Tags:
Node Thumbnail

เมื่อวานนี้กูเกิลรายงานความสำเร็จในการพัฒนาคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่มีความสามารถระดับ Quantum Supremacy หรือการประมวลผลที่คอมพิวเตอร์ปกติไม่สามารถทำได้ในทางปฎิบัติ วันนี้กูเกิลก็จัดแถลงข่าวออนไลน์ถึงผลของความสำเร็จครั้งนี้และเป้าหมายต่อไป

No Description

ทีมงานระบุว่าความสำเร็จ Quantum Supremacy นี้เปรียบเหมือนกับเมื่อสองพี่น้องตระกูลไรต์สาธิตการบินครั้งแรกที่บินได้เพียงสิบวินาทีและไม่มีประโยชน์ในการใช้งานจริงนัก แต่ก็เป็นหมุดหมายว่ามนุษย์สามารถทำได้

No Description

ความท้าทายสำคัญในการพัฒนาคอมพิวเตอร์ควอนตัม คือการจำกัดสัญญาณรบกวนและความผิดพลาดในการอ่านค่าออกมา โดยชิป Sycamore มีระดับความผิดพลาด 0.36% ในเกตแบบ 1 qubit และ 0.62% ในเกตแบบ 2 qubit และความผิดพลาดในการอ่านค่าที่ 3.8%

No Description

ความผิดพลาดที่ต่ำในจำนวน qubit ที่สูงพอทำให้กูเกิลมองว่ามีเป็นประตูแรกที่จะเริ่มมีการใช้งานจริง (near-term applications) ขณะที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์ก็ต้องเพิ่มจำนวน qubit และลดอัตราความผิดพลาดลงไปเรื่อยๆ

No Description

การผ่านด่าน Quantum Supremacy ยังเป็นจุดเริ่มต้นของยุค NISQ (Noisy Intermediate-Scale Quantum) ที่คอมพิวเตอร์ควอนตัมจะมีอัตราความผิดพลาดในช่วง 0.001% ถึง 1% และมีขนาด qubit ไม่เกิน 1,000 qubit และมุ่งสู่ Quantum Error Correction ที่สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมระดับ 1,000,000 qubit โดยให้ผลระดับพัน qubit ที่ได้รับการแก้ไขความผิดพลาดแล้ว โดยกระบวนการพัฒนานี้ต้องอาศัยทั้งภาครัฐที่จะลงงบประมาณการวิจัยมาด้วย

No Description

คำถามสำคัญคือ หลังจากผ่าน Quantum Supremacy แล้วเราจะมีแอปพลิเคชั่นใดต้องใช้งานคอมพิวเตอร์ควอนตัมบ้าง ผลระยะสั้นที่ชัดเจน คือการสร้างเลขสุ่มที่ยืนยันได้ว่าสุ่มจริง (quantum certificable random number generator) ทำให้ยืนยันได้ว่าเลขที่สร้างขึ้นเป็นเลขสุ่มจริง ใช้สำหรับการออกหวย, เข้ารหัส, และการจำลองระบบ

การสร้างแอปพลิเคชั่นอื่นๆ ยังเป็นไปได้อีกมาก โดยเฉพาะการจำลองแบบทางเคมี ทำให้สามารถออกแบบปฎิกริยาเคมีใหม่ๆ สร้างยา, วัสดุแบบใหม่, แบตเตอรี, หรือการสังเคราะห์ปุ๋ยที่จะใช้พลังงานน้อยลง

สำหรับความกังวลในแง่ของความปลอดภัยในการเข้ารหัสนั้น กูเกิลยืนยันว่าชิป Sycamore สามารถรันอัลกอริทึม Shor สำหรับการแยกตัวประกอบเฉพาะได้ อย่างไรก็ดีชิปยังมีขนาดเพียง 54 qubit ทำให้ยังไม่เป็นอันตรายต่อการเข้ารหัสทุกวันนี้แต่อย่างใด ที่ผ่านมากระบวนการแยกตัวประกอบเฉพาะบนคอมพิวเตอร์ควอนตัม สามารถทำได้ในเลขใหญ่ที่สุดคือ 21 = 7 x 3

Get latest news from Blognone

Comments

By: zyzzyva
Blackberry
on 24 October 2019 - 19:33 #1134631
  1. แหล่งข่าว
  2. 10 ยกกำลังหก = ล้าน
By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 24 October 2019 - 20:18 #1134634 Reply to:1134631
lew's picture

แหล่งข่าวนี่ผมได้ invite เข้าไปงานแถลงออนไลน์ครับ (แจ้งไว้ในย่อหน้าแรก) ส่วน 10^6 แก้ไขแล้วครับ เบลอ...


lewcpe.com, @wasonliw

By: sian
Windows PhoneAndroidWindows
on 24 October 2019 - 20:48 #1134639 Reply to:1134631
sian's picture

ลิงก์ "เลขใหญ่ที่สุดคือ 21 = 7 x 3"

https://www.nature.com/articles/nphoton.2012.259

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 24 October 2019 - 20:08 #1134633

Alice and Bob แต่ในรูปเป็น Bob Marley.....

By: BLiNDiNG
AndroidUbuntuWindowsIn Love
on 25 October 2019 - 06:30 #1134682 Reply to:1134633
BLiNDiNG's picture

Alice in wonderland ด้วย...

By: icez
ContributoriPhoneAndroidRed Hat
on 24 October 2019 - 23:10 #1134660

ใช้สำหรับการออกหวย

/s

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 25 October 2019 - 01:00 #1134677 Reply to:1134660
lew's picture

มนุษยชาติมาถึงจุดสูงสุดแล้ว


lewcpe.com, @wasonliw

By: delete on 25 October 2019 - 10:09 #1134698 Reply to:1134660

เดี๋ยวผมเปิดสักเครื่องเอาไว้ใบ้หวย ประกบกันเลย 555

By: 7
Android
on 25 October 2019 - 05:38 #1134680
7's picture

ลง windows ได้ไหม

By: harikenkong on 25 October 2019 - 09:20 #1134686

ให้กำลังใจทีมพัฒนาครับ พัฒนาจากยุคฟันเฟือง,หลอดสูญญากาศ,IC, จนสามารถใช้งานได้ในยุคปัจจุบันครับ

By: 100dej
AndroidWindows
on 25 October 2019 - 10:27 #1134701

จะได้ก้าวกระโดดกันอีกรอบแล้วซินะ

ถอดรหัส DNA ได้ ก็เอาไดโนเสาร์กลับมาได้ เย้ เย

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 25 October 2019 - 11:52 #1134728 Reply to:1134701
hisoft's picture

เรามี DNA ของไดโนเสาร์ให้ถอดรหัสด้วยเหรอครับ ?

By: A4
iPhoneAndroidRed HatSUSE
on 25 October 2019 - 11:57 #1134731 Reply to:1134728
A4's picture

เลือดยุุุุุุงในแท่งอำพันนั่นไง

By: 100dej
AndroidWindows
on 25 October 2019 - 15:02 #1134762 Reply to:1134731

555

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 25 October 2019 - 15:33 #1134764 Reply to:1134731
hisoft's picture

ในหนังก็ใช่่่่่่ ? แต่ในความจริงเท่าที่ผมจำได้เรายังหา DNA ไม่ได้เลยครับ แม้เราจะเจอกระทั่งหางไดโนเสาร์ในอำพัน (ไม่ใช่แค่ยุงที่ดูดเลือดไดโนเสาร์มา)

By: tom789
Windows Phone
on 25 October 2019 - 15:01 #1134761

สำหรับการออกหวย ดีเลย เอาไว้สุ่ม ความน่าจะเป็นว่า งวดต่อไป จะออกอะไร

By: port0 on 29 October 2019 - 03:43 #1135126

ดูเหมือน Frequency domain ต่างจาก Time domain ที่ใช้กันอยู่