหว่างทางอาจคิดว่า เห้ย อันนี้น่าสนใจกว่า หรืออาจเกิดความคิดต่อยอดไปทางอื่นได้. อย่างตอนที่มี BTS สมัยเกือบ 20 ปีที่แล้วก็โดนต่อต้านกันเยอะ มองว่าเพ้อเจ้อบ้างล่ะ บ้าบ้างล่ะ ส่งผลกับมลพิษบ้างล่ะ แล้วหันมามองตอนนี้ดิ มีแต่คนเรียกร้องให้มีเยอะๆ
อยากให้ลงทุนวิจัย แต่อาจเริ่มจากเล็กๆก่อน ไม่ต้องลงทุนขนาดยักษ์ ส่วนปัญหาด้านอื่นๆ ก็ค่อยๆแก้ไป ไม่ใช่แก้เสร็จค่อยมาเริ่ม ไม่งั้นมันพัฒนาไปเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วได้ยังไงล่ะ เหมือนกับที่มีคนบอกถนนลูกรังยังไม่หมด หรือ 4จี 5จีจะมาทำไม ตัวเก่ายังไม่ครอบคลุมเลย
BTS เอกชนเป็นคนลงทุนครับ
ส่วนเครือข่ายไร้สายในไทยเอกชนก็เป็นคนวางเครือข่ายนะ
แค่เอกชนอย่างเดียวทำไม่ได้นะครับ ถ้ารัฐบาลไม่สนับสนุนหรืออนุมัตินะครับ ต่อให้อยากทำแค่ไหน หากรัฐบาลไม่อนุญาต ทุกอย่างจบเห่เลย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ปรกติโครงการแบบนี้ถ้าจะให้รัฐสนับสนุน รัฐต้องไม่เสี่ยงและได้ประโยชน์ครับ หลักๆ คือ
- รัฐไม่ต้องออกเงินเอง
- สัญญาที่จะทำโครงการนั้นรัฐได้ผลประโยชน์แค่ไหน
- เวลาโครงการที่แน่นอน (หากผิดสัญญา ต้องมีบทปรับเงินเอกชนด้วยนะ)
- ทำแล้วประชาชนได้ผลประโยชน์อย่างไรบ้าง
ซึ่งดูแล้วไม่ตรงกับ hyperloop ที่จะให้รัฐลงทุนเองแต่ต้นเลยครับ
ตอนแรกๆ ผมก็ไม่เข้าใจ ว่าทำไม Steve Jobs ถึงออก iMac สีลูกกวาดน่ารักๆ ออกมา
(ใช้งานก็ไม่ work เท่าไหร)
แต่พอผ่านไป 8 ปี เท่านั้นแหละ...
กลับเข้ามาอ่านในปี 2023 แหม่...
สวัสดี เรามาจากอนาคต