Canonical ประกาศออก Ubuntu 24.10 Developer Preview หรือ Ubuntu 24.10 Concept สำหรับชิป Snapdragon X Elite เพื่อให้นักพัฒนาสามารถช่วยปรับปรุงการใช้งาน ทดสอบฟีเจอร์ใหม่ ๆ ที่จะมากับ Ubuntu บน arm64 ในอนาคต โดย Canonical ปล่อยไฟล์สำหรับติดตั้งบนโน๊ตบุ๊ค Snapdragon X Elite ให้นำไปลองติดตั้งได้
นอกจากนี้ Canonical ยังโชว์ภาพ Ubuntu 24.10 บน Lenovo Thinkpad T14s ที่สามารถทำงานกับ Ubuntu ได้อย่างดีที่สุดตอนนี้
ลินุกซ์เริ่มรองรับชิป Snapdragon X Elite ตั้งแต่ Linux 6.11 เป็นต้นมา ตามที่ Qualcomm เคยประกาศว่ากำลังทำให้ Snapdragon X Elite รองรับลินุกซ์ไว้
Ubuntu ออกเวอร์ชัน 24.10 โค้ดเนม Oracular Oriole มีของใหม่ดังนี้
ดิสโทรลินุกซ์หลายตัวย้ายฐานข้อมูลดีฟอลต์จาก MySQL มาเป็น MariaDB กันนานพอสมควรแล้ว เช่น Fedora เริ่มตั้งแต่ปี 2013, RHEL ปี 2014, Debian ในปี 2017 แต่ดิสโทรยอดนิยมอย่าง Ubuntu ยังไม่ยอมเปลี่ยนมาใช้ MariaDB แทนสักที
บริษัท DeepComputing จากฮ่องกง ที่เคยวางขายโน้ตบุ๊ก DC-Roma RISC-V Laptop II พรีโหลด Ubuntu เดินหน้าต่อเนื่อง เปิดตัวแท็บเล็ตพลัง RISC-V ออกสู่ตลาดตามมา
แท็บเล็ตรุ่นนี้ใช้ชื่อคล้ายๆ กันว่า DC-ROMA RISC-V Pad II หน้าจอ IPS 10.1 นิ้ว 1920×1200 และใช้ชิป SpacemiT K1 ตัวเดียวกับในโน้ตบุ๊ก, มีแรมให้เลือก 3 ขนาดคือ 4GB/8GB/16GB, สตอเรจเป็น eMMC ขนาด 64GB/128GB, แบตเตอรี่ 6000 mAh, กล้องทั้งหน้าและหลัง, ระบบปฏิบัติการเป็น Ubuntu 24.04 และในอนาคตจะรองรับ Android 15 AOSP ด้วย ราคาขายเริ่มต้นที่ 149 ดอลลาร์ (5,022 บาท) สำหรับรุ่น 4GB/64GB และตัวท็อปสุดราคา 299 ดอลลาร์ (16GB/128GB)
ทีมพัฒนาเคอร์เนลของ Ubuntu ประกาศนโยบายการเลือกเคอร์เนลใหม่สำหรับ Ubuntu แต่ละรุ่น เปลี่ยนมาใช้แนวทางใหม่คือเลือกเคอร์เนลเวอร์ชันใหม่ที่สุดเสมอ แม้ยังไม่ออกรุ่นเสถียร (ยังเป็น Release Candidate หรือ RC) อยู่ก็ตาม
โครงการ Ubuntu มีระยะเวลาการออกรุ่นที่ตายตัวทุก 6 เดือน ในขณะที่เคอร์เนลลินุกซ์มีธรรมเนียมออกใหม่ทุก 2-3 เดือนแต่เวลาไม่ตายตัว เมื่อบวกกับทีมเคอร์เนลของ Ubuntu ต้องการเวลาราว 1 เดือนในการนำเคอร์เนลต้นน้ำ มาปรับแต่งเพื่อใช้งานใน Ubuntu ทำให้หลายครั้ง ทีมเคอร์เนลเจอปัญหาว่าระยะเวลาออกเคอร์เนลรุ่นใหม่ มาชนกับการออกดิสโทร Ubuntu รุ่นใหม่พอดี (ดูตัวอย่างตามภาพ ที่ Ubuntu 24.10 มาออกชนกับเคอร์เนล 6.11)
Ubuntu เตรียมทดลองคอมไพล์แพ็กเกจในดิสโทร ด้วยการรีดประสิทธิภาพแบบ O3 optimization ของคอมไพเลอร์ GCC ซึ่งจะทำให้แอพรันได้เร็วขึ้นกว่า O2 optimization ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
O3 optimization เป็นตัวเลือกของ GCC ที่มีอยู่แล้ว ข้อดีคือไบนารีที่คอมไพล์จะมีประสิทธิภาพตอนรันมากขึ้น แต่ต้องแลกมาด้วยระยะเวลาการคอมไพล์ที่นานกว่าเดิม และขนาดของไบนารีที่อาจใหญ่ขึ้น
Ubuntu บอกว่าเป้าหมายของดิสโทรคือการรีดประสิทธิภาพอยู่แล้ว ดังนั้นจึงต้องการทดลองดูว่าถ้าคอมไพล์เป็น O3 จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการรันงานรูปแบบต่างๆ มากน้อยแค่ไหน ก่อนนำข้อมูลไปตัดสินใจต่อไปว่าควรอยู่กับ O2 เหมือนเดิม หรือขยับไป O3
บริษัท DeepComputing จากฮ่องกง เปิดตัวโน้ตบุ๊กพลังซีพียู RISC-V โดยใช้ชื่อรุ่นว่า DC-Roma RISC-V Laptop II ที่ติดตั้ง Ubuntu 23.10 เวอร์ชันคัสตอมมาให้ตั้งแต่โรงงาน
DC-Roma RISC-V Laptop II ใช้ซีพียู RISC-V แบบแปดคอร์ SoC K1 จากบริษัทจีน SpacemiT, มีชิป NPU AI Fusion Computing Engine สมรรถนะ 2TOPS, แรม 8/16GB, สตอเรจสูงสุด 1TB, หน้าจอ 14" FHD, น้ำหนัก 1.36 กิโลกรัม ที่พิเศษกว่าโน้ตบุ๊กทั่วไปคือมีพอร์ต Development Interface แบบ 8-Pin สำหรับเชื่อมต่อเครื่องมือคอมไพเลอร์ภายนอก
Canonical ประกาศออก Ubuntu 24.04 LTS โค้ดเนม Noble Numbat ซึ่งถือเป็นรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว LTS รุ่นที่ 10 ของ Ubuntu ด้วย (รุ่นแรกคือ 6.04 LTS)
ของใหม่ใน Ubuntu 24.04 LTS มีจำนวนมาก ได้แก่
Canonical ผู้พัฒนาหลักโครงการ Netplan ออกรุ่น 1.0 พร้อมใช้งานเต็มตัว และ API ของ libnetplan1
จะเสถียรแล้ว
ก่อนหน้า Canonical ผลักดัน Netplan มาตั้งแต่ Ubuntu 16.10 โดยต้องการให้คอนฟิกง่าย ใช้ภาษา YAML สำหรับคอนฟิก แต่ที่ผ่านมาบนเดสก์ทอปนั้นยังใช้ NetworkManager อยู่ แต่แพตช์ให้แสดงคอนฟิกจาก Netplan ได้ด้วย แต่ตั้งแต่ Ubuntu 23.10 เริ่มแก้ให้ NetworkManager เป็นเพียงหน้ากากที่เขียนคอนฟิกเป็น Netplan เท่านั้น
Netplan 1.0 เพิ่มฟีเจอร์รองรับงานเดสก์ทอปมากขึ้น เช่น การรองรับ WPA2 และ WPA3 พร้อมกัน, รองรับการคอนฟิกย่านคลื่นตามประเทศ สำหรับฝั่งเซิร์ฟเวอร์มีคำสั่ง --diff
เพื่อแสดงความแตกต่างระหว่างคอนฟิกในไฟล์กับคอนฟิกในระบบ
Canonical ประกาศนโยบายรีวิวทุกแพ็กเกจที่ส่งเข้าระบบ Snap Store หรือรู้จักกันในชื่อ Snapcraft (สำหรับใช้ใน Ubuntu) ด้วยมนุษย์ หลังจากถูกโจมตีด้วยการส่งแพ็กเกจแอพ crypto wallet ปลอมเข้ามาในระบบ และมีผู้ใช้ถูกขโมยเหรียญคริปโตไปบ้างแล้ว
การลงทะเบียนแพ็กเกจ snap ใหม่จำเป็นต้องกรอกฟอร์ม อธิบายรูปแบบการทำงานของแพ็กเกจ และรอการรีวิวจากวิศวกรของ Canonical ก่อน (ใช้เวลา 2 วันทำการ) เมื่อผ่านแล้วจึงสามารถส่งแพ็กเกจเข้าระบบได้
การโจมตีคลังซอฟต์แวร์ยอดนิยมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลัง โดยเคสล่าสุดคือ PyPI ถึงขั้นต้องปิดรับแพ็กเกจใหม่ชั่วคราว และคลังอื่นๆ อย่าง GitHub, RubyGems, npm ก็เจอปัญหาแบบนี้กันถ้วนหน้า
บริษัท Canonical ประกาศขยายเวลาการซัพพอร์ต Ubuntu รุ่นซัพพอร์ตระยะยาว LTS เพิ่มขึ้นจากเดิมสูงสุด 10 ปีเป็น 12 ปี
การซัพพอร์ต Ubuntu LTS มีโครงสร้างดังนี้
Mozilla ออกแพ็กเกจ .deb ของ Firefox Stable เพื่อใช้กับดิสโทรลินุกซ์ตระกูล Debian, Ubuntu หลังจากเริ่มทดสอบรุ่น Nightly มาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2023
ข้อดีคือผู้ใช้ Debian, Ubuntu และดิสโทรอื่นๆ ที่อิงจาก Debian จะได้ใช้แพ็กเกจ Firefox รุ่นใหม่ล่าสุดจาก Mozilla โดยตรง ไม่ต้องรอเวอร์ชันของดิสโทรทำเอง ซึ่ง Mozilla บอกว่าจะได้ประสิทธิภาพที่ดีกว่า เพราะปรับแต่งคอมไพเลอร์ให้ทำงานตรงกับที่ตั้งใจไว้
Canonical ประกาศออกคอนเทนเนอร์ Ubuntu ขนาดเล็กพิเศษที่เรียกว่า "chiselled" เข้าสถานะ GA (general availability) อย่างเป็นทางการ
แนวคิดของ chiselled container คือการสกัดส่วนที่ไม่จำเป็นออกจากคอนเทนเนอร์ (ตามความหมายของคำว่า chisel ที่แปลว่าสิ่ว แต่ในที่นี้คือชื่อตัวจัดการแพ็กเกจของ Canonical) เหลือแค่ตัวแอพพลิเคชันและรันไทม์ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ไม่ต้องมีส่วนแพ็กเกจ ไลบรารี และซอฟต์แวร์อื่นของระบบปฏิบัติการติดมาด้วย ทำให้คอนเทนเนอร์มีขนาดเล็กลงมาก นำไปใช้ข้ามดิสโทรได้ และปลอดภัยกว่าเดิมเพราะลดพื้นที่การถูกโจมตีลง
โครงการ Ubuntu เตรียมเปลี่ยนฟอนต์มาตรฐานของระบบ จากเดิมใช้ฟอนต์ตระกูล DejaVu เปลี่ยนมาเป็นฟอนต์ตระกูล Noto ของกูเกิล
ฟอนต์ทั้งสองตัวเกิดมาด้วยแนวคิดเดียวกัน คือเป็นฟอนต์โอเพนซอร์สที่ใช้ได้อย่างเสรี และรองรับภาษาต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ฟอนต์ DejaVu ออกครั้งแรกในปี 2004 โดยนำฟอนต์ภาษาละติน Bitstream Vera ของบริษัทฟอนต์ Bitstream มาขยายผลต่อโดยเติมอักขระในภาษาอื่นๆ เพิ่มเข้ามา
บริษัท Canonical ประกาศรายละเอียดการทำ Ubuntu Core เวอร์ชันเดสก์ท็อป ที่ใช้แพ็กเกจแบบ Snap ทั้งหมด
Canonical มีดิสโทร Ubuntu Core มาตั้งแต่ปี 2014 โดยมีแนวคิดว่าแอพถูกอย่างถูกรันในคอนเทนเนอร์ (Docker/LXC) เพื่อเป็น sandbox ที่ปลอดภัย อัพเกรดและย้อนคืนได้ง่าย แต่ช่วงแรกยังจำกัดการใช้งานเฉพาะอุปกรณ์ IoT ที่ต้องใช้วิธีอัพเดตอัตโนมัติ
Canonical เรียกระบบปฏิบัติการที่มีแนวคิดนี้ว่า immutable operating system มีคุณสมบัติทั้งหมด 4 ข้อคือ
Canonical เตรียมออกดิสโทร Ubnutu Desktop ที่ใช้แพ็กเกจแบบ Snap ล้วนๆ ในปีหน้า 2023 โดยแยกเป็นอีกเวอร์ชันจากดิสโทรเดิมที่ใช้ระบบแพ็กเกจแบบ .deb
ข้อมูลนี้มาจาก Oliver Grawert ทีมงานของ Canonical ที่ไปตอบคอมเมนต์ในเว็บ OMG Ubuntu
Ubuntu ออกเวอร์ชัน 23.04 โค้ดเนม Lunar Lobster กุ้งมังกรแห่งดวงจันทร์ มีของใหม่ดังนี้
ที่มา - Ubuntu
ดิสโทรลินุกซ์ยอดนิยมอย่าง Ubuntu เลือกใช้ระบบเดสก์ท็อป GNOME เป็นหลัก แต่คนที่ชอบใช้เดสก์ท็อปแบบอื่นๆ ยังมีทางเลือกเสมอ เพราะ Ubuntu มีระบบ flavours เป็นดิสโทรทางเลือกที่ติดตั้งแพ็กเกจซอฟต์แวร์อื่นๆ แทนแพ็กเกจแบบดีฟอลต์ ตัวอย่าง flavours ที่โด่งดังหน่อยคือ Kubuntu (KDE) หรือ Xubuntu (Xfce)
Canonical เปิดตัว Ubuntu 22.04 LTS เวอร์ชัน real-time สำหรับอุปกรณ์ฝังตัวภาคอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องมีการตอบสนองทันที
จุดต่างของ Real-time Ubuntu จาก Ubuntu เวอร์ชันปกติคือเปลี่ยนมาใช้เคอร์เนลลินุกซ์ 5.15 แบบเรียลไทม์ (real-time kernel) ที่ใช้แพตช์ PREEMPT_RT มีค่า latency ต่ำ (เริ่มทดสอบ Beta มาตั้งแต่ปีที่แล้ว) และปรับแต่งมาให้เหมาะกับชิปของ NVIDIA, Intel, MediaTek, AMD-Xilinx ที่ใช้กันแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรม (รองรับทั้ง Arm และ x86)
ผู้ที่ต้องการใช้ real-time kernel จำเป็นต้องเสียเงินเป็นสมาชิก Ubuntu Pro หรือซื้อผ่าน App Store ของ Ubuntu ได้เช่นกัน
Canonical ปล่อย Ubuntu 22.10 Kinetic Kudu รุ่นคั่นกลาง โดยเน้นสองแนวทาง คือการใช้งานในคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก และการใช้งานสำหรับนักพัฒนา
การใช้งานในคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กนั้น OpenSSH ในเวอร์ชั่นนี้จะไม่รันเป็น daemon หลังบูตเครื่องอีกต่อไป แต่ใช้ฟีเจอร์ socket activation ของ systemd ให้รัน OpenSSH ขึ้นมาเองหลังมีการเชื่อมต่อ ทำให้โดยรวมระบบกินแรมน้อยลง
การพัฒนาบน IoT ยังรองรับ MicroPython เต็มรูปแบบ โดยแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง เช่น rshell, thonny, และ mpremote กลายเป็นแพ็กเกจมาตรฐานของ Ubuntu ระบบกราฟิกในเวอร์ชั่นนี้รองรับการแสดงบนหน้าจออื่นนอกเดสก์ทอป ซึ่งใช้งานกันบ่อยในงาน kiosk เช่นจอสัมผัสของ Raspberry Pi
Ubuntu Pro เป็นบริการ subscription ของบริษัท Canonical ที่ขยายเวลาดูแลแพตช์ความปลอดภัยให้แพ็กเกจซอฟต์แวร์ต่างๆ ของระบบนานเป็น 10 ปี เทียบกับดิสโทร LTS เวอร์ชันฟรีที่ซัพพอร์ตนาน 5 ปี (รูปแบบคล้ายกับ RHEL subscription ของฝั่ง Red Hat) โดยมีราคาเริ่มต้นที่ 225 ดอลลาร์ต่อเซิร์ฟเวอร์ต่อปี
ล่าสุด Canonical ประกาศแจกฟรี Ubuntu Pro สำหรับผู้ใช้งานส่วนตัว (personal license) จำนวนไม่เกิน 5 เครื่อง เพื่อขยายฐานลูกค้าให้มาลองใช้งานกันมากขึ้น
AWS มีบริการเช่าเดสก์ท็อปเสมือน (VDI) บนคลาวด์ Amazon Workspaces มานานตั้งแต่ปี 2013 (ตอนนั้นเป็น Windows 7)
ที่ผ่านมา บริการ Amazon Workspaces ขยับขยายมาเป็น Windows 10 และ Amazon Linux 2 ของ AWS เอง ที่ราคาถูกกว่าแต่อาจไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายนัก
Azure รายงานปัญหาบริการจำนวนมากที่ใช้ Ubuntu 18.04 เป็นฐาน ล่มไปทั่วโลก โดยเฉพาะบริการสำคัญๆ เช่น Azure Container Apps, Azure Kubernetes Service (AKS), Azure Database for PostgreSQL เป็นต้น
บั๊กนี้เกิดจากอัพเดตของ systemd จาก Ubuntu เป็นเวอร์ชั่น systemd 237-3ubuntu10.54 ที่หลังจากอัพเดตแล้วไม่สามารถ resolve DNS ได้อีกต่อไป เครื่องเซิร์ฟเวอร์ไม่สามารถติดต่อเซิร์ฟเวอร์ภายนอกได้ จนระบบล่มในที่สุด ทาง Canonical แนะนำวิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นด้วยการตั้ง FallbackDNS เสียก่อน
ลูกค้าที่ใช้ virtual machine ตามปกติ หากรัน Ubuntu 18.04 ก็จะได้รับผลกระทบด้วย แต่ผู้ใช้จำนวนมากอาจจะเจอปัญหาเนื่องจากบริการระดับแพลตฟอร์มของ Azure ล่มไป
ไมโครซอฟท์ร่วมมือกับ Canonical นำ .NET 6 รวมเข้าไว้ใน Ubuntu 22.04 (Jammy) อย่างเป็นทางการ ทำให้ผู้ใช้ Ubuntu สามารถติดตั้ง .NET 6 ด้วยคำสั่ง sudo apt install dotnet6
ได้เลย ไม่ต้องเพิ่ม repository ใดๆ อีก
Ubuntu ประกาศเปลี่ยน text editor ของระบบปฏิบัติการ จากของเดิม Gedit ที่ใช้มานานตั้งแต่ Ubuntu เวอร์ชันแรก มาเป็น GNOME Text Editor ตัวใหม่ของโครงการ GNOME
GNOME เพิ่งเปลี่ยน text editor ในเวอร์ชันล่าสุดคือ GNOME 42 และดิสโทรอื่นคือ Fedora 36 เริ่มนำมาใช้ก่อนแล้ว กรณีของ Ubuntu เวอร์ชันล่าสุด 22.04 LTS ใช้ GNOME 42 เหมือนกัน แต่ยังคงแพ็กเกจ Gedit ไว้เป็นดีฟอลต์อยู่ ในเวอร์ชันถัดไป Ubuntu 22.10 จะย้ายมาใช้ GNOME Text Editor แทน