Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

จีนประกาศความสำเร็จในการตรวจ COVID-19 ให้กับประชากรเมืองอู่ฮั่น รวม 9.89 ล้านคน โดยระบุว่าเป็นมาตรการป้องกันการระบาดรอบที่สอง หลังจากเมืองอู่ฮั่นต้องปิดการเดินทางเข้าออกและการเดินทางในเมืองไปนานนับเดือน และพบผู้ติดเชื้อโดยไม่แสดงอาการรวม 300 คน

กระบวนการตรวจหาเชื้ออาศัยเทคนิค pool testing ที่อาศัยการรวมตัวอย่างจากหลายๆ คนเข้าตรวจเชื้อพร้อมๆ กัน หากหลอดตัวอย่างใดพบเชื้อก็จะตรวจตัวอย่างรายคนซ้ำ ขณะที่หลอดตัวอย่างที่ไม่พบเชื้อจะถือว่าทุกคนในกลุ่มไม่พบเชื้อได้เลยทั้งหมด โดยทางการจีนไม่ได้เปิดเผยว่าการตรวจคนมากถึงสิบล้านคนเช่นนี้มีการรวมตัวอย่างทีละกี่คน

แนวทางการรวมตัวอย่างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจเป็นวงกว้างนี้ สสวท เคยเสนอไว้ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่าน

ที่มา - CGTN

No Description

Get latest news from Blognone

Comments

By: Floating Rotten Dog
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 5 June 2020 - 06:56 #1161365
Floating Rotten Dog's picture

หัวเรื่อง “อู่ฮั๋น” —> “อู่ฮั่น” ครับ

By: gololo
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 5 June 2020 - 07:35 #1161367

300 คนเป็นภาหะนำเชื้อไม่มีอาการ ข่าววันก่อนลงหาดกันใส่แมสน้อยมากเหลือแค่รอเวลาที่จะระบาดรอบสอง แค่รออีก 14วันถึงจะรู้สินะ

By: paween_a
Android
on 5 June 2020 - 08:54 #1161377
paween_a's picture

เทคนิคเดียวกับการ QC สินค้าใช่ไหมครับเนี่ย แต่ก็ดูมีประสิทธิภาพในระดับหนึ่งนะ

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 5 June 2020 - 08:57 #1161378

pool testing นี่มันตรวจรวมๆ เลยใช้ตัวเลขแบบเหมารวมได้สินะ ที่ว่าตรวจสิบล้านคน หารสิบก็เหลือล้านเดียว เห็นในซินหัว เอาตัวเลขมาข่มเมกา ที่เขาตรวจ pcr/rapid test รายคนจนทะลุ 11ล้านอยู่ ตลกดี

ป.ล.วิธีตรวจแบบสุ่มจะได้ผลต่อเมื่อคาดว่ามีผู้ติดเชื้อจำนวนน้อยมาก ไม่เช่นนั้น จะทำให้เสียเวลามากกว่า การไล่ตรวจทุกคน(เพราะมีช่วงรอผลของแต่ละกลุ่มเพื่อตรวจรายคนซ้ำ)

By: spicydog
ContributoriPhoneAndroidUbuntu
on 5 June 2020 - 10:16 #1161397 Reply to:1161378
spicydog's picture

ผมเข้าใจว่านี่ไม่ใช่การสุ่มตรวจ ถ้าเข้าใจผิดโปรดชี้แจง จากที่อ่านคือการตรวจทุกคนนะครับ แต่แทนที่จะตรวจและแยกบันทึกผลทีละคน ก็ใช้การใช้ตรวจเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ทุกคนเลย เช่น ชมชนนี้มี 1000 คน ก็ตรวจไปเลยรวดเดียวทั้งหมดแบบเป็น chuck แล้วเอาหลอดทดลองไปเช็ครวดเดียว เพื่อที่จะได้ไม่ต้องกังวลหลอดของใคร ถ้าพบว่าไม่มีคนไหนในกลุ่มติดเชื้อ ก็คือทั้งกลุ่มนั้นปลอดภัยทั้งกลุ่ม แต่ถ้ามีแม้แต่คนเดียว ค่อยเลือกลงไปตรวจเป็นรายคน ทีนี้ก็ค่อยตรวจหาอย่างละเอียดตามปรกติ ผมอ่านแล้วนึกถึง map reduce บน hadoop เลยทีเดียว


SPICYDOG's Blog

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 5 June 2020 - 10:30 #1161402 Reply to:1161397

การ pool test ก็ไม่ต่างจากการสุ่มตรวจอยู่ดีครับ เพราะเทตัวอย่างรวมกันตรวจ ถ้าเจอว่ากลุ่มไหนมีปัญหา ก็ต้อง มาตรวจซ้ำทีละคนอีกครั้ง เพื่อหาว่า ใครที่ติดเชื่้อกันแน่ ตรงนี้จะเกิด delay time ที่ซ้ำซ้อนครับ

วิธีนี้มันจะได้ประสิทธิภาพดีต่อเมื่อ เกิดคนติดเชื้อจำนวนน้อยมากๆครับ(จะมีกลุ่มคนโดนตรวจซ้ำน้อย) ถ้ามีคนติดเชื้อเยอะ จะกลายเป็นต้องตรวจซ้ำทุกคนมากกว่าปกติ แม้จะเป็นคนที่ไม่ติดเชื้อ เสียเวลามากกว่าการตรวจรายคนตั้งแต่แรกด้วยซ้ำ(เพราะกลายเป็นต้องเก็บตัวอย่างสองรอบต่อคน)

อีกประเด็นคือ สื่อหลักจีนเช่นซินหัว นำจำนวน(ที่เทรวม)ไปอ้างข่มชาติอื่น ว่ามีความสามารถตรวจได้เยอะกว่าในเวลาสั้นกว่า ซึ่งที่จริงเป็นการเทียบที่ไม่ตรง เพราะชาติอื่นเขานับจากการตรวจรายคน ไม่ใช่การตรวจแบบเทรวมกันแบบนี้

By: icez
ContributoriPhoneAndroidRed Hat
on 5 June 2020 - 10:42 #1161404 Reply to:1161402

ก็ถ้าเทรวมแล้วไม่เจอเชื้อเลย ก็แปลว่าในกลุ่มนั้นไม่มีใครมีเชื้อ ก็ถูกแล้วนี่ครับ ตรวจแยกไปก็ไม่เจออยู่ดี นับรวมกันไปก็ไม่มีปัญหานี่ครับ

ไม่งั้นจะให้ตรวจแยกรายคนทุกเคสสิบล้านเคส นอกจากน้ำยาตรวจจะไม่พอแล้วเกรงว่าอุปกรณ์ lab จะพังก่อนไปซะอีก

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 5 June 2020 - 11:08 #1161414 Reply to:1161404

ประเด็นมันคือ sampling technique โดยพื้นฐานนั่นแหละครับ ซึ่งการนำมาใช้ มันมีเงื่อนไขเฉพาะ

อย่างกรณีนี้ถ้าเรารู้ว่าประชากรนั้น มีส่วนน้อยมากที่ติด ก็ได้ผลดีไงครับ แต่วิธีนี้จะทำได้ผลดีต่อเมื่อ flatten curve เรียบร้อยแล้วเป็นส่วนขาลงแล้ว เพราะถ้าใช้ตั้งแต่การเริ่มต้นการระบาด จะกลายเป็นเสียเวลาตรวจซ้ำเยอะกว่าปกติ(และไม่ควรทำ)

เรื่องเทรวมแล้วไม่เจอ เลยนับเลขรวมไปน่ะได้ครับ แต่การเอาไปบลัฟว่า เทรวมตรวจไม่กี่หน(เผลอๆรวมกัน ร้อยเทสพันเทส ต่อการตรวจ 1ครั้ง) คือการแสดงว่าจีนเก่งมากตรวจคนได้สิบล้านคนเร็วกว่าประเทศอื่น อันนี้แหละ คือการเล่นคำ โดยเฉพาะว่าสื่อจีนไม่ค่อยบอกรายละเอียดตรงนี้ (ถ้าอ่านซินหัวมาก่อนจะเข้าใจประเด็นเรื่องการเล่นคำ พี่แกย้ำเรื่องตรวจได้เร็วกว่าประเทศอื่นหลายข่าวละ)

ส่วนแยกตรวจรายคนสิบล้านtest ก็มีคนทำได้แล้วครับ คือสหรัฐอเมริกาไง ตอนนี้ 19ล้านtest ไปละ https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/cases-updates/testing-in-us.html

ป.ล. ตอนนี้ไทยทั้งประเทศมีกำลังตรวจแบบ pcr มากกว่าจีนช่วงแรกของการระบาดที่อู่ฮั่นเสียอีกครับ(จีนช่วงนั้น ตรวจได้ 2พันtest case ส่วนไทยตอนนี้สูงสุดวันละ 2 หมื่น test case)

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 5 June 2020 - 11:17 #1161416 Reply to:1161414
lew's picture

โดยพื้นฐานนี่พื้นฐานอะไรอ่ะครับ การ sampling มีโอกาสหลุด positive


lewcpe.com, @wasonliw

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 5 June 2020 - 12:50 #1161429 Reply to:1161416

ก็โดยพื้นฐานของวิชา sampling technique ไงครับ อันนี้เป็นcourseนึงแยกออกมาเลย ผมใช้คำผิดว่า"สุ่ม" เพราะไม่ใช่ทุกวิธีของการ sampling จะเป็นการสุ่ม วิธีตามข่าวใกล้เคียงกับ cluster sampling ครับ

ถ้า sampling 100% ก็ไม่หลุด positive ได้ครับ ไม่ได้เล่นคำนะครับ เพราะมันคือส่วนหนึ่งของกระบวนการคัดเลือกตัวอย่างประชากร ขึ้นกับเงื่อนไข และอัตราการรับได้ รวมไปถึง probability

และก็มีประเด็นว่า ถ้าปริมาณสารที่นำมาเทรวมกันมันเยอะ(เช่น 10 คนหรือ 100 คนต่อ 1 pcr test) การตรวจแบบ pcr ตามปกติจะเจอข้อจำกัด หรือโอกาสผิดพลาดอย่างอื่น มากกว่าการเตรียม test case แค่ 1ชุดหรือไม่?

จีนทำเช่นนี้ได้ เพราะอู่ฮั่นผ่านพ้นช่วงการระบาดมาแล้ว ซึ่งถ้าตามข่าวในนี้ บอกว่าสสวท เสนอให้ทำตอนช่วงต้นเมษา ผมก็ไม่เห็นด้วยเช่นกัน บ้านเราเจอเคส การปนเปื้อนจนเจอ false positive จำนวนหลายสิบคนพร้อมกันมาแล้ว

By: Zatang
ContributoriPhoneAndroid
on 5 June 2020 - 12:22 #1161426 Reply to:1161414

มันไม่ใช่ sampling ครับ เพราะตรวจทุกคน ข้อดีข้อเสียก็ตามคุณบอกแหละครับ ในเมื่อจีนคุมการระบาดได้ใช้วิธีนี้ก็เหมาะสม เค้าทำแบบนั้นแล้วตรวจได้มาก ก็ถูกแล้วหนิครับ ส่วนเรื่องข่าวเอามาข่มกันผมยังไม่เห็นไม่ให้ความเห็นนะครับ


อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 5 June 2020 - 12:56 #1161430 Reply to:1161426

ตรวจทุกคนก็เป็นการ sampling ได้ครับ

และจริงๆเทคนิคทีจีนใช้ ก็ไม่ใช่การตรวจทุกคนจริงๆด้วย (การเทรวมสารแล้วตรวจ แล้วไม่เจอ มันอาจเกิดจากข้อผิดพลาดของกระบวนการตรวจ เนื่องจากเจือจางเกินไปก็ได้? มีโอกาส false nagative)

ข่าวจากสสวท เทียบจากตัวอย่างการชั่งหิน เพื่อหาหินที่หนัก/เบา โดยใช้จำนวนครั้งน้อยที่สุดก็เป็นมุมมองทางคณิตศาสตร์

เรื่องข่าวข่มกัน พอดี ก่อนหน้านี้ซินหัวเล่นประเด็นนี้ต่อเนื่องกันหลายวัน(รวมถึงเพจโปรจีน) โดยไม่แจกแจงรายละเอียดวิธีการตรวจครับ พอเห็นข่าวนีั้เลยขอพาดพิงสักหน่อย

By: wiennat
Writer
on 5 June 2020 - 12:24 #1161427 Reply to:1161414

ก็จีนทำแบบนี้ เพราะอู่ฮั่น flatten the curve ได้แล้วก็เลยตรวจแบบนี้ได้ ผมก็ไม่เห็นว่ามันจะแปลกหรือผิดตรงไหนนี่ครับ

คิดว่าข่าวน่าจะเน้นไปที่ว่าเค้าตรวจครบ "ทุกคนแล้ว" มากกว่าจะสนใจที่ตัวเลข 10 ล้านน่ะครับ


onedd.net

By: spicydog
ContributoriPhoneAndroidUbuntu
on 5 June 2020 - 15:59 #1161459 Reply to:1161414
spicydog's picture

ถ้าแยกประเด็นเรื่องวิธีการตรวจที่ไม่เหมาะสม และ การทำข่าวมาข่มกัน ออกเป็นคนละประเด็นกัน เน้นกันที่ข้อเท็จจริง ยกอารมณ์ ยกความคิดเห็นส่วนตัวออกไป จะช่วยให้สิ่งที่คุณชี้แจงออกมาดูมีความน่าเชื่อถือขึ้นอีกมากครับ สื่อเดี๋ยวนี้ก็รู้กันอยู่ว่าเป็นเช่นไร งานหลักคือการรายงาน ส่วนงานเสริมคือการกระตุ้นอารมณ์สร้างกระแส เอามาอ้างมีแต่จะทำให้สูญเสียอรรถรสในการพูดคุยเรื่องวิทยาศาสตร์หมดครับ ;)

จะว่าไปแล้วมีข้อมูลไหมครับว่าอัตรการเกิด False Negative เป็นอย่างไรบ้างกับวิธีการที่เขาใช้ตรวจ แล้วพอทราบไหมครับว่าเขาใช้ Batch ละเท่าไหร่ แล้วถึงจุดที่ Sample ที่มีเทผสมรวมกันจะเจือจางเกินไปหรือยัง มันยังอยู่ใน Threshold ที่รับได้ก็น่าจะใช้ได้ไหมครับ แล้วเอางบที่เหลือเปลี่ยนมาตรวจแบบนี้หลายๆ รอบแทน น่าจะได้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าไหมครับในงบประมาณที่เท่ากัน


SPICYDOG's Blog

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 5 June 2020 - 16:19 #1161462 Reply to:1161459
lew's picture

จริงๆ สมัย สสวท เสนอก็มีคนกังวลว่าจะหลุด (เพราะตัวอย่างเจือจางไป?) แต่ผมไม่เคยเห็นตัวเลขแฮะว่ามันทำทดสอบหลุดอัตราแค่ไหน


lewcpe.com, @wasonliw

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 8 June 2020 - 22:59 #1161812 Reply to:1161459

ต้องพูดตรงๆว่าจำนวน comment มีจำกัด มันก็ต้องพูดหลายประเด็นในทีเดียวครับ ผมเลยเขียนทียาวๆนี่แหละ

ส่วนเรื่องข้อมูล อันนี้ไม่มี เพราะจีนน่าจะเป็นที่แรกๆที่ทำแบบเทรวมตรวจครับ และไม่แน่ใจว่าcapacity ของlab ตรวจ pcr ในปัจจุบันของจีนทำได้เท่าไรแน่ ได้ทุ่มเพิ่มกำลังจนรองรับได้วันละ 20000เคสแบบไทยไหม(ของไทยนี่จากวันละหลักร้อยเคสนะครับ เพิ่มเป็นหลักหมื่นโดยตั้ง lab ทั่วประเทศแทบทุกจังหวัด)เลยคาดการณ์จำนวนเทรวมได้ยากด้วย

แต่แค่ยกว่า กระบวนการตรวจ pcr ที่เคยทราบจากของไทย ต้องอาศัยความชำนาญ ไม่เช่นนั้นเกิดความผิดพลาดได้ เช่น false positive แบบที่เราเจอพร้อมกัน 43 คน จาก lab แห่งใหม่ ก็เลยกังขาว่า แล้วมาเทรวมๆกัน จะไม่เกิดปัญหาอื่นอีกหรือ (ซึ่งกรณีเทรวม จะน่ากลัว false negative แทน)

และเอกสาร หรืองานวิจัยจากจีน ก็ต้องกรองอีกขั้นครับ อย่างช่วงแรกๆ สื่อจีนชอบอ้างว่า มีคนฟักตัวเกิน 14 วันไปเยอะ บางคน 28 วันก็มี พอมีคนไปรีวิวก็พบว่าเก็บข้อมูลไม่รัดกุม บางทีตัวสื่อเองก็เป็นคนตีข่าวให้น่ากลัวเว่อๆ เพราะโดยค่าเฉลี่ยทั้งโลกส่วนใหญ่ก็แค่ 4-5วัน และระยะ 14 วันเป็นสิ่งที่ยอมรับกัน

รวมไปถึงตัวเลขของจีน ถ้าตามข่าว ช่วงแรกจีนก็ทำ pcr แต่ได้แค่วันละสองพันtest case ตอนหลังเปลี่ยนมาใช้ AI อ่านภาพct scan ภาพปอด เลยเพิ่มเป็นหลักหมื่นทันที ส่วนเรื่องความถูกต้อง อ้างว่า 90กว่า% แต่ก็ไม่มีการทำ pcr ซ้ำทุกเคส(ถึงทำตอนนั้นก็ไม่ทัน) เลยไม่แน่ใจว่าจริงๆแล้ว ความแม่นยำมีแค่ไหน จีนลองอะไรใหม่ๆเยอะครับ แต่เวลามาเปรียบเทียบกับกระบวนการมาตรฐาน อาจต้องดูรายละเอียดเพิ่ม

ส่วนถ้าจะให้ไทยทำตาม ก็อาจทำได้ แต่ด้วยที่เราเพิ่มlab ไปทั่วประเทศแล้ว ได้สูงสุดถึงวันละ 2หมื่นเคส แถมลดต้นทุนการตรวจลงได้เหลือพันกว่าบาทต่อเคส(แพงกว่า rapid test ที่นำเข้่าไม่กี่ร้อย) โดยตั้งราคากลางค่าบริการตรวจของรพ.รัฐที่สองพันบาท วิธีนี้เทรวมก็อาจไม่จำเป็นมากเพราะอาจต้องเสียเวลาทำวิจัยใหม่ เรื่องข้อผิดพลาดด้วย

ป.ล. ล่าสุดรัฐไทยให้งบตรวจแpcr บบหว่านแห 3พันล้านบาทครับ ถ้าตรวจหมดก็ตรวจได้เป็นล้านคน ตอนนี้รพ.เอกชนในกทม.ตะลุยตรวจตามชุมชน หรือบ.เอกชนฟรีๆเพียบเลย(ตรวจฟรี แต่รับเงินจากรัฐ) บางเจ้าตั๊งโต๊ะข้าง 7-11 ในปั๊ม -_-"

By: LasPersonas on 5 June 2020 - 16:37 #1161463 Reply to:1161378

ผมเข้าใจว่า
จีนใช้การตรวจจำนวนครั้งเป็นหนึ่งคนตรวจใช่ไหม
เพราะที่อื่นกว่าจะยืนยันผลว่าติดก็สองรอบ สามรอบ แต่จีนดันนำตัวเลขนี้มาบอกว่าตรวจเป็นรายคน ทั้งที่ประเทศอื่นคนนึงตรวจหลายรอบ และนับเป็นคน ไม่ได้นับเป็นครั้ง

By: delta on 5 June 2020 - 09:07 #1161382
delta's picture

เรื่อง สุุขภาพ การตรวจดีที่สุด แต่ช้า คือ ทีละคน
อันนี้ เข้าใจว่า เน้นเร็ว แต่อาจจะปลอดภัยบางกลุ่ม ซึ่งไม่ใช่ทั้งประเทศ

By: sian
Windows PhoneAndroidWindows
on 5 June 2020 - 09:17 #1161385
sian's picture

สสวท เคยเสนอไว้ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่าน

ที่ผ่านมา