SpaceX เปิดโครงการ Rideshare เปิดทางให้ผู้ที่ต้องการส่งดาวเทียมขนาดเล็กสามารถกดจองระวางการนำส่งได้ด้วยตัวเอง ราคาเริ่มต้น 1 ล้านดอลลาร์สำหรับน้ำหนักดาวเทียม 200 กิโลกรัม และนำส่งขึ้นวงโคจร SSO หรือ LEO หากน้ำหนักเกินคิดเพิ่มกิโลกรัมละ 5,000 ดอลลาร์
ผู้สนใจสามารถกดเลือกเที่ยวบินและวางมัดจำ 5,000 ดอลลาร์เพื่อแสดงความสนใจ จากนั้นที่เหลือแบ่งจ่าย 3 งวด งวดสุดท้ายต้องจ่ายภายใน 5 วันหลังจาก SpaceX ยืนยันเที่ยวบิน
หน้าเว็บแสดงให้เห็นว่า SpaceX ยังเตรียมภารกิจเฉพาะสำหรับโครงการ Rideshare ทุก 6 เดือนตั้งแต่ปลายปีนี้จนถึงปีหน้า โดยหากคำนวณแล้ว SpaceX คิดราคาเพิ่มเติมสำหรับโครงการ Rideshare พอสมควร โดยค่าใช้ Falcon 9 แบบเหมาลำโดยใช้จรวดใช้ซ้ำจะอยู่ที่ 50 ล้านดอลลาร์ และที่ผ่านมา SpaceX ใช้นำส่งดาวเทียม Starlink ได้ครั้งละ 60 ดวง ที่น้ำหนัก 220 กิโลกรัม การซื้อแยกทีละสล็อต 200 กิโลกรัมจึงแพงกว่าค่าซื้อเหมาประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์
ที่มา - TechCrunch
Comments
อีกสักพักมีบริษัทรับหารค่าชื้อ slot อีกที
บริษัทที่เช่าเหมาเที่ยวบินแล้วแบ่งรายย่อยปัจจุบันอาจจะเปิดอีกบริการเพิ่มเติมก็ได้ครับ 555
จากเดิมเหมาเที่ยว เหลือแค่เหมา slot แล้วแบ่งย่อยอีกที
ผมเป็น SpaceX ผมก็ไม่มีปัญหานะ ไปรวบกันเองมาซื้อไม่เสียเวลาจัดการ
lewcpe.com, @wasonliw
มีครับ มีตั้งแต่สมัยจรวด Proton ของรัสเซียแล้วครับ
ไทยผลิตดาวเทียมเองได้ไหมครับ
เคยมีข่าวในวงการการศึกษาว่าทำได้ครับ แต่ยังเป็นขนาดเล็ก ถ้าหากจะทำขนาดใหญ่ใช้จริงจัง เรายังไม่มี knowhow ที่เพียงพอ รวมถึงการยิงจรวดด้วยครับ
เมื่อสมัยก่อนประมาณ 2540 ได้มั้ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (เขาไม่ได้พูดเจาะจงว่าคณะวิศวะ ประมาณว่าทั้งมหาลัย) เคยประกาศว่าเขาสามารถสร้างดาวเทียมเองได้อะไรเนี่ยแหละ ไป ๆ มา ๆ เงียบหายไปไหนไม่รู้
ได้ยินว่าส่งอาจารย์ไปเรียนเรื่องเทคโนโลยีดาวเทียมถึงอังกฤษ กลับมาปรากฎว่าสร้างไม่ได้ เหมือนพวกที่สอนมาเขากั๊กความรู้ไม่ได้บอกหมดทุกอย่าง จนเป็นเรื่องเล่าจนถึงทุกวันนี้
แล้วดาวเทียมไทพัฒที่โคจรอยู่2ดวงนั่น ไม่ใช่ผลงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคนร แล้วเค้าไปซื้อมาหรือไปจ้างให้ใครให้เขาหรอครับ
"พัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยเซอร์เรย์ (University of Surrey) ประเทศอังกฤษ"
ก็ยังเรียกทำเองไม่ได้เต็มปาก
ฝากเงิน => วางมัดจำ