ปี 2019 ที่ผ่านมาอาจเป็นหมุดหมายสำคัญของวงการเกม จากการเปิดตัวแพลตฟอร์มการให้บริการเกมผ่านคลาวด์ Stadia ของกูเกิลและ Project xCloud ของไมโครซอฟท์ ในเวลาไล่เลี่ยกัน
อันที่จริงแนวคิดของ Stadia หรือ xCloud ไม่ใช่ของใหม่ เพราะโซนี่่เองก็มีบริการลักษณะเดียวกันมาสักพักแล้ว แต่การมาถึงของ Stadia และ xCloud สร้างแรงกระเพื่อมในวงการเกมและทำให้ Cloud Gaming ถูกพูดถึงมากขึ้นมาก
หากมองในระยะยาวที่ Cloud Gaming อาจกลายเป็นแพลตฟอร์มเล่นเกมในยุคหลังคอนโซล กลับเป็นไมโครซอฟท์ที่มีความได้เปรียบที่สุดในตอนนี้
บทความนี้จะพาไปสำรวจสถานการณ์ Cloud Gaming พร้อมกับการมองอนาคตว่าทำไมไมโครซอฟท์ถึงกุมความได้เปรียบเอาไว้ตั้งแต่วันนี้แล้ว
ไอเดียคลาวด์เกมมิ่ง ถูกนำเสนอมาตั้งแต่งาน E3 ปี 2000 ที่โชว์เดโมการสตรีมเกมจากพีซีไปเล่นบนอุปกรณ์ handheld ผ่าน Wi-Fi ของ G-Cluster ก่อนจะให้บริการคลาวด์เกมมิ่งได้จริงในปี 2013 แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ
ช่วงทศวรรษ 2000s นอกจาก G-Cluster ยังมี Crytek สตูดิโอพัฒนา Crysis ที่เคยสนใจพัฒนาเทคโนโลยีนี้ด้วยเช่นกัน Cevat Yerli ผู้ร่วมก่อตั้งและอดีตซีอีโอเคยเปิดเผยว่า Crytek ศึกษาวิจัยเทคโนโลยีคลาวด์เกมมิ่งในปี 2005 แต่พับโครงการไปในปี 2007 เพราะเห็นข้อจำกัดเรื่องการสเกลเพื่อลดต้นทุน (economic of scale) และปัญหาอินเทอร์เน็ตที่ยังไม่พร้อม
กว่าบริการคลาวด์เกมมิ่งจะออกมาถึงมือผู้บริโภคต้องรอถึงปี 2010 ด้วยบริการจาก OnLive ที่เปิดให้เล่นบนพีซี ตามด้วยไมโครคอนโซลแยกสำหรับต่อกับทีวี และรองรับบน iOS/Android ในภายหลัง
แม้รีวิวในช่วงแรก ๆ ของ OnLive ออกมาดี แต่สุดท้าย OnLive ก็ไปไม่รอด เพราะไม่สามารถทำเงินได้ ต้องประกาศล้มละลายในปี 2012 และจบด้วยการขายสินทรัพย์และสิทธิบัตรทั้งหมดให้ Sony Interactive Entertainment ในปี 2015
โซนี่่ยังมี GaiKai บริการคลาวด์เกมมิ่งและสตรีมเกม ที่ถูกซื้อกิจการมาตั้งแต่ปี 2012 เมื่อรวมมันเข้ากับเทคโนโลยีของ OnLive กลายมาเป็นบริการ PlayStation Now ในปี 2015 (Remote Play บน PS4 ก็เป็นเทคโนโลยีของ GaiKai นี่แหละ)
อีกบริษัทที่ทดลองเปิดบริการคลาวด์เกมมิ่งในช่วงไล่เลี่ยกันคือ GeForce Now ของ NVIDIA ที่เพิ่งปลดสถานะเบต้าไปเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา
แม้ไอเดียคลาวด์เกมมิ่งเริ่มเกิดมาตั้งแต่ปี 2000 แต่กว่าจะเกิดได้แบบแบบจริงจังต้องรอถึงปี 2014-2015 สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตที่ยังไม่พร้อม รวมถึงไม่มีโมเดลธุรกิจที่จะทำกำไรจริง ๆ จัง ๆ จากการให้บริการในลักษณะนี้
แม้โซนี่จะเปิดตัวบริการคลาวด์เกมมิ่งก่อนใครเพื่อน แต่ดูเหมือนที่ผ่านมาโซนี่ไม่ค่อยจริงจังและผลักดัน PlayStation Now เท่าไหร่นัก ในแง่การตลาดไม่ค่อยโปรโมท ในแง่ประเทศที่ให้บริการก็มีแค่ 19 ประเทศ
ในแง่ของคอนเทนต์เกมยิ่งเห็นชัด เพราะโซนี่ไม่เคยเอาเกมเอ็กคลูซีฟดัง ๆ ที่เป็นพระเอกของตัวเองมาให้บริการบน PlayStation Now เลย
ในช่วงแรก เกมบน PlayStation Now มีแต่เกมเก่า ๆ บน PS2, PS3 เสียส่วนใหญ่ และต้องรอถึงราวกลางปี 2017 กว่าโซนี่จะเพิ่มเกมดังและใหม่กว่าเข้าไปในคลัง (แต่ก็ยังเก่าอยู่ดี) เช่น God of War 3 Remastered, Saints Row IV: Re-Elected, WWE 2K16, Tropico 5 ส่วนซีรีส์เกมเอ็กคลูซีฟดัง ๆ อย่าง Uncharted 4, God of War, Horizon Zero Dawn, Spider-Man บน PS4 กลับไม่เคยปรากฎในคลัง PlayStation Now เลย
โซนี่เพิ่งเริ่มขยับและเปลี่ยนท่าทีเมื่อเดือนตุลาคม 2019 ที่ผ่านมา (ก่อน Stadia เปิดให้บริการไม่นาน) โดยนำเกมอย่าง God of War, Uncharted 4 และ GTA V มาให้บริการ
หากมองจากมุมของโซนี่ ก็ค่อนข้างเข้าใจได้ เพราะโมเดลธุรกิจหลักของ Sony Interactive Entertainment คือขายฮาร์ดแวร์คอนโซล PS4 โดยมีตัวขับเคลื่อนคือเกมเอ็กคลูซีฟหัวใหญ่ ๆ ที่โซนี่ลงทุนไปมาก ทั้งเกมจากสตูดิโอภายใน หรือการไปจ่ายเงินลงทุนให้สตูดิโอนอกทำเกม และวางขายแบบเอ็กคลูซีฟ 1 ปี (เช่น Detroit: Become Human หรือ Death Stranding) การนำเกมดังๆ มาให้เล่นบน PlayStation Now จึงเป็นการแย่งฐานลูกค้าเดียวกันกับการขายเกมแบบแผ่น
ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ PlayStation Now เป็นแค่บริการเสริมให้กับคนที่ซื้อ PS4 เท่านั้น (แม้ในภายหลังจะรอบรับบนพีซีก็ตาม) ขณะเดียวกันโครงสร้างพื้นฐานอย่างคลาวด์หรือศูนย์ข้อมูล ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการให้บริการคลาวด์เกมมิ่ง ก็ไม่ใช่จุดแข็งของโซนี่เลย ทำให้โซนี่เลยต้องมาพึ่งใบบุญไมโครซอฟท์ในท้ายที่สุด
ด้วยเหตุผลนี้เอง แม้ PlayStation Now มาก่อนใครเพื่อน แต่ยังเหลือพื้นที่เอาไว้ให้ Stadia และ xCloud ที่มาทีหลัง แถมอาจสร้างแรงกระเพื่อมจนกระทบกับธุรกิจเกมของโซนี่ในระยะยาวก็ได้
Stadia ของกูเกิลที่เพิ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อปลายปีที่แล้ว กลายเป็นเหมือนภาพกลับของโซนี่ในทันที เพราะกูเกิลไม่มีฮาร์ดแวร์คอนโซลเป็นของตัวเอง ไม่มีสตูดิโอเกมเป็นของตัวเอง จุดแข็งของกูเกิล มีเพียงเรื่องเทคโนโลยีคลาวด์ เทคโนโลยีสตรีมมิ่งและการวางศูนย์ข้อมูลของตัวเองอยู่ทั่วโลก
ปัญหาของ Stadia ณ ตอนนี้มีอยู่ 2 อย่างคือความหน่วง (latency) เวลาควบคุมเกม ที่เกิดจากข้อจำกัดหลาย ๆ อย่างของเครือข่าย ซึ่งปัญหานี้ กูเกิลน่าจะแก้ได้ในระยะเวลาไม่นาน
ส่วนปัญหาที่ 2 เป็นเรื่องของเกมบน Stadia ที่มีน้อยและสามารถหาเล่นจากที่อื่นได้ ทางแก้ก็หนีไม่พ้นการสร้างเกมระดับ AAA แบบเอ็กคลูซีฟขึ้นมาในโมเดลเดียวกับโซนี่ ไม่ว่าจะจากสตูดิโอของตัวเอง (ที่กูเกิลเริ่มซื้อมาแล้ว) หรือจะจ่ายเงินลงทุนให้สตูดิโอภายนอกก็ได้
เมื่อพิจารณาข้อจำกัดของทั้งโซนี่และกูเกิล กลายเป็นว่าไมโครซอฟท์ ณ ตอนนี้กลับมีพร้อมแล้วทุกอย่าง ไม่ว่าจะโครงสร้างพื้นฐานหรือคลาวด์ (Azure) ฮาร์ดแวร์ (Xbox) และสตูดิโอเกม (Xbox Game Studios) ที่ตอนนี้มีสตูดิโอย่อยในสังกัดมากถึง 15 สตูดิโอ และน่าจะเพิ่มขึ้นอีก
ในแง่ผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์และบริการไมโครซอฟท์ก็ตอบโจทย์เกมเมอร์ได้ครอบคลุมกว่าด้วย โดยผมแบ่งเกมเมอร์คอนโซลเป็น 3 กลุ่ม
จะเห็นว่าไมโครซอฟท์รับลูกค้าได้ทุกกลุ่ม ตั้งแต่คอนโซลกราฟิกแรง ๆ คอนโซลกราฟิกธรรมดา บริการ subscription ที่มีเกมใหม่ให้เล่นตลอดเวลา และคลาวด์เกมมิ่งอย่าง xCloud สำหรับคนที่ไม่มีคอนโซล การบ้านอย่างเดียวของไมโครซอฟท์คือเพิ่มเกมเอ็กคลูซีฟในคลังของตัวเองเท่านั้น ซึ่งไมโครซอฟท์ก็เริ่มเดินเกมนี้แล้ว ทั้งการพัฒนาเกมเอง และการจ่ายเงินให้ค่ายเกมเพื่อดึงเกมเด่นมาให้เล่นบน Xbox Game Pass หรือ xCloud ตั้งแต่วันแรกที่วางขาย
ขณะที่โซนี่แม้เด่นเรื่องคอนโซล แต่ PlayStation Now ยังสู้คู่แข่งไม่ได้ในแง่แพลตฟอร์มที่รองรับ เพราะเล่นได้แค่บนพีซีและ PS4 เท่านั้น (xCloud และ Stadia เล่นบนมือถือได้ด้วย) แถมโซนี่ไม่มีคลาวด์เป็นของตัวเอง
ผู้เล่นรายสุดท้ายคือกูเกิล แม้เราอาจมองได้ว่า Stadia เป็นบริการเช่าเครื่องคอนโซลเล่นผ่านคลาวด์ อาจตอบโจทย์กลุ่มเกมเมอร์ได้อยู่ แต่ปัญหาของ Stadia คือมีเกมในคลังค่อนข้างน้อย ต้องเสียเงินเพิ่มซื้อซ้ำซ้อน แถมกูเกิลยังไม่มีเกมเป็นของตัวเองที่จะดึงดูดผู้เล่นได้เลย ประสบการณ์ในอุตสาหกรรมเกมของกูเกิลยังอยู่ในระยะเริ่มต้นเท่านั้น การจะตามไมโครซอฟท์หรือโซนี่ต้องใช้เวลาอีกนาน
ไมโครซอฟท์ยังมีไพ่เด็ดอีกอันที่ยังไม่ได้ใช้ออกมา คือการหลอมรวมฮาร์ดแวร์อย่าง Xbox และพีซี Windows เข้าด้วยกัน ถึงแม้ยังเพิ่งเริ่มต้น แต่ในสายตาของไมโครซอฟท์ จะเล่นเกมบนพีซี คอนโซล หรือบนคลาวด์ ก็ได้ทั้งหมด ขอแค่ใช้บริการของไมโครซอฟท์ก็พอ
จุดอ่อนอย่างเดียวในอุตสาหกรรมเกมของไมโครซอฟท์ที่ผ่านมา (ถ้าไม่นับว่าทำเกมเอ็กคลูซีฟสู้โซนี่ไม่ได้ ซึ่งกำลังแก้ไข) คือเรื่องของการทำตลาด เพราะไมโครซอฟท์วางขายและให้บริการ Xbox ในแค่ 42 ประเทศ เทียบกับ Sony ที่ขายและให้บริการในกว่า 71 ประเทศ
ความได้เปรียบทั้งหมดของไมโครซอฟท์ถูกตอกย้ำโดยคำพูดของ Phil Spencer หัวหน้าทีม Xbox ที่มองว่าโซนี่และนินเทนโดไม่ใช่คู่แข่งสำคัญของไมโครซอฟท์อีกต่อไปแล้ว เพราะทั้งคู่ไม่มีคลาวด์ของตัวเอง คู่แข่งในอนาคตอาจกลายเป็นกูเกิลและอเมซอนเสียมากกว่า ยิ่งชี้ว่าไมโครซอฟท์เองก็มองเห็นแล้วว่าตัวเองยืนอยู่ในจุดที่ได้เปรียบกว่าคู่แข่งไปแล้ว
หากไมโครซอฟท์เดินเกมได้ครบหมดตามแผน วันหนึ่งเราอาจเห็นดีลโซนี่ขายธุรกิจ PlayStation ทั้งฮาร์ดแวร์และสตูดิโอให้ไมโครซอฟท์ก็เป็นได้ (จะเหลืออะไรในอารยธรรมนี้บ้าง)
Comments
น่าสนใจมากๆ ว่าแต่เวลานั้นเราจะต้องรออีกนานมั้ย
ถ้า google จับมือกับคนอื่นเป็น Stadia อาจจะรอด
เห็นมีข่าว Sony จับมือกับ MS อยู่ครับ
ผมจะสื่อว่าที่ผ่านมา google นี่ solo ตลอดไม่ค่อยจับมือกับใครน่ะครับ
ถ้าเป็น partner หรือ share resource กับคนอื่นสักหน่อย Stadia น่าจะดูดีกว่านี้
คนเขียนบทความไม่น่าจะเข้าใจ gamer หรือเป็น gamer นะครับ Hard core gamer ส่วนใหญ่ไม่ซื้อ console เพราะประสบการณ์การเล่นที่ดี่ที่สุดคือ PC spec สูงมากกว่า และถ้าซื้อเกมเยอะ ตลาดใน PC ทั้ง steam epic etc ตอบโจทย์เรื่องราคามากกว่าครับ ส่วน gamer ธรรมดาที่ไม่ได้เล่นบ่อยเล่นเยอะ ไม่มีใครสมัครบริการรายเดือนครับ เพราะ ไม่คุ้ม
ผมว่าผมก็บอกชัดนะครับว่า "เกมเมอร์คอนโซล"
เกมเมอร์ตัวจริงนี่แหละครับเล่นคอนโซล ลองดูยอดขายเกมใหญ่ๆ อย่าง Battlefield V ที่ออกพร้อมกัน 3 แพลตฟอร์มก็ได้
อ้างอิง
ไม่ใช่ว่าบน PC เค้าโหลดกันหมดหรอครับ? เห็นในข่าวเขียนว่า Retail ด้วย
บนคอนโซลก็มีซื้อ digital นี่ครับ
ใช่ครับ แต่คือสมัยนี้บนคอมแผ่นหายากมากเลยนะครับ คนที่เล่นบนคอมแทบไม่มีที่ใส่แผ่นกันแล้วด้วยซ้ำ แกมจะบังคับโหลดกันอย่างเดียวแล้วครับ ยอดขายเลข 3% ของ PC มันผิดปกติไปครับ
ส่วนเรื่องคอนโซลทำกำไรขายดีกว่าคอมของ EA อันนี้เรื่องจริงครับ ตั้งแต่ยุค PS4 ออกรายได้จากคอมหดเยอะมาก
สมัยนี้ไม่มีเกมแผ่นคอมแล้วครับ ซื้อมาก็เอารหัสป้อนใส่เข้าไคลเอนท์แล้วโหลดหมด
Hardcore gamer ไม่น่าจะเกี่ยวกับเครื่อง PC หรือ Console เลย ควรเกี่ยวข้องกับประเภทของเกมที่เล่น(กราฟิก,ความซับซ้อน),ความทุ่มเทในการเล่น,การใช้จ่ายในการเล่น ฯลฯ ผมเล่น The elder scrolls online บน PS4 ทุกวัน จะมาบอกว่าผมเป็น Casual Gamer มีเคืองนะเนี่ย
เรื่องคุ้มไม่คุ้มนี่อาจขึ้นกับแต่ละคน แต่คนสมัคร EA Access ตอนนี้มีอยู่ 5 ล้านคนครับ ข้อมูลเก่าเกือบปีนึงแล้วด้วย
ตลาดเกม Hardcore นี่คอนโซลใหญ่มากๆ จะมีก็แต่ MOBA ที่ฮิตบน PC นะ ที่เหลือยอดของ Console ทิ้งไปไกลเลย
เอาง่ายๆเกมใหม่ๆลงเครื่องไหนก่อนเยอะๆก็นั่นแหล่ะครับ
Core gamer แบบที่คุณว่าคือพวกสนใจแต่ hardware performance แล้วครับ คนที่เป็น gamer มันเล่นหมดล่ะครับไม่เกี่ยง platform เพราะไม่ไช่ทุกเกมที่จะลงทุกเครื่องนะครับ ให้ยกตัวอย่างง่าย ๆ แบบพวกที่เล่น action game โหด ๆ แบบไม่โดนศัตรูตี, ไม่ตายเลยตลอดเกมบนคอนโซลคุณเรียกคนเหล่านั้นว่าอะไรอ่ะ Casual gamer?
Hardcore gamer ส่วนใหญ่ ซื้อทุกเครื่องครับ เขาไม่สนแพลต์ฟอร์มครับ เขาสนว่าเกมที่เขาอยากเล่นลงเครื่องไหน กลุ่มนี้มีเงินครับ จะซื้อทุกเครื่องก็ไม่แปลก
The Dream hacker..
คนเขียนคอมเมนต์น่าจะสับสนระหว่าง Hardcore gamer กับ Hardware gamer นะครับ
ถถถถถถถ
“กลับมาครองตลาดเกม” แสดงว่าในอดีตเคยครองตลาดเกมมาก่อน
เคยครองช่วง Xbox 360 ครับ
ยุค Xbox 360 ครับ ช่วงนั้น PS3 แม้สเปกแรงกว่ามาก แต่พอร์ตเกมลำบาก ประสิทธิภาพกราฟิกเลยแย่กว่า เพราะ optimize ไม่ดี แถมการดันตลาดของไมโครซอฟท์ช่วงนั้นแรงมากครับ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
แรงกว่านี่พูดยากครับ เพราะจริง ๆ สองตัวนี้ใช้คอร์หลักเดียวกัน แต่ PS3 ใส่คอร์รองที่เข้าถึงเมมโมรี่ไม่ได้ ส่วน XBox ใส่คอร์หลักเพิ่มมาอีกตัตว
ส่วนกราฟิคเข้าใจว่าตัว GPU ด้อยกว่าด้วยครับ
พูดยากตามที่ท่านระบุนั่นแหละฮะ แถมโค้ดดูเขียนยุ่งยากกว่าด้วย
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ใครจับมือกับ Steam ผมเลือกอันนั้น
แต่ก็หวั่นใจถ้าใครไปจับมือกับ Epic แล้วแจกเกมรัวๆเหมือนช่วงที่ผ่านมา
Google + Sony ลงตัวพอดี
กลัวว่าจะกลายเป็น Google + Nintendo มากกว่า 55555
The Dream hacker..
เป็นบทความแบบความคิดผมเลย บางครั้งผมเถียงกับบางคนชอบ ว่า MS กากสู้ Sony ไม่ได้ไม่มีเกมส์ exclusive ผมเป็นคนไม่สน exclusive เลย เพราะว่าเกมส์ดี ๆ มันทำกันได้ค่ายอื่นก็มีเยอะ แต่ผมสนใจ ecosystem เพราะทำกันยาก ซึ่งก็เลยชอบ ms (ถึงจะไม่ดีมากอะนะเพราะไม่มีทำตลาดไทย) ตอนนี้ผมก็เห็นชัดขึ้นว่าค่อนข้างคิดถูกมี Xbox Game Pass, App Xbox Game Pass(PC), XCloud และพยายามจะเชื่อมเข้ากับทุกอุปกรณ์ เลยย้ายตัวเองออกจาก PS มา จักวาล xbox (งบน้อยเล่นค่ายเดียว) มีอนาคตไกล ไม่คิดว่าจะต้องย้ายอีก
ใช้ไม่ได้กับจักรวาล nintendo
เกมส์พี่เขาน่าเล่นจริง ๆ
ผมเป็นคนที่ไม่ได้สนใจเกม exclusive Playstation เหมือนกันครับ เพราะเกม Multi platform ระดับ AAA ก็มีให้เล่นมากพอ และก็ชอบอะไรที่มันเป็น Ecosystem ด้วย
ปล.App Xbox Game Pass(PC) นี่จำเป็นต้องเปลี่ยน Store ให้เป็นประเทศที่รองรับด้วยใช่ไหมครับถึงจะเจอแอพนี้
Xbox Game Pass(PC) ไม่ได้โหลดใน ms store ครับ ต้องโหลดในเว็ป เอาคำไปหาใน google เจอเลย ทำเหมือน stream เลย หรือ https://www.xbox.com/en-US/xbox-game-pass/pc-games/ ปล.แนะนำก็ตั้งวินโด้เป็นประเทศ สหรัฐไว้ครับเพราะมันค้อนข้างอิงจาก ms store เดี๋ยวเกมที่ไม่มีในไทยจะโหลดแล้ว error
เห็นอนาคตของ Statia ละ อยู่ในทำเนียบ killedbygoogle.com อยู่รำไร
พร้อมแล้วก็ซื้อ Rockstar ซะหน่อยมั้ย
ผมชอบ Sony และเกมexของค่ายนี้ที่สุดครับ ส่วนอนาคตจะได้เล่นเกมกันในรูปแบบไหนก็จะเล่นมันจนได้
ปัญหาของ Microsoft ก็คือ ทำการตลาดใน Asia น้อยนี่แหละ
ยิ่งในไทยนี่ เหมือนทำไปงั้น ๆ ทำทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ
เหมือนไม่แคร์ ไม่สน จะใช้ก็ใช้ จะไม่ใช้ก็ไม่ต้องใช้
ตลาดเกม ผมว่าสุดท้ายก็แข่งกันที่คอนเทนเป็นหลัก แล้วดารที่ ms จะเลิก exคอทเทนตัวเอง ผมว่าจะดึกตัวเกมเมอร์ได้ยาก Stadia ก็เจอปัญหาเดัยวกันคือไม่มีคอนเทนex
ไมโครซอฟท์ไม่ได้เลิก exclusive นะครับ สิ่งที่ทำคือเลิก exclusive บนฮาร์ดแวร์ Xbox แต่ยัง exclusive ในจักรวาลไมโครซอฟท์เอง ดังนั้นแปลว่าจะเล่นบนคอนโซล พีซี มือถือ ก็ได้หมด ขอแค่จ่ายรายเดือนไมโครซอฟท์พอ
ฮาร์ดคอร์เกมเมอร์ เอาจริงๆ มีทุกเครื่องนะเพราะค่าเครื่องค่าเกมแค่หลักหมื่นหลักแสนมันก็แค่เศษเงิน เทียบกับเวลาและความทุ่มเทที่ใช้ไปไม่ได้เลย
ทีมงาน MS คงตื่นเต้นน่าดู มีของเล่นให้ปลดปล่อยศักยภาพในตลาดนี้อีกมาก
จะออกไอเดียไหนๆก็ดูเข้าท่าไปหมด ยิ่งภายใต้ CEO คนนี้ การเป็น partner กับบริษัทดีๆก็เป็นเรื่องเป็นไปได้ซะทุกอย่าง
ผมไม่ค่อยเชื่อเท่าไหร่ แต่เป็นเรื่องของอนาคต ก็ดูๆกันต่อไป
ก็เห็นพูดงี้มาตั้งแต่ OnLive แล้วนี่ครับ ว่า Cloud Gaming คืออนาคต อย่างนู้นอย่างนี้ บลาๆๆ แล้วเป็นยังไง.. ก็เห็นกันผลลัพธ์กันอยู่แหม่บๆกับ Stadia เพราะสุดท้ายก็ยังไม่มีใครชนะความเร็วแสงกันอยู่ดี แม้แนวคิดนี้จะพัฒนาผ่านมาร่วม 20 ปีแล้วก็ตาม
จริงๆ ผมมีไอเดียเรื่องนี้อยู่นะ พวกบริษัทใหญ่ๆก็คงคิดไว้แล้วเหมือนกัน แต่คงติดปัญหาที่ลิขสิทธิ์เกม เลยยังไม่มีใครคิดทำกัน
+1
ตราบใดที่ยังทำ local distribution ไม่ได้ยังไงก็ไม่เกิดเนื่องจากปัญหา latency และมันก็ทำไม่ได้ง่ายๆด้วยเนื่องจากข้อจำกัดด้านต้นทุนและ maintenance
เอาง่ายๆเกิดใน local มีเกมเกมนึงบูมขึ้นมา ต้องทำยังไงเพื่อให้รองรับ user? เพิ่มจำนวนเครื่อง local ตาม peak? ยังเห็นวิธีการแก้ปัญหาไม่ออกเลยกับปัญหาที่มี latency เป็นปัญหาหลักแบบนี้ เกมส์มีไว้เล่นเพื่อความสนุก ไม่ใช่ต้องมาหงุดหงิดเวลาเล่น
OnLive, Geforce NOW, Stadia ที่ผ่านมายังไม่เห็น platform ที่แก้ปัญหาได้จริงๆจังๆเลย มีแต่ hype แบบโม้ๆ ยิ่งเป็น MS ที่ทำ local ไม่เก่ง โดยเฉพาะเกมส์, eg. ดู Xbox เป็นตัวอย่าง ตัว Azure เองก็ไม่ได้มีจุดแข็งที่ network throughput/latency อยู่แล้วด้วย
ส่วนตัวมองว่าคำพูดของ Phil Spencer เป็นข้ออ้างแก้เขินมากกว่า เพราะจากแนวโน้มในปัจจุบันนี่ยังไงก็แพ้ให้ PS5 แน่ๆ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
-สเปคเครื่องตกยุค
-เฟรมเรตพอถูไถ
-ระบบnetworkหลังบ้านโบราณ ช้า
-eshop ไม่ฉลาด
-จะแชทต้องลงแอป ใช้มือถือ ใช้คอมช่วย เปลี่ยนตั้งค่าaccountทีต้องเปิดคอมที
ดูลำบากม่ะ …แต่ทั้งหมดนี่มีในnintendo switch
ซึ่งขายดีมากๆ และยอดขายยังพุ่งไปเรื่อยๆ
ผมมองว่าที่ทำได้เพราะ ตลาดเกมconsole “เกมexclusiveประจำเครื่อง” มีผลเป็นอย่างมากในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
………
Cloud gamingคงเกิดและมาแทนที่consoleแบบเดิมๆ แต่ไม่ใช่เร็วๆนี้ … ต้องดันเกมexclusiveเฉพาะcloud gaming คิดว่าเกมแนวar, vr (นึกถึงหนังready player one) ดูจะเป็นไปได้มากที่สุด
ถ้าทำถึงระดับนั้นได้ cloud gamingถึงจะครองตลาดได้
ซึ่งเทคโนโลยีตอนนี้มันไม่พร้อมขนาดนั้น
+1
ผมรู้สึกว่า สิ่งที่ MS พยายามจะสื่อมันเหมือนคิดเองเออเองอ่ะ เหมือนพยายามสร้างนวัตกรรมที่ลูกค้าไม่ได้ต้องการ หรืออาจจะยังไม่ได้ต้องการก็ได้ แต่สิ่งที่ Nintendo ทำมาตลอดคือเค้าพยายามเจาะเข้าไปในชีวิตประจำวันของลูกค้า คือทำเกมเพื่อให้ลูกค้าจริงๆ จะเล่นคนเดียว เล่นออกกำลังกาย พกไปเล่นนอกบ้าน หรือพกไปเล่นกับเพื่อน ผลคือยอดขายพุ่งเรื่อยๆเฉยเลยทั้งๆที่ระบบก็ไม่ได้เลิศเลอ บัคก็เยอะ อุปกรณ์ก็มีจุดติตรงนู้นตรงนี้ แต่ไม่รู้ทำไม เหมือนมันตอบโจทย์ลูกค้าไปซะหมด
Switch นี่เป็นเกมที่โดนป้ายยาง่ายมากเลย แต่ก่อนพูดเชียร์ PS ยังไงก็ไม่มีใครยอมซื้อมาเล่นด้วย แต่พอเป็น Switch นี่แป๊ปๆถอยมาละ
คงเพราะนินเทนโดรู้ว่าคนซื้อเกม ซื้อมาเพื่อเล่นเกมละมั้งครับ
อื่นๆมันเป็นตัวเสริม ถ้าเกมไม่สนุกซักอย่างต่อให้อื่นๆดีก็ยังแย่ แต่ถ้าเกมมันสนุกต่อให้ที่เหลือจะแย่ซะหมดก็ยังดี
จากใจคนถอย Switch มาแล้ววาง PS4 ให้ฝุ่นเกาะ
ถ้า Microsoft Sony Google+Nintendo เป็นไง 5555555555555
The Dream hacker..
โปเกม่อน+ai+ar+blockchain+YouTube+google assistant
MS Sony คงหยุด google/nintendo ลำบาก แล้ว
ส่วนตัวผมชอบแนวทางของปู่นินมากกว่านะ ถ้าปู่นินรวมกับ Google ได้เนี่ย จะได้อุปกรณ์แบบ Nintendo Switch ที่เล่นเกมส์บน Cloud ได้ ที่สำคัญคือ กลุ่มลูกค้าของปู่นิน เข้าถึงกว้างกว่า Hardcore Gamer ถ้าใครเข้าถึงตลาดกลุ่มผู้หญิง และกลุ่ม Casual ได้ผมว่าน่าจะเป็นผู้กุมตลาดมากกว่านะ ส่วนตัวมองว่าจุดขี้ขาดของตลาดเกมส์คือ Content มากกว่า Infra คนพร้อมจะย้ายเสมอถ้าได้เล่นเกมส์ในสไตล์ที่ตัวเองชอบ
ตราบใดที่ยังต้องพกพาเครื่องเล่นเกม ผมว่า cloud gaming ไม่น่าจะไปรอด
Nintendo Switch รอดละ 1
ผมว่ายังไงก็ไม่น่าจะชนะกฎของฟิสิกส์ไปได้
That is the way things are.
ความรัก ต่างหากที่ชนะทุกสิ่งผมกดซื้อเกมเพราะผมรักเกมนั้นๆต่างหาก 555+
เห็นนักวิจัยพยายามจะสร้าง protocol ใหม่ พอมานึกถึงเรื่อง hop ก็คงเป็นแบบที่คุณว่า (เหมือนเดิม)
คงยากนะที่แบรนด์ PlayStation จะล้ม ค่ายเกมในมือโซนี่แข็งแกร่งมาก เกมอย่าง god of war, last of us, spider man, ghost of tsushima etc. สารพัดเกมแนวญี่ปุ่นๆ ยังไงๆ xbox, PC ก็ไม่มี
เกมที่อยากเล่นอยู่ plarform ไหนก็ซื้อ platform นั้นจบนะ
Hardware gamer console คิดไรเยอะแยะปวดหัว
eroge อยู่เครื่องไหนผมเชียร์อันนั้นแหละ