Gwynne Shotwell ประธาน SpaceX ไปพูดในงานประชุมนักลงทุนที่จัดโดย JPMorgan ระบุถึงแผนการดำเนินการในอนาคตระบุว่าธุรกิจ Starlink น่าจะ (likely) แยกออกจาก SpaceX และนำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
ก่อนหน้านี้ Elon Musk เคยระบุว่าจะไม่นำหุ้น SpaceX เข้าตลาดหลักทรัพย์เพราะต้องการให้บรรลุภารกิจนำมนุษย์เดินทางไปยังดาวอังคาร แต่สำหรับโครงการ Starlink นั้นเป็นโครงการเพื่อทำเงินอย่างเต็มรูปแบบ โดยตอนนี้มีดาวเทียม Starlink ในวงโคจรแล้ว 240 ดวง และหากครบ 400 ดวงก็จะเริ่มให้บริการอินเทอร์เน็ตได้ทั้งโลก โดยคาดว่าจะเริ่มให้บริการบางพื้นที่ได้ภายในปีนี้
Shotwell ระบุว่าอินเทอร์เน็ตจาก Starlink นั้นจะเร็วกว่าอินเทอร์เน็ตทุกวันนี้ 5-10 เท่า แต่ราคาถูกกว่า
ที่มา - Bloomberg
ภาพการปล่อยดาวเทียม Starlink เมื่อต้นปีที่ผ่านมา
Comments
ถ้าราคาจับต้องได้เราก็ไม่ต้องใช้ internet ของผู้บริการภายในประเทศแล้วซิ ไม่ต้องโดนบล็อกเว็บกันแล้ว
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
ถ้า Starlink บล็อคเองก็ไม่ต่างอะไรกับ ISP ในประเทศเท่าไรนะครับ
แถม Latency น่าจะสูงกว่าเน็ทสายที่ภาคดินอยู่นะครับ แล้วฝั่งภาคพื้นที่รับจากดาวเทียมที่ไทยมีหรือยัง ถ้เข้าเว็บในประเทศไทยเองอาจจะช้ากว่าเข้าเว็บของอเมริกางี้ วิ่งอ้อมไปลงที่ us แล้วค่อยมาไทยงี้
ผมว่าจุดตายจริงๆ ของ Starlink นี่คือเครื่องบินครับ ยิง 200Mbps เข้าเครื่องบินทุกลำได้ เอาไปขายต่อเที่ยวละ 300 บาทผมว่าคนดู YouTube/Netflix บนเครื่องกันจริงจัง
lewcpe.com, @wasonliw
จุดขายหรือเปล่าครับบบบบ
อันนี้น่าจะเป็นไปได้จริงๆแหละ เพราะ Net ดาวเทียมที่เร็วประมาณ 3G จะไม่ทนเมฆ ไม่ทนฝน
ถ้าเครื่องบินก็มีลุ้นครับ
+1 บนเครื่องบินมันเป็นจุดอ่อนของโลกออนไลน์จริง ๆ ถ้าราคาไม่แพงเกินไปถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนเหมือนกัน
ผมเข้าใจว่า ISP อาจจะเป็นคนเช่าบริการ Starlink แล้วกระจายสัญญาณ ผ่านเสาฐานที่มีอยู่ คนทั่วไป ก็ต้องใช้บริการผ่าน ISP นะครับ
ยังไม่ต้องคิดเรื่องบล็อกเว็บ
กฎหมายไทยตอนนี้น่าจะใช้ Starlink ไม่ได้นะ
เหมาะกับสถานทูตและพื้นที่ทุรกันดารมาก เวลาต้องการใช้เน็ตแบบไร้ Censored จากทั้งทางรัฐและ ISP เพราะต่อตรงกับดาวเทียมเลย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ยังไม่เชื่อว่า Net Starlink จะถูกว่า Net บ้าน และ Net มือถือ
ยังไม่เชื่อว่าจะเปลี่ยนอะไรกับ ISP ภาคพื้นได้โดยเฉพาะในเมือง
กลัวว่าจะกลายเป็นงานสื่อสารเฉพาะทางไปนะ
เห็นด้วย ไม่จำเป็นต้องเชื่อเลยแค่ประกาศราคามาก็พอแล้ว
ถ้าเป็นเทคโนโลยีของ elon musk คนไทยมักจะฟิน เชื่อ และรีบแชร์โดยเร็วโดยไม่ต้องคิดไตร่ตรองอะไรมากครับ
ถ้าเปิดให้บริการจริง น่าจะมาช่วยเต็มเต็มจุดที่ห่างไกลเมืองมากๆได้อย่างดีเลย
..: เรื่อยไป
รีบมาเถอะครับ ผมทำงานกลางทะเล อินเตอร์เน็ตดาวเทียมยังแพงมากจริงๆ ความเร็วตอนนี้ 512kbps เดือนละเป็นหลักแสน
ถ้ามาแล้วใช้ได้จริงจะดีมากๆเลยครับ
เรียกพื้นที่หางไกลความเจริญได้ไหมละเนีย
เดาว่าต่อไป Starlink จะทำธุรกิจ Space Cloud Station บนอวกาศ
ให้เช่าเว็บเซิร์ฟ ส่งข้อมูลลงมาจากอวกาศโดยตรง ลด Latency ได้น้อยลง และอาจจะไม่จำเป็นต้องพึ่ง Ground Server อีกต่อไป
ยากมากครับ เพราะวงโคจรนั้นไม่ค้างฟ้า ตัวเซิร์ฟเวอร์จะวิ่งไปมาคุม latency ไม่ได้ ถ้าต้องชิ่งดาวเทียมเป็น mesh จะยิ่งช้า
lewcpe.com, @wasonliw
แค่ให้ Data Center ปัจจุบันต่อตรงเข้า Starlink ก็พอแล้วมั้งครับ
ให้ทุกศูนย์มีระบบรับส่งสัญญาณดาวเทียมที่สามารถรองรับแบนด์วิธได้สูง ๆ
แม้ Latency จะยังคงสูงกว่าสาย แต่นั่นมันก็เฉพาะในประเทศหรือภูมิภาคเดียวกัน
ถ้าข้ามทวีปอย่างไทยไปอเมริกา น่าจะเร็วกว่ากันพอสมควรเลย
มันใหม่มาก เราทำได้แค่ใช้ความรู้ชุดเก่าและมุมมองเดิมๆในการวิเคราะห์ความสามารถของเน็ตดาวเทียม
กำแพงที่เราเห็นไม่รู้ว่าเขาพังทลายมันลงได้รึยัง
ถ้าเรามีข้อมูลจากใน Lab คงมองความเป็นไปได้ถ้ามันครบ network ได้ง่ายกว่านี้
ถ้าเราส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแสงได้ผมจะเรียกว่าทำลายข้อจำกัดเดิมๆ ครับ ซึ่งอันนี้คงเป็นไปได้ยาก นอกจากจะส่งสัญญาณข้ามผ่านรูหนอนไรงี้
starlink ไม่ได้ใช้วงโคจร geo ครับ อยู่ใน leo + วงที่ต่ำกว่า leo
latency อยู่ราวๆ 20-40 ms เองครับ
เข้าใจครับว่าวงโคจรเต่ากว่าแบบดั้งเดิมเยอะอยู่ ตัวเลข 20-40 นี่ที่เพิ่มจากเดิมหรือเปล่าครับ
ยิงขึ้นลงขาละพันโลก็แอบเยอะนิดๆ (เดโมแรกๆ วงโคจรที่ 500 เอง ที่เหลือ พันโล เฟสสองถึง 300 ถ้านับจากวิกิ) ไม่รวมในโครงข่าย mesh และไปออกสถานีภาคพื้นตรงไหน
ใช้งานจริงน่าจะเหมาะกับแอพพลิเคชั่นที่ไม่ได้ sensitive กับ latency เท่าไร ก็ใช้งานทั่วๆ ไป
ดาวเทียมชุดนี้ altitude 550 km เองครับ (ความเร็วแสง ~300000 km/s)
latency เฉพาะสัญญาณวิ่งขึ้นลงดาวเทียม คือ (550*2)/300000 = 0.0036667 / 1000 = 3.67 ms เองครับ ผมคิดว่าตัวเลข 20-40 ms นี่น่าจะรวมส่วนอื่นเข้ามาแล้วด้วยครับ
เทียบกับวงโคจร geo (วงโคจรค้างฟ้า) ที่ altitude ~35000 km latency (35000*2)/300000 ~= 233ms ครับ
GEO .ใช้งานน่าจะเยอะกว่านี้นะครับ ไม่รู้ไป Process ที่ไหนนาน เห็นบอกตามเว็บ 500+ ms กัน ยังกับวิ่งอ้อมโลก
ผมลืมไป จริงๆ ก็มีใช้งานจริงของ Iridium แต่อาจจะเฉพาะกลุ่มหน่อย ถ้าของ SpaceX มาแพร่หลายก็คงดี แต่ที่ห่วงคือ base station มีน้อยมันก็วิ่งอ้อมไปมา