เรียกว่าบังเอิญจริงๆหลังจาก YouTube Premium ดูวิดีโอแบบไม่มีโฆษณา เปิดบริการในประเทศไทย กูเกิลก็เปิดตัวโฆษณาแบบใหม่ที่เรียกว่า Shopping ที่เปิดให้แบรนด์ลงโฆษณาสินค้าของตัวเองในหน้าโฮมฟีดและหน้าผลการค้นหา
Puma จะเป็นแบรนด์แรกที่ได้ใช้โฆษณารูปแบบนี้ หากค้นหา "Puma shoes" ใน YouTube จะแสดงโฆษณาสินค้าของ Puma บนสุดในหน้าผลการค้นหาเหนือวิดีโอ และบางครั้งจะขึ้นในหน้าโฮมฟีดของเรา
กูเกิลอธิบายเพิ่มว่าโฆษณารูปแบบนี้โชว์ตามความสนใจของผู้ใช้ จากตัวอย่างข้างต้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องพิมพ์ว่า "Puma" ตรงๆ ก็ได้ แค่ผู้ใช้ "แสดง" ความสนใจ ก็อาจจะทำให้เจอโฆษณาของ Puma ที่นำเสนอรองเท้าวิ่งให้
ที่มา - Google Blog via techcrunch
โฆษณาในหน้าโฮมฟีด
โฆษณาในหน้าผลการค้นหา
Comments
.
เม้นนี้กดผิดเฉยๆ ลบเม้นไม่ได้
ขออภัยมือใหม่หัดเล่น อิอิ
คุณได้รับการให้อภัยจากผมครับ ไม่เป็นไร
555
ผมสงสัยอย่างหนึ่งครับ
ทุกวันนี้Youtubeมีแต่วีดีโอผิดลิขสิทธิ์เต็มไปหมด
และปล่อยให้คน อัดคลิป/คอมเม้น ด่า/หมิ่นประมาท
กันด้วยคำหยาบคายได้อย่างอิสระเสรี
ไม่มีการบล๊อกเหมือนTwitter ไม่มีการแบนหรือลบบัญชีทิ้งใดๆทั้งสิ้น
รวมไปถึงการละเมิดข้อมูลส่วนตัวของเด็ก ทำไมบริษัทนี้ยังคงลอยนวล
สูบเงินโฆษณา และ ข้อมูลส่วนตัวของคนอื่นเขาอยู่ไม่จบไม่สิ้น
ความจริงควรติดคุกด้วยซ้ำ ผมว่าเรื่องลิขสิทธิ์เป็นเรื่องใหญ่นะครับ
จะบอกว่ามีเซ็นเซอร์คอยแบน เจอวิธีเลี่ยงเซ็นเซอร์นิดหน่อยก็รอดแล้วครับ
จริงๆเคยทำแบบเซ็นเซอร์จริงจังแล้วนะครับ ก็โดนเหล่า youtuber อันโด่งดังด่าเป็นจำนวนมาก เพราะคนที่ทำคอนเทนท์สุ่มเสี่ยงที่ใช้วิธีหลบเซ็นเซอร์ก็ไม่เคยโดน แต่คนดีๆที่อยู่เฉยๆกลับโดนเป็นระยะ
มันต้องแยกเป็นกรณี ผิดเพราะเผยแพร่ กับผิดที่ถือครอง
ถ้าผิดเพราะเผยแพร่ก็ต้องดูที่กฏหมายประเทศต้นทาง และปลายทาง ถ้าผิดกฏหมายประเทศต้นทาง แต่ไม่ผิดกฏหมายประเทศปลายทาง ผู้ให้บริการก็สามารถปิดการเผยแพร่เฉพาะประเทศต้นทาง แต่ยังดูได้ในประเทศปลายทางก็เป็นไปได้ อันนี่เป็นกรณีที่ผู้ให้บริการให้ความร่วมมือ แต่หากเขาไม่ให้ความร่วมมือ เพราะเนื้อหาที่เผยแพร่ไม่ผิดกฎหมายประเทศที่บริษัทเขาตั้งอยู่ หรือประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากประเทศต้นทาง ก็กระทำได้เพราะเขาไม่ได้เป็นผู้นำเข้าและเผยแพร่ ตรงนี้เป็นข้อเลี่ยงสำหรับคดีหมิ่นประมาทกันบ่อยๆ เพราะบางทีผู้นำเข้า นำเข้าจากภายนอกประเทศ ซึ่งไม่ผิดกฏหมายประเทศที่เขาอยู่ก็ทำอะไรไม่ได้ นอกจากแจ้งผู้ให้บริการงดการเผยแพร่ในประเทศปลายทาง
กรณีถือครอง หากเป็น content ที่มีลิขสิทธิก็ต้องไปดูว่าลิขสิทธินั้นครอบคลุมแค่ไหนอีก เพราะมันมีทั้ง Original และแปลมาแล้ว แต่ส่วนใหญ่หากเป็นกรณีถือครอง Content ละเมิดลิขสิทธิผู้ให้บริการมักให้ความร่วมมือ แต่หากไม่ให้ความร่วมมือ ก็ต้องไปตั้งตัวแทนฟ้องร้องที่ประเทศที่บริษัทนั้นตั้งอยู่ ซึ่งยุ่งยาก และค่าใช้จ่ายสูง ก็เลยไม่ค่แยมีใครทำ ยกเว้นกรณีที่มีบริษัทแม่ตั้งอยู่ในประเทศเดียวกันกับผู้ให้บริการก็ให้บริษัทแม่ฟ้อง
ทั้งหมดทั้งมวลเป็นสมมุติฐานตามข้อกฏหมายไทยนะ แต่อย่าลืมกฏหมายแต่ละประเทศมันก็แตกต่างกัน ต้องแยกหลายมิติ
ยูทูปมีระบบตรวจลิขสิทธิ์ครับ วีดีโอผิดลิขสิทธิ์ที่อัพลงบน youtube ไม่ว่าใครจะเป็นคนอัพแต่จะแสดงโฆษณาและเจ้าของลิขสิทธิ์จะได้เงิน ซึ่ง เจ้าของลิขสิทธิ์ได้ประโยชน์เค้าก็ไม่ฟ้อง ถ้าเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ฟ้องก็ทำอะไรไม่ได้ เรื่องการละเมิดเด็กมี ตรวจตลอดครับ ก่อนอัพโหลดก็มีให้เตือนว่า ถ้าระบบตรวจเจอก็ไม่รอด ส่วนเรื่องข้อมูลส่วนตัว ก็กดยอมรับกันไปเองตั้งแต่สมัครสมาชิกใช้งานแล้วครับ
ที่ว่ากดยอมรับกันเอง ข้อตกลงการใช้งานยาวมากมีไม่ถึง 0.1% หรอกที่อ่านครบจนหมดทุกบริการ
ส่วนจะโทษคนว่าไม่ยอมอ่านกันเองก็ไม่ถูกนะครับ ระบบบางอย่างก็ออกแบบมาเพื่อเอาเปรียบพฤติกรรมคนนี่แหละ
แล้วบริการพวกนี้ไม่ต้องมีบัญชีเพื่อติดตามคุณแค่เข้าเว็บก็สามารถโดนติดตามได้แล้วครับ ขนาดไม่ได้เข้าเว็บมันยังตามมาหลอกหลอนเลย (Google Analytics)
ที่ไม่อ่านเพราะเรารู้สึกว่ามันไม่ได้สำคัญขนาดนั้นหรือเปล่าครับ ลองคิดว่าถ้าอ่านไม่ครบแล้วจะต้องเสียเงิน 1 ล้านผมว่าทุกคนก็น่าจะอ่านจนครบนะต่อให้มันจะยาวกี่ร้อยหน้าก็เถอะ แต่บริการพวกนี้มันมีข้อจำกัดของมันอยู่ครับไม่ใช่ว่าเค้าจะให้กดยอมรับแล้วทำตามอำเภอใจได้หมด ต่อให้กดยอมรับไปแล้วแต่พิสูจน์ได้ภายหลังว่าระบบมีการเอาเปรียบผู้บริโภคหรือทำผิดกฏหมายก็ฟ้องร้องกันได้ครับมีกรณีให้เห็นอยู่บ่อยๆ ส่วนพวก analytics ถ้าเข้าเว็บแบบไม่ login มันก็เป็นข้อมูลที่ระบุตัวตนไม่ได้ครับ กดปิดหรือ clear browser ข้อมูลก็หายไปหมดแล้ว ถ้ายังตามมาหลอกหลอนได้อีกอันนี้ก็ฟ้องร้องได้เลยครับ
ถ้าคิดว่ากฎข้อไหนหรือระบบแบบไหนเอาเปรียบเกินไป ก็ไปบอกผู้แทนประชาชนให้ออกกฎหมายมา overwrite ได้ครับ
ที่ US ได้ข่าวว่าโดน Antitrust อยู่ครับ แต่ผมไม่ได้ตามข่าวจริงจัง
แอบงงเหมือนกันครับ ว่าทำไมไม่โดนเหมือนที่ Facebook โดน
หรือเพราะเข้าหานักการเมืองเก่งกว่า
อันนี้จริงเลยครับ Google หนักกว่า Facebook มาก แต่ Google โดนแค่ประปรายส่วน Facebook โดนหนักอยู่คนเดียว
หรืออาจเป็นเพราะ Google มันสำคัญกว่าชีวิตเรามากกว่า? คนถึงไม่อยากให้มันโดน ซึ่งอันนี้คิดแล้วยิ่งน่ากลัวขึ้นไปอีก?