การเข้ารหัสเว็บได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมาในช่วงหลัง ทำให้หลายคนอาจจะมีเหตุผลให้ต้องใช้บริการ VPN น้อยลงกว่าแต่ก่อน โดยหลายคนอาจจะใช้ VPN เพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัวทำให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ซึ่งเป็นหน่วยงานในไทย) มองไม่เห็นว่าเรากำลังใช้งานอะไรอยู่บ้าง หรือต้องการเข้าถึงคอนเทนต์บางส่วนที่หลายครั้งเข้าจากประเทศไทยไม่ได้ เช่นการชมวิดีโอที่ล็อกตามไอพีที่ใช้งาน
บริการ VPN ที่เสียเงินแบบไม่แพงหรือแม้กระทั่งฟรีนั้นมีให้เลือกหลากหลาย สำหรับบริการฟรีและง่ายที่สุดในตอนนี้คงเป็น Cloudflare WARP ที่สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องลงทะเบียนใดๆ แต่ก็มีข้อจำกัดว่าไม่สามารถเลือกประเทศปลายทางที่ต้องการออกจาก VPN ได้ และเว็บที่ให้บริการบน Cloudflare จะมองเห็นไอพีที่แท้จริงของเราเหมือนกับการเชื่อมต่อเว็บโดยไม่ได้ใช้ VPN
ผมเองเคยเขียนถึงการคอนฟิกเซิร์ฟเวอร์ OpenVPN ไว้ตั้งแต่ปี 2014 และที่จริงแล้ว OpenVPN ก็ยังใช้งานได้ดีในกรณีส่วนมาก แต่การคอนฟิก OpenVPN ก็ยังต้องการความรู้เชิงเทคนิคค่อนข้างมาก โดยเฉพาะความสามารถในการคอนฟิกเซิร์ฟเวอร์เองบางส่วน ในปี 2018 กูเกิลก็มีโครงการ Outline สร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการสร้างเซิร์ฟเวอร์ VPN ด้วยตัวเอง ทำให้คนวางเซิร์ฟเวอร์แทบไม่ต้องมีความรู้เฉพาะทาง และทุกวันนี้โครงการก้าวหน้าไปมากจนกระทั่งหลายคนอาจใช้งานกันเองได้
ข้อดีสำคัญของ Outline คือเซิร์ฟเวอร์อยู่ในความควบคุมของเราเอง โดยเราอาจจะสร้างเซิร์ฟเวอร์ขึ้นมาใช้งานส่วนตัวคนเดียวหลายอุปกรณ์ หรือจะแชร์เซิร์ฟเวอร์ให้คนรู้จักใช้งานก็ได้ (disclaimer: ประเทศไทยมีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่บังคับให้การให้บริการอินเทอร์เน็ตผู้อื่นต้องเก็บ log 90 วัน การแชร์เซิร์ฟเวอร์ VPN โดยไม่มี log เป็นความเสี่ยงของแต่ละคนเอง แม้โดยปกติเราจะแชร์อินเทอร์เน็ตให้ครอบครัวในบ้านใช้พร้อมกันหลายคนเป็นธรรมดาก็ตาม)
Outline แบ่งเป็นสองส่วน คือ Outline Manager สำหรับจัดการเซิร์ฟเวอร์ สามารถติดตั้งได้บนเดสก์ทอปเท่านั้น และ Outline Client ที่สามารถติดตั้งได้ทั้งบนเดสก์ทอปและโทรศัพท์มือถือ โดย Outline Manager จะขอสิทธิการจัดการเซิร์ฟเวอร์บนคลาวด์ที่เราต้องสร้างบัญชีขึ้นมาเอง โดยผู้สนใจดาวน์โหลดทั้ง Outline Manager และ Outline Client ได้ที่เว็บ getoutline.org
Outline Manager เป็นโปรแกรมตัดตั้งและควบคุมเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้งานได้กับคลาวด์หลายเจ้า แต่เจ้าที่ทำงานได้ดีที่สุดและแนะนำที่สุดคือ DigitalOcean เพราะค่าใช้งานค่อนข้างถูก เริ่มต้นเดือนละ 5 ดอลลาร์ และอีกอย่างหนึ่ง DigitalOcean นั้นรองรับการใช้งานแบบเติมเงิน ทำให้เราไม่ต้องกลัวว่าจะมีคนใช้จ่ายล้นจนน่าตกใจนัก ในบทความนี้เราจะข้ามการสมัครและเติมเงิน DigitalOcean ไป โดยสามารถจ่ายผ่าน Paypal เป็นรอบๆ ได้ทำให้ไม่ต้องใส่เลขบัตรเครดิตให้ทาง DigitalOcean แต่อย่างใด
เมื่อเลือกเข้าโปรแกรม Outline Manager ครั้งแรก (สังเกตโลโก้จะเป็น 6 เหลี่ยม) และเลือก DigitalOcean ตัวโปรแกรมจะให้เราเปิดหน้าเว็บของ DigitalOcean และขอสิทธิการจัดการคลาวด์
เมื่อให้สิทธิจัดการแล้ว ตัวโปรแกรมจะถามว่าเราต้องการสร้างเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไว้ที่ประเทศอะไร ถ้าใครต้องการใช้งานประสิทธิภาพดีหน่อยก็ควรเลือกสิงคโปร์เพราะใกล้ไทยที่สุด
เมื่อเลือกประเทศแล้วตัว Outline Manager จะเข้าไปสร้างเซิร์ฟเวอร์บนคลาวด์ให้เอง เรารออย่างเดียว
หลังจากสร้างเครื่องเสร็จ โปรแกรม Outline Manager จะให้ key สำหรับล็อกอิน VPN มา key เพียงบรรทัดเดียวสามารถใช้ล็อกอินได้ทันที โดยเราสามารถสร้าง key แยกสำหรับทุกอุปกรณ์ (หรือทุกคน) ได้จาก Outline Manager รวมถึงจำกัดปริมาณการใช้งานของกุญแจแต่ละตัวได้ด้วย
ตัวอย่าง key เช่น ss://Y2hhY2hhMjAtaWV0Zi1wb2x5MTMwNTp0MXVsandFVzZERlk=@206.189.36.185:21806/?outline=1
โดยในบรรทัดเดียวนี้จะระบุข้อมูลเชื่อมต่อ ได้แก่
ss://
เป็นโปรโตคอลที่ใช้เชื่อมต่อ แบบเดียวกับ https:// ที่ใช้เปิดเว็บY2hhY2hhMjAtaWV0Zi1wb2x5MTMwNTp0MXVsandFVzZERlk=
กุญแจเข้ารหัส เป็นกุญแจรักษาความลับระหว่างเครื่องที่ใช้งานและเซิร์ฟเวอร์ ห้ามทำรั่ว@206.189.36.185:21806
บอกไอพีและพอร์ตที่ใช้เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์/?outline=1
ระบุว่าเป็นกุญแจสำหรับโปรแกรม Outlineเมื่อดาวน์โหลด Outline Client มาแล้วหน้าจอหลักคือการ Add Server เมื่อคลิกจะขอ key ที่เราได้มาจาก Outline Manager เมื่อใส่ key และเชื่อมต่อก็จะได้ VPN ไว้ใช้งาน สามารถทดสอบด้วยการค้นกูเกิลว่า "my ip" ซึ่งจะเป็นการแสดงค่าไอพีที่กูเกิลมองเห็น จะพบว่าเป็นเลขเดียวกับเซิร์ฟเวอร์ที่เราเห็นใน Outline Client แล้ว
DigitalOcean มีค่าใช้บริการ 5 ดอลลาร์ต่อเดือน และเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ฟรี 1,000GB ค่าบริการเกินกว่านั้นคิด 0.01 ดอลลาร์ต่อ GB
ค่าใช้จ่ายที่ไม่แพงมากทำให้เราเปิดใช้งานทิ้งไว้ได้ (โดยเฉพาะหากหารกับเพื่อน) อย่างไรก็ตามเมื่อใช้งานเสร็จสิ้นแล้วควรปิดเซิร์ฟเวอร์ทิ้งเสีย โดยเข้าหน้าคอนโซลของ DigitalOcean เลือกเมนู Droplets แล้วคลิก More เพื่อ Destroy เครื่อง
Comments
Inbound ของ DO ฟรี เพราะงั้นใช้ได้เต็ม 1,000GB หรือเปล่าครับ
โอ พลาด แก้ไขตามนั้นครับ
lewcpe.com, @wasonliw
.
เชื่อมตอนไหนครับ? นอกจากการขอข้อมูลการใช้งาน (share anonymous metrics) ที่ไม่ได้เปิดเป็นค่าเริ่มต้น ผมไม่เห็นที่อื่นแล้วนะครับ
เอ้า ลบหนีซะงั้น
lewcpe.com, @wasonliw
เชื่อมทุกครั้งที่ทำการอัพเดท
Jigsaw collects crash logs with non-identifiable data. They also collect all server IPs but can’t access those servers — I’m not sure why Jigsaw wants to see all IPs. You can also opt in to share more usage data.
https://techcrunch.com/2018/03/22/alphabets-outline-lets-you-build-your-own-vpn/
ผมใช้มา 2 ปีกว่าแล้วใช้แค่งานทั่วๆ
แถมให้อีกนิดนึง
Server software updates
Outline servers automatically update with the latest security improvements so that you are always running the latest Outline technology. The automated update process is enabled by using Watchtower , an open-source library that regularly checks and updates the docker image containing the Outline software.
เซิร์ฟเวอร์มันก็ต้องอัพเดตซอฟท์แวร์จากสักที่นะครับ ซึ่งมันก็ต้องรู้ไอพีของเครื่องที่จะมาดาวน์โหลด (ไม่งั้นมันส่งไฟล์ไม่ได้) เช่นเดียวกับผมใช้ Ubuntu ทาง Canonical ก็รู้ไอพีของเซิร์ฟเวอร์ผม ส่วนจะหลบเลี่ยง ตั้ง mirror เอง หรือใช้ mirror ที่ไว้ใจอันนั้นก็อีกเรื่อง
อันนี้เข้าใจว่าหมายถึงสคริปต์ติดตั้งอัตโนมัติมาตรฐานด้วย ถ้าจะดาวน์โหลด package มาติดเองก็คงทำได้แต่ก็เพิ่มความยุ่งยากเข้าไป
คอมเมนต์ต้นทางของคุณที่บอกว่ากูเกิลรู้ทุกการเชื่อมต่อนี่ mislead มากครับ
lewcpe.com, @wasonliw
ก็ผมถึงลบออกไงครับกำลังจะเปลี่ยนคำใหม่คุณก็มาตอบพอดี
มันไม่เหมือนกับ VPN ชนิดอื่นๆเช่น Openvpn หรือ Wireguard ที่สามารถโหลด Package มาติดตั้งเอง
ได้ส่วนการอัพ Software ในเครื่องเราก็ใช้ VPN ได้หรือจะให้ Route ผ่าน Tor เพื่ออัพเดทก็ได้แต่ Outline อยู่ในรูปแบบของ Docker ผมเองก็ยังไม่ได้ศึกษา Code เท่าไหร่ว่าจะแก้ตรงส่วนนี้ได้มั้ย
เป็นข่าวที่ทันสถานการณ์มาก ๆ ฮ่า
ว่าแต่ VPN extension ฟรีบน web browser ยี่ห้อต่าง ๆ นี่ก็พอเอามาใช้ชั่วคราวได้ไหมครับ ? มันมีข้อเสียอะไรบ้าง หรือว่าข้อมูล browsing ต่าง ๆ เราถูกเก็บเอาไปขาย ?
That is the way things are.
VPN free ส่วนมากจะช้าครับ
ลอง opera ได้ เปิด VPN แล้วช้าสะบัด
ลอง Softether กับ VPNGate ดูก็น่าสนใจอยู่นะครับ มีหลายตัว จากหลายประเทศ มีแบบไม่ต้องติดตั้งอะไรเลย ไปตั้งค่าใน OS เอา และใช้กับ OpenVPN ได้ด้วย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
VPN ที่โฆษณาแทบทุกเจ้า ไม่มีที่ไหนเลยที่ไม่เก็บข้อมูลไปขาย แค่มันเป็น anonymous เท่านั้น ไม่งั้นหาทุนมาโปะราคาถูก ๆ ไม่ได้ ที่เหลือไม่มีอะไรมาก ถ้าอย่างของมือถือก็กดดูโฆษณา ซึ่งก็โดน track จาก 3rd party อีกทีอยู่ดี
ถ้าเอาแบบฟรี โดน track ยากมาก ๆ มีตัวเลือกเดียวคือ Tor แต่ความเร็วก็ลดเป็นเงาตามตัว
ของฟรีที่น่าเชื่อน่าจะ ProtonVPN
กระทรวงดิจิตอลควรให้ความรู้ประชนในเรื่องนี้นะ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
ทำบริการ VPN เข้าไปที่กระทรวง ใช้ฟรี 555
ขอบคุณสำหรับความรู้คร้าบ
..: เรื่อยไป
ย่อหน้าที่ 6
คนใช้จ่ายล้นจนน่าตกใจนัก >> ค่าใช้จ่ายล้นจนน่าตกใจนัก
ขอบคุณคุณ lew สำหรับบทความนะครับ
ถ้าไม่ได้จะใช้เพื่อความบันเทิงเช่นดู content ที่มีเฉพาะบางประเทศแต่ต้องการหลีกเลี่ยงการปิดกั้นข่าวสารใช้ Tor ก็ได้นะครับ มีข้อเสียด้านความเร็วแต่ก็ใช้งานง่ายเหมือน install browser อีกตัวนึงบนเครื่องธรรมดา
สุดสัปดาห์นี้ อาจได้ลองใช้ยาวๆ
ใช้ 1.1.1.1
outline นี่ดีจริงๆครับตอนแฟนไปจีนลอง VPN เกือบทุกตัวไม่มีตัวไหนเวิร์ค เปิด outline ใช้เอาอยู่หมัดถูกกว่าเซ็ทง่ายและเสถียรมาก
note ไว้นิดนึงถ้าใช้ Digital Ocean เป็น Host จะดู netflix ไม่ได้ครับ
ถ้าใช้บน google cloud free tier ใช้ data transfer ได้เท่าไหร่เหรอครับ
ถ้าเป็น compute engine ก็ 1GB ครับ ซึ่งก็ค่อนข้างช้าและแพง ซึ่งทั้ง azure และ aws ก็ให้ไม่ต่างกัน
outline มันได้ ip เดิม แต่ดีที่ gen client ได้เรื่อยๆ
ผมใช้สำหรับงานที่ fixed ip เท่านั้น
ถ้าใช้งานจริงๆ ผมแนะนำ purevpn โปร 5 ปี ไม่ถึง 79.95USD
1 user ต่อได้ 10 device เอาไปแชร์กับเพื่อนก็ได้
ใช้เทคนิคนิดหน่อย สมัครแบบ 1 ปีไปก่อน แล้วเข้าไปข้างใน มันจะให้อัพเกรดเป็น 5 ปีได้
Simple, companies don't want to lose their market shares for others. Moreover, the thing is already exist, but in OpenVPN and Tor.