ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวน่าสนใจในวงการเกมที่เกี่ยวเนื่องกันคือ กูเกิลตัดสินใจปิดสตูดิโอพัฒนาเกมของ Stadia และ Amazon Games ประสบปัญหาในการพัฒนาเกมให้ดี แม้เปิดมาหลายปีแล้ว
ทั้งสองข่าวนี้แสดงให้เห็นว่า การเข้ามาสู่วงการเกมไม่ใช่เรื่องง่าย ต่อให้เป็นบริษัทขนาดใหญ่ Top 5 ของโลก มีเงินล้นฟ้า ก็ยังไม่สามารถประสบความสำเร็จโดยง่าย หากไม่มีประสบการณ์ในวงการเกมมาก่อน
บทความนี้จะวิเคราะห์การแข่งขันในตลาดเกมยุคหน้า ที่คลาวด์เกมมิ่งกำลังกลายมาเป็นสมรภูมิสำคัญ
เกมในฐานะ interactive entertainment ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และธุรกิจเกมก็มีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ จนหลายบริษัทสนใจเข้ามาชิงเค้กก้อนมหึมานี้
ในอดีตเราอาจเห็นโมเดลการเล่นเกมผ่านคอนโซลที่เป็นระบบปิด ใช้เงินลงทุนสูง (มาก) ต้องลงทุนวิจัยทั้งฮาร์ดแวร์ และสร้างซอฟต์แวร์เกมเพื่อดึงดูดเหล่าเกมเมอร์ให้มาซื้อเครื่อง การแข่งขันที่ดุเดือนทำให้ปัจจุบัน ตลาดคอนโซลจึงเหลือผู้เล่นเพียงแค่ 3 รายคือ Xbox, PlayStation และ Nintendo
แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีเครือข่ายที่พัฒนาขึ้นมาก เปิดโอกาสให้เราสามารถให้บริการเกมผ่านสตรีมมิ่ง หรือที่เราเรียกกันว่า "คลาวด์เกมมิ่ง" บนอุปกรณ์ใดๆ ก็ได้ กำแพงเรื่องการเล่นเกมบนคอนโซลหรือฮาร์ดแวร์จำเพาะใดๆ เพียงอย่างเดียวจึงเริ่มถูกทำลายลงไป
การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้บริษัทเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ไม่เคยอยู่ในธุรกิจเกมมาก่อน หันมาสนใจตลาดนี้กันมากมาย โดยรายที่เข้ามาสู่ธุรกิจเกมจริงจังได้แก่
สังเกตว่าบริษัททั้ง 5 รายนี้มียุทธศาสตร์คล้ายกันคือ เริ่มบุกตลาดมาทางฝั่งแพลตฟอร์มก่อน ตัวบริการใช้โมเดล subscription (ส่วนจะเล่นผ่านคลาวด์หรือไม่นั้นอีกเรื่อง) และบางบริษัทเริ่มหันมาสร้างเกมของตัวเองด้วยเพื่อเป็นจุดขาย (Stadia/Amazon)
ในอีกทาง เราเริ่มเห็นบริษัทพัฒนาเกมแบบดั้งเดิม เริ่มขยับตัวจากโมเดลขายขาด (ซื้อเกมแล้วจบ) มาเป็นบริการเหมาจ่ายรายเดือน subscription เล่นเกมได้ไม่อั้นเช่นกัน
บริษัทเกมยักษ์ใหญ่รายแรกๆ ที่ลองทำตลาดด้วยวิธีนี้คือ EA เริ่มทำบริการเหมาจ่าย EA Access ก่อนใครตั้งแต่ปี 2014 ตามด้วย Origin Access บนพีซีในปี 2016 แล้ววิวัฒนาการมาเป็น EA Play ในปี 2020 แถมยังไปจับมือกับ Xbox Game Pass อีกต่างหาก
โมเดลของ EA ถูกตอกย้ำด้วยทิศทางของ Ubisoft ที่เปิดบริการคล้ายๆ กันชื่อ Uplay+ ในปี 2019 แล้วรีแบรนด์เป็น Ubisoft+ ในปี 2020 โดยแนวทางของ Ubisoft ที่เป็นเจ้าของไลเซนส์เกมอย่างเดียว ใช้วิธีไปจับมือกับเจ้าของแพลตฟอร์มคลาวด์ (ที่ยังไม่ค่อยมีเกม) ทั้ง Stadia และ Luna
ตอนนี้เรายังไม่เห็นท่า subscription จากค่ายเกมใหญ่รายอื่นๆ มากนัก เพราะการทำท่านี้ได้ต้องมีคลังเกมในมือจำนวนมหาศาล แต่เราก็เห็นค่ายใหญ่อย่าง Take Two นำเกมลงสตรีมมิ่ง (เช่น Red Dead Redemption 2 บน Stadia) หรือ Cyberpunk 2077 ที่ลงทั้ง Stadia/GeForce Now
ในฝั่งของเจ้าของแพลตฟอร์มคอนโซลเองก็ไม่ปล่อยให้ผู้เล่นสายคลาวด์มาแย่งตลาดไปง่ายๆ เช่นกัน เพราะมีทุกอย่างครบหมดแล้วทั้งฐานผู้เล่นและซอฟต์แวร์เกมที่เป็นเอ็กซ์คลูซีฟ การต่อยอดมาทำคลาวด์เกมมิ่งจึงไม่ยากเลย
เอาเข้าจริงแล้ว เจ้าพ่อคอนโซลอย่าง Sony ถือเป็นผู้ริเริ่มบริการคลาวด์เกมมิ่งรายแรกๆ เลยด้วยซ้ำ เพราะ PlayStation Now (Gaikai เดิม) เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2014 แต่จะเป็นด้วยปัจจัยว่ามาก่อนกาล หรือเป็นเพราะวิธีคิดที่มองว่าขัดแย้งกับธุรกิจคอนโซลแบบดั้งเดิม (ซื้อเครื่อง ซื้อเกม) ก็ไม่ทราบได้ Sony กลับไม่ค่อยจริงจังกับ PS Now เท่าที่ควร ตัวเลขสมาชิกที่เปิดเผยล่าสุดคือ 2.2 ล้านคนในปี 2020
กลายเป็น Microsoft ที่มาแรงแซงโค้ง จัดหนักทั้งบริการเกมเหมาจ่าย Xbox Game Pass ที่ทุ่มสรรพกำลังส่งเกมมาให้เล่นแบบ Day 1 และต่อยอดด้วยบริการคลาวด์เกมมิ่ง xCloud เล่นจากที่ไหนก็ได้ (ตัวเลขล่าสุดของสมาชิก Game Pass คือ 18 ล้านคน) เท่านั้นยังไม่พอ ทุ่มเงินมหาศาลไล่ซื้อสตูดิโอเกมอีกรัวๆ โดยเฉพาะเคสสำคัญคือการซื้อ ZeniMax/Bethesda ในปี 2020
ผู้เล่นตลาดคอนโซลรายเดียวที่ยังไม่สนใจขยับมาตลาดนี้คือ Nintendo ซึ่งเรารู้กันดีว่ามีความเป็นตัวของตัวเองสูง (มาก) และเมื่อยอดขาย Switch ยังไปได้สวย Nintendo ย่อมไม่มีเหตุผลใดๆ ที่ต้องดิ้นรนออกมาจากฐานที่มั่นตัวเอง
จะเห็นว่าเจ้าของคอนโซลทั้ง 3 รายต่างขยับตัวด้วยโมเดลที่ต่างกัน เริ่มจาก Microsoft ทุ่มสุดตัว (เพราะเป็นรองในตลาดฮาร์ดแวร์), Sony มาบ้างแบบกั๊กๆ (เพราะฮาร์ดแวร์ยังขายดีอยู่) และ Nintendo ที่ไม่สนใจเลย
เมื่อเรานำผู้เล่นทั้ง 3 กลุ่มมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกัน จะได้ออกมาเป็นแผนภาพ Venn Diagram ดังที่เห็น
กลุ่มแพลตฟอร์ม
พยายามชิงตลาดนี้ด้วยการสร้างแพลตฟอร์มอย่างเดียว (มี Apple รายเดียวที่เป็นเจ้าของ iPhone/Apple TV แต่ก็ไม่ใช่เครื่องเล่นเกมโดยตรง ถือเป็นฮาร์ดแวร์อื่นที่เล่นเกมได้) โดย Google และ Amazon พยายามสร้างความแตกต่างด้วยการพัฒนาเกมเอง
ผลคือ Google ล้มเหลวต้องถอนตัว ส่วน Amazon ไม่ประสบความสำเร็จเลย แต่ซีอีโอใหม่ Andy Jassy ก็ยังสัญญาว่าจะสู้ต่อ
ทิศทางของตลาดนี้ในระยะยาวคือ ตัวฟีเจอร์พื้นฐานของแพลตฟอร์มคลาวด์เกมมิ่งจะทันกันหมด การเล่นเกมเดียวกัน (เช่น Cyberpunk) บน GeForce Now, Stadia หรือ Luna จะไม่แตกต่างกันเลย เจ้าของแพลตฟอร์มจึงต้องไปสร้างจุดขายด้วยวิธีอื่น เช่น ซื้อสิทธิ์เอ็กซ์คลูซีฟ (Epic Model!) หรือใช้ประโยชน์จากการขายพ่วงบริการอื่น เช่น Stadia พ่วง YouTube, Luna พ่วง Twitch หรือ Apple Arcade พ่วง iPhone
กลุ่มผู้สร้างเกม
ทิศทางชัดเจนว่าเริ่มเข้าสู่ subscription มากขึ้น โดยแบ่งเป็น 2 ระดับคือ จ่ายรายเดือน เข้าถึงสิทธิเล่นเกมแบบดั้งเดิม (ดาวน์โหลดมาติดตั้งในเครื่อง) และจ่ายรายเดือน เล่นเกมผ่านคลาวด์โดยตรง
บริษัทเกมแบบ EA และ Ubisoft ยังสามารถให้บริการได้เฉพาะในระดับแรก (ดิจิทัลดาวน์โหลดมาติดตั้งก่อน) แต่หากมองไปถึงคลาวด์เกมมิ่ง อาจไม่มีศักยภาพทางเทคโนโลยีถึงขั้นนั้น ทำให้ทั้ง EA และ Ubisoft ต้องไปจับมือกับพาร์ทเนอร์ที่เป็นแพลตฟอร์ม (EA จับมือ Xbox, Ubisoft จับมือ Stadia/Luna) ซึ่งทิศทางของบริษัทเกมรายอื่นๆ คงไปในลักษณะเดียวกัน
บริษัทเกมมีจุดแข็งคือเป็นเจ้าของเกมอยู่แล้ว (ในโลกของเกม สิ่งสำคัญที่สุดก็คือตัวเกม) อำนาจต่อรองกับแพลตฟอร์มจึงสูงกว่า การขายไลเซนส์เกมให้แพลตฟอร์มจึงเป็นโมเดลที่ปลอดภัยกว่าไปลงทุนทำแพลตฟอร์มเอง
กลุ่มคอนโซล
ถ้าพิจารณาผู้เล่น 2 กลุ่มข้างต้น จะเห็นว่าแต่ละกลุ่มต่างมีจุดอ่อนสำคัญ เจ้าของแพลตฟอร์มคลาวด์ไม่มีเกม เจ้าของเกมไม่มีแพลตฟอร์ม ทำให้ต้องมาร่วมมือกัน
แต่เจ้าของคอนโซลไม่มีปัญหาแบบนั้น เพราะมีทุกอย่างพร้อมอยู่แล้ว ทั้งสตูดิโอเกม แบรนด์ ฐานผู้เล่นมหาศาล
การปรับตัวเข้าสู่บริการเหมาจ่ายและคลาวด์เกมมิ่งจึงไม่ต้องลงทุนมากเท่ากับผู้เล่นกลุ่มอื่นๆ แถมยังมีจุดเด่นเรื่องเกมเอ็กซ์คลูซีฟที่มีเฉพาะแพลตฟอร์มนี้เท่านั้น
หากมีแพลตฟอร์มเกมที่เล่นจากที่ไหนก็ได้ (คลาวด์เกมมิ่ง) มีเกมใหญ่ๆ ระดับ Cyberpunk หรือ RDR2 ให้เล่นตั้งแต่วันแรก (หลายแพลตฟอร์มมีเหมือนกัน) แต่มีอยู่หนึ่งแพลตฟอร์มมีเกมอย่าง The Last of Us หรือ God of War ให้เล่นเพียงที่เดียว แทบไม่ต้องคิดเลยว่าผู้เล่นจะเลือกจ่ายรายเดือนให้แพลตฟอร์มไหน
ปัจจัยที่เหลือจึงมีแค่เรื่องเทคโนโลยีคลาวด์ กับความจริงจังในการบุกตลาดนี้เท่านั้น
ตรงนี้ทำให้ Microsoft โดดเด่นกว่า Sony มาก เพราะมีคลาวด์ของตัวเองมาตั้งแต่แรก (และ Sony ต้องใช้คลาวด์ Microsoft) มีแรงจูงใจในการทำตลาดนี้ (เพราะยอดขายคอนโซลเป็นรอง) ที่สำคัญที่สุดคือมีเงิน! เพราะไมโครซอฟท์ร่ำรวยจากธุรกิจอื่นๆ จนสามารถเอาเงินมาทุ่มซื้อสตูดิโอเกมชุดใหญ่ และเอาเงินมาชดเชยการขาดทุนของ Game Pass/xCloud ได้ในช่วงแรก
นั่นแปลว่าในช่วงที่ Stadia เพลี่ยงพล้ำ Amazon ยังเข็นไม่ขึ้น ผู้เล่นรายอื่นในตลาดแพลตฟอร์มยังไม่สามารถหาจุดเด่นที่ดึงดูด ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งดีที่สุดคือ Microsoft ที่มีพร้อมแล้วทุกอย่างนั่นเอง
ภาพประวัติศาสตร์ Sony เซ็นสัญญาใช้คลาวด์ Microsoft
Comments
ด้วยความสุขส่วนตัวก็ยังคงเลือกซื้อ PS5+PC+switch+มือถือ
คนอื่นทำแทบตาย
ปู่นินบอก "อ่ะ มาริโอ" "อุ๊ยๆ เซลด้าภาคใหม่" "เอ้าๆ ตกปลาตัดไม้กัน"
จบ
ยังไง ตลาดเกม สิ่งที่สำคัญสุดคือเกมครับ
แล้วคนไม่ได้ต้องการเล่นเกมตลอดเวลา มันไว้เล่นตอนรีแลกซ์ ซึ่งมีเวลาว่างนั่งหน้าจอใหญ่ๆ สบายๆ
เพราะงั้น มันไม่ต้องขึ้นคลาวด์ ขึ้นไปทำไมอ่ะ?
จะเล่น Cyberpunk Last of Us God of War ผ่านจอมือถือเหรอ? ประสบการณ์การเล่นคงแย่สุดอ่ะ
แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ทำให้พฤติกรรมคนเปลี่ยนไปได้ แบบที่ติด social media ที่ว่างเมื่อไหร่ก็ต้องหยิบมือถือขึ้นมาไถๆ การมีคลาวด์ก็น่าจะกุมความได้เปรียบได้ทันที การเล่นบนจอเล็กบางทีมันอาจจะไม่ใช่การเล่นเกมแบบเต็มรูปแบบก็ได้ เป็นการเล่น minigame เพื่อเก็บ quest ย่อยๆ ที่ใช้เวลาไม่นานอะไรแบบนี้ก็ดูเป็นไปได้อยู่
สาระสำคัญของการขึ้น Cloud ไม่ใช่แค่การเล่นเกมในมือถือได้หรือการที่เล่นเกมได้ทุกที่ทุกเวลา แต่มันคือการที่สามารถเอาเกมไปเล่นได้ในทุกๆอุปกรณ์ครับ
หรือก็คือเกมที่อยู่บน Cloud จะไม่มีข้อจำกัดในด้าน Platform Hardware Software ใดๆนั่นเอง พูดอีกอย่างก็คือแม้คุณจะไม่ได้ใช้ Windows หรือไม่ได้ใช้คอมที่มีเสปคแรง ก็สามารถเล่นเกม AAA ที่ภาพสวยงามได้นั่นเอง
ส่วนตัวผมอยู่ทั้งบ้านและคอนโด บางทีก็อยากเล่นเกมทั้งสองที่โดยที่ไม่ต้องขนอุปกรณ์ไปมา การมี Cloud Gaming เป็นอะไรที่ตอบโจทย์ผมข้อนี้มากครับ
ผมให้อีกเรื่องนึงคือการควบคุมเนื้อหา
เกมที่อยู่บน Cloud จะมีข้อดีตรงที่สามารถควบคุมการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสิทธิ (เกมเถื่อน) การแก้ไขเนื้อหาเกมโดยไม่ได้รับอนุญาต (ม๊อด) และการปิดการเข้าถึงเนื้อหาเมื่อถูกละเมิด ซึ่ง ถ้าเป็นซอฟต์แวร์ขายสิทธิ์ขาดก็จะต้องใช้มาตรการต่าง ๆ ในการควบคุม ซึ่งสุดท้ายแล้วก็มักจะคุมไม่ได้และสร้างปัญหาอื่น ๆ ขึ้นมาครับ
เป็นข้อดีในด้านของเจ้าของคอนเทนต์ล้วนๆ ถ้าจะไม่เกิดก็ไม่แปลก
แพลทฟอร์มที่อยู่รอดต้องโดนใจลูกค้าไม่ใช่ผู้ขาย
แต่ในฝั่งเกมออนไลน์ การปิดแฮ็คได้นี่สวรรค์เลยนะครับ BattleField ตอนนี้เละเทะมาก
แพลตฟอร์มที่อยู่รอดได้จะต้องโดนใจทั้งสองฝ่ายครับ
ถ้าทำมาถูก ๆ แล้วขาดทุนก็ไม่มีประโยชน์อะไร
ข้อดีผู้ใช้ก็ไม่ต้องซื้อhardwareแพงๆไงครับ
อย่างเกมออนไลน์ชื่อดังตอนนี้เกนชินฯ มีคนบ่นมือถือรุ่นถูกๆ pcรุ่นเก่า เล่นได้ไม่ลื่นฯลฯ
เกมบนcloudก็มาเพื่อแก้ปัญหาตรงนี้แหละ แต่อาจจะมาก่อนกาลไปหน่อย
ผมว่าที่คุณพิมพ์มาไม่ค่อยตรงกับความจริงที่ผมพบเจอเลยครับ
เด็ก วัยรุ่น จนถึงวัยทำงานใหม่ๆ ส่วนใหญ่ใช้เวลาเล่นเกมส์วันละหลาย ชม และแทบจะเล่นตลอดที่มีเวลาว่างครับ ดูได้จากการเล่นใน หลายๆเกมส์ genshin, cookie run kingdom, rov, dota2, pubg, among us, mon hunt ไล่ชื่อไม่หมดครับ
คนที่เล่นเฉพาะเวลาว่างๆ รีแลกซ์ คงมีแค่กลุ่มคนบางพวก เช่นคนที่ทำงานมานานสักระยะหนึ่งแล้ว
และทำไมคนถึงจะไม่อยากให้เกมส์ขึ้นคลาวด์ หลายๆเกมส์ที่ออกบน pc หรือ console ถูกเรียกร้องให้พอร์ทลงมือถือเพื่อที่จะสามารถเล่นได้ทุกที่นะครับ
มหีมา > มหึมา
Microsoft ขาดทุนไปกี่พันกว่าจะมาถึงจุดนี้ได้
Amazon ทำเกมแล้วมีเกมแม่เหล็กไหมก็ไม่ มัวแต่ไปรอลอกคนอื่นจนหาจุดเด่นไม่เจอ
Google ทั้งที่รวยมากแต่กล้าขาดทุนเยอะๆไหมก็ไม่ เกมยังเพิ่งลงทุนไม่ทันออกก็ปิดก่อนซะงั้น
ผมว่ากูเกิ้ลขาดทุนเยอะจากยูทูบอยู่นะ
จริงๆแล้ว Sony ก็ทำอะไรก่อนเจ้าอื่นจนเป็นนวัตกรรมเลยนะ แต่ด้วยมาก่อนเจ้าอื่นก็เลยไปก่อน ทั้ง PS Now, สแกนนิ้วบนปุ่ม, จอ 4K HDR บนมือถือ และอื่นๆ
Cloud gaming มองยังไงก็ไม่น่าจะ work ทั้งหมด คือ internet คุณต้องแรงพอสมควร นอกจากนั้นฝั่งผู้ให้บริการทั้ง Sony, MS ก็ต้องมี HW ที่แรงมากถึงจะรันได้ลื่นไหลที่สุด การหน่วงต้องเป็น0 ซึ่งยากมาก แถมต้องรองรับการเล่นหลายคนอีก ถ้ามองเรื่อง cloud gaming คงเทียบได้กับ Twitch, YouTube Steam Game ที่ฝั่งคนเล่นต้องมี hw แรงพอตัวทั้งอัพโหลดขึ้นขณะ live ทั้งเล่นเอง เป็นต้น
ส่วนเรื่อง subscription ส่วนตัวไม่ค่อยชอบเท่าไร เพราะไม่ค่อยมีเวลาเล่นขนาดนั้น แต่ถ้าได้เกมในราคา 3000 บาทด้วยในราคา 200 บาทก็ถือว่าคุ้มกับการจ่ายนะ
Sony ทำก่อนเจ้าอื่นจริงแต่จะทำแบบไม่ทุ่ม PS Now ทำก็กลัวเกมแผ่นใหม่ๆขายไม่ออกก็มีแต่เกมเก่า xperia play ถ้าจัดเต็ม switch ก็คงไม่ได้เกิด ปัญหาของ sony คือแข่งกันเองใน บ. มากเกินไปจนไม่มีความร่วมมือกันเลยทั้งที่เป็น บ. ที่มีทุกอย่างด้านสื่อบันเทิง
รวยล้นฟ้าก็จริง แต่ก็ไม่ได้ทุ่มเทเท่าบริษัททำเกมจริง ๆ ไม่แปลกที่จะแป๊ก ยังไงเกมสิ่งสำคัญคือเกม คือความสนุก เรื่องความสะดวกมันเรื่องรอง
Microsoft ถ้าได้บริษัทระดับ ZeniMax มาอีก 1 2 บ แพลตฟอร์มเกิดใหม่ก็คงเตรียมลาโลกได้เลยละ(แม้ตอนนี้ดูเหมือนจะใกล้แล้ว)
เห็นว่าจะมีดีลใหญ่แบบ Bethesda อีกไม่เกินปีหน้านะครับ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
บ.เกมส์ ผมมองว่า ตัวจริงมีแค่ Valve กับ Nintendo นอกนั้น รอวันเจ๊งหมดนะครับ โดยเฉพาะ AAA ทุนสร้างสูง ไม่รอดแน่นอน
Sega, Capcom, BandaiNamco ไม่ถูกใจสิ่งนี้
Sega: confused screaming
เป็นปัญหาขององค์กรใหญ่ทุกองค์กร มีเงินเยอะ ก็ต้องการความสำเร็จเร็ว โดยลืมไปว่าแก่นแท้ของธุรกิจในสาขานั้นๆ คือ อะไร เอาจริงๆ นะ ในตลาดเกมส์คอนโซล บริษัทที่เข้าถึงความต้องการกลุ่ม Gamer จริงคงเป็น Sony กับ Nintendo ส่วน Microsoft ยังก้ำกึ่งอยู่ เลยยังลุ่มๆ ดอนๆ ไปบ้าง แต่ระยะยาวน่าจะตีตื้นขึ้นมาเรื่อยๆ เพราะ CEO ถึงจะไม่ได้อยู่สายเกมส์ แต่เป็นสาย support ที่คนทำงานชอบ ดังนั้นน่าจะแก้ปัญหาไม่ยาก
ตลาดเกมส์ สุดท้ายสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการคือ Software เกมส์ดีๆ gameplay สนุก ส่วน HW แค่ไม่น้อยหน้าคนอื่น รองรับเทคโนโลยีที่ทำให้เกมส์เล่นสนุกขึ้น ก็เพียงพอในระดับ 80% ของคนพร้อมจะจ่ายเงินซื้อแล้ว ซึ่ง Nintendo น่าจะเป็นเจ้าแรกๆ ที่ตีโจทย์นี้แตก และทาง Sony ก็กำลังตามมาใน PS5 ส่วน Microsoft น่าจะเห็นทางลางๆ แล้ว เหลือแต่ทำตามแผนก็น่าจะขึ้นมาเบียดกันสนุก สุดท้ายผมว่าพอถึงยุค Streaming เครื่องเล่นยิ่งน่าจะมีปัจจัยน้อยลงไปอีก ซึ่งตรงนี้ทาง Microsoft มีแต้มต่อพอสมควร
ใครอยากเข้าใจธุรกิจเกมส์แนะนำดูซีรีส์สารคดี High Score ใน Netflix มันซ่อนอะไรหลายๆ อย่างที่เป็น Knowhow เอาไว้เยอะ แต่ต้องแยกให้ออกระหว่างผู้่ก่อตั้ง กับสายบริหารด้วย
microsoft ณ ตอนนี้ถือว่าใช้เงินเป็น เพราะเน้นซื้อ studio game มาทำงานให้เลย เพื่อสร้าง eco system ส่วนตัวเองก็ทำ platform
อ่านคร่าวๆแล้ว ผมว่าถ้าอยากดูประวัติศาสตร์ของ cloud gaming ต้องไปดูบริษัทที่ชื่อว่า Onlive ที่ Sony ซื้อไปแล้ง(ถ้าจำไม่ผิด)
Concept เหมือนกันเป๊ะ แต่สุดท้ายคือไม่ประสบความสำเร็จก็ต้องปิดตัวไป ตอนโน้นกผ้มีคนให้ความเห็นว่ามาเร็วเกินไป อินเตอร์เน็ตยังดีไม่พอ แต่ถามว่าถ้าเป็นตอนนี้มันใช่เหรอ? ผมว่ามันไม่ใช่อีกแล้วนะ เน็ตทุกวันนี้ดีมากพอที่จะใช้ cloud gaming แต่คนที่พร้อมจะเสียเงินรายเดือนเพื่อเล่นเกม ถึงจะมีอยู่จริง แต่ก็คงน้อยจน scale ระยะยาวไม่ได้แน่ๆ(จากที่เห็นในตอนนี้)
ที่จริงลองไปดูตัวเลข apple arcade ก็อาจจะพอได้คำตอบว่าไปรอดหรือไม่ จาากยอดมือถือพันล้านเครื่อง มีคนใช้บริการจริงๆเท่าไหร่กันแน่ ถ้ามีไม่ถึง 100 ล้านคน ตลาดอื่นก็ไม่ต้องพูดถึงแล้วก็ได้มั้ง ยังไงๆก็คงเข็นไม่ขึ้นแน่ๆ
ปล.แฟนบอยหนุนไอเดียกับลูกค่าที่ยอมจ่ายเพื่อเล่น มันคนละเรื่องกัน
Onlive ก็คือ PS Now ในบทความไม่ใช่เหรอครับ
เริ่มต้นคือ Gaikai ครับ OnLive มาทีหลัง (ขาย assets และสิทธิบัตรให้โซนี่ทีหลัง)
Coder | Designer | Thinker | Blogger
Subscription กับ Cloud Gaming ไม่ใช่อันเดียวกันนะครับ ไม่ใช่ Subscription ทุกอันจะเป็น Cloud Gaming หมด
เรื่อง Apple Arcade เนี่ย ที่คนใช้ไม่เยอะผมว่าไม่ใช่เพราะมันเป็น Subscription หรอกครับ แต่มันเป็นเรื่องของเกมที่มีให้เล่นต่างหาก เพราะบริการ Subscription อื่นๆ (ที่ไม่ใช่ Cloud Gaming) อย่าง XBox Game Pass หรือ PS Plus ผมคิดว่ามันก็ไม่ได้เงียบเหงาขนาดนั้น
ส่วนเรื่องของ Cloud Gaming ส่วนตัวผมก็คิดว่าทุกวันนี้เน็ตมันก็ยังไม่พร้อมอยู่ดีครับ เพราะถึงจะเร็วมากขึ้น แต่ Latency มันยังมากอยู่ทำให้เกมที่เป็น Real-Time Input มันยังเล่นได้ไม่ดีพอครับ
ผมว่าถ้าปิงไป data center ยังสูงกว่า 1ms จะเรียกว่า "อินเตอร์เนทพร้อมแล้ว" คงยังไม่ได้ครับ
ทุกวันนี้แค่จากเครื่องเกมขึ้นไปแสดงผลได้ก็ประมาณ 20-30ms แล้ว แล้วอย่างบ้านเราที่ lantency ยังหลักร้อยอยู่นี่คิดว่ายังยากครับ
ที่ Google โม้ว่า negative lantency นี่ก็ยังทำไม่ได้นะ
จริงครับ คือแค่ cast ภาพขึ้นจอไร้สาย (Miracast (Windows), Chromecast, Apple TV) นี่มันก็เยอะจนแค่ทำงานผมก็สะดุดละนะ อย่าว่าแต่เล่นเกมเลย
มันต้องมีเกมส์ที่เป็นเรือธง ของบ.นั้นๆเอง แค่ทำแพลตฟอร์มแล้วหวังเอาเกมส์จากบ.เติร์ดปาร์ตี้มาสนับสนุนเกิดยาก
เกมส์ในท้องตลาดทั่วไปคงไม่มีใครอยากเสียรายเดือน ในเมื่อซื้อขาดแล้วจะเล่นเท่าไหร่ก็ได้
Google จากที่ผ่านๆ ความรู้สึกเหมือน เวลาทำอะไรซักอย่างถ้ามันไม่ดังแต่แรกจะยกเลิกบริการนั้นอย่างไว ทำให้บริการหลายอย่างที่อาจจะต้องใช้เวลาหน่อยในการปั้น มักไม่เกิด -*-
บางทีไม่ใช่เรื่องเงิน เป็นเรื่องไอเดียมากกว่า เหมือนทำหนัง ทุนสร้างสูงใช่จะทำรายได้ดี หนังเล็กไปทำรายได้ถล่มทลายก็มี
แต่ผมว่ายังไงเรื่องเงินมันก็สำคัญครับ เพราะมันช่วยลดอุปสรรคหลายๆ ด้านลงไปได้เยอะ
Tencent ms ทำได้
Tencent นี่ต้องบอกว่าเพิ่งทำตลาดเกมนอกจีน แต่ในจีนนี่ทำมานานอยู่นะครับ (แต่ก็ทำตลาดนอกจีนนานกว่า Google และ Amazon)
แก่นแท้ของเกมส์นั้นคือความฝัน แก่นแท้ของธุรกิจนั้นคือกำไร
Nintendo น่าจะใช้มุกเป็นตาอยู่มากกว่ารอเทคโนโลยีมันพร้อมหมดก็ปล่อยฮาร์ดแวร์สำหรับคลาวด์บนแพลตฟอร์มตัวเองมาสู้ พร้อมเกมแม่เหล็กของตัวเอง Ip ตัวเองแข็งแกร่งอยู่แล้ว เพราะบนสวิชก็มีเกมที่เล่นแบบคลาวด์อยู่แล้วเหมือนกัน คล้ายๆเป็นเกมทดสอบระบบ
เหมือน Apple สินะครับ จะปล่อยของคือเทคต้องพร้อมให้ออกมาดี
คือเคส stadia ผมว่าประหลาดมาก
tech ตัวเองก็พร้อม เพราะจากที่อ่านคนที่เล่นตั้งแต่แรก รวมถึงใน reddit ของคนที่ยังเล่นอยู่ตอนนี้ ส่วนใหญ่ก็ไปทางบวก
และดูทุ่มทุนมาก จ้าง phil harrison (อดีต sony) และจ้าง Jade Raymond (ผู้สร้าง Assassins Creed) แสดงว่าลงทุนสูง
จัดงานเปิดตัวอลังการ
แต่ว่าหลังจากนั้น ก็เงียบมาก feature ทำไม่ทัน เกมก็เก่า ราคาก็แพง (เพราะเกมเก่าๆ บน platform อื่นๆ เขาลดไปไหนต่อไหนแล้ว แต่พี่กูเกิ้ลเล่นขายราคาเต็ม)
คือมันดูลงทุนผิดจุดไปหรือเปล่า คือพอมาเรื่องนี้ดันไม่ลงทุน ดูอย่าง epic ยังลงทุนแจกเกมฟรีดึงคนเลย
ถ้ามองแบบมุมมองบ้านๆ ของผมคือการเอาความ Geek นำแล้วอ่อน Marketing สังเกตจากหลายๆ product
สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับสินค้า Entertainment คือมันสร้างความบันเทิงได้หรือไม่
ไม่สำคัญว่าจะมีเทคโนโลยีที่สุดยอดแค่ไหน ถ้ามัน "สร้างความบันเทิง" ไม่ได้ ยังไงมันก็เจ๊ง
Gaming Experience เป็นสิ่งสำคัญ
เกมหลายๆประเภท ไม่เหมาะสำหรับ Cloud แหละ เพราะมีปัญหาในเชิงเทคนิคเยอะ โดยเฉพาะ Latency
แต่เกมหลายๆประเภท ทำ Cloud ได้สบายๆ เพราะไม่ต้องการ Latency ที่ดีเยี่ยมอะไร
+1 อยากเล่น Xcom บนคลาวอะ
ถ้ามองแง่นึง บริษัทเกมระดับบนแต่ละค่ายตอนนี้อยากทำแพลตฟอร์มของตัวเอง มากกว่าที่จะใช้ระบบของคนอื่น อาจจะเพราะต้องการลดเงินที่ต้องจ่ายให้เจ้าของแพลตฟอร์มด้วยมั้ง (เพราะลำพัง 30% ของรายได้ของแต่ละเกมนั้นไม่ใช่เงินน้อย ๆ เลย)
หัวใจความสำเร็จของอุตสาหกรรมเกม คือ เกม ครับ สั้นๆง่ายๆ เป็นสาเหตุที่ Sony , Nintendo ยืนอยู่ตอนนี้
เกม และ ความเข้าถึงง่าย มันคือความสำเร็จมากกว่าครับ
ไม่ต้องวิเคราะห์ ถือหางอะไรเลย
เกมกาชานี่นับมั้ยนะครับ
Genshin Gashapon นี่ กำไรน่าจะเกิน 500ล้าน$ ไปแล้ว โหนจริงอะไรจริง เกมนี้
FGO สิครับ
I need healing.
ผมว่า CTO กากเป็นตัวแปรต้นนะครับ เกมคือตัวแปรตาม