อัพเดตความคืบหน้าจากข่าว Xerox สนใจซื้อกิจการ HP ที่บริษัทมูลค่าสูงกว่าถึง 3 เท่า ซึ่งบอร์ด HP ปฏิเสธคำเสนอซื้อ
เมื่อตกลงกันดีๆ ไม่ได้ Xerox จึงเริ่มกระบวนการเสนอซื้อแบบไม่เป็นมิตร (hostile takeover) โดย Xerox (ซึ่งมีหุ้นของ HP อยู่จำนวนหนึ่ง) เตรียมเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ HP ให้เปลี่ยนบอร์ดเดิมยกชุด มาเป็นบอร์ดใหม่ 11 คน ที่มาจากการคัดเลือกของ Xerox ทั้งหมด
ข้อเสนอนี้เป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ เพราะต้องอาศัยเสียงโหวตของผู้ถือหุ้น HP ทั้งหมด แต่ก็ถือเป็นกลยุทธของฝั่ง Xerox ที่พยายามทำทุกทางเพื่อซื้อ HP ให้ได้
แนวคิดของ Xerox คือธุรกิจเครื่องพิมพ์กำลังอยู่ในช่วงขาลง จึงพยายามควบรวม Xerox และ HP ในฐานะผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ 2 รายใหญ่ของโลกให้เป็นบริษัทเดียวกัน ถึงแม้ Xerox มีขนาดเล็กกว่า HP แต่ก็พยายามหาเงินมาซื้อด้วยการขายธุรกิจบางส่วน-กู้เงินมาเพิ่ม ซึ่ง HP ก็ใช้จุดนี้ปฏิเสธข้อเสนอของ Xerox ว่าถึงควบรวมสำเร็จแล้ว บริษัทใหม่ก็จะมีสัดส่วนหนี้สินมากเกินไป
ภาพจาก Xerox
Comments
HP เสนอซื้อกลับเลย !
อดีตเคยมีกรณี บริษัทที่เล็กว่า เคยซื้อบริษัทที่ใหญ่กว่า สำเร็จ หรือไม่ครับ?
เคยได้ยินว่า Renault ซื้อ Nissan ครับ แต่ผมหา capital ยุคนั้นไม่เจอเลยไม่แน่ใจ
TMB ซื้อ TBANK นับไหมครับ— แต่ไม่รู้จะออกมาสำเร็จไหม หรือกอดคอกันตาย—
ใหญ่เกือบเท่ากันเป๊ะเลยครับ สองแบงก์นี้ ซื้อที่ราคาเท่ากัน
มีครับ ตอนเรียนเคยมีเคสให้ศึกษาอยู่แต่ผมจำไม่ได้ กู้เงินมาซื้อ
จริงๆ ถ้าราคาได้ เงื่อนไขโอเค คนซื้อจะเล็กจะใหญ่กว่าไม่ได้มีผลมากหรอกครับ เพราะคนขายก็ได้เงินเท่ากัน บริษัทที่ปล่อยกู้น่าจะคิดหนักกว่า แต่ถ้าแผนธุรกิจดี เครดิตดี ธนาคารก็ปล่อยกู้ได้ ส่วนเงื่อนไขคนขายก็แล้วแต่คนจะมีเรื่องราคา บางคนอาจจะมองแนวทางบริหารในอนาคต (เพราะไม่อยากให้ธุรกิจที่ตัวเองสร้างมาเปลี่ยนไป) บางคนอาจจะไม่สนใจ คนซื้อจ่ายแล้วอยากทำอะไรก็ทำ
แต่การซื้อแบบ hostile take over คือเจ้าของหลักเดิมไม่เต็มใจขาย คนซื้อไปใช้วิธีการต่างๆ ให้ได้อำนาจควบคุม เช่นไล่ซื้อหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์ หรือกลุ่มผู้ถือหุ้นอื่นให้มีอำนาจโหวตมากกว่า หรือไป lobby โหวต หรืออื่นๆ ให้ได้อำนาจในการบริหารมา
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
Toy's R Us ไงครับ โดยบริษัทบริหารสินทรัพย์ทั้ง 3 บริษัทรวมกันซื้อโดยใช้เงินกู้มหาศาล พาบริษัทเครื่อข่ายร้านขายของเล่นชื่อดังล้มละลายและปิดทุกร้านในสหรัฐฯ ก่อนถูกซื้อโดยกลุ่มลงทุนอื่นมาฟื้นฟู แล้วกลับมาเปิดร้านใหม่อีกครั้ง
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
Bain capital ใหญ่มาก อันนั้นน่าจะแนวงก ไม่เกี่ยวกับว่าใหญ่กว่าหรือเล็กกว่า แต่ให้บริษัทที่ซื้อมาต้องรับภาระหนี้เหมือนซื้อตัวเอง ไม่ได้มีประโยชน์ถึงใคร นอกจากคนซื้อไม่เสี่ยง ถ้าเจ๊ง ก็ล้มละลาย หนี้อยู่กับคนล้มละลาย
ถ้าประสบความสำเร็จก็ปันกำไรให้ผู้ถือหุ้น (ตัวเอง)
สรุปได้ว่าเป็นวิธีที่ค่อนข้างเลว เพราะลูกจ้างที่ตกงานกับเจ้าหนี้ซวยยับเพราะปกติการกู้มาเงินมาซื้อบริษัทที่จะเจ๊ง แล้วให้บริษัทดังกล่าวรับภาระหนี้เอง สิทธิ์เจ๊งสูง เพราะถ้าเขามีอนาคตเขาคงไม่ได้จะเจ๊งแต่แรก แถมเจอหนี้ใหม่ทับลงมาจะพลิกฟื้นกิจการก็ยากขึ้นอีก
amd ซื้อ intel ไงครับ
อุ๊....ตื่นพอดี นาฬิกาปลุก
มี Newell Brands acquires Jarden Corporation
ในบ้านเราก็ BJC ซื้อ Big C
BJC มีแม่หนุนหลังอยู่ อาจจะเรียกว่า เล็กกว่า BigC ได้ไม่เต็มปากนะครับ
สู้ๆเอาใจช่วย ;) แล้วไปถวายให้ Fuji ต่อเลย
แล้วซื้อเฉพาะส่วน แค่ธุรกิจเครื่องพิมพ์ไม่ง่ายกว่าเหรอ
เดาว่าน่าจะเอาพีซีมาอุ้มปริ้นเตอร์ด้วย เพราะยุคหลังๆ แผนกพีซีของเอชพีได้เงินเยอะกว่า และเติบโตกว่าแผนกปรินเตอร์
ขายก็น่าจะเท่ากับตัดเนื้อร้าย ไม่ต้องอุ้มนะ ส่วน xerox ก็ดูจะมีทางของเขา สำหรับด้านปริ้นเตอร์
ปริ้นเตอร์คือเนื้อร้ายมากกว่าเพราะมีแต่หดลงๆ พีซีขายดีกว่าและยังมีการเติบโตด้วย
ส่วนซีรอกซ์ เนื่องจากตัวเองขายแต่ปริ้นเตอร์ จึงต้องทำยังไงก็ได้กิจการปริันเตอร์ของตัวองดีขึ้น ซึ่งก็คือหาคนมาควบรวมเพื่อลดต้นทุน
ถ้าจะควบรวมแล้ว spinoff พีซี ก็คงเป็นเรื่องการโฟกัสธุรกิจมากกว่าตัดมะเร็ง
ถ้ารับนี่ HP อาจเจ๊งได้เลยนะครับ ธุรกิจเพิ่งฟื้นแต่ต้องไปรับภาระหนี้สินจากการควบกิจการมหาศาลที่ไม่เกิดประโยชน์อะไรอีก