Bruce Schnier นักวิชาการด้านความเป็นส่วนตัวและความมั่นคงปลอดภัยวิจารณ์ถึงความพยายามทำแอป Contact Tracing ว่าเป็นความพยายามที่ไร้ผล และเกิดจากคนทำงานเทคโนโลยีพยายามทำอะไรสักอย่างแต่ไม่รู้จะทำอะไรในเหตุการณ์เช่นนี้
เขาชี้ว่าแอป Contact Tracing นั้นมีปัญหาทั้ง false positive และ false negative โดยคนที่ยืนห่างกันไม่มากนักแต่บางทีอยู่ใกล้กันอย่างปลอดภัยเช่นคนละฝั่งกำแพง หรือมีเครื่องป้องกันแอปก็อาจจะแจ้งเตือนว่าเข้าใกล้กัน ในขณะที่การส่งต่อโรคบางครั้งไม่ต้องอยู่ใกล้กันโดยตรงเช่นการจามที่อาจจะไปไกลกว่าค่าที่กำหนดไว้
Schnier ชี้ว่าอัตราความผิดพลาดที่สูงจะทำให้ไม่สามารถออกมาตรการหลังจากแอปแจ้งเตือนได้ว่าผู้ได้รับคำเตือนต้องทำอะไรต่อ หากจะกวาดทุกคนมาตรวจแพงเกินไป หรือหากจะสั่งกักตัวก็สร้างความลำบากโดยไม่มีผลแน่ชัด
ที่มา - Schneier on Security
ภาพโดย JESHOOTS-com
Comments
น่าจะมีประโยชน์มากกว่าไม่ทำอะไรเลย
แต่พวกที่ โง่แต่ขยัน นี่สร้างความเสียหายมากสุด นะครับ
เป็นสิ่งที่เป็นจริงทุกยุคทุกสมัย
คนที่พยายามทำแอพ contact tracing นี่ถูกเอาไปเปรียบกับ "คนโง่ที่สร้างความเสียหาย" เลยเหรอครับ?
เห็นด้วยครับ เจอมากับตัวเลย คิดว่าตัวเองทำถูกด้วย
ในที่นี้มีใครรู้ตัวว่าตัวเองโง่บ้างครับ 555
หรือถ้าไม่โง่ก็อาจมีเจตนาแอบแฝงก็เป็นได้ ใส่หมวกฟรอย
คิดผิดไปมากเลยครับ (หลายๆ ปัญหาในชีวิตสามารถแก้ได้ด้วยการ "ไม่ทำอะไรเลย")
ในกรณีนี้เท่านั้นสิ จะโยงปัญหาในขีวิต ทั้งหมดมาเกี่ยวทำไม
+1
logic แบบนี้แหละ ตัวการที่ทำให้มันวุ่นวายมากกว่าเดิม
ถ้าเอาคนโง่มาทำ ไม่ทำอะไรเลยยังจะดีซะกว่า เหมือนประเทศเราทุกวันนี้
logic นี่เลย พวก ขยันในเรื่องโง่ๆมันเลยเต็มสังคมไปหมด
แล้วพอไปวิจารย์ก็จบที่ แล้วคุณทำอะไรบ้าง
หลายแห่งที่พยายามทำกัน ก็มี Agenda แฝงทั้งนั้นแระ
คิดตามแล้วเป็นไปได้
ทุกการกระทำ มีสิ่งที่ต้องแลกและทรัพยากรที่ต้องเสีย
บางครั้งเราเผาผลาญบางอย่างไปอย่างไร้ประโยชน์
อืม
มี false positive - false negative
มันยังดีกว่ามืด 8 ด้าน
เวลาตรวจเจอคนมีเชื้อแล้วไม่รู้จะต้องแจ้งเตือนใครบ้างนะ ?
ก็แจ้งเตือนทุกคนไงครับ ง่ายมาก (เหมือนเจอคนป่วยที่สนามมวย แต่เราแจ้งเตือนผ่าน TV บอกคนทั้งประเทศ)
ถ้ามันลามแค่ระดับ 1,000คน กระจายไปทั่วประเทศนี่
ก็หมดปัญญาประกาศแล้วครับ ?
false positive 3% ก็ทำให้เกิดสถานการณ์เดียวกันแหล่ะครับ
เอาง่ายๆ 1คนติดเชื้อ ยืนที่ป้ายรถเมล์ 3ป้าย (ร่วมกันเกิน 30 นาที)
ก็พันแล้ว
ถ้าพันนั้นไปอยู่บ้าน เกิด 2nd contact ถ้าใครสักคนติด แล้วไปต่างจังหวัด
และถ้านั่นเป็น False Positive
ดีกว่าแจ้งทุกคนเยอะอยู่นะครับ อันนี้พูดถึงในเรื่องการจัดการทรัพยากรด้วย ทั้งบุคคล ทั้งเครื่องมือตรวจ ทั้งสถานที่ และ timeframe
กรณีแบบนี้ไม่ต้องการทำแบบเจาะจง แต่ก็ไม่สามารถทำแบบหว่านแหได้
ถ้าได้แผนภาพคร่าวๆ ก็จะช่วยได้เยอะครับ
ผมมองว่า contact tracing แบบนี้ดูไม่ค่อยมีนัยยะเลย (ภาพทับซ้อนกับ GT200)
False alarm คนจำนวนหมื่นคนแสนคน ก็ไม่ใช่เรื่องดีอยู่ดี
ยิ่งถ้ามองในแง่ของ alarm อย่างเดียวยิ่งไม่เวิร์ค
เอาจริงๆส่วนตัว ในระดับรัฐ ถ้าบัตรประชาชนเป็น Contactless (ซึ่งควรจะเป็นหมดมานานแล้ว ตอนนี้ชิปยังไม่รอดเลย) การเข้าสถานที่ใดๆ ใช้การ์ด sign in / sign out มันก็ควรจะเพียงพอแล้ว
หรือโมเดลกึ่งแอพ (แบบสามย่านมิตรทาวน์) ก็น่าจะพอไหว แต่แอพมันไม่ทั่วถึงทุกคน
ในระดับโลก (ซึ่งเค้าก็ทำกันไปแล้ว) ผมว่า Google Maps/Apple Maps + Location Service ของสองเจ้านี้ก็ Track คนได้พันล้านและ Alert ได้แล้วนะ ละเอียดกว่าแอพทำเอง และดูเป็นผลประโยชน์เชิงรัฐน้อยกว่าด้วยซ้ำ
ผมว่าทางที่ง่ายสุดคือ Operator Log บนมือถือนะครับ เพราะยังไง Cell Site Log ค่ายมือถือก็ต้องเก็บอยู่แล้วโดยบังคับ ... ด่านสุดท้ายตอนตรวจ ยังไงมีหมายเลขโทรศัพท์มือถือเป็นจุดตั้งต้นอยู่แล้ว ก็กระจาย SMS ไปหาคนที่ใช้ Cell Site X (ซึ่งเป็นสถานที่ร่วมกันกับผู้ติด ในระยะเวลา 15-30 นาที) มันก็ควรจะ Cover แล้ว และยังไงระยะการเก็บ Log ตามพรบ.ของ Operator ก็น่าจะต้องเกิน 30 วัน (ระยะตรวจเจอโรค) อยู่แล้ว
สรุปก็คือ contact tracing อ่ะครับ แค่คนละ approach
ผมมองว่า Contact Tracing "App" ในบริบทของบทความนี้มันมีความจำเพาะเจาะจง Approach อยู่นะครับ
ทางที่เสนอไป มีตั้งแต่
- No app (ซึ่งไม่เข้าบริบท)
- รวมไปถึง App เชิงเก็บข้อมูลเชื่อมโยงที่ไม่ได้ Location/Proximity Base ด้วย
หลักๆ ที่พูดถึงคือจุดประสงค์ของการทำ contract tracing หรือแม้จะเป็น approach ที่คุณเสนอมาอ่ะครับ จุดประสงค์หลักคือต้องการวาดจุดตัดเพื่อบีบวงของการค้นหาให้แคบลง เพื่อให้รู้จุดเริ่มต้นของการแพร่เชื้อ และขยายวงกว้างออกไปว่าน่าจะติดมาจากใคร ใครน่าจะติดไปแล้วบ้าง
ต่อให้เป็น 100 เมตรก็ยังดีกว่าไม่รู้อะไรเลย
ซึ่งคุณบอกว่า false positive ทำให้เกิดสถานการณ์ที่สับสน ผมจึงบอกว่าดีกว่าแจ้งทุกคนเยอะ
คุณเลยเสนอ approach อื่นซึ่งมันก็คือ contact tracing อีกแบบ และก็ยังมี false positive อยู่ดี นั่นหมายถึงว่ามันไม่พ้นที่จะเจอเหตุการณ์เดียวกันไม่ว่าจะใช้ approach ไหน, ไม่ว่ามันจะเรียกว่าอะไรครับ
มันเหมือนคุยกันคนละเรื่องเดียวกันนะครับ
Source ของเนื้อข่าวเน้นคำว่า Proximity/Location มาก https://www.schneier.com/blog/archives/2020/05/me_on_covad-19_.html
และถ้าใช้คำว่า 100 เมตรดีกว่าไม่รู้อะไรเลยได้ ก็ไปใช้ Cell site ก็ได้ เพราะว่าการทำ Contact Tracing ด้วยกระบวนการอื่นๆ โดยเฉพาะการลงแอพที่ขอ Permission มากมายก่ายกอง มัน invade privacy ในมิติอื่นเยอะกว่า (โดยไม่ได้ลด ความไม่รู้อะไร ลงเลย)
และต่อให้ 100 เมตรดีกว่าไม่รู้อะไรเลย ... แต่ถ้าไอที่รู้มา ไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่า (ตัดสินใจบนข้อมูลที่ไม่รู้ค่าความจริง) กับตัดสินใจแบบ เราไม่รู้อะไรเลย ผมยังเชื่อเสมอว่าแนวคิดว่าเราไม่รู้อะไรเลย ดีกว่าตัดสินใจบนความรู้ที่ผิด เหมือนรู้ว่าพระอาทิตย์เย็น .. เลยออกมาตรการมาโดยให้ผู้เข้าใกล้ต้องมีระบบทำความร้อนที่ดีพอ .. แต่ความรู้ว่าพระอาทิตย์เย็น มันผิดแต่แรก .. false positive 1 คน กักตัว พันคน โดนล่าแม่มดอีกร้อยคน ... ไม่น่าใช่ความจริง มันไม่มี action ใดๆที่ทำได้จากการเกิดเคสแบบนี้ หรือเกิดแอปแบบนี้เลย
สุดท้ายนี้คือ มุมมองต่อเรื่องนี้ของผมคือ ไม่ได้ต้องทำแอพอะไร และไปใช้บริบทแวดล้อมเอาตามสมควรดีกว่า เพราะไวรัสในเคสนี้มัน infectious มากอยู่แล้ว และการเตือนในระดับวงกว้างก็มากพอแล้ว เพราะทำออกมา action มันก็เกินเหตุไปซะทุกทางหมด แถมยังต้องมา ? กับความโปร่งใสของคนทำ (เพราะแอพจะเก็บได้ทุกอย่างแหล่ะ ถึงปากจะบอกว่าไม่เก็บ แล้วจะเชื่อยังไงดี)
มุมมองของผมคือ
แอพทำเสร็จแล้วในหลายประเทศรวมประเทศไทยครับ ... จะใช้หรือไม่ใช้ ใช้ได้หรือไม่ ก็ไม่เกี่ยวอะไรกับมาตรการที่ควร enforced อย่างรัดกุมแบบที่คุณเสนอครับ ซึ่งผมเห็นด้วยตั้งนานแล้วว่ามาตรการมันควร enforced ให้ดีกว่าที่เป็นมา ตั้งแต่ก่อนจะมีการเสนอระบบ contact tracing แล้วครับ
ระบบไม่ได้บอกว่าคุณต้องทำ หรือไม่ต้องทำอะไร มันเอาไว้วาดจุดตัดเพื่อบีบวงให้แคบลงครับ ในการ enforce มาตรการก็ทำไป อันนั้นต้องเป็นแบบ safety first อยู่แล้ว แต่ในทางสถิติ ในทางวิทยาศาสตร์ และการนำเสนอนั้นมันต้องการข้อมูลพวกนี้มาใช้ต่อๆ ไปได้อีกหลายงานครับ
สรุปสั้นๆ ว่า contact tracing ไม่ได้เป็นตัวบอก หรือบังคับ หรือชี้วัดว่าควร/ไม่ควร enforce มาตรการใดๆ ครับ มี contact tracing ก็ enforce มาตรการแบบสุดโต่งได้ และต่อให้ไม่มี contact tracing ก็ไม่ได้หมายความว่ามาตรการจะถูก enforce อย่างเหมาะสม
ผมเข้าใจว่าที่อเมริกาในตอนนี้ หรือที่ไทยในช่วงก่อนหน้านี้ก็ไม่มี contact tracing นะครับ ... แต่มาตรการก็หละหลวมใช่มั้ยล่ะ
ดูการเกาะเสาของมือถือนี่ในความเป็นจริงนี่จากมากตรงรอยต่อระหว่างเสาซึ่งมันทำให้พลาดจากความเป็นจริงได้เป็นสิบๆ กิโลในบางกรณี
เรื่อง False Positive แค่การตรวจพลาด 40 เคสเมื่อวานนี้สะเทือนแล้วครับ ใหญ่กว่านี้นี่คือพังแน่
I need healing.
อันนี้คนละเรื่องกันครับ false positive ของระบบ กับของชุดตรวจ ต้องแยกจากกันอ่ะครับ เอามาพูดรวมๆ กันแล้วปัญหามันจะดูแย่เกินกว่าจะรับได้นะครับ
ของชุดตรวจ false positive หรือ false negative มันส่งผลโดยตรงต่อคนที่ถูกตรวจเท่านั้น
ในขณะที่ของระบบ contact tracing มันส่งผลต่อคนกลุ่มใหญ่กว่าเยอะ และมันค่อนข้างสุ่มมากกว่าครับ
ถ้าผลมันเกิดการสุ่มเพราะกลุ่มตัวอย่างมันใหญ่ แสดงว่าวิธีการผิดครับ ถ้าได้ผลออกมาไม่ต่างจากการสุ่มเนี่ย
I need healing.
ใช่ครับ แต่เป็นการสุ่มที่จำกัด มีรูปแบบตามปัจจัยที่ Bruce บอกไว้เลย ซึ่งเป็น false positive ของตำแหน่งมือถือขณะนั้นๆ
ผมว่าบางกรณีเรียกว่า false positive ไม่ได้ด้วยซ้ำ น่าจะต้องบอกว่าข้อมูลที่ได้ไม่ละเอียดพอมากกว่า
เช่น ระบบตรวจเจอว่าผมอยู่ใกล้กับผู้ติดเชื้อแบบไม่ถึง 50 ซม. แต่จริงๆ แล้วมีกำแพงกันเอาไว้นั่งพิงกำแพงคนละฝั่ง ในมุมของระบบมันก็ทำงานถูก แต่ถามว่าผมเสี่ยงจะติดแค่ไหนนั่นก็เป็นอีกเรื่อง ซึ่งระบบไม่ได้บอกว่ามีกำแพงกั้น
แต่ผมก็คิดว่ายังไงๆ ผมก็ควรได้รับการแจ้งเตือนครับ แล้วก็เฝ้าดูอาการตัวเองไป 14 วัน หรือจะไปเข้ารับการตรวจเลยก็ได้ ซึ่งตามสถิติของการตรวจที่แย่ที่สุดคือต้องตรวจ 6 ครั้งถึงจะเจอเชื้อ อะไรแบบนี้ครับ
แต่น่าจะดีกว่าการปล่อยผมไปเดินปะปนกับคนอีกส่วนมาก ถ้ามาเจอตอนหลังว่าผมติดเชื้อ และไม่มีระบบ contact tracing อันนี้น่าจะยุ่งกว่าเดิมมาก เพราะไม่รู้ต้องแจ้งใคร และไม่รู้ว่าผมเดินไปทางไหนบ้าง ผมอาจลืมบางสถานที่ว่าผมไปไหนมาบ้างก็ได้
ผมว่าระบบไม่ใช่ปัญหา แต่วิธี sift ข้อมูลนี่ไม่แน่ใจว่าทำได้ดีขนาดไหนครับ
มีคนทำผลงาน โดยการเอาใส่กรอง pm 2.5 ไปใส่ที่หลังคารถโดยสารประจำทางมาแล้ว app ติดตามตัวเก็บ log ครอบจักรวาล 999IQ แบบนี้ ผมเชื่อว่ามีคนพยายาม เสนอเรื่องแน่นอนครับ
ทำไมรู้สึกเหมือนกำลังดูหนัง minority report ในชีวิตจริง
ผมไม่เห็นด้วยกับ Bruce เสียทีเดียว เพราะต่อให้แพทย์นั่งทำ contact tracing เองก็มีความผิดพลาดแบบที่เขาว่ามา
แต่ประเด็นที่ว่า "เจอแล้วไงต่อ" นี่เรื่องจริง ผมมองว่าคนทำแอปไม่ว่าประเทศไหนก็ไม่ได้ไว้ใจแอปของตัวเองขนาดนั้น หลายชาติพยายาม deploy โดยไม่สามารถบอกความแม่น (แม้แต่บอกแบบหยาบๆ) ได้เลย ทำให้ไม่ม่ใครกล้าบอกว่า เจอแล้วไงต่อ ถึงบอกก็บอกกว้างๆ งงๆ
ถ้าคิดว่ามีประโยชน์กว่าจริง คนทำแอปก็ต้องกล้า "จ่าย" เช่น บอกเลยว่าเมื่อได้รับแจ้งเตือนแล้วจะได้ตรวจฟรี แอปแจ้งสถานพยาบาลใกล้เคียงให้ไปตรวจทันที กรณีเช่นนี้รัฐผู้ทำแอปมีค่าใช้จ่าย และต้องประเมินความแม่นยำและความคุ้มค่าของแอปตลอดเวลา รวมถึงต้องรายงานต่อสาธารณะ
พอไม่กล้าบอกมาตรการที่มีค่าใช้จ่าย เพราะตัวเองก็ไม่มั่นใจแอป หลายชาติแนวทางเลยกึ่งบังคับเพราะจะเอาประชาชนไปทดลองไปเรื่อยๆ
lewcpe.com, @wasonliw
เป็นภาพประกอบข่าวที่แสดงการร่วมมือของ 2 บริษัทมี่เกี่ยวข้องได้ชัดเจนมาก
ข้อดี ปัองกันระดับหนึ่ง
ข้อเสีย ไม่มีสิ่งใดบ่งชี้ชัดว่า ผิดจริง และ ผิดระดับไหน
ผลร้ายแรง คือ สัมพันธภาพสัตว์สังคมเปลี่ยน
เจอคนป่วยแล้วใครเป็นกลุ่มเสี่ยงได้บ้าง และผู้ป่วยเดินทางไปไหนมาไหนบ้าง ผมว่าจำเป็นนะ ถึงแม้เก็บได้ 50% ก็เถอะ แต่ก็ยังดีกว่าไปเป่าประกาศง่อยๆ ผ่านทีวีแล้วให้คนที่เจอ คนที่สัมผัส ที่นั่งรถเมล์สายนี้เวลานี้มาตรวจ นั่งรถ BTS สถานีนี้เวลานี้ได้โปรดมาตรวจเถอะขอร้อง ร่วมกันประกาศผ่านสื่อออนไลน์ โดยที่ไม่สามารถตามระบุตัวตนปลายทางได้ว่าใครบ้าง ทำให้คนทั่วไปมานั่งงงต่อว่า กูติดเปล่าวะ กูนั่งสายนี้เวลานี้เปล่าวะ หรือคนป่วยก็ตามก็ต้องมานึกอีกว่านั่งอะไรมาช่วงเวลาไหน ไปแวะซื้อข้าวร้านไหน มีแวะไป 7-11 ไหม ซึ่งไม่มีประสิทธิภาพเลย Human Error บานตะไท ตัวแอพมันขัดแย้งกับความเป็นส่วนตัวก็จริง แต่บางกรณีมันก็มีความจำเป็นต้องทำ
และถึงแม้ทำระบบมาตอนนี้ อาจจะไม่ได้ใช้หรือใช้ไม่ทันแล้ว และไม่คิดหรอว่ามันอาจจะมีโรคระบาดตัวหน้าครั้งหน้าในอีก 3 ปี หรือ 5 ปี และได้ใช้ระบบนี้ในทันทีทันใด
ทั้งนี้ผมเชื่อมั่นว่า Apple กับ Google น่าจะควร implement ตัวนี้เข้าไปใน OS ส่วนเปิดหรือปิดเป็นของฝั่ง User เอง
ส่วนเรื่องว่าเจอแล้วไงต่อแล้วมันเกี่ยวอะไรกับเทคโนโลยีที่ช่วยให้หาเจอว่ามีใครบ้าง กวาดทุกคนที่เกี่ยวข้องมาตรวจแล้วมันเปลืองงบ มันก็เรื่องของการจัดการหลังจากนั้นไหม เกี่ยวอะไรกับเทคโนโลยีที่ช่วยในการชี้เป้าว่ามีความเสี่ยงหรือเปล่า เราไปสัมผัสกับพวกผู้ป่วยไหม อ่านดูแล้วเหมือนออกมาพูดออกมาวิจารณ์โดยไม่แยกแยะ โดยรวมมันไร้ผลก็จริงเพราะมันมีปัจจัยหลายอย่างอีก เช่น การจัดการหลังจากนั้นของรัฐบาลมันห่วยแตก ชุดตรวจ/ยา/งบมีไม่เพียงพอ โน่นนี่นั่น เลยทำให้แอพที่มันมีประสิทธิภาพเนี่ย มันไม่มีประสิทธิผล ใช้งานจริงจังในการยับยั้งโรคระบาดไม่ได้เพราะรัฐห่วย แต่มันก็ห่วยที่รัฐไง ไม่ได้ห่วยที่ระบบแอพ มันห่วยที่ตรงไหนก็ไปแก้ที่ตรงนั้น รัฐนี้ห่วยแต่รัฐอื่นมันอาจจะไม่ห่วยก็ได้ มีมีดเหมือนกัน มีเครื่องปรุงเหมือนกัน ยังทำอาหารออกมาไม่เหมือนกันเลย
ผมคิดว่าคอมเมนต์นี้คือสรุปว่า "แอปน่าจะมีประสิทธิภาพ แม้จะน้อยกว่าคนบ้าง ส่วนที่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรต่อเพราะรัฐห่วยเอง" นะครับ
lewcpe.com, @wasonliw
ผมอ่านได้ว่า
"แอปมีประสิทธิภาพกว่าคน" เพราะไม่มี Human Error
(ลืม จำผิด สับสน ไม่ได้ฟังประกาศ ฯลฯ)
ส่วนการจัดการหลังจากนั้น มันเป็นอีกเรื่อง
ที่ไม่ควรเอามาปนในการประเมินประสิทธิภาพแอป นะครับ
มาอ่านดูอีกรอบ สิ่งที่ Bruce เขียน กลับไม่มีข้อเสนอว่าควรทำอะไรยังไง มีแต่บอกว่า approach มันไม่ perfect ไม่ได้ติ ไม่ได้ตำหนิ แค่อยากฟังความเห็นอื่นบ้าง
มันไม่ใช่หน้าที่ของเขานี่ครับ หรืออีกนัยยะหนึ่งคือ "ไม่ต้องทำ" นั่นแหละดีแล้ว
I need healing.
บล็อกนันก็ไม่ใช่หน้าที่ว่าจะต้องเข้ามาดู ไม่ใช่หน้าที่ว่าจะต้องคอมเมนท์นี่ครับ
และมันก็ไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของ Bruce ด้วยที่จะให้ความเห็นกับระบบใดๆ หรือคุณคิดว่ามีใครจ้างเค้าอ่ะครับ?
เราจะบอกว่าอันไหนควร/ไม่ควรทำ เพราะเป็นหน้าที่/ไม่ใช่หน้าที่ไม่ได้หรอกครับ ที่สำคัญคือผมไม่ได้บอกว่า "ต้องทำ" ด้วย ผมเขียนไว้รัดกุมแล้วเพราะเชื่อว่าจะมีเม้นแบบนี้นี่แหละ
?
ลืมไปว่าสำหรับ founder กับ writer ประจำ ยังไงก็ต้องเข้ามาดูเพราะเป็นหน้าที่แฮะ
ขาดแต่ Mr.Fusion
?
น่าจะ panic กันเกินไปกรณีที่ มัน False Positive เสี่ยง เหมือนอารมณ์ไปจับคนบริสุทธิ์ทั้งๆ ที่ยังไม่ผิด โดนประนามโดนล่าแม่มดได้
กะแล้วเรื่องแบบนี้ต้องมีคนความเห็นไม่ตรงกัน
แต่สำหรับผม ผมคิดว่า การมีระบบนี้ ดีกว่าไม่มี และไม่ใช่ เป็นการเทียบเคียงกับ "คนโง่แต่ขยัน" ด้วย
ผมเคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตามหา เคสที่มีความเสี่ยงในจังหวัดหนึ่ง ไม่ง่ายครับที่จะ "เรียก" คน Closed contact มาตรวจ
เพราะ index case
1.โกหก
2.จำสถานที่ ที่ตัวเองไปไม่ได้
3.บอกเที่ยวบินได้ แต่.... เที่ยวบินนั้น ไม่มีอยู่จริง
4.จังหวัดประกาศว่าใครที่นั่งเครื่องบินลำนั้นให้มาตรวจ แต่ ... คนส่วนมากไม่เห็นประกาศ แถม คนที่เห็นประกาศก็บอกว่าตัวเองไม่ได้นั่ง (เพราะผิดตั้งแต่เลขเที่ยวบินแล้ว)
ผมว่ามีระบบ tracing นี้ ดีกว่าไม่มีครับ
program มันไม่เคยโกหก ไม่เคยลืม และ connect ได้เสมอเมื่อต้องการ
ถ้าใครรู้การทำงานจริง แม้ alert แล้ว มันไม่ได้แจ้งข้อมูลให้รัฐหรือองค์กรไหนๆเลยนะครับ มีแค่เราที่เป็นเจ้าของมือถือ ที่ได้รับแจ้ง ดังนั้นสิทธิ์ความเป็นส่วนตัว มีเต็ม 100 แน่นอนครับ
Google location log ไม่สามารถทำได้กรณีนี้ เพราะแทบจะเป็นการเข้าถึงสิทธิความเป็นส่วนตัว ที่หลายๆคนไม่อยากเปิดเผยครับ (แม้กระทั่งให้ google เอง)
+1 หน้างานเหนื่อย เจอปัญหาสารพัด
ส่วนชาวเน็ตวิจารณ์กันสนุกปาก แต่พอให้เสนอทางแก้ดันบอก "ไม่ใช่หน้าที่"
+100
ตอนเพิ่งเริ่มแพร่ พยายามตามตัวกัน แต่ผลที่ได้เละเทะมาก
ขนาดเคสแค่หลักสิบยังเละขนาดนี้
ถ้าเป็น wave2 หลัก 100 กระจายไปทั่วแล้วไม่มี app แบบนี้คงหมดสิทธิตามตัว
แต่เพราะตัวเลขผู้ป่วยใหม่ตอนนี้เป็น 0
อารมณ์จะให้ความร่วมมือของสังคมเลยไม่มี
ขนาดหน้ากาก บางคนยังเริ่มไม่ใส่กันบ้างแล้ว