ข้อมูลนี้เปิดเผยโดยเว็บข่าว Het Financieele Dagblad ของเนเธอร์แลนด์ ระบุว่าสหภาพยุโรป (EU) กำลังร่างข้อเสนอเพื่อบังคับให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟน ต้องทำให้อุปกรณ์ของตนสามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งคาดว่าร่างข้อเสนอนี้จะเผยแพร่ต่อสาธารณะในเดือนหน้า (มีนาคม)
หลักการและเหตุผลของข้อเสนอนี้เป็นเรื่องของการลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากผู้ผลิตสมาร์ทโฟนยุคนี้นิยมออกแบบอุปกรณ์แบบปิด ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถเปิดฝาเพื่อเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้ รวมทั้งเพิ่มเงื่อนไขสิ้นสุดการรับประกันเข้ามา โดยต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่กับศูนย์บริการเท่านั้น EU มองว่าวิธีการดังกล่าวเป็นการผลักให้ผู้ใช้เลือกซื้อสมาร์ทโฟนเครื่องใหม่มากขึ้น เมื่อแบตเตอรี่เริ่มเสื่อมสภาพ
ประเด็นนี้น่าสนใจว่า EU จะออกแบบข้อกำหนดอย่างไร เนื่องจากแบตเตอรี่ของสมาร์ทโฟนในปัจจุบัน ถูกผลิตมาให้เข้ากับสมาร์ทโฟนแต่ละรุ่นโดยเฉพาะ จึงยากมากที่จะกำหนดรูปแบบมาตรฐาน ไปจนถึงตำแหน่งการเชื่อมต่อภายในเครื่อง
ที่มา: ZDNet
Comments
สำหรับเครื่องที่มีกันน้ำนี่ยากพอควรเลย
อีกนิดก็ยุ่งยาก จุกจิกไปหมดละนะ EU
มองๆ ดูในประวัติศาสตร์ที่ผ่านๆ มานี่ก็พิสูจน์ได้ว่าประเทศไหนที่เขาจุกจิกยุ่งยากก็ได้ผลที่ดีในท้ายที่สุดนะ
Hail corporation!
อย่ามาขัดจังหวะสิครับ
คุณยังจำสมัยก่อนที่แต่ละยี่ห้อมีสายชาร์จเป็นของตัวเองได้มั้ย สมัยนั้นโคตรสะดวกเวลาจะชาร์จมากๆ เลยครับ
ขอให้ผ่านจะกราบขอบพระคุณมาก
อันนี้ผมชอบนะ ส่วนใครจะบอกว่าปิดกั้นนวัตกรรมผมคิดว่ามันยิ่งแข่งขันกันหาวิธีทำให้บางทำให้กันน้ำแต่ยังเปลี่ยนแบตได้ง่ายซะมากกว่า
อิจฉา EU
ผู้บริโภคเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
เยี่ยม ไม่ได้ตามเทรนโทรศัพท์อะไรเท่าชาวบ้าน ขอแค่นี้แหละ
ถ้าแกะเปลี่ยนแล้วกระจกหลังแตกหรือบาดมือก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ไม่ใช่ว่าจะบังคับให้เป็นพลาสติกทั้งหมดนะ...
ก็แล้วแต่ผู้ผลิต จะเป็นแผ่นเหล็กหนามิลก็ไม่ว่า
แถมผมมองว่าซ่อมง่ายกว่าสะอีก
ลดราคาแบตแท้ให้ถูกกว่านี้ดีกว่าไหม
EU กำลังจะเปลี่ยนโลกอีกรอบต่อจากสายชาร์จ
ผมว่ามันทำได้นะ
เปลี่ยนแบตไม่ได้ก็ไม่เป็นไรนะอยากได้เครื่องเก่าแลกเครื่องใหม่ลด 50% ก็ยังรู้สึกดีนะ
แบบนั้นมันก็ผิดจุดประสงค์ของ EU แล้ว เพราะจุดประสงค์คือการลดโอกาสที่คนจะซื้อเครื่องใหม่
ทิม คุก(แห่งแอปเปิ้ล) ไม่ถูกใจสิ่งนี้...???
ไม่ใช่แค่ apple นะครับ เรือธงแทบทุก brand ก็เปลี่ยนไม่ได้กันเยอะเลย ต้องแข่งความบาง ความเบา ความทนน้ำทนฝุ่น ฯลฯ
เอาจริงๆ iPhone ยังถือว่าเปลี่ยนแบตไม่ยากเท่าไรนะ มีน็อตสองตัวกับตัวดึงจอก็พอได้แล้ว แผ่นกาวติดแ็ตก็ออกแบบมาให้มีจุดดึงกาวออกได้จามสเต็ปแล้วเปลี่ยนได้เลย ไม่นับเรื่องประกันขาดนะ แต่บางยี้ห้อคือฝาหลังติดกาวมาทั้งแผ่นอ่ะ
+1 ครับ ถ้าบวกการหาซื้อตัวแบตด้วยแล้ว เผลอๆไอโฟนนิแหละ เปลี่ยนแบตง่ายสุด แต่ผมยังไม่เคยลองตระกูลกันน้ำนะ
ทำยังกับมีแค่ไอโฟนยี่ห้อเดียวเปลี่ยนไม่ได้งั้นแหละ สมัยไหยละ เกือบทุกยี่ห้อเปลี่ยนแบตไม่ได้แล้ว
ผมโอเคไม่มีปัญหา ถ้าหากว่าสามารถเปลี่ยนแบตได้แล้ว สิ่งที่ยังเป็นผลดีกับผู้บริโภคในด้านอื่นๆ ยังคงอยู่
เขาไม่ได้จะให้ผู้บริโภคแกะเครื่องเอง เขาหมายถึงซ่อมร้านทั่วไปได้ ปัจจุบันถ้าซ่อมร้านนอกจะหมดประกันทันที คนเลยไม่กล้าซ่อมร้านนอก ซ่อมศูนย์ก็แพงบรรลัย
งง ก็ถ้าอยู่ในประกันแล้วจะซ่อมร้านนอกทำไมครับ?
บางทีมันประกันก็ไม่ได้ครอบคลุมทุกอย่าง เช่นอาจจะเสียหายจากเรา แต่ถ้าเปิดฝาเครื่องเอง ประกันทุกอย่างหายหมดทันที
แล้วอยู่ดีๆ จะไปเปิดฝามันทำไม..
ปวดหัว...
ก็เขาคงเบื่อๆ เลยแงะฝาเล่น อยากให้เครื่องหมดประกันจะได้เสียตังเล่นมั้งครับ
....
งั้นก็สมควรละครับ จ่ายไป
ผมเข้าใจว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าแทบทุกอย่างก็เป็นแบบนี้นะถ้าเค้าตรวจสอบได้ เราถึงได้เห็นสติ๊กเกอร์ Warranty void if removed กันเต็มไปหมด ถึงผมจะไม่เห็นด้วยก็เถอะ
warranty void if removed นี่ผิดกฎหมายในบางประเทศครับ
ใช่ครับ แต่มันดันไม่ผิดกฎหมายในหลายๆประเทศนี่สิ (หรือไม่บังคับแต่บริษัทยังก็ปฏิเสธการซ่อมอยู่ดี)
ส่งศูนย์มันช้า
อีกหน่อยคงกำหนดต้องมีกล้องกี่พิกเซล
ตัวถังห้ามบางเกินเท่าไหร่
หน้าจอต้องมีขนาดเท่าไหร่
ห้ามขายเกินเท่าไหร่
อีกหน่อยคงบังคับ iPhone ต้องลงแอนดรอยด์ได้ เพื่ออิสระภาพของผู้ใช้
ถ้าทำได้ ข้อสุดท้ายน่าสนใจมาก
สามข้อบนฟังไม่มีเหตุผล
ข้ออื่นก็ไม่เหนือเกินเหตุและผลที่จะยกมาถกเถียงกัน
มันคงไม่งี่เง่าขนาดนั้นหรอก
EU ถอยหลัง
รอการถอยหลังระดับ 20 ยี่ห้อ 20 หัวชาร์จครับ
อยากให้มีมาตรฐานก้อนแบตด้วย
เหมือน Nokia สมัยก่อน
แบตแบบเดียวกัน ใช้ได้หลายรุ่นมาก
ตอนนี้แต่ละรุ่นมันขนาดเฉพาะหมดเลย
ร้านจะได้สต๊อคแต่แบบมาตรฐานไม่กี่แบบ
แถมผลิตจำนวนมาก ราคาถูกลงอีก
การออกแบบมือถือที่ลูกค้าไม่สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่เองได้โดยง่าย เป็นนวัตกรรมที่ควรหายสาบสูญไปจากโลก
เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ใช่เลยครับ
+1
แต่อ่านข่าวนี้แล้วใจนึกไปถึง Macbook
รุ่นเก่าแกะเปลี่ยนแบตสบาย น็อตไม่กี่ตัว
รุ่นใหม่ติดกาวยึดหมด...น่าเบื่อ
รุ่นใหม่ยากกว่าจริงๆ แต่ก็ยังไม่ถึงกับยากเกินไปครับ
ผมลองแงะ Retina 13 Early 2015 ดูแล้วครับ เหมือนเค้าออกแบบมามีชิ้นส่วนป้องกันชิ้นส่วนอื่นๆเวลาเราแงะกาวแบตอยู่ครับ ส่วนที่ยากที่สุดของการเปลี่ยนแบตรุ่นนี้คือการแงะกาวสองหน้า ซึ่งไม่รู้ทำไมมันต้องใช้3Mกันด้วย ทั้งแบตแท้และของเทียมเลย แงะยากพอกัน
ดีครับ เปลี่ยนเองไม่ได้นี่โครตลำบาก
ไม่อย่างงั้นก็สร้างแบตที่มีอายุการใช้งานนานขึ้นสิ เช่น 3ปี -5ปี หรือ 10ปี
เยี่ยมครับ
ผมเฉยๆ นะ ทุก 2-3 ปีต้องเปลี่ยนรุ่นใหม่อยู่แล้ว ตอนนั้นแบตก็ยังพอไปได้ ขายต่อไม่เสียราคามาก ประโยชน์ของการกันน้ำก็คุ้มค่าอยู่ ส่วนเรื่องแข่งบางนี่ไม่เห็นความจำเป็นเท่าไร อยากได้หนาๆ แล้วแบตอยู่ได้ 2-3 วันดีกว่า
ผมว่าน่าจะจำกัดเป็นรุ่นระดับกลาง-ล่างนะ การบังคับแบบนี้มันปิดกั้นโอกาส+สิทธิ์ของพลเมืองมากไป
แบบประเทศแถวๆ นี้ ผู้นำบอกว่าอันนี้ดี คนทั้งชาติต้องยอมรับเหรอ?
ปัญหาคือเรื่องประกันหมดเมื่อแกะเครื่องเองนี่ครับ เปลี่ยนนโยบายหรือลดราคาเปลี่ยนแบตศูนย์ก็จบมั้ยครับ น่าจะแก้ง่ายกว่าเทคโนโลยี
เห็นบางคนกังวลเรื่องกันน้ำ... มือถือที่กันน้ำและถอดแบตได้ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรนะครับ มันมีมานานแล้ว และผมก็เคยใช้ แค่ผู้ใช้ต้องรอบคอบขึ้นหน่อยแค่นั้นเอง
แบบที่มียางกันน้ำรองใต้ฝาหลังสินะครับ เป็นแนวทางที่เน้นกระบวนการผลิตมากกว่าจะสร้างนวัตกรรมใหม่ เพราะซีลกันน้ำมันมีใช้ในเครื่องจักรอายุตั้งแต่ 50+ ปีมาแล้ว
กาวที่ใช้กันอยู่ตอนนี้ก็ไม่ต่างกันครับ
นั่นสิครับผมก็ไม่เข้าใจว่าโป๊วกาวนี่คือนวัตกรรมใหม่ตรงไหน ระบบกันน้ำในเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ยังไงมันก็เหมือนเดิมยังไม่เคยเห็นมันพิเศษพิศดารอะไร
เป็นแนวคิดที่ดีมากและลดขยะได้จริง
การชอบออกกฎเกณฑ์จุกจิกแบบนี้แหละ บริษัทผลิตอุปกรณ์ไอทีของยุโรป(อียู)ถึงได้ตามตูดบริษัทอเมริกาและเอเชีย
ถ้าเป็นไปได้ ช่วยรบกวนอธิบายทีครับว่าลดส่วนไหน เพราะถ้าเป็นแบตเตอรี่ท้ายที่สุดจำนวนแบตที่ทิ้งยังมีเท่าเดิม เช่น
ถ้า แบต 1 ก้อนใช้ได้ 2 ปี
A. ลูกค้าซื้อ 2 ก้อน(ติดเครื่อง 1 ซื้อเพิ่ม 1) เปลี่ยนสลับกัน จะใช้งานรวมได้ 4 ปี
B. ลูกค้าซื้อ 1 ก้อน(ติดเครื่อง 1) ใช้งานได้ 2 ปี เปลี่ยนอีก 1 ก้อน จะใช้งานรวมได้ 4 ปี
*ถ้าทั้ง A และ B ต้องทิ้งแบตในปีที่ 4 กรณีละ 2 ก้อนเท่ากัน แสดงว่าที่เขาอยากจะลด ไม่ใช่ แบตเตอรี่ ใช่ไหมครับ
ไม่ใช่ต้องการลดแบตครับ แต่เป็นส่วนอื่นทั้งหมดของมือถือ
เค้ามองว่าถ้าเปลี่ยนแบตยาก จะมีคนที่คิดว่าก็ซื้อใหม่ซะทั้งเครื่องเลย แบตที่เสื่อมกับเครื่องเก่าก็จะต้องทิ้งไงครับ ถ้าเปลี่ยนแบตได้ง่ายขึ้น ก็จะมีจำนวนเครื่องที่ต้องทิ้งน้อยลง
อย่าคิดว่าทุกคนทำเองได้ทุกอย่างครับ คนส่วนใหญ่ทำพวกนี้เองไม่เป็น ถ้ายากหรือแพงหรือทั้งสองอย่างเค้าก็หาทางอื่นที่ง่ายกว่าครับ
ขยะอิเลคทรอนิค ไม่ได้นับแค่แบตนิครับคนเขาทิ้งทั้งเครื่องเลยเพราะเปลี่ยนแบตยาก ไม่ก้หาแบตมาเปลี่ยนไม่ได้ ปริมาณขยะต่างกันมากถ้าทิ้งแค่แบตกับทิ้งแบตพร้องเครื่อง
ขรำที่เจอยี่ห้อคุกกระจก มีสาวกออกมารำร้องว่าไม่อิสระ
ผมเห็นด้วยนะถ้ามือถือจะเปลี่ยนแบตได้ง่าย อย่างน้อยจะช่วยลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ลงไปได้ประมาณนึง อายุการใช้งานมือถือของกลุ่มที่ตอนนี้เปลี่ยนทุก 2-3 ปีบางส่วนอาจจะยืดออกไปเป็น 4-5 ปี (ตูนี่แหละ 555+)
ส่วนตัวมองว่า OS ของทั้ง 2 ค่ายตอนนี้มันพัฒนามาดีมากๆแล้ว คนที่ไม่รีบอัพก็เลยมีเยอะขึ้น
..: เรื่อยไป
วันนี้ไปเดินตลาดคลองถมมา
เห็นปริมาณขยะอิเล็คทรอนิคส์ ซากโทรศัพท์มือถือ กล้องดิจิตอล ฯลฯ แล้วนึกถึงข่าวนี้ขึ้นมาเลย
ขยะลดลงหรือเปล่า ? น่าจะมีการทำวิจัยหรือสถิติอ้างอิงด้วย
EU ตัดสินใจจากอะไรว่าขยะจะลดลง ?
EU ควรคำนึงถึงแบตเสื่อมที่ถูกเปลี่ยนโดยผู้ใช้จะจัดการอย่างไรด้วยไหม ?
ถ้าส่งเข้าศูนย์ฯ แม้หมดประกันแล้วเขาก็รับเปลี่ยนแบตด้วยนี่
แถมจัดการขยะให้ด้วย แต่ราคาอาจจะไม่เป็นมิตรกับผู้ใช้
ถ้าราคาเปลี่ยนแบตที่ศูนย์ฯ ถูกเหมือนเปลี่ยนร้านนอกน่าจะช่วยและทำได้ง่ายกว่าไหม ?
เรื่องเปลี่ยนแบตนี่ผมมองว่า iPhone เนี่ยแหละ เปลี่ยนง่ายสุดแล้วน๊อตสองตัว กาวนิดหน่อย และทุกวันนี้ยังมีคนผลิตแบตใหม่ของ iPhone 5 อยู่เลย ทั้ง Original และ 3rd party แต่ในขณะที่ยี่ห้ออื่นหายากมาก ถ้ามีก็แบตเก่าซึ่งเปลี่ยนไปก็ไม่ได้ช่วยอะไรมากเพราะแบตมันก็แทบจะเสื่อมอยู่แล้ว
มีน้อยยี่ห้อมากที่หลังจากมือถือออกมาเกิน 2 ปีแล้วจะมีอะหลั่ยวางขายทั่วไป แต่ iPhone นี่เพียบ ทั้งแท้ทั้งเทียมมือหนึ่งมือสอง เหมือนอะหลั่ยรถ Toyota บ้านเราเลย
เพิ่งไปเปลี่ยน 4S มาให้คนงาน 700 บาทรวมค่าแรง แต่ของ Android นี่ใช้แล้วทิ้งกันหมดอาจจะจด้วยตัวเครื่องมันราคาถูกอยู่แล้วหรือหาแบตรุ่นเก่าๆยากก็ได้
ยุคนี้เป็นยุคที่ทุกคนกำลังตื่นตัว ตระหนักถึงสภาวะโลกร้อนซึ่งเป็นผลกระทบจากการ Fossil Fuel ซึ่งใช้กันมาหลายร้อยปี นึกภาพย้อนไปเมื่อหลายร้อยปีนั้น ครั้งแรกที่เราเริ่มใช้ Fossil Fuel ก็คงดีใจกับนวัตกรรมกันใหญ่ ไม่ตระหนักถึงผลที่จะตามมาอีกหลายร้อยปีข้างหน้า
ยุคหน้า ไม่ใกล้ไม่ไกล ผมก็ขอทำนายไว้ ว่าผู้คนจะเดือดร้อนจากผลกระทบของการใช้แบตเตอรี่และขยะอิเล็กโทรนิคเหมือนกัน ผมรู้สึกว่าเราย่ำซ้ำรอยเดิมจากเมื่อหลายร้อยปีก่อนโดยไม่รู้จักเรียนรู้จากความผิดพลาด เราดีใจจากการลดใช้พลังงานงาน Fossil ลดการใช้น้ำมัน ลดโลกร้อน ด้วยการแทนที่ทุกสิ่งทุกอย่างด้วยแบตเตอรี่ เหมือนๆกับคนเมื่อ 200 ปีก่อน ที่ดีใจเมื่อสามารถใช้ประโยชน์จากเชื้อเพลิง Fossil ได้ เราดีใจกันใหญ่กับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าทดแทนรถยนต์พลังงานน้ำมัน แต่เราไม่นึกถึงอนาคตที่เราใช้รถยนต์ไฟฟ้าพันล้านคันกับแบตเตอรี่สิบพันล้านก้อน ยังไม่นับแบตเตอรี่ที่ต้องทิ้งอีกกี่พันล้าน
ถ้าอยู่ได้อีก 100-200 ปีเราอาจจะได้เห็นวนลูปของการรักษ์โลกคล้ายๆกับปัจจุบันนี้ในบริบทที่ต่างไป และวนลูปไปเรื่อยๆไม่มีจบ เพราะเราคิดแต่จะเอาตัวรอดจากปัญหาเก่าด้วยสิ่งใหม่ที่เราทำเป็นลืมๆไป ว่าในอนาคตมันก็คือปัญหาเหมือนกัน เพียงเพราะทุกวันนี้มันแก้ปัญหาให้เราได้และมันไม่ได้เดิอดร้อนเรา ปัญหาที่จะเกิดในอนาคตก็เอาไว้ให้ลูกหลานเหลนเราคิดเองในวันหน้าก็แล้วกัน
อ่านดูแล้วผมว่ามันคือเรื่องปกติมากๆ ครับ ในการปรับตัวและเอาตัวรอดของสิ่งมีชีวิต
มันเป็นเรื่องปกติครับ ที่เราจะปรับตัวและเอาตัวรอด ผมไม่ได้บอกนะว่าเราไม่ควรปรับตัว แต่การปรับตัวเราทำได้ด้วยวิธีต่างๆมากมายที่เราจะคิดออก เพียงแต่เราจะเลือกวิธีไหน
ผมรู้สึกละอายใจกับโลก ที่เรามักจะคิดวิธีการที่อ้างว่าเรารักษ์โลก แต่จริงๆเราแค่เลิกทำลายโลกด้วยวิธีเก่า แล้วไปใช้วิธีใหม่เท่านั้นเอง มันจะไม่แย่เลยถ้าเราบอกว่าเราก็ดิ้นรนด้วยวิธีใหม่ๆเฉยๆ แต่พอพูดว่าวิธีใหม่นี้รักษ์โลก ผมว่าเราแอบอ้างเกินไป ผมรู้สึกละอายใจทุกที
ถ้ามีคนย้อนถามผม ผมก็ต้องตอบอย่างหน้าด้านๆ เหมือนกัน ว่าผมก็ไม่รู้จะเสนอวิธีไหนดี ผมเองก็ใช้วิธีเหมือนคนอื่นๆนั่นแหละ เฉพาะผมเองคนเดียวคงไม่มีพลวัตรพอ ได้แต่เก็บความละอายเอาไว้ลึกๆ แล้วใช้ๆชีวิตไปเหมือนคนอื่นๆในสังคม
ไม่รู้ผมมายกประเด็นนี้ในหัวข้อนี้ทำไมนะ ^ ^”
แต่เวลามีเรื่องรักษ์โลกลดขยะอะไรทีไร ผมรู้สึกแบบนี้ตลอด พอดีวันนี้ได้พิมพ์ระบาย ถ้าเพ้อเจ้อก็ขอโทษด้วยนะครับ แหะๆ ^ ^”
คือผมเองมองว่าธรรมชาติมันจะมีหนทางของมันอยู่เสมอครับ สมัยก่อนเราใช้ปรอทใช้สเตียรอยด์ พอรู้ว่ามันมีผลข้างเคียงก็จัดการควบคุม รวมถึงมลพิษต่างๆ ที่แต่ก่อนที่ยังไม่มีใครรู้ผลกระทบ พอรู้แล้วก็หาทางจัดการมันต่อไป มีทั้งที่จัดการได้ดีและแย่ สิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกละอายใจ อาจจะเป็นเพราะคุณมองว่าเรายิ่งใหญ่เราสำคัญกับโลก ซึ่งก็ไม่ผิดนะครับ ดีเสียด้วยซ้ำ และผมเองก็อยากให้มีคนที่คิดแบบนี้เยอะๆ แต่โดยส่วนตัวมองว่าเราไม่ได้เป็นอะไรไปมากกว่าแบคทีเรียที่เกาะผิวโลก ไม่ได้มีความสำคัญอะไรมากขนาดนั้น ถ้าต่อไปเราสูญพันธุ์ โลกก็คงจะอยู่ได้เหมือนเดิมและปรับไปอยู่ในสมดุลได้ตามปกติของโลก
อนาคตอีกไม่ไกลต้นทุนการขนขยะไปทิ้งที่ปล่องภูเขาไฟที่ยังไม่ดับอาจจะปลอดภัยและคุ้มค่าพอที่จะทำแล้วครับ(ไม่ใช่ถูกลงนะแต่เพราะการกำจัดขยะที่เราทำในปัจจุบันต้นทุนมันจะสูงขึ้นมาเทียบเท่าต่างหาก) เพราะลาวาในนั้นยังไงก็เป็นพิษอยู่แล้วตอนพวกนักวิทยาศตร์ไปสำรวจยังต้องใส่ชุดป้องกันเต็มที่ พวกนี้จริงๆก็มาจากแร่ธาตุในดินและแม็กม่าอยู่แล้ว แค่เราเอามาสกัดเข้มข้นขึ้นเท่านั้นตอนเอามาใช้งาน ยังไงมันก็ต้องกลับสู่พื้นดิน ไม่ได้สลายหายไปไหน แค่ว่าเราจะเอาไปทิ้งเอง หรือรอให้มีจังหว่ะที่ลาวาจากภูเขาไฟระเบิดมาท่วมเอง