Tags:
Node Thumbnail

Reuters รายงานว่า Foxconn มีแผนลงทุนในการขยายโรงงานในอินเดียเป็นมูลค่ากว่า 1 พันล้านเหรียญ ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากที่สุดที่ Foxconn เคยลงทุนมา

แหล่งข่าวของ Reuters บอกด้วยว่าการลงทุนครั้งนี้ของ Foxconn เป็นส่วนหนึ่งของการทำตามคำขอของแอปเปิล ที่อยากให้ย้ายฐานการผลิตออกจากจีน ซึ่งแอปเปิลต้องการย้ายออกแบบเงียบ ๆ และค่อยเป็นค่อยไป เพื่อหนีสงครามการค้า

โรงงานของ Foxconn ที่จะมีการขยายเพิ่มเติมอยู่ในเมือง Sriperumbudur ตอนใต้ของรัฐทมิฬนาฑู ซึ่งเป็นโรงงานที่เคยใช้ผลิต iPhone XR การขยายโรงงานคาดว่าจะใช้เวลาราว 3 ปี สร้างงานเพิ่มขึ้นราว 6,000 ตำแหน่ง

ที่มา - Reuters

ภาพจาก Foxconn

Get latest news from Blognone

Comments

By: sudlor_gang on 13 July 2020 - 11:21 #1166846

ไม่สนใจมาไทยหรอ
ที่นี่น่าลงทุนนะ

By: IDCET
Contributor
on 13 July 2020 - 11:54 #1166850 Reply to:1166846

บ้านเรามีปัญหาตรงนี้ครับ

วัตถุดิบ ภาษีนำเข้าและส่งออก ทักษะและคุณภาพแรงงาน ค่าก่อสร้างโรงงานและเงินเดือนพนักงาน และเรื่องการเมือง


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว

By: TheOrbital
iPhoneWindows PhoneAndroidSymbian
on 13 July 2020 - 12:09 #1166854 Reply to:1166850
TheOrbital's picture

ทักษะและคุณภาพนี่ผมขอค้านนะ ยิ่งแนวอิเลคโทรนิคผมว่าไทยมีพอตัวเลย แต่เรื่องค่าแรงงานกับการเมืองนี่เห็นด้วย

By: Bigkung
iPhoneWindows Phone
on 13 July 2020 - 12:44 #1166861 Reply to:1166850
Bigkung's picture

ทักษะเราไม่แพ้หรอก เราแพ้เรื่องค่าแรงสูงไม่คุ้มกับสิ่งที่ได้ ยกเว้นพวกเฉพาะทาง

By: iDan
ContributorAndroidSUSEUbuntu
on 13 July 2020 - 13:35 #1166876 Reply to:1166850

ผมขอค้านนะ
เรื่องวัตถุดิบ ปกติก็จัดกันมาจากต่างประเทศอยู่แล้ว และในการจัดซื้อแต่ละครั้งก็มีมาตรฐานในการจัดซื้อและตรวจรับ ถ้าไม่ได้ตามที่ทำสัญญาซื้อ-ขายกันก็จะตรวจรับกันไม่ได้สิ? ถ้าคุณบอกว่า มีปัญหาอธิบายมาครับ มีปัญหาตรงไหน?

เรื่องภาษีนำเข้าและส่งออก
บ้านเราไม่มีภาษีส่งออกนะครับ มีแต่ภาษีนำเข้าทั้งฝั่งขาเข้าปลายทาง และขาเข้าฝั่งเรา ซึ่งก็ต้องชั่งน้ำหนักกันครับ ว่า คุ้มไหม?

เรื่องทักษะและคุณภาพแรงงาน
ทักษะแรงงานบ้านเราเหนือกว่าใน หลาย ๆ ประเทศนะครับ อย่างโตโยต้าสั่งเซียนต้าเข้ามาจากอินโดเนเซียยังต้องเอามาปรับสภาพเลยครับ เพราะอินโดประกอบได้ห่วยกว่าช่างไทยอีกครับ
แต่เรื่องคุณภาพผมไม่เถียง พนักงานบ้าน ๆ ยังไม่หย่อนยานเรื่องนี้อยู่ เช่น อยู่ ๆ ก็ลางาน เพียงเพราะ เพื่อนบ้านเสีย เลยไปงานศพ หรือ ลาปลูกข้าว ลาเกี่ยวข้าว และอยู่ดี ๆ ก็ลาป่วย ซึ่ง 1 ปี พี่แกลาป่วยกัน 60-80 วัน เป็นต้น
เรื่องค่าแรง ผมก็ไม่เถียงครับ เรื่องนี้ก็คนไทยเลือกกันขึ้นมาเองไม่ใช่หรือครับ?? ตอนหาเสียงค่าแรง 300 บาทน่ะ เขาก็ทำให้แล้ว ตอนนี้ก็รับกรรมกันไป

ส่วนค่าก่อสร้างโรงงาน
ค่าก่อสร้างโรงงาน มันมีผลต่อการตัดสินใจน้อยครับ ที่นักลงทุนจะตั้งโรงงานหรือไม่? มันอยู่ที่ผลประโยชน์ที่เขาจะได้รับจากรัฐบาล และสังคมของประเทศนั้นมากหรือน้อยครับ ถ้าได้มากพอที่คุมกับการตั้งโรงงานในชั่วระยะนึงและได้กำไรมากก็มาตั้งครับ

เรื่องการเมือง และกฎหมาย
อันนี้ไม่เถียงครับ การเมืองบ้านเราไม่นิ่งเอง จะไปเจรจา FTA กับใครก็ไม่ได้

สรุป ที่หลาย ๆ กิจการไม่มาตั้งที่ปะเทศ ไม่ใช่ว่า เขาไม่สนใจ แต่เขาไม่ได้รับผลประโยชน์มากกว่าที่ประเทศอื่นให้เขา + ภาษีนำเข้าปลายทาง และบ้านเรา + ทักษะและคุณภาพแรงงาน + การเมืองและกฎหมาย + ปัจจัยอื่น ๆ ตามแต่ละประเภทอุตสาหกรรม ครับ

By: deaknaew on 13 July 2020 - 15:03 #1166902 Reply to:1166876

บ้านเราไม่มี แต่บ้านเขามี และมันสูงด้วย เลยต้องผลิตเอง เหมือนรถยนต์ไง
Demand เยอะพอให้ลงทุนผลิตเองขายในประเทศคุ้มกับภาษีนำเข้า(ราคาขายปลีก) เขาก็ตั้งโรงงาน

By: hail_to_the_thief
iPhone
on 13 July 2020 - 15:14 #1166904 Reply to:1166876

+1 คนไม่รู้เรื่อง สักแต่จะด่าหาได้ทั่วไป ขีวิตจริงไม่รู้มีประสบการณ์ทำอะไรมาบ้าง

อีกตัวแปรที่โคตรสำคัญเลยคือ ขนาดของตลาดภายในประเทศ
การจะทำ economies of scale มันต้อง forecast agg. demand ทั้งตลาดนอก ตลาดใน

By: IDCET
Contributor
on 13 July 2020 - 16:57 #1166931 Reply to:1166876

อันนี้ผมเห็นด้วยนะ แต่มีบางข้อที่ผมสงสัยอยู่

  • ถ้าวัตถุดิบต้องนำเข้า บางกรณีก็อาจมีผลทำให้ต้นทุนสูงขึ้น (พ่วงพร้อมภาษีนำเข้าและศุลกากร) เว้นแต่จะได้รับการยกเว้นโดยกฎหมายหรือได้ในราคาที่ทำกำไรได้ แต่ถ้าสามารถหาได้จากในประเทศ ก็อาจได้ในราคาที่ถูกกว่าเดิม เพิ่มงานให้กับพื้นที่ และได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐด้วยอีก

  • เรื่องทักษะเนี่ย บ้านเรามีครับ ผมไม่เถียง แต่มักจะเป็นฝ่ายประกอบและการผลิตทั่วไป อย่างรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ทีวี การ์เมนท์ ฯลฯ ส่วนของการผลิตอุปกรณ์และ SoC ในระดับสูง ซึ่ง iPhone เป็นอย่างหลัง เรายังมีในปริมาณที่น้อยอยู่ อย่างเช่นมือถือ Sony ก็ผลิตในไทยนะ และยังมีกระจุกกันอยู่ อย่าง Celestica และ Cal-Comp ที่ผมพอรู้จักบ้าง

  • การก่อตั้งโรงงาน ก็อย่างที่คุณบอก แต่ก็อยู่กับทำเลด้วย เพราะในบางพื้นที่ก็ต้องทำให้รองรับปัญหาน้ำท่วมด้วย และต้องใกล้การจัดขนส่งและท่าเรือในการส่งออกสินค้า อีกเรื่องก็กฎหมายฝังเมืองและที่ดิน และการติดตั้งสายการผลิต ก็ใช้งบเยอะอยู่นะครับ บางกรณีก็อาจเลือกซื้อโรงงานเดิมมาปรับปรุงหรือหาที่ดินว่างแล้วสร้างเองเลยก็มี

ส่วนการส่งออกผมก็พึ่งทราบครับว่าบ้านเราไม่มีภาษีเก็บตรงนี้ ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว

By: iDan
ContributorAndroidSUSEUbuntu
on 13 July 2020 - 17:52 #1166941 Reply to:1166931

โอเคครับ

เรื่องวัตถุดิบนำเข้านะครับ
เดี๋ยวนี้สินค้าพิกัดภาษีกลุ่มวัตถุดิบ ภาษีนำเข้าถูกลดเป็น 0% สำหรับ FTA ที่ประเทศไทยหรืออาเซียนไปทำด้วย ทำให้ไม่มีภาษีนำเข้าแล้วนะครับ ทำให้ผู้ผลิตในประเทศไทย ณ ตอนนี้ซื้อวัตถุดิบจากประเทศที่ประเทศไทยและอาเซียนไปทำ FTA ไว้ด้วยครับ ส่วนการหาวัตถุดิบได้จากในประเทศจะได้ราคาถูกกว่าเดิม ไม่จริงครับ เพราะว่า สินค้าพวกนี้เรียกว่า สินค้ากลุ่ม community มันมีราคากลางของมันครับ ดังนั้นเขาจะซื้อจะขายก็ใช้ราคากลางครับ ยกเว้นวัตถุดิบที่หาได้จากในประเทศ เกรดต่ำกว่า ราคาก็จะถูกกว่าครับ แต่โดยส่วนมากจะแพงกว่าครับ เพราะกว่าจะขุดได้ เสียเงินอย่างว่าไปเยอะครับ จ่ายรายทางกันเยอะ... จนตอนนี้ผมนำเข้าวัตถุดิบจากจีนมาผลิตในไทยยังคุ้มกว่า... ส่วนเรื่องเพิ่มงานให้กับพื้นที่ และได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ แน่นอนสิครับ เอาเงินมาจ่ายใต้โต๊ะให้เขา ทำไมจะไม่ชอบ?
การนำเข้าวัตถุดิบมาผลิตแล้วส่งออกไม่ใช่เรื่องเสียหาย เรียกว่ามีส่วนทำให้ต้นทุนสินค้าเพิ่มน้อยมากครับ ที่หลัก ๆ มันคือค่าแรงครับ ตัวการหลัก ๆ เลย ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้านำเข้ามาใน Freezone ไม่โดนภาษี VAT ครับ แต่ถ้าโรงงานไม่ได้รับอนุญาต Freezone ก็โดนภาษีมูลค่าเพิ่มก่อน ส่งออกไปแล้วก็ค่อยขอคืนทีหลังครับ (แน่นอน ว่าโดนกรมสรพพากรสอบ แต่ถ้าทำถูกต้องทุกเม็ดจะกลัวอะไร? สอบหลาย ๆ รอบ ไม่เจอความผิด เดี๋ยวก็เบื่อกันไปเอง)

เรื่องทักษะ
อยู่ที่คนรุ่นใหม่แล้วล่ะครับ ว่าเราจะพัฒนาเทคโนโลยีได้เร็วแค่ไหน? ในการสร้างคุณภาพและลดต้นทุนให้กับผลิตภัณฑ์ กับ Economy of scale ไม่มีพอครับ 2 อย่างนี้ ถ้ามีพอ 2 สิ่งนี้ เราก็คงได้เห็น TSMC = Thailand Semiconductor Manufacturing Company (ฝันแป๊บ)

การก่อสร้างโรงงาน
นั้นจึงเป็นเหตุผลที่รัฐบาลดัน EEC #หนักมาก เลยพยายามทำให้มันเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เรียกว่า ทุกสิ่งอย่างที่คุณว่ามาพร้อมครับ แค่ทุก ๆ วันนี้เกิดโควิดในจีน บริษัทจีนหลายบริษัทมาจับจองนิคมใน EEC ก็เยอะครับ

แต่อย่างเดียวที่บริษัทต่างชาติทั้งหลายที่เข้ามาในประเทศไทยต้องรับให้ได้คือ......

คนไทยต้องถือหุ้นในบริษัทมากกว่าหรือเท่ากับ 51% มิฉะนั้นจะถือว่า เป็นบริษัทต่างด้าว เป็นเจ้าของที่ดินไม่ได้ครับ แต่ทุก ๆ วันนี้นอมินีก็เยอะนิครับ 555

ผมทำธุรกิจเกี่ยวกับส่งออกด้วยเลย จะรู้เรื่องพวกนี้ครับ

By: readonly
iPhone
on 13 July 2020 - 12:09 #1166855 Reply to:1166846
readonly's picture

ค่าแรงแพง ค่าแรงแพง ค่าแรงแพง

By: nrml
ContributorIn Love
on 13 July 2020 - 15:48 #1166915 Reply to:1166855
nrml's picture

จากที่เคยฟังมา ค่าแรงที่จีนก็ไม่ได้ถูกแล้วครับ แต่ที่ก่อนหน้านี้ยังดึงดูดอยู่เพราะที่นั่นมีทุกอย่างครบวงจร ฉะนั้นการพิจารณาจะตั้งฐานการผลิตเรื่องค่าแรงไม่ใช่ปัจจัยหลักปัจจัยเดียวที่เค้าจะเอามาพิจารณา

By: readonly
iPhone
on 14 July 2020 - 06:28 #1166976 Reply to:1166915
readonly's picture

ค่าแรงไม่ใช่ปัจจัยเดียว แต่ก็เป็นปัจจัยที่มีน้ำหนักมากสุดแหละครับ
ล่าสุดที่ pana ย้ายจากไทยไปเวียดนามก็ด้วยพิษค่าแรงเหมือนกัน สาเหตุอื่นๆ เช่นขนาดของตลาดภายในประเทศ สิทธิ์ทางภาษี นโยบายรัฐ เป็นส่วนประกอบ

By: nrml
ContributorIn Love
on 14 July 2020 - 11:04 #1167017 Reply to:1166976
nrml's picture

อย่างที่บอกครับ ที่จีนค่าแรงมันไม่ได้ถูก ทำไมเขาถึงยังอยู่ที่นั่นตั้งนาน เพิ่งจะมาพิจารณาย้ายเมื่อไม่นานมานี้จากเรื่องของการเมือง

By: loptar on 14 July 2020 - 12:00 #1167029 Reply to:1167017
loptar's picture

จีนมีข้อได้เปรียบอยู่อีกหลายอย่าง เช่นเหมืองแร่ rare earth โรงงานแปรรูปแร่พวกนี้ มีทุกขนาด ทุกเกรด แถมเรื่องการจดการมลพิษ ก้ไม่ค่อยเข้ม (เดี๋ยวนี้ก็เริ่มเข้มขึ้นละ) ระบบการตั้งโรงงาน ตั้งบริษัท งานขออนุญาติต่างๆ เบ็ดเสร็จเด้ดขาด เร็วมาก เร็วกว่าเราเยอะ

By: Bigkung
iPhoneWindows Phone
on 28 July 2020 - 18:47 #1168926 Reply to:1167017
Bigkung's picture

ตังไปแล้วลงทุนไปแล้วตอนค่าแรงถูกๆ และห่วงโซ่อุปทานอยู่นั่นซะส่วนมากแล้ว จะย้ายก็ต้องขอคุ้มทุนหรือกำไรก่อน ไม่ใช่ค่าแรงแพงกว่าปุ๊บย้ายปั๊บ แบบนั้นตายครับ ทนได้ก็ทนถ้ายังมีข้อดีอยู่ เหตุผลหลักๆคือลงทุนไปแล้ว อีกอย่างไทยค่าแรงแพงก่อนเขามาลงทุนเขาถึงไม่หลวมตัวเข้ามาไง แต่พวกที่เข้ามาแล้วก็ไม่ได้ย้ายออกไปทันทีนะ ลองสังเกตดูสิ

จนตอนนี้ จีนมีเรื่องกับอเมริกา เลยต้องยหาเรื่องย้ายแบบจริงจัง

By: zipper
ContributorAndroid
on 13 July 2020 - 13:15 #1166870 Reply to:1166846

ที่ไทยค่าแรงน่าจะแพงแล้วล่ะ ก่อนหน้านี้ที่มีโรงงานปิดย้ายไปเปิดที่ประเทศอื่นก็เพราะเรื่องค่าแรง

By: api on 13 July 2020 - 14:03 #1166881 Reply to:1166846

ขนาด cptpp ยังค้านกันมั่วๆเลยแล้วต่างชาติจะกล้ามาลงทุนไหม

By: pepporony
ContributorAndroid
on 13 July 2020 - 13:24 #1166872

แล้วไปอินเดียด้วยนะ เหมือนตบหน้าจีน 555

By: gololo
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 13 July 2020 - 13:37 #1166877

ขั้นต่ำ
อินเดีย $ 767 ต่อปี
เวียดนาม $ 1220 ต่อปี
.
.
.
ไทย $ 2882 ต่อปี

บ้านเรานายทุนล้มรายย่อยคนไทยก็รักสบายไม่สนับสนุนรายย่อย หากินกับคนจนต่อให้ขึ้นไปเป็น $10000 ก็จนอยู่ดี จะขายแพงยังไงก็มีคนซื้อเพราะรายย่อยตายไปหมดแล้ว แบรนในเครือตัวเองเต็มร้าน

By: readonly
iPhone
on 13 July 2020 - 15:34 #1166909 Reply to:1166877
readonly's picture

เต็มร้านสิ ใครทำของมาฝากขาย เห็นเค้าขายดีทำแข่งเฉย คนเสียหัวคิดแทบตาย เจ้าสัวขี้ก๊อปรวยเอาๆ

By: zipper
ContributorAndroid
on 13 July 2020 - 16:06 #1166923 Reply to:1166877

ผมเห็นหลายคนอยากเห็นสินค้าไทย made in thailand ทุกชิ้น แต่ก็รู้สึกว่ามันคงเป็นไปไม่ได้หรอก เพราะค่าแรงไทยแพง ถึงจะทำได้แต่ราคาสินค้าก็จะแพงกว่าสินค้าที่ไปผลิตในประเทศที่ค่าแรงถูกกว่า แล้วก็จะมีบอกว่าสินค้าไทยคนไทยทำเองทำไมแพงกว่าสินค้าต่างประเทศ (ที่มักจะคิดว่าโดนภาษีนำเข้ามาแล้วราคาน่าจะสูงกว่า)

ก็เข้าใจว่ามันดูมีความภาคภูมิใจที่คนไทยทำได้ แต่ก็อยากให้มองในทางธุรกิจด้วย

น่าจะให้ความสนใจว่าใครเป็นเจ้าของมากกว่า

By: maximusmx on 14 July 2020 - 17:56 #1167089

Apple ย้ายมาบาง product มาไทยแล้วครับ เป็นบริษัทที่ ผมทำอยุ่ตอนนี้