กิจการร่วมค้า คิวฟรี-ยูเทล ประกาศชัยชนะในการประมูลงานพัฒนาระบบจัดเก็บค่าทางด่วน ที่จะพัฒนาให้ทางด่วนดอนเมือง โทลเวย์สามารถรองรับทั้งบัตร EasyPass และ M-Pass ได้ หลังจากก่อนหน้านี้ระบบทางด่วนอื่นๆ รับบัตรทั้งสองระบบได้ก่อนแล้ว
ตัวโครงการที่จริงพัฒนาทั้งการจับเก็บเงินสดตามปกติ (Manual Toll Collection System - MTC) และการเก็บค่าทางด่วนผ่านบัตร (Electronic toll Collection System - ETC) โดยโครงการรวม 323 ล้านบาท ระยะเวลาสิ้นสุด 30 เมษายน 2021 หรือปีหน้า
คิวฟรี-ยูเทล เป็นกิจการรวมร่วมค้าระหว่างบริษัท ยูไนเต็ด เทเลคอม เซลส์ แอนด์ เซอร์วิสเซส จำกัด (UTEL) และบริษัท คิวฟรี ประเทศไทย จำกัด
ความได้เปรียบของการจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่งคือการตัดเงินชำระที่รวดเร็วกว่าเงินสด ในกรณีของทางด่วนนี้จะเห็นได้ชัดว่าหากระบบทำได้ดี รถจะสามารถเคลื่อนที่ผ่านด่านเก็บเงินได้อย่างรวดเร็ว ไม่ติดขัดบริเวณด่านจ่ายเงิน
ที่มา - จดหมายข่าวบริษัท เบญจจินดา โฮลดิ้ง จำกัด
ภาพจากบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)
กิจการร่วมค้า คิวฟรี - ยูเทล คว้าชัยชนะการประกวดราคาโครงการปรับปรุงระบบจัดเก็บค่าผ่านทางดอนเมือง โทลล์เวย์
เพื่อรองรับระบบการใช้บริการการเดินทาง ทางด่วน-มอเตอร์เวย์ -โทลล์เวย์ เป็นหนึ่งเดียว
กิจการร่วมค้า คิวฟรี-ยูเทล ชนะการประกวดราคางานจัดจ้างผู้รับเหมา โครงการปรับปรุงระบบจัดเก็บค่าผ่านทาง Manual Toll Collection System (MTC) และ Electronic toll Collection System (ETC) มูลค่าโครงการ 323 ล้านบาท ของบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) หรือดอนเมือง โทลล์ เวย์
เกี่ยวกับโครงการ
ระยะเวลาโครงการดำเนินการอยู่ระหว่าง 2 มกราคม 2563 – 30 เมษายน 2564 ซึ่งผู้ชนะการประกวดราคาในครั้งนี้ จะเข้าไปดำเนินการพัฒนาระบบ จัดเก็บค่าผ่านทาง Manual Toll Collection System (MTC) และพัฒนาระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ Electronic Toll Collection System (ETC) โดยโครงการนี้เป็นการพัฒนาระบบการบริหารจัดการดูแลในการควบคุมรายได้ และตรวจสอบการจัดเก็บค่าผ่านทาง รวมถึงระบบต้องสามารถรองรับ M - pass และ Easy Pass เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกไม่ต้องถือบัตร ETC เพิ่ม หากสามารถนำแท็ก M - pass หรือ Easy Pass ที่ติดในรถยนต์มาใช้เพื่อชำระค่าผ่านทางในระบบทางยกระดับของบริษัทดอนเมือง โทลล์เวย์ได้เช่นกัน
Comments
มันควรใช้ได้นานแล้วนะ
เดี๋ยวนี้โทรลเวย์ยังตั้งด่านไถ่เอ้ยจับขับเร็วอยู่ไหม
จ่ายเงินได้เร็วก็ติดอยู่ดี ขึ้นจากรังสิตติดไปจนลาดพร้าว
เป็นทางด่วนที่แพงมากกที่สุดอันนึง
+1
เลิกขึ้นสายนี้แล้ว ราคายังกับไปมอเตอร์เวย์ชลบุรี
555 ผมเคยเผลอขึ้นไปครั้งนึงและเป็นครั้งสุดท้าย
แพงกว่าด้วยครับ
- Motorway ลาดกระบัง-พัทยา (122 KM) = 105 บาท
- Tollway รังสิต-ดินแดง (24 KM) = 115 บาท
ควรจะมีมาตั้งนานแล้ว
แต่พอมาดูราคาทางด่วน ก็แพงกว่าสายอื่น คนก็เลยไม่ค่อยขึ้น พอจะมีส่วนขยายก็ไม่ขอเข้าร่วมอีก แล้วไม่รู้ว่าช่วงรังสิตไปอยุธยาจะได้สร้างเมื่อไหร่ มีก็เหมือนไม่มี ทางด่วนสายนี้
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
มันแพงจริงๆนะครับ เส้นนี้ แพงแบบ แพงสุดๆ แพ้งแพง แพงอะไรขนาดนั้น ถ้าไม่จำเป็นว่าข้างล่างรถติดจะไม่ขึ้นเด็ดขาด
สักที๊
[S]
ข้อดีของแพงคือรถไม่ติดเท่าไหร่ จากแจ้งวัฒนะไป สีลมนี่ชิวๆเลย เพราะ รถไม่ติดมาก พอไม่ติด ก็จะยังไม่ถึงช่วง peak ของทางด่วนดินแดง-สุขุมวิท วิ่งข้างล่างนี่ ติดตลอดทาง
เมื่อก่อนผมขึ้นจากด่านวิภาวดีกลับบ้านทุกวัน พอราคาขยับขึ้น 100 ก็เลิกเลย ไม่ไหว รถติดข้างล่างหน่อยก็ไม่เสียเวลาสักเท่าไหร่ แต่ประหยัดได้เดือนละ 2,000 คิดต่อปีก็หลายบาทอยู่ เอาตังไปทำอย่างอื่นได้เยอะแยะ
มันต้องแพงถูกแล้วครับ คนจะได้ขึ้นน้อย ๆ ทางด่วนนี้มีไว้สำหรับคนที่รีบไปสนามบินจริง ๆ ถ้าถูก ๆ คนขึ้นเยอะแล้วไปติดข้างบน คนที่เค้ารีบไปสนามบินจริง ๆ มันจะไปได้ประโยชน์อะไร ถ้าเราไม่รีบจริง ๆ ก็ไม่ควรขึ้นครับ ผมคิดว่าเส้นนี้แหละช่วยชีวิตคนไปสนามบินไว้ตังไม่รู้เท่าไรแล้ว เป็นเส้นที่เรียกว่า "ทางด่วน" จริง ๆ ไม่ใช่ทางรถติดที่เสียเงิน 555
แพงได้ฮะ ไม่มีไครว่า แต่ต้องมีมาตราฐานการคิดแบบ BTS (ออกโดยภาครัฐ บังคับใช้ทั้งหมดทุกด่วน) ไม่ไช่อยากเก็บตามใจ
เส้นนี้แพงจริงๆครับ เมื่อเทียบกับระยะทาง แต่ก็พอเข้าใจได้ว่าด้วยสัญญาที่ภาครัฐทำไว้ ราคามันเลยโดดมาขนาดนี้
แต่ส่วนตัวก็จำเป็นต้องใช้แหละ แง่มๆ
ปล. ใช้เวลาทำนานเหมือนกันแฮะ อีกปีกว่าเลย
..: เรื่อยไป
อยากรู้ Fail Rate ว่ามีเท่าไหร่
โดยส่วนตัวขึ้นทางด่วนทุกวัน ทุก 3-4 วันช่วงเข้าด่านจะเห็นระบบอ่านบัตรไม่ได้อยู่เรื่อยๆ