โครงการหยวนดิจิทัลของธนาคารจีนเริ่มเป็นข่าวมาตั้งแต่ปี 2019 และทดสอบไปแล้วตามเมืองใหญ่ของจีนหลายครั้ง แสดงให้เห็นว่าธนาคารกลางจีนอาจจะกำลังพยายามดึงธุรกิจการเงินดิจิทัลให้กลับมาอยู่ในระบบธนาคารแทนที่จะอยู่ในการควบคุมของแอป e-Wallet สองรายใหญ่ของจีนคือ Alipay และ WeChat Pay
ทีมพัฒนาหยวนดิจิทัลของจีน Mu Changchun หลีกเลี่ยงจะพูดถึงว่าหยวนดิจิทัลจะกลายเป็นแอปภาครัฐทีไปแข่งกับเอกชนอย่างไร แต่บอกเพียงว่า "WeChat และ Alipay เป็นกระเป๋าเงินดิจิทัล และหยวนดิจิทัลเป็นเงินที่อยู่ในกระเป๋าเงินนั้น" คำอธิบายแม้จะงงๆ แต่แอป e-yuan ของธนาคารกลางจีนทำงานคล้ายกับพร้อมเพย์ของไทยค่อนข้างมาก โดยสามารถสร้าง QR รับเงินได้เหมือนแอปกระเป๋าเงินดิจิทัลแต่เมื่อได้รับเงินแล้ว เงินจะเข้าไปยังบัญชีธนาคารโดยตรง โดยตอนนี้ประชาชนสามารถผู้บัญชีหยวนดิจิทัลเข้ากับบัญชีธนาคารของรัฐขนาดใหญ่เท่านั้น
A first look at the DCEP / digital yuan. Who’s next? pic.twitter.com/y4reOPJPWR
— Thibault Schrepel (@LeConcurrential) October 12, 2020
แอปหยวนดิจิทัลมีความสามารถมากกว่าการจ่ายเงินแบบ QR ทั่วไป โดยหากโทรศัพท์รองรับ NFC ก็จะใช้ฟีเจอร์ touch-and-pay ได้ด้วย พร้อมกับรองรับการจ่ายเงินแม้ไม่มีอินเทอร์เน็ตก็ตาม, ตัวแอปมีเมนูเพิ่มเติมเล็กๆ น้อยๆ เช่น การจ่ายค่าธรรมเนียมสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์
ธนาคารกลางจีนทดสอบหยวนดิจิทัลโดยค่อยๆ ไล่ทดสอบตามเมืองใหญ่ การทดสอบมักแจกเงินประมาณ 200 หยวนให้กับผู้โชคดี โดยเงินก้อนนี้ไม่สามารถโอนไปยังบุคคลตามปกติได้ แต่ต้องนำไปใช้จ่ายในร้านที่เข้าร่วมโครงการ รวมถึงซื้อของออนไลน์ผ่านทางเว็บ JD.com
ผู้บริการกระเป๋าเงินดิจิทัลในจีนเก็บค่าธรรมเนียมการโอนเงินออกจากกระเป๋าเงินขณะที่หยวนดิจิทัลนั้นรับเงินเข้าบัญชีธนาคารโดยตรงทำให้การใช้งานแทบไม่มีค่าใช้จ่าย หนังสือพิมพ์ South China Morning Post ระบุว่าได้รับคู่มือการใช้งานของร้านค้า ที่พยายามชักจูงให้ร้านค้ามาใช้งานเนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมกันนั้นก็บังคับว่าหยวนดิจิทัลมีค่าเท่าเงินสด ร้านค้าจึงไม่สามารถปฎิเสธลูกค้าที่จะจ่ายด้วยหยวนดิจิทัล มีรายงานถึงร้านค้าที่ไม่สนใจเข้าร่วมทดสอบก็จะถูกกดดันให้เข้าร่วมในที่สุด
ที่มา - South China Morning Post, Quartz
ภาพโดย moerschy
Comments
ก็ถ้าอยากค้าขายก็ต้องเข้าใจเทคโนโลยีการซื้อขาย คุณไม่ทำคนอื่นทำกันหมด สุดท้ายแล้วคุณก็ต้องทำอยู่ดี ร้านค้าที่ฉลาดก็จะปรับตัวได้ไว โครงการนี้ยังไงก็ประสบความสำเร็จ
ไม่เกี่ยว อันนี้โดนรัฐบาลบังคับ
แต่ก็เป็นเรื่องที่ดีนิ เงินดิจิตัล
จะงัดกับ ดอลล่า ของเมกา ก็ต้องทำแบบนี้แหละครับ
แนวทางใกล้ เป๋าตัง ของไทย เราเลย แจกเงินให้ไปใช้ ร้านเหมือนโดนบังคับให้เข้าเพราะไม่รับก็ขายไม่ดี
ของเราพร้อมเพย์ก็มีอยู่แล้ว จะเอาเงินไปดันระบบใหม่ไปอีกเรื่อยๆ ทำไมก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน
รัฐบาลนี้ดันมาหลายระบบ พร้อมจ่าย, เป๋าตังค์, มีที่จริงจังตัวเดียคือพร้อมเพย์ แถมคนใช้เยอะแล้ว ก็ยังอยากดันระบบใหม่ไปเรื่อยๆ
lewcpe.com, @wasonliw
ผมมองว่า เป๋าตังค์ เป็นแค่แอพ wallet ส่วนระบบก็ยังเป็น พร้อมเพย์ เหมือนเดิม
+1 มันก็ไม่ได้เข้าใจยากอะไรนะ
แยกออกมาก็ดีตรงสามารถจัดการ อัพเดทได้โดยไม่ส่งผลกระทบกับแอปของธนาคาร ไม่งั้นต้องไปทำให้ทุกแอปธนาคารรึเปล่า ?
คิดแบบนี้เหมือนกันครับ และต่อไปอาจเป็นฐานในการเอาไปเปรียบเทียบกับรายได้ที่แจ้งตอนเสียภาษี
A smooth sea never made a skillful sailor.
ในเคสนี้ (คนละครึ่ง) มันคนละระบบนี่ครับ QR ใช้ด้วยกันไม่ได้ รับเงินจากแอปธนาคารไม่ได้ เป็น QR proprietary ของทาง KTB เอง
จะพูดให้เกี่ยวคงบอกได้ว่าเติมเงินผ่านพร้อมเพย์ได้มังครับ แต่บอกว่า "ระบบก็ยังเป็น พร้อมเพย์" นี่คงพูดไม่ได้แบบนั้น
lewcpe.com, @wasonliw
ระบบจ่ายเงินของจีนก้าวหน้ามาก
แต่ว่าทั้ง WeChat และ AliPay ก็ไม่ใช่ธนาคารอยู่ดี
ระบบของทางการจีนอาจเป็นการจ่ายเงินโดยตรงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เลย โดนเข้าบัญชีธนาคารโดยตรง ซึ่งสามารถโอนเงินข้ามกันไปมาได้อยู่แล้ว
แต่โอนเงินข้ามกันระหว่าง AliPay กับ WeChat นี่ไม่แน่ใจ
ทางการจีนอาจจะต้องการลดการผูกขาด ยิ่งทั้งสองบริษัทไม่ใช่ธนาคารการกำกับดูแล น่าจะยากกว่าปกติ
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
ของรัฐบาลจีน คือ พยายาม ดัน ระบบ เข้ามาเทียบ ชั้น
Mastercard หรือ visa หรือ เปล่า
เพราะ สองอันนี้ เป็นของ อเมริกา
ลืม CUP (China Union Pay) ไปหรือเปล่า?
Promptpay ของไทยก็ดีนะ เสียอย่างเดียวคือไม่มีระบบแจ้งเตือนเงินเข้านี่แหละ ต้องหาไปหา solution ธนาคารใครธนาคารมัน ไม่เป็น protocal เดียวกัน
แล้วจะให้แจ้งเตือนทางไหนอ่ะครับ ที่จะเป็น protocal เดียวกันได้ จดหมายส่งที่อยู่ตามบัตรปชช.?
อยากให้ไทยมี touch-and-pay มาก ๆ ดูน่าจะสะดวกมากมาย
โดนมิจฉาชีพเอาเครื่องแสกนไล่ touch and pay กันสนุกแน่ๆ ครับ ทุกวันนี้มีบัตร payWave ผมต้องหาซอง block สัญญาณมาใส่เพื่อป้องกันอยู่เนืองๆ
ผมไม่แน่ใจว่าเคสแบบนี้มันเกิดอันตรายได้จริงๆ หรือเปล่านะครับ คือคนจะรับเงินจาก paywave ได้น่าจะต้องลงทะเบียนเป็นเรื่องเป็นราว?
เราไม่รู้ว่าห้างร้านที่ลงทะเบียนจะถูกขโมยอุปกรณ์นำไปก่อเหตุหรือเปล่าในอนาคตน่ะ แต่ที่แน่ๆ เงินถูกนำออกไปจำนวนหนึ่ง (paywave จำกัดจำนวนเงินที่นำออกประมาณนึงโดยไม่ต้องยืนยัน)
ฉะนั้นก็ป้องกันไว้ก่อนมาตามแก้ไขทีหลังน่ะครับ
คือเคสที่ว่าผมยังมองว่ามันยากที่จะเกิดเป็นปัญหาจริงขึ้นมาน่ะครับ ทั้งเรื่องขโมยอุปกรณ์ไปก่อเหตุนี่มันก็ต้องผูกกับบัญชีร้านเดิมด้วย (หรือเปล่า?) ทั้งว่าลงทุนไปขนาดนั้นคงไม่ได้ก่อเหตุแค่ไม่กี่ครั้ง (+จำนวนเงินต่อครั้งน้อย?) ทำให้จับผิดสังเกตกับผู้เสียหายวงกว้างได้อีก ความรับผิดชอบไม่ควรตกมาถึงผู้ใช้ (หรือเพราะงั้นฝั่งผู้ให้บริการเลยไม่ค่อยยอมทำ?)
ใช่ คือในความเป็นจริง ผู้ใช้ควรจะไม่ต้องรับผิดชอบครับ แต่ขั้นตอนการสอบสวนกินเวลายาวนาน ก็ต้องป้องกันไว้ก่อนในระดับหนึ่งแหละ
เรื่องนี้เป็นความเสี่ยงที่แล้วแต่จะยอมรับว่าใครรับได้แค่ไหนน่ะ
ผมว่ามันรับได้นะ. สมัยนี้มีกระเป๋าเงิน กระเป๋าเก็บบัตรที่ป้องกันการ scan เต็มไปหมด. ผู้ใช้ก็ตัองป้องกัน กันเอาเอง. เพื่อแลกกับความสะดวก
อาจจะเปลี่ยนจากบัตรเครดิต เป็นบัตรเดบิต ก็ได้
ใครไม่เข้าใจ หรือ กลัว ก็ไม่ต้องใช้ไป. ให้คนทำเป็นใช้กันไป
แล้วยิ่งถ้าเป็น โทรศัพท์เปิด app แต่เพื่อจ่าย. ยิ่งปลอดภัยกว่า. เพราะมันไม่ได้ปล่อย code ออกมาตลอดเวลา.
แบบ Samsung pay อะ. ผมชอบมากเลย ติดแต่ปัญหามันเป็น Exynos เลยเปลี่ยนมาใช้ iPhone
ประเด็นของผมคือ การ touch and pay เลยมีความเสี่ยง ถ้า touch, confirm and pay หรือ touch, pay and confirm ผมยอมรับได้ อย่างน้อยๆ เรากดยืนยันว่าเรากำลังจะจ่ายนะ อะไรแบบนั้น