หลังทวิตเตอร์ประกาศมาตรการ พนักงานสามารถทำงานที่บ้านได้ยาวๆ แม้จะหมด COVID-19 แล้วก็ตาม Satya Nadella ซีอีโอไมโครซอฟท์ ก็แสดงความเห็นว่า การทำงานที่บ้านถาวรไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตคนทำงาน ทำลายปฏิสัมพันธ์ทางสังคมหรือ social interaction
Satya ยังบอกด้วยว่า การประชุมวิดีโอคอลก็ไม่สามารถทดแทนการประชุมแบบเจอกันต่อหน้าได้ เพราะเราไม่ได้สื่อสารกับคนที่เรานั่งอยู่ข้างๆได้เหมือนตอนประชุมแบบเจอกัน และบางครั้งเขาก็รู้สึกว่ามันเป็นการทำลายต้นทุนทางสังคมที่เราสร้างกันมา
ในขณะที่บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่อื่นๆ อย่าง Google, Facebook ให้พนักงานทำงานที่บ้านยาวๆ ถึงสิ้นปี 2020 ส่วนไมโครซอฟท์ยืดเวลาให้สูงสุดถึงแค่เดือนตุลาคมนี้เท่านั้น
ที่มา - The Times of India
Comments
เห็นด้วยครับ จนกว่าจะมีมาตรการที่ทำให้ผ่อนคลายได้เหมือนอยู่ที่ออฟฟิศ
เสียสุขภาพจิตตรงคอลแล้วคนแย่งกันพูด หยุดพร้อมกัน แล้วแย่งกันพูดใหม่ นี่ล่ะครับ...
จะว่าไปก็จริงนะ บริษัทน่าจะเพิ่มวัน work From Home สัก 1 วันเข้าที่ทำงาน 4 วันน่าจะกำลังดี
คิดเหมือนกันเลย ก่อนหน้านี้ก็คิดว่า นี่ลองซ้อม WFH มาซักพักแล้ว และก็ดูโอเคอยู่ ถ้าสมมติโควิดหายไปแล้ว บริษัทบอกว่าต่อไปนี้ให้ WFH ได้อาทิตย์ละวันก็ดีเลย ถ้ามองในแง่คุณภาพชีวิต(และความเป็นจริงว่า บางวันที่ไม่ได้มี meeting อะไรเราก็ทำงานอยู่บ้านได้ โดยที่ productivity ไม่ต่างกัน แถมมีสมาธิมากกว่าอีก)
แต่เอาเข้าจริงกลายเป็นว่าบางบริษัทนี่บอกว่าหลังจากนี้ใครขอ WFH ก็ต้องลดเงินเดือนด้วย เป็นงั้นไป
ยิ่งเป็นฟรีแลนซ์นี่เสียทั้งสุขภาพจิตทั้งสุขภาพกายอย่างรวดเร็วเลยครับ ทำงานไม่เป็นเวลาเลย
ดูข่าวคนที่ต่อคิวใช้บีทีเอสแล้วเครียดแทนคนที่ต้องเข้าออฟฟิสเลย ตัวผมกลัวเสียเวลามากกว่ากลัว COVID-19 อยู่เยอะนะ
ในกรุงเทพนี่แทบไม่มีตัวเลือกเลย นั่งรถเมล์ก็รถติด ขับรถเองก็รถติด เจอสภาพบีทีเอสที่กะเวลาไม่ได้อีก สงสัยต้องพิจารณามอเตอร์ไซค์ ไม่ก็สกูตเตอร์ไฟฟ้า
ถ้าให้เข้าออฟฟิสตอนนี้คงเครียดอ่ะ
ผมว่าเขาน่าจะหมายถึงบริบทใน "สถานการณ์ปกติ" น่ะครับ
ถ้าตอนนี้ ผมก็ว่ายังค่อนข้างจำเป็น เพราะการ social distance กับการขนส่งสาธารณะที่ยังจำกัดแบบนี้ มันก็ลำบาก
แต่พอหมด COVID-19 แล้ว เห็นคนชอบพูดกันว่า new normal คือต่อไปการทำงานที่บ้าน จะเป็นเรื่องปกติ แต่คุณ Satya เขาก็มองว่ามันไม่ควรเป็นเรื่องปกติ ซึ่งผมก็เห็นด้วยส่วนนึง
ที่ไม่เห็นด้วยคือ ที่สุขภาพจิตมันแย่ ไม่ใช่เพราะทำงานที่บ้านอย่างเดียว แต่เพราะมันออกไปไหนไม่ได้ด้วยมากกว่า
คือถ้าทำงานที่บ้าน ในสถานการณ์ปกติ ที่ไปไหนมาไหนได้โดยไม่ต้องระวัง ระแวง สำหรับบางคนอทาจจะไม่รู้สึกอีดอัดก็ได้ แม้ไม่เจอเพื่อนร่วมงานเลยก็ตาม
แต่ส่วนตัวผมก็ยังอยากเจอเพื่อนร่วมงานอยู่นะ
สำหรับผม ทำงานที่บ้านดีต่อสุขภาพจิตมากครับ สิ่งที่ทำให้ดีต่อสุขภาพจิตก็ตรงข้ามกับที่สัตยาบอกมาเกือบทั้งหมด
+1 ผมทำ WFH มาสองปีแล้วไม่เห็นเป็นอย่างงั้นเลย แถมสุขภาพจิตดีอีกต่างหาก แต่อย่างว่ามันไม่ใช่ทุกคนที่มีความคิดแบบนั้น
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
ถ้าเกิดระยะทางค่อนข้างไกล มอเตอร์ไซค์กับจักรยาน สะดวกสุดครับ
ส่วน Scooter ไฟฟ้า ไม่เกิน 10 โลพอไหว
มาใช้จักรยานไปทำงานกันเถอะ มันดีจริงง ๆ นะ
ในกทม.ผมว่าอันตรายมากครับ โดยเฉพาะในช่วงที่ค่า PM2.5 ขึ้นสูงๆ ยิ่งอันตรายต่อปอดระยะยาวเลย
นี่ไม่นับรวมว่ารถเมล์ปาดจากขวาสุดมาซ้ายสุด, สองแถว, มอไซค์รับจ้าง เดี๋ยวนี้พวก delivery อย่าง Grab, Lineman, Foodpanda ก็ขับห่วยมากนะครับ จักรยานนี่ขอเป็นชาติหน้าตอนผมไปเกิดยุโรป หรือนิวซีแลนด์ละกัน
เจอข้ามคลองแล้วสะพานไม่มีทางเดินนี่คือเสียวโดนรถสอยมากครับ ให้อ้อมไปใต้สะพานนี่ผ่านสลัมกลัวโดนดักปล้นจักรยานมากกว่าตัวเองอีก
ผมปั่นประจำยังชวนคนอื่นแบบเกร็งๆ เลยครับ ปั่นเองเลยรู้ดีว่าอันตรายแค่ไหนนี่แหละเลยชวนแบบขำๆ แต่ถ้าใครสนใจก็จะเตือนย้ำๆ ไปก่อน
แต่ดีกว่าจริงๆ แหละครับ ที่ทำงานเกือบ 40 กม. ผมซื้อรถยนต์เพื่อไป-กลับที่ทำงานโดยเฉพาะ สุดท้ายพอหาจังหวะอากาศดี (แบบค่าฝุ่นต่ำๆ ร้อนไม่เป็นไร) ก็ปั่นจักรยานไปอยู่ดี
จักรยานไฟฟ้าหรือเปล่าครับ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
จักรยานธรรมดานี่แหละครับ
แต่ก็จริง มันก็อันตรายจริง ๆ ต้องมีสติระมัดระวังตัวตลอดเวลา
แล้วก็ต้องศึกษาเส้นทาง แล้วก็ต้องดูเส้นทางที่เราต้องไปด้วยว่ามันไปได้จริงหรือเปล่า
แต่ถ้าเกิดทุกอย่างโอเค มันก็สะดวกมาก ๆ เลยนะครับ
ขนาดผมเปลี่ยนจากมอไซค์มาปั่นจักรยาน ยังรู้สึกว่ามันสบายกว่าเยอะมาก ๆ
เพราะมอไซค์มันก็มีจุดทีแทรกไม่ได้เยอะมาก
แต่จักรยานไปได้หมดทุกที่ ยกข้ามสะพานลอยยังได้เลย
2 ปีที่ผ่านมา นอกจากเรื่อง PM2.5 แล้วผมแทบไม่ห่วงอะไรมากครับ ปกติเดินธรรมดาผมยังแทบจะหายใจไม่ได้ เพราะเป็นโรคภูมิแพ้
ถ้าต้องปั่นจักรยานด้วยคงอาการหนักกว่าเดิม
อยากเห็นเมืองไทยเป็นเมืองแห่งจักรยานมาก แต่คงต้องฝันไปอีกหลายสิบปี(หรือร้อย?55) ฮือๆ ผมนับถือคนที่ปั่นจักรยานไปทำงานเลย อุดมการณ์กล้าแกร่งมาก กล้าเสี่ยงชีวิตกับการจราจร(และอากาศ)บ้าๆ ในประเทศนี้
เห็นด้วยกับ Satya รู้สึกว่าการไม่ได้พบปะคนจริงๆ ทำให้เราสื่อสารได้ไม่เต็มที่ เพราะเราจะสื่อสารได้ไม่เหมือนกันซะทีเดียว และความคิดสร้างสรรค์ก็อาจเกิดจากการสื่อสารด้วย
ใน กทม. ปัจจุบัน ผมว่าปัญหาการเดินทางจะหนักกว่า Covid แล้ว
หลังจบโควิด ถ้านำเอาทั้ง 2 แบบมาผสมผสานกัน น่าจะหาจุดที่ลงตัวได้นะผมว่า ตอนนี้บริษัทและคนทำงานได้เห็นข้อดีและข้อเสียของทั้ง 2 แบบแล้ว
..: เรื่อยไป
เห็นด้วย แม้จะสบายไม่ต้องฝ่ารถติดไป แต่อื่นๆเครียดกว่าเดิมหมด
แต่อนาคต แบบข้างบนว่า WFH 1 วัน 4 วันเข้า office ก็น่าจะดี แต่อาจจะลำบากสำหรับคนจบใหม่ ที่พักที่ไม่เหมาะกับการทำ WFH (การจัดสถานที่ทำงานในที่พักก็มีต้นทุนสูงนะครับ คงไม่มีใครนอนทำงานบนเตียง 8 ชั่วโมงได้ อาจจะยกเว้นงานเฉพาะด้าน)
"งานเฉพาะด้าน" :D
รับจ้างวิจัยการนอนไงครับ ที่เคยมีข่าว
ใจบาปไปหมด...
ของผมขอ WFH ซัก 2 วัน (จ กับ ศ) ไป office 3 วัน(อ พ พฤ) ก็ ok ละ
เห็นด้วย แต่ไม่ทั้งหมด
ทั้งนี้ก็ควรเป็นตัวเลือกได้
เพราะชนกลุ่มน้อย ก็ไม่คิดแบบท่าน
บางกลุ่มก็ชอบ Remote working
บ.ใหญ่ น่าจะกลัวปัญหาอื่นๆด้วย เช่น
ความปลอดภัย, ความลับ, code หลุดง่ายกว่าเครื่องอยู่ออฟฟิศ
แต่ บ.เล็กๆ , ฟรีแลนซ์ , Gig Economy คงไปต่อ
เพราะลดต้นทุนได้
ผมว่าถ้าคุณ Satya มาขับรถติดบ้าเลือดที่ถนนลาดพร้าว แล้วไปอัดเป็นปลากระป๋องใน MRT, BTS หรือ ยืนรอ รถเมล์ รถตู้ เพื่อเข้าไปอัดกันจนหายใจแทบไม่ออก ซักเดือนแบบที่ชาว กทม. แท้ๆ ต้องเจอกัน ท่านก็จะรู้เองว่า ไอ้ WFH นี่มันลดอาการประสาทแหลก เรื่องการเดินทางได้โครตสะใจเลยนะครั๊บ
พา satya มาแบบนั้นสักเดือน satya บอก wfh เถอะครับ ห้าๆๆ
ผมก็ทำงานใกล้ๆ 5 แยกลาดพร้าวนะครับ ผม WFH นานๆ เครียดกว่าไปทำงานนะ แบ่งๆ WFH บ้าง Office บ้างน่าจะกำลังดีสำหรับผม
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
จริงๆ ทำเป็น new normal ทำงาน จ อ พฤ ศ แล้ววันพุธอยู่บ้านแทนจะดีกว่านะ
ไม่รู้ผมเป็นคนเดียวหรือเปล่านะครับ แต่ WFH แล้วรู้สึกขี้เกียจกว่าเข้าออฟฟิศ
เดี๋ยวก็แวะไปเปิดตู้เย็น เดี๋ยวก็แว้บออกไปเดินเล่นหน้าบ้าน
สลับกะกันทำงาน/WFH ก็ดีนะครับ บาลานซ์ดี ลดจำนวนคนออกจากบ้านด้วย
ปล่อยมาพร้อมกันนี่ไม่ไหว รถก็ติด ขนส่งสาธารณะก็ติดไปหมด
ผมเห็นด้วยนะ ขนาดงานของผมที่สามารถ remote ได้ 100% กว่าสาขาอาชีพอื่น ยังรู้สึกว่าไม่ควร WFH ถาวรเลย
ทั้งทัศนคติ เส้นแบ่งทางจิต การรับรู้ในสมองถึงเวลาพักผ่อนและการทำงาน
มนุษย์เรามี trigger ที่ติดกับสถานที่ในจิตใต้สำนึกพอสมควร
ยังไม่รวมถึงสังคมและความสัมพันธ์ที่จะทำให้จิตใต้สำนึกตระหนักว่าเรากำลังร่วมมือกับมนุษย์จริงๆที่มีเลือดเนื้อเผ่าพันธ์จิตใจเหมือนกับเรา
จะให้ดีควรหาความสมดุลกับทั้ง 2 แบบ
โดยดึงเอาข้อดีของทั้งคู่มาบาลานซ์กันให้ได้ ซึ่งต้องใช้เวลาให้มนุษย์ได้เรียนรู้ก่อน
จริง ผมอยากให้ Balance มาก อาจจะไม่ต้อง WFH ปรับแค่ช่วงเวลาเพื่อไม่ให้มีปัญหาด้านการเดินทางก็ได้
เช่น
- WFH ครึ่งวันนะ ค่อยมาทำงานบ่าย หรือมาช่วงเช้า บ่ายกลับไปทำที่บ้าน
- อาจจะทำงาน Office 4 WFH 1 หรือ 3:2 แล้วแต่ว่าแบบไหนเหมาะสม ผมว่าเวิร์คนะ
งานส่วนที่ทำเองคนเดียวได้ WFH ก็มีสมาธิดี แต่ถ้าต้องติดต่อกับคนอื่นบ่อยๆ แล้ว vdo call เอา โทรศัพท์ chat ส่งเมลเยอะๆ พวกนี้ผมว่า WFH ถาวรไม่ work ชั่วคราวพอได้
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
แล้วแต่สภาพที่อยู่ด้วยนะ ถ้าอยู่บ้านผมโอเคนะ แต่นี่อยู่หอ เบื่อออออมากกกกกก จะออกไปตากลมระเบียงก็ร้อน อยู่ออฟฟิตยังได้เดินไปมา โต๊ะคนโ้น้นทีคนนี้ที อยากกลับไปออฟฟิตมาก
อยู่บ้านจะทำงานก็โดนคนในบ้านใช้ให้ไปหยิบโน่นนี่นั่น ยังไม่พอเปิดทีวีเสียงดังใส่อีก รำคาญ
อันนี้ต้องคุยกัน(ดีๆ)ให้เข้าใจครับ ส่วนเสียงรบกวนนี่ Noise Cancelling Headphone (หรือแม้แต่ earmuff กันเสียงอันโตๆ) ช่วยท่านได้จริงๆ นะ
อยากให้ wtf โดยสลับสัปดาห์เว้นสัปดาห์ น่าจะกำลังดี
wtf ย่อจากคำว่าอะไรหรอครับ
wfh ครับ
(edit ไม่ได้ด้วย)
ของผมพึ่งได้กลับเข้าออฟฟิศสัปดาห์นี้จากที่ wfh มาเดือนครึ่งได้ ด้วยเนื้องานมัน wfh พอได้ครับ แต่พอนานๆไปก็ไม่ไหวเหมือนกัน คุยงานกันลำบาก กลายเป็นคุยกันเยอะกว่าอยู่ออฟฟิศอีกเพราะบางทีประชุมแล้วไม่จบ หรือมีเรื่องงอกมานิดๆหน่อยๆก็กลัวจะไม่ทัน ต้องโทรแจ้งไว้ก่อน
จริงๆถ้าจะเน้นให้ได้ประสิทธิภาพในการทำงานมากที่สุด ผมว่าต้องดูตาม case ไป งานบางอย่าง work from home ได้ งานบางอย่างเจอกันแก้ไขได้ดีกว่า จะเหมารวมไปอย่างเดียวหมดก็ไม่ดีเท่าที่ควร
ตัวอย่างนึง (ที่อาจจะนอกเรื่องไปนิด แต่ผมว่ามันเอามาเป็นตัวอย่างได้) ที่ผมชอบ คือ flipped classroom ที่ให้การสอน lecture ในห้องเรียนเป็นการเรียนจากที่บ้าน(online, vdo ก็ว่าไป) เพราะเป็น task ที่นักเรียนต้องเข้าใจเป็น base ก่อนทั้งหมด และถ้าเป็น vdo จะดูซ้ำกี่รอบก็ได้ กี่โมงก็ได้ ขอให้ดู ให้เข้าใจ ส่วนเรื่องการบ้าน การแก้ไขโจทย์ ปัญหา เอามาในห้องเรียนให้ถกเถียงกัน ช่วยเหลือกัน หรือถ้าไม่เข้าใจเนื้อหา vdo ก็คุยกัน ก็จะเกิดประสิทธิภาพในการเข้าใจวิชานั้นๆมากกว่า รวมไปถึงอาจจะทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ๆได้ด้วย
แต่ส่วนเรื่องปัจจัยอื่นในการ work from home เช่น คนในบ้าน สภาพแวดล้อมในบ้าน/รอบบ้าน อันนี้ก็ต้องมาจัดการ/ตกลงกันอีกทีน่ะครับ ว่าแบบไหนลงตัวมากกว่ากัน เพราะต้องเข้าใจว่า ตอนนี้ทำงานอยู่ รวมไปถึงการ work-life balance จะจัดการยังไง อันนี้ผมว่าก็เหมือน/คล้ายเวลาเลิกงาน เรายังแบกงานมาทำอยู่ไหม? แบบนี้น่ะครับ
flipped classroom นี่เหมือนหลักที่คนที่เขาเรียนเก่งๆ(ป.ล.ไม่ใช่ผม) ใช้กันเลยครับ คือก่อนเข้าคลาาส คนเรียนควรอ่านมาก่อนซักรอบ พอมาฟังครูสอนก็จะเข้าใจได้เร็วว่าครูพูดถึงอะไร ก็จะเข้าใจลึกซึ้งขึ้น หรือคิดต่อยอดไปได้เลย แต่วิธีการเรียนคนส่วนใหญ่เราเป็นแบบ..มาแบบหัวโล่งๆ แบบว่างเปล่าเลย เป็นฝ่ายรอรับอย่างเดียว
เสียดาย ตอนสมัยเรียนไม่เคยมีใครสอนเทคนิคการเรียนต่างๆ อะไรแบบนี้ให้เราเลย มารู้ก็ตอนเรียนจบไปแล้ว ไม่รู้เดี๋ยวนี้เป็นไงมั่ง
จากคน WFH มาหลายปีแล้ว ช่วงแรกๆ ค่อนข้างจะมีปัญหา พอเรา WFH แต่คนอื่นทำงาน Office ทำให้การสื่อสารค่อนข้างลำบาก รวมถึงรายละเอียดอื่นๆ ตามที่ Satya Nadella เจอเลย แต่หลังๆ ใช้วิธีจ้างคนมาบริหารแทน แล้วคุยกับคนที่เราจ้างมาบริหารเป็นหลักเวลาเขามีปัญหา ก็เลยลดปัญหาไปได้เยอะ เพราะเขาก็อยู่ Office ด้วยกัน เลยรู้ปัญหามากกว่าเรา จัดการปัญหาได้ทันเหตุการณ์มากกว่า ปัญหาเลยไม่มี แต่ก็ต้องไว้วางใจกันขั้นที่สุด เพราะให้เขาเซ็นต์เช็ค และเป็นผู้มีอำนาจลงนามด้วย ไม่งั้นไม่จบ flow แต่สิ่งที่ได้มาคือเวลาที่เราจะไปเริ่ม Project ใหม่ๆ ได้
แต่ใช่ว่าจะไม่มีข้อเสีย ส่งข้อความหรือโทรมาเมื่อไหร่ก็หลอนทุกที แสดงว่าปัญหาเกินเขาจะรับมือ มาทีนึงฟังตัวเลขแล้วก็สยอง เพราะบางงานประสบการณ์ หรือความเก๋า ถึงจะแก้ไขได้