แอปเปิลเปิดตัว MacBook Air, MacBook Pro และ Mac Mini รุ่นแรกที่ใช่ชิปประมวลผล M1 ซึ่งถือเป็น Apple Sillicon รุ่นแรกสำหรับแมคเมื่อวันที่ 10 พ.ย. และในวันนี้เริ่มมีผลเบนช์มาร์คในเว็บไซต์ Geekbench ออกมาบ้างแล้ว
จากผลทดสอบพบว่าชิป M1 ใน MacBook Air รุ่นแรม 8GB ซึ่งทำงานที่ความถี่ 3.2Ghz สามารถทำคะแนน single-core ได้ที่ 1,689 คะแนนและคะแนน multi-core ได้ที่ 7,083 คะแนน โดยเมื่อเปรียบเทียบกับอุปกรณ์รุ่นก่อนหน้าพบว่าคะแนนที่ได้สูงกว่าชิปสำหรับ iOS ทุกรุ่น (ชิป A14 ใน iPad Air ทำคะแนนได้ 1,585 และ 4,647 คะแนนตามลำดับ) และยังทำคะแนน single-core ได้สูงกว่า Mac ทุกรุ่นในอดีต โดยคะแนน multi-core นั้นถือว่าสูสีกับ MacBook Pro 16” รุ่นปี 2019 ที่ใช้ซีพียู Intel Core i9 2.4GHz ที่ทำคะแนนได้ที่ 6,870 คะแนน
นอกจากนี้ยังมีผลการทดสอบของ MacBook Pro และ Mac Mini ที่ใช้ซีพียูรุ่นเดียวกันพบว่าได้คะแนนใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตามมีความเป็นไปได้ว่าในการใช้งานจริงประสิทธิภาพของ MacBook Air อาจลดลงเมื่อมีการประมวลผลสูงต่อเนื่องเป็นเวลานานจากการดีไซน์แบบไร้พัดลม และถึงแม้ซีพียูจะแรงเทียบเท่า MacBook Pro 16” ที่ใช้ซีพียูอินเทลแต่ MacBook Pro 16” อาจยังได้เปรียบในงานที่ใช้ประโยชน์จากการ์ดจอแยก ทั้งนี้ต้องรอดูผลการเบนช์มาร์คระหว่าง GPU ของชิป M1 เทียบกับ GPU ตระกูล AMD Radeon ที่ใช้ในแมคบุ๊ครุ่นก่อน ๆ ต่อไป
Comments
อู้วววว
Air แต่แรงกว่า Pro 16 เด้อออออ อย่างเว่อ มาสุดจริง
ซีพียูแรงเกินคาดนะเนี่ย single-core นี่ได้คะแนนเยอะกว่า Core i9-10980HK ที่เป็นตัวแรงสุดใน gaming notebook ตอนนี้ซะอีก แต่ multi-core ยังแพ้อยู่ ถึงอย่างไรก็ถือว่าเยอะมากแล้วสำหรับโน้ตบุ้คบางเบา
เหลือแค่เรื่องแอป ถ้ามาครบๆ เมื่อไหร่ Intel/AMD เหนื่อยแน่
ใช่ > ใช้
ยุค RISC กลับมาอีกครั้ง
เพราะอะไรเหรอครับ?
ในอุปกรณ์พกพา โทรศัพท์มือถือ tablet พวกนี้ก็ใช้ชิป ที่ใช้พื้นฐานของ ARM หรือ Advanced RISC Machine อยู่แล้ว RISC จึงเข้ามาครองตลาดเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นยุคของ CISC Chip อย่าง Intel/AMD จึงมียอดการผลิตและใช้งานลดลงเรื่อยๆ ในอนาคต ความจริง Window 10 on ARM ไมโครซอฟก็พยายามผลักดันอยู่ โดยร่วมมือกับ Qualcomme พัฒนาชิปขึ้นโดยใช้ Snapdragon 835 และ Snapdragon 850 ในรุ่นที่ 2
แต่ทั้ง x86 และ ARM ISA มันก็คั่ว RISC+CISC กันแนบแน่นแล้วไม่ใช่เหรอครับ
ถามแบบไม่มั่นใจเพราะผมก็แค่ฟังต่อมาอีกทีนึง - -
ในทางปฏิบัติแล้ว แม้ชิปเหล่านี้จะพัฒนาชุดคำสั่ง (instruction set) ให้ใกล้เคียงกันและกันได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้วจุดอ่อนมันก็มี อย่าง superscalar ใน CISC นี่ฝืนธรรมชาติของมันเองมาก เพราะคำสั่งมันไม่ได้ยาวเท่ากันเสมอต้นเสมอปลายในทุกคำสั่ง เกิดการสูญเปล่าในแต่ละ cycle ขึ้น แถมทำสถาปัตยกรรมซับซ้อนขึ้นอีกโข จนตอนนี้ผมยังทึ่งเรื่องการจัดการความร้อนของชิปพวกนี้อยู่เลย ว่ามาถึงจุดที่ TDP 15W ได้ยังไง แต่ถึงกระนั้นจุดอ่อนเดิม ๆ มันก็ยังอยู่ ในอีกทางหนึ่ง ARM ไม่สามารถเข็นขนาดเพิ่มความแรงไปได้ไกลเท่าไร เพราะการออกแบบตั้งต้นของมัน อย่างมากก็คือเพิ่ม core แต่ ARM มันขยายขีดความสามารถต่อได้อีกมาก (เพราะต้นทาง ARM ไม่ได้ขวาง) พอมาเป็นแอปเปิล ผมคาดว่าแอปเปิลสามารถรีดพลังของ ARM ออกมาได้สุดจริง ๆ ประสิทธิภาพถึงออกมาได้น่ากลัวขนาดนี้ (แรงกว่า laptop อื่น ๆ ที่ TDP เดียวกัน 2 เท่า) พอใส่ส่วนเสริม ปรับแต่งให้ใช้ฮาร์ดแวร์คุ้มที่สุด ยิ่งแรงเพิ่มไปอีก ไม่แปลกที่มีคนเริ่มคุยว่า ARM จะกลายมาเป็นอนาคตของคอมพิวเตอร์ ซึ่ง...ผมไม่ค่อยเชื่อเท่าไร ไม่ใช่เพราะตัวฮาร์ดแวร์ของมัน แต่เป็นเพราะวิถีการพัฒนาเฟิร์มแวร์ของ ARM ในปัจจุบันมันยังเละเทะอยู่
แกนในสุดของ CPU Intel ในสมัยนี้ก็เป็น RISC ทั้งนั้นล่ะครับ (น่าจะตั้งแต่ Pentium Classic แล้วหรือเปล่า) แต่ถูกหุ้มด้วย CISC เพื่อให้ใช้งานกับ software เดิมๆ ได้ โดยจะหั่นคำสั่ง CISC ย่อยเป็นคำสั่งเล็กๆ เพราะงั้นมันก็จะไม่ใช่เรื่องแปลกจะ CPU ของ Intel จะทำ Superscalar ได้
จริงอยู่ครับที่ฝั่ง x86 เองเป็น variable range แต่ penalty ด้านประสิทธิภาพ/พลังงาน ของ การ decode ไปเป็น micro-ops จาก variable range-> micro-ops กับ fixed range-> micro-ops มันไม่ได้เยอะขนาดที่คุณกล่าวครับ ผมเข้าใจว่าต่างกันไม่เกินไม่เกิน 5% (หลายๆที่ระบุว่าประมาณ 1-2% ผมขอไม่ระบุแหล่งอ้างอิงนะครับ)
ส่วน ARM นี่ฝั่ง frontend ก็เป็น complex, backend superscalar มาซักพักแล้วนะครับ อย่าง NEON ก็เป็นตัวอย่างที่ดี
ดังนั้นถ้าจะพูดถึงข้อแตกต่าง(หรือข้อดี?)ของฝั่ง ARM ในตอนนี้ก็น่าจะเป็นเรื่อง register/memory architecture ที่ ARM(และฝั่งที่เรียกตัวเองว่า RISC เกือบทั้งหมด?) เป็น pure load-store ส่วน x86 เป็น emulated load-store(จาก micro-ops) เพราะพื้นฐานเป็น register–memory มาก่อน ดังนั้นในการ decode อาจจะต้องเสีย cycle มากกว่าฝั่ง ARM ในการแยก load-compute instruction ออกเป็น compute + load/store ครับ (แนะนำอ่านต่อที่อันนี้)
ส่วนที่สำคัญที่สุดสำหรับความเร็วของ CPU ใดๆหนึ่งๆในตอนนี้ไม่ใช่อย่างอื่นครับ แต่เป็น microarchitecture ว่าออกแบบมาดีแค่ไหนมากกว่าจะเป็นเรื่อง RISC/CISC เช่นฝั่ง ARM จะทำ very-wide superscalar อย่าง Samsung Mongoose ก็ได้แต่ออกแบบห่วยก็ช้ากว่า/กินไฟกว่าชาวบ้านอยู่ดี
ยกตัวอย่าง block diagram ของ Skylake/Zen2/Mongoose5/Cortex-A77 ครับ (จาก wikichip)
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
+
น้อมรับความรู้ใหม่
เข่า 2 ศอก 2 หน้าผาก 1 กราบ แบบเบญจางคประดิษฐ์
ตอนเรียน Com-Architect ทำไมไม่มีใครอธิบายผมแบบนี้
น่าจะซุ่มมานาน ของเค้าแรงจริง
ผมควรซื้อรุ่นแรกเลยดีไหมครับ
ถ้าairรอดูเรื่องความร้อน ถ้าpro จัดเลย
+1
รอดู review ก่อนครับ ว่ามีปัญหา software เรื่องอะไรบ้าง
แต่ถ้าตั้งใจใช้แต่ Apple application อยู่แล้วคงไม่ต้องกังวลอะไร
ข่าวร้ายของ inHell โดนคู่แข่งแซงทั้งทางตรงทางอ้อมหมดแล้ว
Intel: we have more plus in our 14 nm fab.
intell จะรอดไหมนี่ ตลาดคอนชูม
ซื้อมาเล่นเกมของ ios น่าจะคุ้ม แต่เกมเป็นระบบทัช ไม่รู้ว่าจะเล่นได้ทุกเกมมั้ย หรือถ้าต่อจอยได้ก็ยังดี
ตอนแรกคิดว่า apple อาจต้องใช้เวลา 1-2 ปีเพื่อทำความเร็วให้ใกล้เคียง intel
ที่ไหนได้ แรงสุดๆไปเลย
แรงจริง ตอนไอแพด ก็บอกว่า แรงกว่า อยุ่แล้วนะ