Elon Musk ตอบคำถามผู้ใช้ทวิตเตอร์ถึงบริการ Starlink โดยระบุถึงดาวเทียมเวอร์ชั่น 2 ที่จะโคจรในวงโคจรต่ำลง ทำให้สามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตที่เวลาหน่วง (latency) หรือค่า ping นั้นเหลือแค่ 8ms เท่านั้น ขณะที่ดาวเทียมเวอร์ชั่น 1 ที่ Starlink กำลังยิงอยู่ตอนนี้จะให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ latency ประมาณ 20ms
ดาวเทียม Starlink โคจรที่ระดับความสูง 550 กิโลเมตรหรือต่ำกว่านั้น ขณะที่ดาวเทียมที่วงโคจรต่ำที่สุดคือ Tsubame ของญี่ปุ่นโคจรที่ระดับความสูง 167.4 กิโลเมตร แต่ก็โคจรอยู่เพียง 7 วันเท่านั้น ส่วนสถานีอวกาศนานาชาตินั้นโคจรที่ระดับความสูง 340 กิโลเมตร
อินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมจากดาวเทียมวงโคจรค้างฟ้า (ที่เรารับสัญญาณด้วยจานทีวีดาวเทียม) จะมี latency ไม่ต่ำกว่า 477ms จากความสูง 35,786 กิโลเมตร สำหรับการใช้งาน เช่นการโทรศัพท์ มักยอมรับ latency ได้ไม่เกิน 150ms ถึง 250ms ขณะที่การใช้งานบางประเภทเช่นเกมออนไลน์จะมีเงื่อนไขที่สั้นกว่ามากเนื่องจากภาพช้าไปเพียงเฟรมเดียวก็มีผล
Starlink เตรียมเปิดให้บริการแบบจำกัดพื้นที่ภายในปีนี้
ที่มา - @elonmusk
Comments
อ่านทีแรกนึกว่าร้อนแรงดั่งไฟเย่อร์...
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ตอนแรกก็เฉย ๆ กับโครงการนี้ คิดว่าน่าจะแพงและไม่ได้มีประโยชน์อะไรกับเรา แต่พอศึกษาดูจริง ๆ มันถูกกว่าลากสายไฟเบอร์ข้ามทวีปอีก และ latency น้อยกว่ากันครึ่ง ๆ (แสงเดินทางในสุญญากาศได้เร็วกว่าแก้ว)
แต่ก็ไม่รู้ว่าในอนาคตจะได้ใช้มั้ย และแบนวิธมันจะได้เท่าไร อีกอย่างดาวเทียมมันมีอายุการใช้งานของมันไม่เหมือนลากสายไฟเบอร์
แต่ก็ไม่แน่นี่อาจจะมาแทน 5g ก็ได้
ตอนแรกก็กะว่าคงตีตลาดได้แค่ในประเทศอย่างอเมริกา อินเดีย ทำนองนั้น กับกลุ่มที่เน้นสื่อสารข้ามทวีป แต่ตอนนี้ชักไม่แน่ใจแล้ว
ถ้าโครงการ Starship สำเร็จตามที่คาดหวัง เรื่องอายุการใช้งานไม่ใช่เรื่องใหญ่เลย ส่งขึ้นไปแทนได้รัวๆ (และเขาอ้างว่า เพื่อที่จะได้อัพเกรดเทคโนโลยีอยู่เสมอๆ จึงไม่จำเป็นต้องมีอายุการใช้งานยาวนานนัก)
ว่าแต่เขาจะจัดการกับขยะอวกาศยังไง เพราะถ้าส่งขึ้นไปแทนบ่อยๆ ขยะอวกาศจะเยอะจนอาจทำให้เกิดอันตรายกับดาวเทียมดวงอื่นๆ ได้ครับ
ตัวดาวเทียมมีอุปกรณ์ขับเคลื่อนที่สร้างไว้เคลื่อนหลบวัตถุอื่นๆอยู่
และสามารถใช้เพื่อดันตัวดาวเทียมตกลงมายังโลกได้เมื่อหมดอายุการใช้งาน
โดยดาวเทียมจะถูกเผาไหม้จากแรงเสียดสีของชั้นบรรยากาศขณะตกสู่โลก
Starlink มี Ion thruster ระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า บางคนก็เรียกว่า Ion drive ไม่ต้องแบกเชื้อเพลิงหนักๆ ถึงเวลาก็คงสั่งดึ่งโลก หรือถ้าปล่อยไว้ในวงโคจรต่ำมากๆ ก็โดนแรงต้านบรรยากาศชะลอดึงลงมาเอง
spacex เคยบอกแล้วพอหมดอายุก็สั่งให้ลงมาเผาที่ชั้นบรรยากาศโลกครับ
ขอบคุณทั้ง 3 ท่านครับ สงสัยอนาคตจะอธิฐานจากดาวตกไม่ได้ละ เพราะไม่รู้ว่าไอ้ที่ตกคืออะไรกันแน่
AIS เคยให้สัมภาษณ์เรื่องนี้นะ ว่าโดน disrupt แน่นอน
ไฟเบอร์ข้ามทวีปนี่ไม่น่าเกี่ยวครับ พวกนี้ BW ระดับ Tbps ให้ส่งเป็น mesh ข้ามทวีปน่าจะไม่ไหว ความเป็นไปได้คือสะท้อนลงสถานีฐานแถวๆ นั้นล่ะครับ ซีกโลกแถวๆ เราอาจจะไปลงสิงคโปร์ หรือเหนือๆ ขึ้นไปก็อาจจะไปลงฮ่องกง
lewcpe.com, @wasonliw
ก็ต้องรอดูแหละครับ ว่าเขาจะทำ BW ได้เยอะแค่ไหน
แต่ถ้าส่งดาวเทียมขึ้นไปเยอะถึง 12000 ดวงจริงๆ BW ก็คงเยอะระดับ Tbps แน่นอนแล้ว
มันจะมีบางตลาดที่ต้องการแค่ Latency แต่ไม่ได้ต้องการ Bandwidth มากครับ เช่น Stock market ครับ อย่างเส้น Hibernia Express cable ที่เชื่อม Stock London กับ New York จากของเดิมใช้ Atlantic Crossing อันนี้ได้ Latency ลดลงมาแค่ 6ms จาก 65 เหลือ 58.95 แต่ลงทุนไปหลายร้อนล้านดอล ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ลากมาเพื่อ Stock ล้วน ๆ แต่ก็เป็นตัวเลือกให้ Stock ครับ แล้วถ้า Starlink ทำได้ต่ำกว่า ก็น่าจะขายได้ครับ
แล้วอนาคต การลากสาย Fiber เพื่อเชื่อมต่อสถานีฐานของ 5G ถ้าเปลี่ยนมาใช้ Starlink มันจะเซฟงบไปได้เยอะอยู่ครับ แล้วไปลงที่ไกล ๆ ได้ด้วย ไม่ต้องลากสายไฟเบอร์ไป ถึงแบนวิธอาจจะน้อยแต่คิดว่าเพียงพอกับ 5G ครับ
เวลาเขาพูด latency ต่ำๆ เขาพูดถึง latency ตรงพื้นที่นั้นนะครับ (550km จากพิ้นโลก) อย่างมากก็ยิงสะท้อนเข้าสถานีฐานใกล้ๆ แค่นั้น
ไทยไป New York หรือ London ถ้ายิงผ่านดาวเทียมแบบ mesh จริงๆ นอกจากเรื่อง bandwidth แล้ว latency จากตัวดาวเทียมนี่ล่ะจะพวกกันไปมาจนแพ้ไฟเบอร์ (กี่ hop กว่าจะข้ามฝั่งโลกได้)
lewcpe.com, @wasonliw
ส่วนตัวผมว่า ใช้ balloon แบบใน google project loon หรือ Facebook Connectivity Lab น่าจะ work กว่าเงินลงทุน ค่าปล่อยยาน เวลาที่ใช้ปล่อย การ reuse น่าจะดีกว่า
latecy ก็ดีกว่าเพราะะบินสูงแค่ประมาณ 20 กม.
ยังไงเราก็ได้ใช้ เหมือนเคยได้ยินว่า AIS จะรับสัญญาณจาก StarLink แทน Fiber แล้วกระจายเป็น 5G หรือ 6G ไงครับ
รอราคาตัวรับส่งขึ้นดาวเทียม และอีกอย่างคือมือถือผ่านดาวเทียมของ Starlink เอง
ท้ายสุด node ภาคพื้น ออกที่ไหนบ้างหรือออกเฉพาะประเทศที่ให้บริการอีก ไม่งั้นอยู่ไทย เข้าเว็บไทย แต่ต้องออ้อมไปที่อื่นก่อนค่อยวิ่งเข้าไทยอีกรอบ
ถ้าเข้าเว็บในไทย ยังไงก็สู้ fiber ไม่ได้ (8ms กับ 2ms)
ถ้าจะซื้อมาใช้ น่าจะคาดหวังกับการเชื่อมต่อต่างประเทศมากกว่าอยู่แล้วนี่ครับ
ผมคิดว่าในป่าเขาที่เครือข่าย 4G/3G ยังไปไม่ถึงยังมีอีก (Fiber Optic คงไม่ต้องพูดถึงเลย) ยังไงเราก้ยังต้องการเครือข่ายแบบนี้ที่เร็วและง่าย แต่การใช้งานอาจจะต้องการสื่อสารในประเทศไรแบบนี้ ไม่จำเป็นต้องออกนอกประเทศเสมอไปนะครับ
เดี๋ยวหาทางเก็บภาษีแปป
เค้าแก้ปัญหาเรื่องเมฆ/ฝน/พายุยังไงหว่า เคยใช้เน็ตดาวเทียมสมัยก่อนถ้ามีเมฆเยอะหน่อยนี่จบเลย ปิดเครื่อง
รอโครงการ ลิฟท์วงโคจร