Ticketmaster บริษัทขายตั๋วในสหรัฐฯ ยอมความกับ FBI หลังถูกดำเนินคดีเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต ด้วยการซื้อตัวพนักงานบริษัทคู่แข่ง แล้วเอารหัสผ่านระบบหลังบ้านของคู่แข่งมาให้ผู้บริหารของ Ticketmaster เข้าไปสำรวจได้ว่าคู่แข่งมีใครเป็นลูกค้าบ้าง
พนักงานที่นำรหัสผ่านมาให้ Ticketmaster นี้ทำงานกับบริษัทคู่แข่ง (คำฟ้องไม่ระบุชื่อบริษัท แต่เว็บ Variety คาดว่าจะเป็น Songkick ที่ปิดบริษัทไปแล้ว) ช่วงปี 2010-2012 จากนั้นจึงย้ายมาทำงานกับ Ticketmaster พนักงานคนนี้แชร์ข้อมูลของบริษัทเดิมที่ไม่เปิดเผยต่อคนภายนอกให้ Ticketmaster นับแต่หน้าเว็บขายตั๋วที่ยังไม่เปิดใช้บริการจริง ไปจนถึงรหัสผ่านเข้าบริการจัดการยอดขายตั๋วของศิลปิน หรือ Artist Toolbox การที่ Ticketmaster สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้ทำให้รู้ว่าศิลปินรายใดกำลังใช้บริการของคู่แข่งบ้าง และสามารถชิงลูกค้าก่อนเริ่มขายตั๋วจริงๆ ได้
ทาง Ticketmaster เลื่อนขั้นให้พนักงานที่นำรหัสผ่านมาให้นี้เป็นผู้อำนวยการฝ่ายศิลปินสัมพันธ์ และ Ticketmaster ก็ยังใช้รหัสผ่านชุดนี้เข้าไปดูข้อมูลคู่แข่งต่อเนื่องจนถึงปี 2015
ภายใต้ข้อตกลงยอมความนี้ Ticketmaster จะจ่ายค่าปรับ 10 ล้านดอลลาร์ และต้องตั้งโครงการควบคุมภายในไม่ให้มีการทำผิดกฎหมายคอมพิวเตอร์เช่นนี้อีกเป็นเวลานานสามปี
ที่มา - Department of Justice, ArsTechnica
ภาพโดย igorvsannykov
Comments
โอ้โห เล่นสกปรก
ทำให้นึกถึงข่าวเมื่อวานที่มีคลิพเสียงทรัมพ์หลุดมา
หลุดไม่พอ แถมตัดต่อด้วย, เห็นว่าคนทำคลิปหลุดถูกดำเนินคดีแล้ว
ไวดีวันเดียวเอง
พยายามเช็คข่าว ยังไม่เห็นมีข่าวไหนบอกว่าตัดต่อ และคนปล่อนเสียงถูกจับนะครับ คนละกรณีรึเปล่าครับ? ที่ผมพูดถึงคือกรณีนี้นะครับ
ผมเห็นท่านๆทางทวิตเตอร์ครับ
แต่เอาจริงนะข่าวนี้ทำให้ผมงงมากเลย สรุปใครเป็นคนปล่อยคลิปเสียงครับ เพราะว่าตอนแรกข่าวบอกว่า Raffensperger คนปล่อยคลิปเสียงให้ washing washington post แต่ข่าวต่อมาบอกว่า Raffensperger ได้กล่าวหา Trump ต่างหากที่เป็นคนปล่อยคลิปเสียงที่ออกมา
555 อันนี้ไมแน่ใจเหมือนกันครับ รู้แต่ว่าถูกสอบสวนทุกคนที่เกี่ยวข้องแน่ๆ และทรัมพ์กำลังจะลงจากตำแหน่ง ถ้าไม่อภัยโทษตัวเองก็น่าจะโดนหนักอยู่ครับ
ไม่รู้ว่าอภัยโทษตัวเองได้มั้ยนะ แต่เพิ่งอภัยโทษสส.ไปหลายคน
ปรับน้อยมาก เมื่อเทียบกับความเสียหายที่คู่แข่งโดนในหลายปีที่ผ่านมา และหากบริษัทผู้เสียหายเป็นไปตามที่ Variety คาดเอาไว้หละ จะชดเชยยังไงเนี่ย ในเมื่อบริษัทปิดตัวไปแล้ว
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
หลังบ้านไม่โดนจวกแย่หรอครับแบบนี้ ไม่ยอมลบ user ของพนักงานที่ออกจากบริษัทไปแล้วออก แถมพาสเวิดก็ไม่เปลี่ยนด้วย -_-
บริษัทใช้ password นี้ดูข้อมูลต่อเนื่อง 3-5 ปี แถมบริษัทที่โดนขโมยข้อมูลก็ปิดไปแล้ว (ซึ่งไม่รู้ว่าปิดเพราะอะไร) คงไม่มีใครเหลือให้โวยล่ะ
แต่ถ้าตอนนั้น บริษัทมันปิดเพราะลูกค้าโดนขโมยจนต้องปิด แล้วมารู้เอาตอนนี้นี่ น่าเจ็บใจนะ
จนบริษัทปิดไปแล้ว เหมือนไม่มีประโยชน์
ซ้ำ
ที่น่าสนใจคืออยู่ ๆ เรื่องนี้แดงออกมาได้ไง คนเปิดเคสนี้คือคนจาก songkick รึเปล่า จากนี้เงินสิบล้านนี่จะไปเข้ากระเป๋าใครกัน แล้วอย่าบอกนะว่าปัจจุบันพนักงานคนนั้นยังอยู่ดีมีสุขในตำแหน่งผู้อำนวยการ อ่านแล้วดูมีความเป็นบทหนังดีเหมือนกัน
จ่ายค่าปรับแปลว่าเข้ารัฐไม่ใช่เหรอครับ?
นั่นสินะครับ อาจจะตัดประเด็นนั้นไปได้ แต่พอนึกว่าเข้ารัฐแล้วก็ยังมีความรู้สึกแปลก ๆ ในใจ ทำนองว่าสองบริษัทตีกัน แต่รัฐบาลได้เงิน
จริง อันนี้ผมสงสัยอยู่เสมอ แล้วค่าเสียหายของผู้เสียหายอยู่ตรงไหนหว่า
น่าจะต้องไปฟ้องแพ่งเอาครับ
แต่จะง่ายขึ้น ถ้าศาลตัดสินคดีอาญาไปแล้ว คือไม่ต้องมาดูแล้วว่าทำจริงหรือไม่
แต่มาดูต่อว่า การกระทำดังกล่าว ก่อนให้เกิดความเสียหาย คิดเป็นจำนวนเงินตามที่โจทก์อ้างหรือไม่
D4C