ผมลง Ubuntu 5.10 เรียบร้อยแล้ว โดยภาพรวมก็มีทั้งสิ่งที่ประทับใจและไม่ประทับใจทั้งคู่ แต่ที่สำคัญคือได้ปรับแต่ง Ubuntu หลายๆ อย่าง เลยมาเขียนไว้เผื่อมีใครใช้อ้างอิงครับ
การติดตั้ง
ผมไม่ขอเน้นวิธีการติดตั้งมากนัก เนื่องจากลินุกซ์ทั่วไปก็ติดตั้งคล้ายๆ กันหมด ข้อแนะนำมีดังต่อไปนี้ครับ
สำหรับคนที่อยากลองเล่นดูเฉยๆ ว่ามันเป็นยังไงให้โหลดเวอร์ชัน LiveCD มาเบิร์นลงแผ่น ยัดเข้าไดรว์ แล้วรีบูตดู ลินุกซ์ที่ใช้นั้นจะถูกติดตั้งอยู่ในแรม ลองเล่นดูเฉยๆ ว่าชอบมั้ย ปิดเครื่องปุ๊บทุกสิ่งทุกอย่างยังกลับเป็นเหมือนเดิม ฮาร์ดดิสก์ของคุณยังอยู่ดีมีสุข
สำหรับคนที่ไม่ค่อยจะเคยติดตั้งลินุกซ์มามากนัก หรือไม่เคยเลยทุกอย่างจะง่ายมาก ถ้าคุณเตรียมพาร์ทิชันมาจากวินโดวส์เรียบร้อยแล้ว โดยสร้างพาร์ทิชันขนาดประมาณ 5G ไว้สำหรับลงตัวลินุกซ์ (สำหรับ Ubuntu สามารถเลือกชนิด filesystem ได้หลายแบบ ถ้าไม่รู้จะเลือกอะไร เลือกเป็น Ext3 ไป) และอีกสองเท่าของแรมสำหรับ Swap ตามตำรา แต่ถ้าแรมคุณเยอะเป็นกิก ก็เลือกเท่าแรมก็ได้
วิธีการติดตั้งคร่าวๆดาวน์โหลดซีดีอิมเมจ (.iso) มาไรท์ลงซีดี ยัดลงไดรว์ บูตเครื่องใหม่ ถ้าไม่เกิดอะไรขึ้นมาให้ลองเซ็ตลำดับการบูตในไบออสดูใหม่ก่อน จากนั้นจะขึ้นหน้าจอเขียนว่า boot: กด enter หนึ่งที คำถามมีไม่เยอะ ให้จำลองตัวเองเป็นคนอเมริกันเลือกตอบเป็น English และ US ไปให้หมด (เราจะมาติดตั้งภาษาไทยทีหลัง) คำถามที่สำคัญคือการทำพาร์ทิชัน ถ้าเตรียมมาแบบที่ผมว่าให้เลือกข้อสุดท้าย (manual) หน้าถัดมาให้เลือกพาร์ทิชันที่เตรียมไว้ เปลี่ยน mount point ให้เป็น / แค่นี้แล้วกด finish รอซักครึ่งชั่วโมง น่าจะเจอหน้าจอสีน้ำตาลๆ ให้เห็นแล้ว
แรกบูต
เพื่อความประหยัดเนื้อที่ ผมไม่ขอแปะ screenshot ปกติที่บอกว่าหน้าตาเปลี่ยนไปยังไงบ้าง รบกวนไปกดดูกันเองที่ Screenshot tour ของ OSDir สิ่งที่น่าสนใจมีดังนี้
ลองสำรวจที่เมนูดู จะมีเมนูให้เลือก 3 อัน
แนวคิดพื้นฐานของ Ubuntu คือ ผู้ใช้ไม่มีสิทธิ์รันเป็น root โดยตรง ต้องใช้คำสั่ง sudo ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้สิทธิ์ของ root ดังนั้นในกรณีที่มันขึ้นมาให้กรอกพาสเวิร์ด นั่นหมายความว่า ให้กรอกพาสเวิร์ดของตัวเองที่ตั้งไว้ซ้ำอีกรอบ เพื่อจำลองตัวเป็น root ชั่วขณะ
โปรแกรมต่างๆ
ที่สำรวจดูคร่าวๆ โปรแกรมใน Ubuntu 5.10 ค่อนข้างใหม่ มี Firefox 1.0.7, OpenOffice.org build #129, Gnome 2.12.1 โปรแกรมพิเศษที่เพิ่มเข้ามามี Smeg ซึ่งเป็นตัวแก้ไขเมนู (เรียกใช้โดยคลิกขวาที่เมนูแล้วเลือก Edit Menus) ซึ่งไม่มีใน Gnome 2.12
รายงานตัวก่อน
ผมเข้าใจว่าหลายคนใช้ลินุกซ์แล้วเจอกับประสบการณ์แบบว่า ไอ้นู่นก็ไม่ support ไอ้นี่ก็ใช้ไม่ได้ การออกมาบ่นมันก็โอเคครับ แต่มันต้องบ่นให้ถูกวิธีด้วย ถ้าสักแต่ว่าบ่นแถวๆ นี้อย่างเดียว ผมขอด่าล่วงหน้าแรงๆ เลยว่าคุณกำลัง"พล่าม"อยู่ และเป็นอะไรที่ไร้สาระมาก วิธีการที่เหมาะสมในโลกของโอเพนซอร์สคือแจ้งปัญหาของคุณ ไปยังนักพัฒนา เพื่อให้เค้าสามารถปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมในรุ่นถัดๆ ไปได้ สำหรับกรณีนี้คือเรื่องฮาร์ดแวร์ ทาง Ubuntu เตรียมช่องทางที่สะดวกสุดแสนมาให้ในตัวแล้ว ดังนั้นเพื่อลินุกซ์ที่ดีในวันหน้า ขอแรงคนที่ลงและอ่านมาถึงตรงนี้ รายงานฮาร์ดแวร์ในเครื่องไปยังฐานข้อมูลของ Ubuntu ก่อน
วิธีการ: เปิดเมนู Applications > System Tools > Ubuntu Device Database กด Forward ไปเรื่อยๆ แค่นั้นก็เสร็จแล้ว
ปรับแต่งหน้าตา
ความละเอียดหน้าจอเมื่อพร้อมแล้วมาปรับแต่งหน้าตาให้ถูกใจกันก่อน จอที่บ้านผม (LG 775FT รุ่นยอดฮิตเมื่อหลายปีก่อน) สนับสนุน refresh rate ค่อนข้างน้อย Ubuntu ตั้งความละเอียดมาเป็น 1280x1024 ซึ่งได้แค่ 60Hz ภาพส่ายอย่างเห็นได้ชัด ต้องปรับลงมาที่ 1024x768
วิธีการ: เมนู System > Preferences > Screen Resolution
ธีมUbuntu ได้รับคำวิจารณ์ค่อนข้างมากสำหรับธีม Human สีน้ำตาล โดยส่วนตัวผมโอเคนะ แต่รำคาญเสียงกลองประกอบมากกว่า ถ้าไม่ชอบสีน้ำตาลของธีม Human แนะนำให้เปลี่ยนธีมเป็นอย่างอื่น ธีมแนะนำคือ Clearlooks หรือชุด Industrial (ส่วน Ocrean Dream นี่ผมทำเองครับ โม้หน่อย แหะๆ)
วิธีการ: เมนู System > Preferences > Theme สำหรับเสียงประกอบกลอง เลือก Sound แทน อยู่ในหน้า Sound Events ถ้าไม่ชอบเสียงเตือนเวลากด tab ใน terminal อยู่ในหน้า System Bell
สำหรับอย่างอื่นพวกแบ็กกราวน์ หรือสกรีนเซฟเวอร์ คิดว่าคงพอแต่งกันเองได้ ถ้าอยากได้ภาพของ Ubuntu อยู่ที่ art.ubuntu.com
ภาษาไทย
หน้าตาเป็นที่พอใจแล้ว มาถึงอันสำคัญคือภาษาไทยเสียที
ทำให้พิมพ์ภาษาไทยได้Ubuntu ให้ฟอนต์ Norasi มาในตัวแล้ว สามารถอ่านภาษาไทยออกทันที แต่การพิมพ์ภาษาไทยต้องติดตั้งเล็กน้อย
วิธีการ: คลิกขวาที่ taskbar (จริงๆ มันเรียกว่า panel) แล้วเลือก Add to Panel... สำหรับ Gnome 2.12 จะเห็นว่ามันแบ่งมาเป็นหมวดหมู่ให้เรียบร้อย (ยังกะ MacOSX เลยครับ) เลื่อนไปหมวดสุดท้าย Utilities เลือก Keyboard Indicator แล้วกดปุ่ม Add
ตอนนี้น่าจะเห็นคำว่า USA โผล่มาแล้ว คลิกขวาเลือก Move ย้ายไปไว้ตำแหน่งที่ต้องการ (ปกติก็ข้างๆ นาฬิกา) จากนั้นคลิกขวาเลือก Open Keyboard Preferences
ในหน้า Layouts กด Add เลื่อนลงไปเจอ Thailand เลือก TIS-820 พอออกมาหน้าเดิมเลือก US เป็น default จะเข้าท่ากว่า แล้วเปลี่ยนมาหน้า Layout Options ในหมวด Group Shift/Lock behaviour เจ้า Ubuntu นี้จะตั้งปุ่มสลับภาษามาเป็นกด Alt สองข้างพร้อมกัน ปกติผมใช้ Alt+Shift ก็เปลี่ยนมาเป็น Alt+Shift changes group. แค่นี้ก็เรียบร้อย (ไม่มีตัวหนอนนะจ๊ะ)
ติดตั้งชุดภาษาไทย
Ubuntu พัฒนามาจาก Debian ซึ่งระบบภาษาไทยค่อนข้างพร้อมพอสมควร ติดตั้งด้วย Synaptic ได้สะดวก
วิธีการ
ติดตั้งฟอนต์ภาษาไทยจากวินโดวส์
ผมยังหาวิธีดีๆ ที่เป็น GUI ในการลงฟอนต์ภาษาไทยไม่ได้เลยครับ ต้องใช้คอมมานด์ไลน์แล้วล่ะ เปิด Terminal ขึ้นมาก่อน (อยู่ในเมนู Applications > Accessories > Terminal)
สถานการณ์ของผมคือ ต้องการลงฟอนต์ Angsana, Browalia, Cordia ซึ่งอยู่ในพาร์ทิชันวินโดวส์เครื่องเดียวกัน ให้พาร์ทิชันวินโดวส์ชื่อว่า hda1
วิธีการ
ปลั๊กอินสำหรับ Firefox
สำหรับ Easy Ubuntu ที่ผมโม้ไว้เยอะนั้น ลองดาวน์โหลดมาแล้ว ปรากฎว่าผมไม่สามารถล็อกเข้าไปยัง Breezy Update ได้ (อาจเป็นเซิร์ฟเวอร์ล่มในช่วงนี้พอดี) ดังนั้นที่โม้ๆ ไว้จะสอนลงมือเองทั้งหมดครับ
ตัว Extension ของ Firefox นั้นวิธีการลงเหมือนกันทุกระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว ที่ต่างไปคือปลั๊กอินต่างๆ ซึ่งคู่มือฉบับเต็มอยู่ที่ plugindoc.mozdev.org ผมจะเอาแต่ตัวหลักๆ เท่านั้น
Flash Player
เปิด Synaptic มาแบบเดิม ค้นคำว่า flash เลือกลง flashplayer-mozillaดูหลักฐานยืนยันได้ว่า Flash ของผมขึ้นดีสวยงาม [ภาพ]
Java
บนลินุกซ์มีจาวาให้เลือกใช้สองตัว คือของ Blackdown (มีใน repository) กับตัวของ Sun (ดาวน์โหลดเอาเอง) ถ้าใช้ Blackdown ลงแพกเกจ j2re1.4 และ j2re1.4-mozilla-plugin ส่วนของ Sun ดาวน์โหลดจาก java.com ขั้นตอนการติดตั้งตาม plugindoc ที่ให้ไป
Acrobat Reader
ลงแพกเกจต่อไปนี้จาก Synapticacroread, mozilla-acroread, acroread-pluginsตัวอ่าน PDF ที่ใช้ดีอีกตัวคือ Evince (แพกเกจ evince)
Real Player
อันนี้ลึกลับซ่อนเงื่อนเล็กน้อย วิธีการมี 2 แบบเช่นเดิม คือลงจาก Synaptic ซึ่งมีข้อเสียคือจะได้ Real Player 8 กับดาวน์โหลดเอาเอง แต่ได้ Real Player 10 เลย
ถ้าลงจาก Synaptic แพกเกจชื่อ realplayer
วิธีการติดตั้งเอง
มัลติมีเดีย
ด้วยปัญหาด้านสัญญาการใช้งาน ทำให้ Ubuntu (จริงๆ วินโดวส์ก็ด้วย) ไม่มีความสามารถในการเล่นมัลติมีเดียบางชนิด (จริงๆ เกือบทุกชนิด) มาตั้งแต่แรก
วิธีการ
สำหรับ Windows Media นั้น คุณต้องเพิ่ม repository ของ Nerim เข้าไปใน Synaptic ก่อน อยู่ในเมนู Setting > Repositories > Add > Custom ใส่เป็นdeb ftp://ftp.nerim.net/debian-marillat/ sarge mainแล้วกด Update ใน Synaptic จากนั้นลงแพกเกจชื่อ w32codecs
OpenOffice.org
เท่าที่ลองก็ใช้ภาษาไทยได้โอเคไม่มีปัญหาครับ เดี๋ยว 2.0 ตัวจริงออกมาคงมีอัพเดตสำหรับ Breezy ให้เขยิบไปใช้ตัวจริงกัน
วิธีการตั้งภาษาไทย ตามนี้
อันนี้โชว์ใช้งานสามฟอนต์ยอดนิยม + ฟอนต์ใหม่ Arundina ที่ SIPA กำลังทำอยู่ (ยังไม่เสร็จ ยังไม่แจกครับ) จะเห็นว่าสระไม่ลอย [ภาพ]
Instant Messaging
ผมก็พวกไม่เปิด IM แล้วทำงานไม่ได้ ต้องขวนขวายหามาเล่น เท่าที่ใช้มา Gaim เข้าเค้าที่สุด เปิดจากเมนู Applications > Internet รูปคนสีเหลืองๆ
การใช้งานต้องสร้าง account ก่อน กด Add เลือก Protocol เป็น MSN ช่อง Screen Name ใส่อีเมล ส่วน Remember password กับ Auto-login แล้วแต่ชอบ ช่องอื่นว่างไว้ ถ้าอยากใส่รูปตัวเองตอนนี้เลยก็อยู่ใน buddy icon สั่งเซฟ แล้วติ๊กถูกที่ช่อง Online เพื่อใช้งาน ฟีเจอร์เทียบได้ประมาณ MSN 6 เท่านั้นยังไม่ต้องหวังมาก
สำหรับ Google Talk ใช้จาก Gaim ได้เช่นกัน แต่ไม่มีความสามารถส่งเสียงนะ วิธีการละเอียดยิบอยู่บนเว็บของ Google Talk
iPod
คุณหน่อยถามมาถึงการใช้ iPod บนลินุกซ์ เผอิญว่าผมไม่มีเครื่องลองซะด้วยซี ลองอ่านในนี้ครับ http://www.ubuntuforums.org/showthread.php?t=36632
อื่นๆ
ผมนึกไม่ค่อยออกแล้วว่ามีเรื่องอะไรอีก เอาแค่นี้ก่อนนะครับ ส่วนมากเอามาจาก Unofficial Ubuntu Guide (http://www.ubuntuguide.org/) ถึงจะเป็นของ 5.04 แต่ส่วนมากใช้กันได้ สำหรับโปรแกรมอื่นๆ ลองติดตามดูจากที่นี้ล่ะ ละเอียดดีมาก ถ้าใครอยากให้เขียนถึงเรื่องอะไรอีก เขียนเอาไว้ได้ จะทยอยมาเพิ่มให้
จริงๆ อยากลองเล่น SUSE 10 ด้วย แต่มันหลายแผ่นมากยังไม่มีเวลาโหลด ถ้าใครมีแผ่นพร้อมต้องการจะสงเคราะห์ก็ยินดีครับ เขียนบอกไว้ในนี้ได้เลย
Comments
รู้สึกว่า totem จะมีปัญหา crash ตลอดเลยนะครับ เวลาใส่แผ่นหนัง vcd เข้าไปมันจะโหลดตัวเองขึ้นมาแล้วก็ Hang ไปเฉยเลย หรือว่าผมติดตั้งอะไรไม่ครบครับ
ตรงส่วน plugins ของ firefox นี่ใช้ repositories ของที่ไหนหรือครับ?
ใช้ multiverse ของ Breezy เลยครับ
totem ให้ลงใหม่ ใช้ totem xine ดีกว่าครับ (เดิมเป็น Gstream)
ของผม Totem ก็แครชเหมือนกันครับ (แต่คนละสาเหตุนะ นี่แครชตั้งกะเปิดโปรแกรม) ลง MPlayer ก็ใช้ได้ดีไม่มีปัญหาครับ
ผมชอบ VLC media player (VideoLAN หรือ vodolan) http://www.videolan.net/ format ที่ดูใด้ (ไม่ต้องการโคตหรือปลักอินอะไรเลย) http://www.videolan.org/vlc/features.html หรือ xine ก็ดี ... ไม่รู้ไช้ใด้ปะผมไม่ใด้ไช้ Ubuntu
iPod mini เสียบแล้วเห็นเลยนะครับ mount ให้เรียบร้อย มีไอคอนรูป ipod ให้ด้วย ทำงานร่วมกับ rhythmbox ได้ดี มองเป็น iPod เป็น library นึงเลย แต่ตอนจะถอดออกยังต้องสั่ง sudo eject เอาเอง
แหะๆ กะลังจะบ่นเรื่อง Live CD รันแล้ว graphic เละบนเครื่องผมพอดี ขอตัวไปค้นใน forum ก่อนล่ะกัน
มีข้อความถึงผมโดยตรงด้วย น่ารักจัง ขอบคุณครับ จุ๊บๆ :D
ผมเอาไปลงในเครื่องของคุณพ่อผม ซึ่งเป็น AMD 64bits แล้วผม apt-get อะไรไม่ได้เลย (คาดว่า ftp.nectec.or.th จะมีปัญหาด้วยแหละ) ไว้จะลอง synaptic ดูครับ (แต่เน็ตที่บ้านเป็น tot free อะดิ -_-")
ชอบบทความนี้มากครับ ละเอียดดี ช๊อบชอบ งั้นแถมให้อีกสองจุ๊บละกัน จุ๊บๆ :D
ผมเข้า FTP ของเนคเทคไม่ได้มานานมากๆ แล้วนะ มันเป็นอะไรเนี่ย
(เจอจุ๊บๆ นี่แล้วเริ่มหลอน -_-'')
::: mk said: "จริงๆ อยากลองเล่น SUSE 10 ด้วย แต่มันหลายแผ่นมากยังไม่มีเวลาโหลด ถ้าใครมีแผ่นพร้อมต้องการจะสงเคราะห์ก็ยินดีครับ เขียนบอกไว้ในนี้ได้เลย"
โหลดม่ายไหว ลองตัวนี้สิครับ SUPER เป็นดิสโตรที่นำ OpenSuSE มาต่อยอด ซึ่งมี Mr.Andreas Girardet (Yoper) เป็นหัวหน้าโครงการ เขาออพติไมซ์ได้แจ๋วจริงๆ มีสถาปัตย์ในการ Preload โปรแกรม ซึ่งทำให้เรียกใช้โปรแกรมได้รวดเร็ว (ระวังการใช้หน่อยนะครับ เดี๋ยวลื่นหกล้มหัวแตกนิ) ในโครงการยังมีตัวเด่นเสริมอีกตัวเรียกว่า "SUPER KLIK" เป็นวิธีการเรียกใช้โปรแกรม โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมก่อน เจ้า KLIK เนี่ยผมชอบไอเดียมากๆเลย แบบโดน...
http://www.opensuse.com/SUPER http://www.opensuse.org/SUPER_KLIK
ตัว Yoper นี่เคยเล่นอยู่ครับ เร็วมากๆ
ยังไงโดยภาระหน้าที่ คงต้องลองตัวหลักอยู่ดีล่ะครับ คงได้ใช้ทั้งสองตัว เผอิญช่วงนี้ผมกำลังยุ่งๆ กับ OpenOffice.org 2.0 ที่กำลังจะออกอยู่ครับ คงอีกซักพักล่ะ
ผมยังเป็นมือใหม่ขอปรึกษาหน่อยคับ พอดีไม่ได้ใช้ router แต่ใช้ usb-modem(adsl) ยี่ห้อ Kingcom k-505(แถมมากับ tt&t)เลยอยากใช้ที่มีอยู่ ต้องทำการติดตั้ง package driver ตัวไหนเพิ่มเติมลงไปบ้างคับ ถึงจะสามารถใช้งานได้ หรือถ้ามีตัวอย่างการติดตั้งโมเด็มชนิดนี้ช่วยแนะนำด้วยคับ
ปล.โมเด็มตัวนี้ใช้ชิพเซ็ตของ Conexant
ใช้ kubuntu 5.04 ไฟโมเด็มไม่ติด แต่เมื่อสั่ง lsusb ก็จะเจอว่ามีอุปกรณ์เชื่อมต่ออยู่ ช่วยแนะนำด้วยคับ
เอ่อ อันนี้คงช่วยลำบากครับ เผอิญผมเอา modem ปาหัวหมาไปแล้ว (จริงๆ ใช้โมเด็มได้แป๊บนึงรู้สึกว่ามันห่วย เลยไปซื้อ router มาเพราะจะใช้ wifi ด้วย) ลองดูหน้า linux/mac ในพันทิพ หรือหน้า adsl น่าจะยังพอมีกระทู้ครับ
คุณ mk ครับ ตกลงหมาที่คุณเอาโมเด็มปาหัว อาการเป็นไงมั่งครับ ^^
เผอิญมันเป็น AIBO เลยไม่เป็นไรไงครับ (โอ้ว ตอบมุขได้อีก)
-_-"
เป๋แล้ว
อยากให้ลองการต่อใช้งาน USB-Irda กับโทรศัพท์มือถือเพื่อต่อ อินเตอร์เน็ตทางGPRS
ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆน่ะครับ
ขอบคุณครับ ที่เขียนให้อ่านกัน ผมเองเพิ่งลง ubuntu 5.10 ไป แต่ยังไม่ได้ทำอะไรกะมันเลย อ่านแล้วมีกำลังใจ จะหาทางไปเล่นให้มากขึ้นบ้าง :-)
กำลังศึกษาเรื่อง Linux ตัวนี้อยู่เลย ข้อความระเอียดดีครับ
ขอบคุณสำหรับความรู้น่ะครับ
เป็นกำลังใจให้ครับ
จะเข้ามาอ่านบ่อยๆ น่ะครับ