รัฐบาลอังกฤษกำลังร่างแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 หนึ่งในนั้นคือการกระตุ้นดีมานด์ของรถยนต์ไฟฟ้า ด้วยการจ่ายเงินอุดหนุนให้คนที่เปลี่ยนจากรถยนต์สันดาปมาเป็นรถยนต์ไฟฟ้า 6,000 ปอนด์
บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษมีกำหนดจะชี้แจงเกี่ยวกับแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจนี้ในวันที่ 6 กรกฎาคม ขณะที่แผนนี้ก็น่าช่วยบริษัทรถยนต์ที่มีฐานการผลิตหรือประกอบรถยนต์ไฟฟ้าในสหราชอาณาจักรโดยตรง
ทั้งนี้อังกฤษเป็นหนึ่งในประเทศที่สนับสนุนรถยนต์พลังงานสะอาดในระดับนโยบายอยู่แล้ว โดยเฉพาะนโยบายที่กำหนดให้ห้ามขายรถยนต์สันดาปหลังปี 2040 เป็นต้นไป
ที่มา - Reuters
ภาพจาก Shutterstock
Comments
ขาดคำว่าสนับสนุนครับ
มี -> ปี ครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ตกลงว่าเทคโนโลยีของรถไฟฟ้ามันยังไม่เหมาะกับอากาศแบบไทยเหรอครับ?
ผู้ผลิตในประเทศครับ
ไม่เกี่ยวเลยครับ เพราะเรื่องระบายความร้อนใช้ Liquid+Vent. ได้สบายครับ แต่ติดตรงการกระตุ้นให้ไปใช้พลังงานไฟฟ้านี่แหละครับ มิหนำซ้ำกำลังไฟฟ้าประเทศเราตอนนี้ก็วิกฤติอยู่ครับ เตรียมความพร้อมด้านการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอก่อนดีกว่าครับ
น่าจะไม่จริง ต่อให้มีปัญหาเราก็น่าจะแก้ไขได้
มันจะตลกมาก ถ้าเรายังเชื่อเรื่องรถไฟฟ้าไม่เหมาะกับเมืองร้อนในขณะที่ประเทศทะเลทรายใช้รถไฟฟ้าวิ่งทั่วเมือง
อาจเป็นเพราะ ทำกรรม ร่วมกันไว้ในชาติที่แล้ว
ถ้าโตโยต้า ฮอนด้า ยังไม่ทำรถ EV ล้วนๆ มาขายจริงจัง
ผมว่าไม่เกิดในประเทศนี้หลอกครับ อย่างน้อยๆ ก็ผมคนนึง
ที่ทำใจซื้อ Nissan, MG ไม่ลง จะซื้อรถยุโรปก็ไม่มีเงิน
ปัจจัยหลายอย่างในประเทศนี่แหละครับที่ทำให้ประเทศไทยในไม่สามารถผลักดันการใช้รถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างเต็มที่
ภาษี ปัจจุบันภาษีนำเข้าและภาษีที่ต้องจ่ายประะจำปีของรถยนต์ไฟฟ้าสูงครับคิดเป็นรถยนต์ปกติเลย ทั้งๆที่ในหลายๆประเทศแล้วภาษีรถยนต์ไฟฟ้าจะถูกกว่า เนื่องจากต้นทุนเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ลดลง พวกมลพิษ (SOx, NOx, CO) ที่ลดลงไป โดยปกติแล้วภาษีที่เก็บส่วนหนึ่งจะต้องเข้ากองทุนสิ่งแวดล้อม เมื่อการปล่อยมลพิษลดลงภาษีก็ควรที่จะลดลงตามไปด้วยแต่ในความเป็นจริงประเทศไทยไม่มีมาตรการนี้ ซึ่งรัฐควรที่จะอุดหนุนมากกว่านี้ครับ
ที่ชาร์จยังไม่เพียงพอ นึกสภาพว่าถ้าจะเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพียงคันเดียวเลยมันจะเป็นไปได้ไม๊? จำนวนสถานีชาร์จในปัจจุบันยังไม่เอื้ออำนวยให้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นรถหลักครับ เป็นได้แต่รถคันที่สอง เพราะถ้าจะไปต่างจังหวัดก็ไม่สะดวกเพราะสถานีชาร์จหายาก ในคอนโดก็ไม่มีเพราะคอนโดเองก็ไม่อยากลงทุน ซึ่งรวมไปถึงการจัดการต่างๆที่จะต้องตามมา เช่นคิวการใช้งานซึ่งคนไทยไม่มีระเบียบพอที่จะมาเอาออกตอนชาร์จเต็มครับ (จะนอนซะอย่าง ไม่สนใครอยู่แล้ว) รวมถึงว่าค่าใช้จ่ายใครจะเป็นคนออก เพราะคนใช้มีแค่กระจุกมือเดียว ทำไมคนทั้งหมดจะต้องจ่ายเงินให้ด้วย จะมีได้ก็แต่ตามบ้านส่วนตัวเลย
พฤติกรรมการใช้งานของคนไทย อันนี้มีความเกี่ยวข้องบ้างกับข้อ 2 ถ้าที่ชาร์จมีจำกัด ด้วยพฤติกรรมของคนไทยแล้วก็คงชาร์จทิ้งไว้แล้วไปไหนต่อไหน ไม่สนใจจะมาเอาออกตอนชาร์จเสร็จพอดี ไม่สนใจว่าจะมีใครรอต่อหรือเปล่า ทำให้ลำบากสำหรับคนที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่ไม่มีที่ชาร์จส่วนตัวครับ
เรื่องกำลังการผลิตไฟฟ้าที่จะต้องเพิ่มขึ้น เพราะถ้ามองว่าจะต้องเปลี่ยนการใช้พลังงานจากน้ำมันเป็นไฟฟ้า อัตราการใช้ไฟฟ้าก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทำให้การไฟฟ้าก็ต้องเพิ่มกำลังการผลิตตามไปด้วย แต่ตอนนี้จะเอาโรงไฟฟ้าไปตั้งที่ไหนก็ไม่มีใครเอา อัพเกรดจึงเป็นเพียงทางเลือกเดียว แต่มันก็ต้องวางแผนระยะยาวครับ
ผมมองว่ารถยนต์ไฟฟ้าในไทยจะเป็นได้แค่รถคันที่สองล่ะครับ เป็นรถหลักคงลำบาก
1.ภาษี ปัจจุบันภาษีนำเข้าและภาษีที่ต้องจ่ายประะจำปีของรถยนต์ไฟฟ้าสูงครับคิดเป็นรถยนต์ปกติเลย ทั้งๆที่ในหลายๆประเทศแล้วภาษีรถยนต์ไฟฟ้าจะถูกกว่า เนื่องจากต้นทุนเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ลดลง พวกมลพิษ (SOx, NOx, CO) ที่ลดลงไป โดยปกติแล้วภาษีที่เก็บส่วนหนึ่งจะต้องเข้ากองทุนสิ่งแวดล้อม เมื่อการปล่อยมลพิษลดลงภาษีก็ควรที่จะลดลงตามไปด้วยแต่ในความเป็นจริงประเทศไทยไม่มีมาตรการนี้ ซึ่งรัฐควรที่จะอุดหนุนมากกว่านี้ครับ
-ภาษีประจำปี จ่ายตามซีซี ก็จริง รถที่ซีซีสูง จ่ายมากกว่า
แต่รถยนต์ไฟฟ้า กม.ไม่ได้กำหนดไว้ ตอนนี้เลยใช้อัตราที่คิดตามน้ำหนัก https://www.dlt.go.th/th/yearly-tax/view.php?_did=75
ภาษีสรรพสามิต ปัจจุบัน คิดตามปริมาณการปล่อยไอเสียอยู่แล้ว
ev เสีย 4% (ถ้าประกอบในประเทศ จะลดให้ครึ่งนึง แล้วถ้าเข้าร่วมboi ลดเหลือ0% 3ปี)
ไฮบริด เสีย 8% เข้าboi เหลือ 4
น้ำมัน ปัจจุบันอยู่ที่ 30% ถ้าปล่อยco02 ลดลง ก็ลดให้ตามเรท
4.เรื่องกำลังการผลิตไฟฟ้าที่จะต้องเพิ่มขึ้น เพราะถ้ามองว่าจะต้องเปลี่ยนการใช้พลังงานจากน้ำมันเป็นไฟฟ้า อัตราการใช้ไฟฟ้าก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทำให้การไฟฟ้าก็ต้องเพิ่มกำลังการผลิตตามไปด้วย แต่ตอนนี้จะเอาโรงไฟฟ้าไปตั้งที่ไหนก็ไม่มีใครเอา อัพเกรดจึงเป็นเพียงทางเลือกเดียว แต่มันก็ต้องวางแผนระยะยาวครับ
-ตอนนี้กำลังการผลิตอยู่ที่ 4หมื่นเมกกะวัตต์ ใช้จริงอยู่ที่ 28000-30000 เมกกะวัตต์
ยังเหลือแกปอีกเป็นหมื่นเมกกะวัตต์
ถ้ารถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 1ล้านคัน จะใช้ไฟเพิ่มแค่ไหน อ้างอิงจากพันทิป https://pantip.com/topic/39095050
จะเพิ่มขึ้นแค่3000เมกกะวัตต์ ยังห่างไกลจากกำลังการผลิตปัจจุบันเยอะ(4หมื่น เดิมใช้3หมื่น+รถevอีก 3พัน เหลือ 7พันเมกะวัตต์)
กฟน. ก็ยังเคยโม้ว่าต่อให้รถเพิ่มมาล้านคันก็ยังรองรับ
https://mgronline.com/motoring/detail/9610000086343
สงสัยในข้อ 4 น่ะครับ กำลังผลิตนี้เราผลิตได้เสถียรแค่ไหนครับ เพราะเคยได้ยินว่ามีปัญหาเวลาต้องต่อสัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติจากเพื่อนบ้าน ทุกวันนี้เรายังต้องพึ่งพลังงานตรงนี้เยอะอยู่มั้ยครับ แล้วก็กำลังผลิตที่เกินมานี่ กระจายได้ดีขนาดไหนครับ เพราะเข้าใจว่าถึงผลิตได้มาก แต่ถ้ากระจุกอยู่ที่เดียว ไฟฟ้าในบางพื้นที่ก็ขาดแคลนอยู่ดีครับ
ไฟฟ้า 100% กฟผ ผลิตได้เอง 35% ครับ หึหึ นอกนั้นเอกชนล้วนๆ
สัญญาจ้างก็มั่นคง แน่นอน มีประกันรายได้ขั้นต่ำอะไรปามานนี้ด้วยเลย หรือมีสัญญาแบบว่าไม่ต้องเดินเครื่องนะ แต่ถ้าไฟดับไฟขาดปุ๊บ ต้องเดินเครื่องได้เลยทันที (คือทั้งปี แทบไม่ต้องเดินเครื่องผลิตไฟเลยอะ แต่สแตนบายรอเฉยๆ)
ส่วนปัญหาเรื่องพื้นที่การผลิตไฟฟ้า ก้อีกปัญหานึงครับ เพราะบางแห่งเช่นภาคใต้และอีสาน ไม่สามารถตั้งโรงไฟฟ้าในพื้นที่ได้ ใต้ก็ต่อต้านคัดค้านหนัก อีสานก็มีปัญหาพื้นที่ไม่เหมาะสมที่จะตั้งโรงไฟฟ้า(ขาดน้ำ ถึงขั้นว่าตอนนี้มีโปรเจคผันน้ำโขงมาใช้แล้ว แต่ก็อย่างที่เห้นอยู่ว่าขึ้นอยู่กับจีน 55)
ไม่หรอกครับ ภาครัฐ และเอกชนก็เริ่มขยับกันแล้ว แต่อุตสาหกรรมรถยนต์ที่มีฐานการผลิตในเมืองไทยยังไม่พร้อม ภาษีที่รัฐจัดเก็บมาจากกลุ่มนี้เยอะ ก็ต้องค่อยปรับเปลี่ยนกันไป รัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่เกี่ยวกับพลังงาน ก็เริ่มทำวิจัยเพื่อเข้ามาตรงนี้กันแล้ว พอดีคนรู้จักเขากำลังขอ License ที่หน่วยงานรัฐทำวิจัย เพื่อผลิตแท่น Charge นำมาทดลองผลิตภายในประเทศพอดี
ไม่ครับ แต่มีปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดช้าครับ
ทั้งมาจากภาษีรถไฟฟ้าที่สูง วัตถุดิบในการทำรถไฟฟ้าไม่ค่อยมี การตลาดเน้นคนมีฐานะหรือทำราคาได้ยาก คุณภาพบุคลากรที่ยังน้อย ความรู้และ Know-howในเรื่องรถไฟฟ้าไม่ค่อยมี จุดชาร์จน้อย การรีไซเคิลแบตที่ไม่รู้ว่าจะจีดการยังไง การผลิตไฟฟ้าไม่เพียงพอที่ต้องนำเข้า และการขัดแย้งกับผู้ผลิตรถสันดาบที่ทำในประเทศ (แม้จะเริ่มมีมาผลิตรถไฟฟ้าหรือ Hybrid ตามสิทธิ์ BOI บางเจ้าก็ตาม)
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
บ้านเรา ภาษีรถยังจัดเต็มอยู่เลยครับ คงต้องรอๆๆๆไปก่อน.
ให้ระบบขนส่งของทั้งหลายใช้รถไฟฟ้าให้ได้ก่อน
จะดีกว่าไหม
ยังใช้เครื่องดีเซลพ่นควันดำอยู่เลย
เครื่องเบนซินมันก่อมลพิษน้อยกว่าอยู่แล้ว
เรื่องรถไฟฟ้าในประเทศไทย มันเกี่ยวพันธ์กับหลายอย่าง เพราะประเทศเราเป็นฐานผลิตรถยนต์ลำดับต้นๆ ของโลก มีคนงานที่อยู่ในอุตสาหกรรมนี้เยอะ พวกชิ้นส่วนอะไหล่ ที่รถยนต์สันดาปต้องใช้ แต่รถไฟฟ้าไม่ใช้ ถ้าเปลี่ยนผ่านเร็วไป จะมีคนงานเยอะมากที่ต้องตกงาน เศรษฐกิจก็จะแย่ลงอีก
ผมมองว่าการผลักดันรถไฟฟ้าในไทย รัฐบาลคงจะให้เป็นไปแบบช้าๆ คือผลักดันนะ แต่ไม่มาก
เคยขับรถแล้วน้ำมันหมด ก็โทรจ้างให้เค้าเอาน้ำมันใส่ถังแกลลอน มาเติม
ถ้ารถไฟฟ้าแบตหมด คงต้องโทรจ้างให้เค้าเอาแบตสำรองมาเสียบชาร์จแน่ๆ (ไม่รู้ต้องชาร์จนานขนาดไหน ถึงจะขับต่อได้)
เอารถมาลากชาร์จได้ 555
https://www.facebook.com/MGFCThailandFP/posts/2568286980058796/
รู้สึกที่ล้อมันปั่นไฟเข้าแบตได้นี่นะ รถไฟฟ้า มาพร้อมกับพวก regenerative system
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ไม่ใช่ว่าคนที่มีอำนาจถือหุ้นบริษัทน้ำมันอยู่หรอครับ (ขอโทษผมมันสายมโน)
ไม่น่าใช่เหตุผลหลัก แต่มีส่วนแน่นอนครับ แต่ผมคิดว่าไม่ใช่โดยตรงนะ แต่เป็นทางอ้อม เพราะโรงงานที่ผลิตชิ้นส่วนให้โรงงานที่ทำรถใช้น้ำมันปกติ มันจะรายได้หายวับ ซึ่งหมายถึงประชาชนส่วนนึงก็จะรายได้หายวับเช่นกัน
ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด รถไฟฟ้าชิ้นส่วนน้อยกว่ามาก ถึงเวลาเปลี่ยนไปไฟฟ้า ยังไงมันต้องเปลี่ยน แต่ผมเชื่อเอง (มโนด้วยคน) ว่ารบ.ไหนๆ ก็ไม่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากกว่าการสร้างฐานเสียง และรักษาฐานเสียงให้กับตัวเองหรอกครับ
มันต้องใช้พลังงานในการวางแผนเปลี่ยนผ่านนานพอควรนะ
ไม่ได้ถือหุ้นหรอก แต่มองง่ายๆเลยนะ
ทุกวันนี้มีรัฐเก็บภาษีจากน้ำมันเชื้อเพลิงตก 8-10บาท ต่อลิตร
ราคาน้ำมันที่ขายอยู่หน้าปั๊มคือราคาน้ำมันจริง+ภาษี
รายได้ไม่มากมายแค่ปีละ 2แสนล้าน (ทั้งปีรัฐจัดเก็บภาษีได้ราว 1ล้านๆบาท เฉลี่ยคิดเป็น 20%ของภาษีเงินได้ทั้งประเทศ)
ตรงนี้แหละที่ดูเหมือนจะเป็นวาระซ่อนเร้นว่าทำไมปกป้องบริษัทน้ำมันหรือรถยนต์น้ำมันมาก
ยังไม่รวมถึงอุตสาหกรรมหลักๆในประเทศ คือโรงงานประกอบรถยนต์และบริษัทผลอตชิ้นส่วนซัพพลายเออร์ป้อนโรงงาน