บริษัทเทคโนโลยีรายสำคัญที่กำลังเพลี่ยงพล้ำในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาคือ "อินเทล" ยักษ์ใหญ่ของโลกซีพียูที่กำลังเจอศึกหลายทางพร้อมกัน ตั้งแต่คู่แข่งในอดีต AMD ที่กลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง, การรุกเข้ามาจากโลกจีพียูของ NVIDIA, การแท็กทีมของฝั่งสถาปัตยกรรม ARM ในหลายแนวรบ ไปจนถึงปัญหาภายในของตัวเอง ทั้งเรื่องเทคโนโลยีการผลิตไม่เป็นไปตามเป้า และผลิตสินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการ
ล่าสุด อินเทลตอบสนองต่อปัญหาทั้งหมดข้างต้นด้วยการเปลี่ยนตัวซีอีโอใหม่เป็น Pat Gelsinger อดีตลูกหม้อที่ดำรงตำแหน่งซีอีโอของ VMware โดยการเปลี่ยนแปลงจะมีผลวันที่ 15 กุมภาพันธ์นี้
บทความซีรีส์ "เกิดอะไรขึ้นที่อินเทล" พยายามสรุปสถานการณ์ทั้งหมดว่าอินเทลกำลังเผชิญกับอะไรอยู่บ้าง ปัญหาแต่ละอย่างมีสาเหตุอย่างไร ในตอนแรกจะกล่าวถึงปัญหาของอินเทลเองที่เกิดจากแนวคิดแบบ Tick-Tock ในอดีต
ตั้งแต่ทศวรรษ 2000 เป็นต้นมา ถือเป็นยุคทองของอินเทลที่ครองตลาดซีพียูได้เกือบเบ็ดเสร็จ อินเทลก้าวข้ามจากยุค Pentium มาสู่แบรนด์ Core ครั้งแรกในปี 2006 (Yonah) ซึ่งเป็นช่วงเวลาไล่เลี่ยกับตลาดโน้ตบุ๊กเริ่มบูม (หลายคนน่าจะยังจำแบรนด์ Centrino กันได้)
เครื่องจักรสำคัญที่ช่วยให้อินเทลทิ้งคู่แข่งแบบไม่เห็นฝุ่น คือกระบวนการออกสินค้าที่เรียกว่า Tick-Tock ซึ่งเป็นการสลับระหว่างการลดขนาดการผลิต (Tick) และการเปลี่ยนสถาปัตยกรรมย่อย (microarchitecture) ใหม่ (Tock)
Tick-Tock ถูกคิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาทางวิศวกรรมที่ไม่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จนเกินไป (เปลี่ยนสถาปัตยกรรมพร้อมกับกระบวนการผลิตพร้อมกัน) อินเทลจึงใช้วิธีสลับปี ทำทีละอย่าง ปีนี้ใช้สถาปัตยกรรมเดิม ลดขนาดการผลิต ปีหน้าเปลี่ยนสถาปัตยกรรมใหม่ แต่ใช้การผลิตขนาดเดิม
อินเทลนำ Tick-Tock มาใช้งานครั้งแรกในปี 2007 กับซีพียูตระกูล Core "Penryn" ที่ลดขนาดการผลิตจาก 65 นาโนเมตร มาเป็น 45 นาโนเมตร แล้วปีถัดมา 2008 เปลี่ยนสถาปัตยกรรมซีพียูมาเป็น "Nehalem" โดยยังคงการผลิตที่ 45 นาโนเมตรเท่าเดิม
กระบวนท่า Tick-Tock ใช้ได้ผลดีเป็นอย่างมาก ช่วยอินเทลลดขนาดจาก 45 นาโนเมตรมาสู่ 32 นาโนเมตร, 22 นาโนเมตร, 14 นาโนเมตรได้อย่างราบรื่น เมื่อบวกกับ AMD ในตอนนั้นประสบปัญหาด้านผลิตภัณฑ์ซีพียูพอดี (ยุค Bulldozer เป็นต้นมา) ยิ่งทำให้อินเทลครองความยิ่งใหญ่ในช่วงต้นทศวรรษ 2010s แบบไร้คู่แข่ง
ในปี 2015 ซีพียู Core 6th Gen สืบทอดการผลิต 14 นาโนเมตรจากปีก่อน แล้วเปลี่ยนสถาปัตยกรรมใหม่เป็น Skylake ที่เพิ่มประสิทธิภาพอย่างโดดเด่น ก้าวต่อไปของอินเทลคือปี 2016 จะลดขนาดของ Skylake ลงเหลือ 10 นาโนเมตร ในชื่อโค้ดเนมว่า Canon Lake ตามธรรมเนียมปฏิบัติเดิม
แต่ทุกอย่างกลับไม่เป็นไปตามแผน
แผน 10 นาโนเมตรเดิมของอินเทลที่ประกาศไว้ในปี 2013
Cannon Lake ไม่สามารถย่อขนาดลงเหลือ 10 นาโนเมตรได้ตามที่คิดไว้ อินเทลจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากยกเลิก Tick-Tock และนำกระบวนการผลิตที่ดีที่สุดในตอนนั้นคือ 14 นาโนเมตรมาใช้ขัดตาทัพไปก่อน
คำประกาศของอินเทลเมื่อต้นปี 2016 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ 10 นาโนเมตรผิดแผน คือบอกว่าจะเปลี่ยนรอบ 2 ปีของ Tick-Tock มาเป็นรอบ 3 ปีที่เรียกว่า Process-Architecture-Optimization แทน
ปี 2016 เราจึงได้เห็นซีพียู Kaby Lake (Core 7th Gen) ที่ใช้สถาปัตยกรรมตัวเดียวกับ Skylake แต่ปรับปรุงเล็กน้อย และใช้กระบวนการผลิต 14 นาโนเมตรแบบปรับแต่งให้ดีขึ้น (14nm+)
ตอนนั้น อินเทลคงคิดว่าปัญหา 10 นาโนเมตรน่าจะล่าช้าไปแค่ปีเดียว การเปลี่ยนจาก Tick-Tock มาเป็น Process-Architecture-Optimization คงไม่ใช่ปัญหาอะไรมากมายนัก ยิ่งเทียบกับคู่แข่งในเวลานั้น TSMC ปี 2016 ยังผลิตชิป 10 นาโนเมตรเป็นจำนวนมากไม่ได้ (ในทางเทคนิคแล้ว 10 นาโนเมตรของแต่ละค่ายก็ไม่เท่ากันด้วย เทียบกันตรงๆ ไม่ได้)
แต่ในปี 2017 ฝัน 10 นาโนเมตรก็ยังไม่เป็นจริง เพราะอินเทลกลับมาด้วย 14 นาโนเมตรอีกครั้ง (พร้อมกับเครื่องหมายบวกอีกหนึ่งตัว เป็น 14nm++) แถมปีนี้ยังเป็นจุดเริ่มต้นที่อินเทลแยกสายผลิตภัณฑ์ซีพียูเดสก์ท็อปกับโน้ตบุ๊กออกจากกัน (ด้วยเหตุผลว่าทำไม่ทัน) โดยฝั่งเดสก์ท็อปเป็น Coffee Lake และฝั่งโน้ตบุ๊กเป็น Kaby Lake Refresh แต่ชื่อทางการค้าเรียกเป็น Core 8th Gen เหมือนกัน
ปี 2018 สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นอีก เราจึงเห็นการ Refresh รอบที่สามด้วย Coffee Lake Refresh ที่นับเป็น Core 9th Gen และมีเฉพาะเดสก์ท็อปเท่านั้น ฝั่งโน้ตบุ๊กยิ่งมั่วเข้าไปอีก เพราะมีทั้ง Whiskey Lake / Amber Lake ที่นับเป็น Core 8th Gen ผสมผสานกับ Kaby Lake Refresh จากปีก่อน
ปี 2018 ยังมี Cannon Lake ซีพียู 10 นาโนเมตรตัวแรก ที่มาช้ากว่ากำหนดเดิม 2 ปี แถมยังมีสินค้าวางขายจริงได้เพียงแค่รุ่นเดียว (Core i3-8121U) ที่ใช้ในโน้ตบุ๊กเพียงไม่กี่รุ่น ด้วยเหตุผลว่าผลิตได้น้อยกว่าที่คาดไว้ แสดงให้เห็นว่าอินเทลทำ 10 นาโนเมตร แต่ยังมีปัญหาเรื่อง yield
อินเทลมาผลิตซีพียูระดับ 10 นาโนเมตรได้จริงๆ จังๆ คือ Ice Lake ในปี 2019 แต่ก็ยังไม่สามารถเปลี่ยนซีพียูโน้ตบุ๊กทั้งหมดเป็น 10 นาโนเมตรได้อยู่ดี และต่อให้เป็นปี 2020 ที่มี Tiger Lake ออกมาแล้ว ก็ยังต้องมีซีพียูแบบ 14 นาโนเมตร Comet Lake-H มาช่วยแบ่งเบาภาระในฝั่งซีพียูสมรรถนะสูง (ซีรีส์ H) ด้วยเช่นกัน
สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคือ 10 นาโนเมตรในปี 2019
มาถึงปีนี้ 2021 อินเทลยังไม่มีซีพียู 10 นาโนเมตรในฝั่งเดสก์ท็อปออกวางขายได้เลยสักตัว (ซีพียูตัวหน้า Rocket Lake ที่จะออกภายในไตรมาส 1/2021 ยังเป็น 14 นาโนเมตร)
หากดูตามแผนของอินเทล บริษัทจะเปลี่ยนซีพียูทั้งหมดเป็น 10 นาโนเมตรได้อย่างสมบูรณ์ทั้งเดสก์ท็อป-โน้ตบุ๊ก ก็ต้องรอกันถึงปลายปีนี้กับ Alder Lake ที่นับรุ่นเป็น Core 12th Gen
คำถามสำคัญคือ อินเทลมีแผนจะเปลี่ยนซีพียูเป็น 10 นาโนเมตรในปี 2016 แบบสบายๆ นำหน้าคู่แข่งรายอื่นไปไกล แต่กลับมาทำได้จริงในช่วงปลายปี 2021 ด้วยซ้ำ (และอินเทลยุคนี้ยังมีโอกาสเลื่อนได้เสมอ) เวลาที่ผ่านมายาวนานถึง 5-6 ปี เกิดปัญหาอะไร ทำไมอินเทลถึงไม่สามารถก้าวข้ามหลุมดำ 14 นาโนเมตรไปได้
แล้วทำไมคู่แข่งทั้ง TSMC และซัมซุงสามารถไปได้ถึงระดับ 7 นาโนเมตร หรือ 5 นาโนเมตรกันแล้ว เราจะก้าวเข้าไปสู่คำตอบนี้กันในตอนหน้า
Comments
อ่อนแอก็แพ้ไป
ที่ไม่เข้าใจคือจ้าวอื่นๆไปไกลแล้วแต่อินเทลกลับย่ำอยู่กับที่ คือมันมีโอกาสเดินหน้าตั้งหลายหนนะ โอกาสแข่งขันก็เปิดกว้างอยู่ในมุมผู้บริโภคอย่างผม
มองยังไงๆก็เหมือนเป็น การบริหารและมุมมองที่ผิดพลาด ทำล่มทั้งองค์กรเพราะนิสัย ขี้กั๊ก
เรื่องกั๊กที่ยังไงก็แก้ไม่เคยหาย ในโน๊ตบุ๊คอีกจ้าวเขาให้มาเต็มๆ 8c/16t ของตัวเองยืนกราน 4c/8t นั่นเพียงพอ
cpu เจน 10 มีโอกาสเปลี่ยนมาใช้ pcie4.0 แต่ไม่ทำ เพราะพยายามหาความคุ้มค่าด้วยการย้อมแมวชิปเซตรุ่นเก่าผลเลยออกมาแบบนี้
เรื่อง 8 คอร์น่าจะเป็นปัญหาเรื่อง yield ของ 10nm มากกว่า ส่วน gen 10 เป็น skylake refresh ใส่ pcie 4.0 ไม่ได้อยู่แล้ว
เอ๊า จบค้างคาซะงั้น นอนไม่หลับนะเนี่ย ๕๕๕๕
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
จบ intel ตอน 2 แล้วขอสถานการณ์ และราคา GPU ต่อด้วยเลยนะครับ
WE ARE THE 99%
สรุปไทม์ไลน์ซินะครับ นึกว่าจะมีหลุดเหตุผลลับอะไรน่าสนใจมาซะอีก
เขาปูพื้นก่อน แล้วก็มีตอนสองไงครับ
WE ARE THE 99%
intel ไม่เห็นต้องกลัว Tiktok ใครๆเขาก็เล่นกัน
นี่มัน Tick Tock!!
จริง ๆ ผมสงสัยอยู่อย่างนึง
เราสามารถลดขนาดทรานซิสเตอร์ลงโดยไม่เปลี่ยนวงจรได้หรือไม่ (เช่นแบบ เอาภาพพิมพ์เวเฟอร์เดิมมา เอาเข้าโฟโต้ช็อป ลดขนาดลงแล้วเอาผลลัพท์ไปสั่งผลิต) หรือจะต้องออกแบบวงจรใหม่ให้เหมาะกับโปรเเซสการผลิตแบบใหม่
แล้วปัญหาที่เกิดในโปรเซสการผลิตแต่ละแบบนี้ตัวปัญหาอยู่ที่ขนาดของทรานซิสเตอร์ หรือแบบวงจรมีปัญหากันแน่ครับ
ผมว่าอย่างหลัง
Intel ทำ ISA สะเปะสะปะมานานแล้ว เพราะเร่งแซงคู่แข่งด้วยคำสั่งแปลก ๆ บ่อย
เวลาลดขนาดทรานซิสเตอร์ มันยากครับ ยิ่งเทคโนโลยีต่ำกว่า 28 นาโน เขาว่ามันยากขึ้นไปอีก เหมือนกับว่ากำลังจะถึงทางตันแล้ว แต่ความซวยของอินเทลคือเจ้าอื่นดันทำได้ดีกว่า
ผมว่าคุณ mr_tawan น่าจะหมายถึงว่า ถ้าการผลิตลดขนาด transistor ลงได้ปุ๊บ ตัววงจรต้องออกแบบใหม่หมดเพื่อให้ทำงานกับขนาดใหม่ได้หรือแค่สั่งย่อขนาดลงไปใช้งานได้ทันทีน่ะครับ
เท่าที่เคยดูคลิป แต่เป็นของฝั่ง TSMC นะครับ
ก่อนจะผลิต เค้าวางแผนกันระดับว่า โรงงานนี้ผลิตอะไรก่อน ซื้อเครื่องจักร แล้ววาง layout ว่าเครื่องจักรวางยังไง ต้องซื้อที่เท่าไหร่ อยู่ตรงใหน แล้วค่อยสร้างโรงงานจริง
เพราะงั้น ถ้าบอกว่าอยากทำ ต่ำกว่า 14nm มันไม่ใช่แค่สั่งเครื่องจักรมาวางๆ ยิงแสงลงแผ่นแล้วจบ AMD ถ้าดูจริงๆ การผลิตก็ติดที่ แถวๆ 14nm นี่แหละแต่ตัดสินใจแยกทุรกิจโรงงานผลิตออก แล้วจ้าง TSMC แทนในเวลาต่อมา
ถ้า Intel บอกว่า อ่ะงั้นจ้างผลิตวันนี้ กว่าจะคุยเรื่อง Step จะเอาผังวงจรมายิงแสงยังไง ต่ำๆ ผมว่า 3 ปี เผลอๆไม่ทำให้ด้วย งานเขาก็ล้นมือพออยู่แล้ว
ผมเดาว่า มันอยู่ที่การออกแบบครับว่ารองรับการย่อขนาดแบบโฟโต้ชอปได้ถึงขนาดไหน ถ้าไม่รองรับมันจะลัดวงจรอะไรประมาณนั้น
ไม่แน่ใจ คิดว่าไม่ได้ เพราะเคยเหมือนเคยอ่านบทความสมัย PC Magazine ว่า
พอวงจรเล็กลง มันต้องวัดระยะการเดินทางของอิเล็กตรอนในวงจรใหม่
ถ้าหดตรงๆแบบ photoshop ย่อลง
ระยะทางสำหรับอิเล็กตรอนมันจะเปลี่ยนหมด แล้วจะไม่เวิร์ก
แถมด้วยปรากฎการณ์ประหลาดๆของควอนตัม ที่ตอนสเกลใหญ่มันไม่มีผล
พอเล็กลงถึงจุดนึง ก็จะโดนปรากฎการณ์ที่ว่าทำให้ผลลัพธ์ผิดไปอีก
หลังออก Core i7 รุ่นถัดมา แทบไม่ต่างจากเดิม ยำ่ๆอยู่กับที่ 555
การแข่งขันเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค
ปัญหาผู้บริหารองค์กร หลายปีก่อน ทำให้คนเก่งๆลาออกไป
ภาวะผู้นำตกต่ำ เหมือนยุคนึงของ Apple ก็มีปัญหาที่ตัว สตีป จอบส์ เอง แต่โชคดีที่เขาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
คนสำคัญที่สุดในการพาองค์กรไปข้างหน้า
นึกว่าจะจบในตอนเดียว สรุปว่าไม่จบ สาเหตุของหลุมดำก็ไม่รู้
ว่าแต่ว่าทำไม amd ทำได้ล่ะนั่น เปิดมาก็ 7 nm เลย ตัว cpu น่าจะใช้เวลาออกแบบและวิจัยน่าจะ 2-3 ปีก่อนเปิดตัวจริง
ก็ง่ายๆ ไม่ต้องผลิตเอง จ้าง TSMC ผลิต
อินเทลอาการหนักน่าดู ช่วงหลังๆ Macbook Pro ที่ใช้ชิปของอินเทลก็มักจะมีปัญหาบัคต่างๆ ให้ตามแก้ไขและยังมีเรื่องความร้อนสูงด้วย เพราะงี้เราเลยได้เห็นแอปเปิลบ่นเรื่องทีมงานของอินเทลทำงานกันช้าอยู่บ่อยครั้ง และหันไปทำชิป M1 ของตัวเองในที่สุด
เดี๋ยวนี้ แม้แต่จะซื้อคอมใหม่ใช้ในบริษัท ก็สามารถแนะนำ ตระกูล AMD Ryzen ได้แบบไม่ต้องเคอะเขิล ต่างจากเมื่อ 10 ปีก่อนมากๆ
M1 เริ่มโปรเจคตั้งแต่ยุค iPhone 4 แล้วครับ พัฒนามาสิบปี
ถ้าพัฒนามา10ปีจริง....ก็ต้องบอกว่าไม่ว้าว ถึงperfจะดีกว่าชาวบ้าน(จริงหรือไม่..ไม่รู้)
10ปี+เงินหนาอย่างแอปเปิ้ล ควรได้M1แบบที่พลิกวงการจริงๆ หรือดีกว่าชาวบ้านระดับต่ำๆก็2-3เท่า
ถ้ามันง่ายแบบนั้น AMD ไม่ไปไกลกว่านานแล้วเหรอ
1.เวลาที่amdทำzenไม่ถึง5ปี --> ถ้าappleใช้10ปีก็ สองเท่า
2.amdเพิ่งกลับมากำไรตอนดันryzenมาขาย --> บริษัทขาดทุนสะสม คิดว่างบR&D จะเท่าบริษัทที่กำไรแทบจะอันดับ1ของวงการITมาเป็นสิบปี?
ความเชี่ยวชาญไงครับ AMD ออกแบบชิปมาตลอด เทียบกับ Apple ที่เพิ่งมาทำเอง จะใช้เวลาต่างกันก็ไม่แปลก
งาน R&D มันเอามาเทียบแบบคูณสองตามระยะเวลาอะไรแบบนี้ไม่ได้หรอกนะ
Apple เปิดตัว Apple A4 ที่ 64bit ทั้งๆที่ตอนนั้นแรมไอโฟนยังไม่ต้องการถึง 64bit เลย ตอนนั้นก็ชักเอะใจแล้วว่าสงสัยเตรียมออกไอโฟนรุ่นแรมสูงแน่ๆ ที่ไหนได้ เอามาใช้เป็น CPU desktop class เลยจ้า ผิดคาด แต่ก็ถือเปิดตัวได้สวย
m1ยังว้าววไม่พออีกหรอ
The Last Wizard Of Century.
อย่าลืมนี่แค่ M1 ใน macbook air รุ่นประหยัด
ถ้า M1 รุ่น desktop มาคงแรงกว่านี้แน่ๆ
ส่วนเรื่องว้าว ผมก็เฉยๆ
เพราะ apple บอกมาตลอดว่า ipad นั้นเริ่มแรงแซง notebook มาแล้ว
1.เวลาที่amdทำzenไม่ถึง5ปี --> ถ้าappleใช้10ปีก็ สองเท่า
2.amdเพิ่งกลับมากำไรตอนดันryzenมาขาย --> บริษัทขาดทุนสะสม คิดว่างบR&D จะเท่าบริษัทที่กำไรแทบจะอันดับ1ของวงการITมาเป็นสิบปี?
เทียบแบบนี้ก็ไม่ถูกครับ AMD กับ Intel ทำ CPU มาตั้งแต่ไหนแต่ไร มากกว่า 5 ปีแน่ๆ มีการทำ R&D สะสมมาเรื่อยๆ ตลอดหลายสิบปี ส่วน Apple พึ่งจะเริ่มก็ช่วงมี iPhone เองนะครับ
zen มันรื้อ architect ใหม่หมด จะบอกว่า r&dสะสมมามันก็ไม่ใช่มั้ย
ยังไงประสบการณ์ที่สะสมมามันช่วยได้เยอะนะครับ
งานพวก Academic Research ทุกวันนี้ก็ไม่ได้เริ่มวิจัยจาก 0 นี่ครับ พวก AI ที่พึ่งเป็นของใหม่วันนี้ ก็มีการทำ Literature ต่อยอด แก้ไขจากของเดิมๆ หลายปีก่อนมาเรื่อยๆ ทั้งนั้น
เริ่มใหม่คงไม่น่าจะใช่แน่ ๆ ครับ คงเรียนรู้ผิดพลาดการออกแบบก่อนหน้า แล้วปรับปรุงซะมากกว่า
มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ
m1 ความร้อนน้อยกว่าถึงขนาดไม่ต้องใช้พัดลม แค่นี้ก็พลิกวงการละสำหรับผม ไม่ต้องพูดถึงperformance หรอก ผลเทสออกมาแล้ว ดีกว่าหรือเทียบเท่า intel i7 บนแมคบุ๊คด้วยซ้ำ ถ้าทำแอพลงแบบเนทีฟคงทิ้งไม่เห็นฝุ่น
iPhone 4 was first unveiled on June 7, 2010
Apple M1 Instruction set: ARMv8-A
ARMv8-A Announced in October 2011
Apple ยางใน
5-6 ปี ไม่คิดจะทำอะไรเลยเกิดปัญหาเดิมตลอด ผู้บริหารทำอะไรอยู่ไม่กล้าตัดสินใจถ้าเปลี่ยนไปจ้างคนอื่นผลิตปัญหาจบไปแล้ว ไม่ต้องจ้างข้างนอกทั้งหมดเริ่มทดลองปล่อยให้ทำที่ละนิดถ้าทำได้ดี แต่โรงงานตัวเองก้าวข้าม 14 nm หลายปีผ่านไปก็คงต้องจ้างโรงงานอื่นผลิตแล้วละครับ
กำลังผลิตไม่พอหรอกครับ ไปดูยอดขายอินเทล ยังสูงกว่า TSMC อยู่มาก
จากข่าวเก่า ๆ TSMC ก็งานล้นแล้วครับ ถ้าจะทำให้อินเทล
อินเทลต้องจ่ายเงินสร้างโรงงานเพิ่มให้ TSMC แล้วละครับ
ได้จ้างผลิต GPU มาหน่อยนึง
แล้วspectreกับ meltdownท่านเก็บหมดหรือยัง
ใช้โน้ตบุ๊กมา 5 เครื่องได้ ล่าสุดได้ใช้ AMD ซะที ตัว Ryzen ดีขึ้นมาก OEM ใส่มาให้เลือกเยอะ หาซื้อง่าย
สมัยก่อนก็จะซื้อโน้ตบุ๊กที่ใช้ AMD APU เหมือนกัน เช่น APU Llano, Trinity แต่หาซื้อยากมากแถมประสิทธิภาพสู้ Core ไม่ได้เลย
นึกสงสัยว่าในอีกสิบหรือยี่สิบปีข้างหน้า พอลดขนาดลงถึง 1 นาโนเมตร ได้แล้วจะเป็นยังไงต่อ มันจะตันจริงๆ มั้ย หรือลดขนาดลงไปได้อีก
ยี่สิบปีเลยหรอครับ ผมเห็นมันลดวูบๆๆลงทุกปีจนปีหน้าจะ 3 nm แล้ว
ผมบวกเผื่อหลุมดำแบบที่ intel เจอไว้ด้วยครับ 555
ก็ลงไปเล่นระดับ pico ต่อครับ
ยังไม่เห็นแผนจากที่ไหนจะทำ 1nm. ครับ เหมือนจะยากขึ้นไปอีกขั้น เพราะอิเล็กตรอนกระโดดข้ามระหว่างมากขึ้น
ถ้าจำไม่ผิด ในภาพเป็นโฟรโด้กับแซมจาก LOTR ภาค 1 ฉากปิดจบภาพยนตร์พอดี คือ ก้าวแรกสู่มอร์ดอร์หลังจากแยกจาก fellowship จึงไม่แปลกที่เนื้อหาข่าวไม่จบ เพราะเพิ่งเริ่มการเดินทาง ?
intel ข้ามยุคไปเล่น quantum computer เลยเปล่า ฮา
ไม่ได้เขียนโปรแกรมมารองรับง่าย ๆ นะครับ ไม่น่าเวิค
แถมควอนตัมก็ใช่ว่าจะตอบได้ทุกโจทย์อีกนะครับ
I need healing.
มียูทูบเบอร์ท่านนึงบอกว่าamdเปนnmปลอมๆ อินเฮล14nmแล้วยังไง เล่นเกมได้ไม่ต่างกัน
The Last Wizard Of Century.
ต่างกันแค่ความร้อนไม่กี่องศาเอง เนาะ
ไม่มีอะไรใหม่...
ดาวิกา ใหม่
คนขี้ลืม | คนบ้าเกม | คนเหงาๆ
...
...
The Last Wizard Of Century.
Got the best best carpet cleaning company here
Loving what I read here fence staining houston