จากการเปิดตัว Huawei Mate 30 Series ที่ใช้ Google Mobile Services (GMS) ไม่ได้แล้วเปลี่ยนมาใช้ Huawei Mobile Service (HMS) ที่ Huawei เป็นผู้พัฒนาด้วยตัวเองนั้น เป็นความพยายามสร้าง Services ขึ้นมาใช้ด้วยตัวเองเหมือนกับที่บริษัทดัง ๆ เคยพยายามทำแอนดรอยด์ในเวอร์ชั่นของตัวเองมาก่อน วันนี้เราจะมาย้อนรอยกันว่ามีบริษัทไหนบ้างที่พยายามทำแอนดรอยด์เวอร์ชั่นของตัวเองมาก่อน แล้วปัจจุบันนี้ยังอยู่หรือเปล่า?
Nokia X Platform
บริษัทดังในอดีตอย่าง Nokia ก็เคยสร้าง Android Fork ในเวอร์ชั่นของตัวเองเช่นกัน โดยนำพื้นฐาน AOSP จาก Android 4.1.2 “Jelly Bean” มาพัฒนาด้วยตัวเองในชื่อ Nokia X Platform และมี Nokia Store เอาไว้โหลดแอพมาติดตั้งไว้ในเครื่อง ซึ่งหลัก ๆ จะเป็นแอพที่ทาง Nokia สร้างเองได้แก่ HERE Maps, Nokia Xpress and MixRadio เป็นต้น ก่อนที่เวอร์ชั่น 2.1 จะเปิดให้ติดตั้ง Play Store และใช้ Google Mobile Services ได้
ทว่าก็เกิดปัญหาเรื่องการติดตั้ง Google Play Store จนเครื่องใช้งานไม่ได้อยู่บ่อย ๆ รวมทั้งการออกแบบที่มีเพียงปุ่ม Back เพียงปุ่มเดียวและบั๊กที่มีอยู่มากจนใช้งานไม่ราบลื่นอีกด้วยจนหลาย ๆ คนถึงกับล้างเครื่องแล้วย้ายมาลง Android ทีเดียว
สำหรับ X Platform นั้นที่ออกมาวางจำหน่ายมีเพียง Nokia X, Nokia X+, Nokia XL ที่วางขายก่อนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2014 ก่อนจะมี Nokia X2 ที่มี AOSP เวอร์ชั่น 4.3 ติดตั้งมามาวางขายต่อใน 24 มิถุนายน 2014 กับ Nokia XL 4G ที่วางจำหน่ายในจีนในเดือนกรกฎาคม 2014 แล้วหยุดทำตลาดต่อจากนั้นในอีกไม่นาน โดยยอดจำหน่ายรวมอยู่ราว 16 ล้านเครื่องด้วยกันในปี 2014
BlackBerry 10 (QNX)
ค่ายในตำนานอย่าง BlackBerry ก็เป็นอีกคนที่เข้ามาร่วมวง AOSP ด้วยเช่นกัน โดยระบบปฏิบัติการนั้นเป็น BlackBerry 10 ที่มีพื้นฐานจาก QNX แล้วเอา Android runtime เวอร์ชั่น 4.3 มาติดตั้งเพิ่มเข้าไปและยังรองรับ Adobe AIR runtime อีกด้วย แต่การโหลดแอพนั้นต้องรออัปเดทถึงเวอร์ชั่น 10.3 ที่ร่วมมือกับ Amazon ถึงจะมี Amazon Appstore ติดตั้งมาในเครื่อง
สำหรับอุปกรณ์ที่ติดตั้ง BlackBerry 10 มานั้นจะเป็น BlackBerry ที่วางจำหน่ายตั้งแต่ปี 2013-2015 ซึ่งจะมีโมเดล BlackBerry Q5, Z10, Q10, BlackBerry Porsche Design P'9982, Z30, Z3, BlackBerry Porsche Design P'9983, Passport, Classic, Leap แล้วรุ่นหลังจากนั้นจึงยอมถอด BlackBerry 10 ออกไปแล้วหันมาใช้ระบบแอนดรอยด์เหมือนสมาร์ทโฟนรุ่นอื่น ๆ ซึ่ง HarmonyOS นั้นก็กำลังเดินรอยตาม BlackBerry 10 ด้วยการนั่งทำเคอร์เนลแบบไมโครเคอร์เนลด้วยตัวเองอยู่
ยอดขายของ BlackBerry 10 นั้นทำได้เพียง 6.8 ล้านเครื่องเท่านั้นขณะที่บริษัทนั้นกลับต้องขาดทุนกว่า 84 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ นับเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของบริษัททีเดียว
Fire OS
Fire OS เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็น Android Fork ที่ใช้พื้นฐาน AOSP จาก Android 4.2 “Jelly Bean” แต่เปลี่ยนเป็นระบบของ Amazon เอง ได้แก่ Amazon Appstore, Amazon Video, Amazon Music, Amazon's Silk browser และ Audible Audiobooks แทน
อย่างไรก็ตามสมาร์ทโฟนที่ติดตั้ง Fire OS มามีเพียงรุ่นเดียวคือ Amazon Fire Phone และวางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักรและเยอรมนีช่วงปี 2014-2015 เป็นช่วงเดียวกับแอนดรอยด์ 4.4 “KitKat” ถึงแอนดรอยด์ 6.0 “Mashmellow” เท่านั้นก่อนจะหยุดทำตลาดสมาร์ทโฟนไป
แต่ Fire OS ยังได้ไปต่อโดยนำไปติดตั้งใน Kindle Fire, Kindle HDX และ Amazon Fire TV อยู่ นับว่าเป็นระบบปฏิบัติการ Android Fork ที่อยู่รอดในตลาดอื่นที่ไม่ใช่สมาร์ทโฟน
จากทั้งหมดจะเห็นได้ว่า แม้แอนดรอยด์จะเป็นโอเพนซอร์สแต่กูเกิลก็ยังคงสำคัญอย่างมากต่อแพลตฟอร์ม การที่หัวเว่ยจะพยายามอีกครั้งที่จะสร้าง ecosystem ใหม่ นับเป็นความพยายามที่ท้าทายอย่างยิ่ง และเราคงต้องดูว่าหัวเว่ยจะทำได้หรือไม่
Comments
ถ้าขายในจีนยังไงก็รอด แต่นอกจีนนี่ยาก ต้องยอมรับว่า OS ไม่ใช่หัวใจสำคัญ แต่เป็น ecosystem ต่างหาก
Fire OS ก็ยังอยู่นะ โดยเน็นทำ tablet ราคาถูกแล้วขาย services
ไม่รู้ว่า Huawei จะใด้ตังจาก services เท่าไร่ แล้ว ค่ายจีนอื่นๆ จะเอาตามหรือปล่าว
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ผมใช้ Fire Tablet นะ มันมีสิ่งที่คนอื่นไม่มี
ทั้งหมดนี้คือพอขาย Fire Phone แพงเข้า ก็ไม่รอดทันที ฮาร์ดแวร์ไม่สามารถขายได้เอง ขายได้เป็นเพียงส่วนเสริมของผู้ใช้ Amazon เท่านั้น
lewcpe.com, @wasonliw
ตอนนี้ผมยังไม่เห็นข่าวว่ามีบริษัทจีนเจ้าอื่นโดดลงมาเล่นกับ HMS เลยครับ ... ดังนั้นถ้า Huawei ใช้อยู่เจ้าเดียวผมว่าไม่น่ารอด แต่ถ้ารัฐบาลจีนออกหน้าหนุนเต็มตัวแล้วบีบให้บริษัทอื่นๆมาเล่นด้วยนี่ โอกาส HMS โตก็จะเป็นไปได้สูงเลย
มีพวก aliyun ของ acer อีก
เห็นในกรุ๊ปมีคนฝืนลง Google play จนได้ ก็รอดูว่าจะทำงานได้แค่ไหน
I need healing.
https://www.techoffside.com/2019/09/huawei-mate-30-pro-google-play-service/
เชิญอาจารย์ศุภเดชแกมา comment หน่อยครับ คนในบล็อกหนอนคงมีคนรู้จักเยอะ
หลายปีก่อนเคยลง GApp ให้คนใช้ SS S4 จีน
ปรากฎว่า ใช้ได้ประมาณปีนึงอยู่ๆก็ใช้ไม่ได้
พร้อมกับข่าวว่า gg แบนเครื่องที่ไม่อนุญาตลง GApp
ถ้าเป็นแบบนั้น ถึงยัด GApp ลงเครื่องได้ ก็โดนแบนจากฟาก server อยู่ดี
อยากให้ไปรอดจังเลย อยากเห็นขั้วที่สาม นอกอเมริกา
ซัมซังเคยจะทำอยู่ แต่ก็เงียบไปทั้ง 2 OS
น่าจะต้องทำอะไรอีกเยอะ เช่นสร้าง Huawei Service ให้ครบแบบ Google
และเรียกคนทำแอปสร้างอีก ver จากที่เคยเกาะ GG Service ให้มาเกาะ HW Service
ซึ่งอาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปีถึงจะเป็นรูปเป็นร่าง
แถมมี Entity list ที่น่าจะทำให้คนทำแอปดังๆ ไม่กล้าไปทำ HW Service ให้ Huawei อีก
น่าจะยาวกว่านั้นมากๆ Amazon ใหญ่กว่า Huawei มากมายมี ECO Syetem ครบ ช่องการขายทั่วโลก ทำมาเกือบสิบปียังถอยไปหลายตัว แถม Hardware ใหม่ๆ ต้องกลับมาเจรจากับ Google อยู่ดี
ส่วนตัวอยากให้สำเร็จ ถึงลึกๆจะรู้ว่ายากมากๆก็ตาม เพราะขั้วอเมริกามันผูกขาดเกินไป วันไหนไม่พอใจใครก็แบนซะเลย ใครจะรู้ว่าหวยจะไปออกที่ใคร
อันนี้ต้องออกตัวก่อน ถึงผมจะเป็นขาแซะสาวกผลไม้ แต่ผมก็พร้อมที่จะยอมรับถ้ามีการปรับการใช้งานให้ดีกว่านี้และผมไม่มีเครื่อง Huawei ในมือเลยนะครับ ผมไม่ชอบด้วย Ui พิลึกๆ ถึงเรื่องสัญญาณต่างๆมันจะดีมากก็เถอะ
คือบางทีก็อนาถใจนะ เห็นสาวกเย๊วๆ สมน้ำหน้า Huawei ไม่ได้ดูสภาพตัวเอง
เคยมีคนใน youtube บอกว่า AOSP มันก็มีกฎที่ทำให้ใช้ไม่ได้อยู่คือถ้าผิดกฎหมายสหรัฐจะถือว่าไม่ได้สิทธิ์ใช้งานนะครับ เพราะงั้น AOSP ก็ใช่ว่าจะอิสระทาง world wide จริงๆ(ถ้าขายในประเทศอื่นๆ จะโดนแบน) ยกเว้นจะทำขายเฉพาะในประเทศก็แล้วไป
ถ้ายังใช้ AOSP เป็นฐานก็หนีไม่พ้น USA หรอก
ถึงดรอย จะฟรี ให้ คนอื่นๆ เอา ไปปรับ แต่งเองได้ แต่กูเกิลเซอวิส ที่ฝังมากับ ระบบ นี้ ตัวผุกติดกันเลย ยากที่จะหนีพ้น
แล้วพวก api เขียนเข้าถึงง่ายๆ กับ ไป เริ่มต้นใหม่กับ hms นี้ไม่ไหวนะ
งานนี้รอดูอย่างเดียว