สัปดาห์นี้แอป Clubhouse กลายเป็นแอปยอดฮิตของประเทศไทย โดยวันนี้ห้องที่ตั้งโดยนายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิชาการไทยผู้ตั้งกลุ่มรอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส มีคนเข้าฟังเต็มความจุ 6,000 คนถึงสองห้อง และช่วงค่ำห้องที่ตั้งโดยนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และปิยบุตร แสงกนกกุล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคอนาคตใหม่ก็มีผู้เข้าฟังจนเต็มและมีการเปิดห้องเพิ่มเติมอีกเช่นกัน
แต่ขณะที่ความนิยมในตัวแอปกำลังพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนหลายคนอาจจะตัดสินใจหาซื้ออุปกรณ์ iOS เพื่อมาใช้งานแอปนี้โดยเฉพาะ เราควรตระหนักว่าแอป Clubhouse มีแนวทางความเป็นส่วนตัวที่ต่างจากแอปอื่นๆ พอสมควร ผมแนะนำ 4 ประเด็นความเป็นส่วนตัวสำหรับการใช้งาน Clubhouse ที่ควรตระหนัก
Clubhouse ใช้หมายเลขโทรศัพท์มากกว่าบริการสื่อสังคมออนไลน์อย่างอื่นมาก การลงทะเบียนต้องใช้หมายเลขโทรศัพท์เท่านั้น เทียบกับทวิตเตอร์ที่สามารถอีเมลได้ (หากใช้งาน Gmail ยังสามารถใช้ alias ได้ด้วย)
สิ่งที่ทำให้ Clubhouse ต่างจากแอปอื่นอย่างชัดเจนคือระบบการชวนเพื่อนในช่วงนี้ ผู้ที่จะชวนเพื่อนให้เข้าไปใช้งาน Clubhouse ได้จะต้องส่งรายชื่อติดต่อ (contact) ทั้งหมดให้กับ Clubhouse และทาง Clubhouse จะใช้หมายเลขติดต่อนี้แนะนำคนอื่นๆ ที่เข้ามาใช้งานให้เราไป follow อย่างต่อเนื่อง
โดยทั่วไปแล้วแพลตฟอร์มต่างๆ มักแนะนำคอนเทนต์ให้เพื่อนหรือผู้ติดตามของเราต่อเมื่อเรา "กระทำ" กับคอนเทนต์ในแพลตฟอร์ม เช่นการกดรีทวีตหรือกดไลค์บนทวิตเตอร์, การคอมเมนต์หรือกดไลค์บนเฟซบุ๊ก หรือ YouTube Live ที่จะรู้ว่าใครดูวิดีโอใดต่อเมื่อแชตในระบบเท่านั้น แต่กรณีของ Clubhouse นั้น การกดเข้าไปร่วมฟังในห้องหนึ่งๆ จะเป็นการเปิดเผยว่าเรากำลังฟังทันที ผู้ที่ follow เราอยู่บน Clubhouse จะเห็นว่าเราอยู่ในห้องใดบน timeline ของแอป รวมถึงผู้ร่วมห้องจะเห็นรายชื่อของผู้ที่ฟังในห้องอยู่ทั้งหมด
ตัวแอป Clubhouse ใช้แพลตฟอร์ม Agora เพื่อกระจายเสียงไปยังผู้ใช้ เมื่อผู้ใช้เข้าห้องในแอป ตัวแอปจะเชื่อมต่อตรงไปยังเซิร์ฟเวอร์ของ Agora เช่น qos-america.agoralab.co
โดยแพ็กเก็ตที่เชื่อมต่อนั้นไม่เข้ารหัสข้อมูลการเชื่อมต่อ (metadata) ทำให้ผู้ที่สามารถดักฟังการเชื่อมต่อจะเห็นหมายเลขประจำตัวผู้ใช้ และหมายเลขห้องในแอปได้
ในกรณีที่ร้ายแรงที่สุด หากผู้ดักฟังสามารถเข้าฟังห้องเดียวกับเหยื่อที่ถูกดักฟังได้ก็จะรู้ว่าหมายเลขไอพีต้นทางของผู้พูดคือชื่อผู้ใช้ใดในแอป
Clubhouse ประกาศในนโยบายความเป็นส่วนตัวระบุว่าบริษัทจะเก็บเสียงของแต่ละห้องไว้ชั่วคราว เพื่อสอบสวนในกรณีที่มีการร้องเรียน โดยทั่วไปแล้วไฟล์เสียงของแต่ละห้องจะถูกลบเมื่อห้องปิดตัวลงและไม่มีการร้องเรียนใดๆ แต่หากมีการร้องเรียนในห้อง ทางแอปก็จะเก็บไฟล์เสียงไว้จนกว่าการสอบสวนจะเสร็จสิ้น
ข้อจำกัดเหล่านี้อาจจะไม่ได้เป็นเรื่องร้ายแรงสำหรับคนจำนวนมาก (หลายคนอาจจะอัพโหลดรายชื่อติดต่อในทุกแอปแชตอยู่แล้ว) แต่ก็ควรตระหนักว่าแอปยังไม่มีตัวเลือกความเป็นส่วนตัวที่ละเอียดเท่าแพลตฟอร์มอื่นๆ ในกรณีที่มีการพูดคุยในเรื่องอ่อนไหวก็ควรตระหนักว่าแพลตฟอร์มยังมีประเด็นความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวที่ควรปรับปรุงอีกหลายจุด
Comments
ไม่แน่ใจว่าผมเข้าใจถูกมั้ยนะครับ
1. สามารถรู้ได้ว่าใครพูดใครฟังในห้องนั้นได้
2. ดักฟัง อัดเสียง(ได้อยู่ละ)
3. รู้ชื่อ รู้ IP ของผู้พูดได้
เคสตลาดหลวง มีผู้พูดที่ผิด 112 จริง (แสดงความอาฆาตจริง)
ก็ถึงบ้าน พร้อมหลักฐาน พร้อมหมาย ได้ง่ายๆ ใช่ไหมครับ
ใน Play Store นี่คนไทยไปรุมด่าให้ 1 ดาวแอพ Clubhouse ของบริษัท Clubhouse กันเต็มเลยทั้งๆที่แอพเขาไม่ได้ทำอะไรผิด
สงสารคนทำแอพเลย
Google Play ควรจะช่วยลบให้แบบของ Robinhoodนะ
หลายครด่าเพราะหา invite ไม่ได้ ถ้าคนพวกนี้ได้เข้า ch จริงๆ ต่อไปสังคม ch จะเป็นยังไงนะ
ก็คงต่างคนต่างอยู่แหละ ไม่มีอะไรหรอก
เห็นหลายคนด่าเพราะไม่ใช่แอพ Clubhouse อันนี้
เป็นแอพคนละตัว แค่ชื่อเหมือนกัน
อีพอย่างแอพตัวนี้ยังไม่ได้ลง Play Store
ใจเย็นครับ เค้าหมายถึงใน Android มันเป็นแอพที่ชื่อเดียวกันแต่ไม่ใช่เฉยๆ (ซึ่งมีมานานแล้ว)
เข้าใจครับ แต่พอดีผมไปอ่านรีวิวแล้วเห็นคนด่าแค่เพราะตัวเองใช้งานไม่ได้เนื่องจากต้องใช้ invite เลยแวะมาแชร์แกมบ่นครับ (อันนี้หมายถึงแอพจริงนะ ไม่ใช่แอพปลอมเลียนแบบชื่อ)
แอพจะ mass ขึ้น แบบ fb yt พอ mass มันก็ไม่ geek อยู่ที่เจ้าของแอพเขาอยากให้ geek หรือ mass
ไม่แน่ใจว่ามีเคสมิจฉาชีพทำ invite ปลอม หลอกเอาเบอร์โทร+เงิน เกิดขึ้นบ้างรึยังนะครับ เพราะความต้องการเข้าใช้แอพนี้สูงมาก
ใน Shopee มีขายเต็มเลยครับ ไม่รู้ว่าจ่ายเงินแล้วจะได้หรือไม้ได้
คนที่ต้องการความเป็นส่วนตัว ใช้แอปที่คิดว่ามีความเป็นส่วนตัว เพื่อจะโดนดักข้อมูลความเป็นส่วนตัว
แอพมันก็ต้องเก็บข้อมูลอยุ่แล้วนะ แต่อยุ่ที่จะเก็บยังไง เอาไปใช้ยังไงต่อ ตัวแอพยังไม่มีโฆษณาสินะ แล้วหาเงินจากอะไรนะ
ถ้าเป็นตามนี้แอพมันก็ไม่ได้ปลอดภัยเท่าไรนะครับ ทำไมคนจีนถึงเชื่อว่ามันจะหลบตอนนินทาเขาได้ละ
เช่นเดียวกับคนไทยเชื่อว่า Starlink จะทำให้ไม่ต้องอยู่ใต้กฎหมายไทย
lewcpe.com, @wasonliw
คิดว่าหลายคนคงมองกรณี Starlink เป็นถ้าไม่เข้ามาทำตลาดไทย(หรือทำตลาด แต่ไม่มี gateway ในไทย) แล้วคนที่ใช้แอบใช้ หรือหิ้วมาจากนอก(ไม่ผ่านกสทช.) ละมั้งครับ? ซึ่งมันก็จะไปเวย์ผิดกม. เลยแต่รัฐบาลควบคุมการเข้าถึงเนื้อหาไม่ได้
ตอนนี้สังคมเริ่มตำหนิ app ว่าเป็น exclusive privileged แต่ผมมองว่า ผู้พัฒนาเค้าน่าจะเขียน app มาใช้เพื่อคุยเล่นกับเพื่อนตอน WFH เมื่อปีที่แล้วรึเปล่าครับ (จากการสังเกตที่ลักษณะ app เป็น invite-only และใช้ได้กับ iOS ซึ่งค่อนข้างใช้เยอะในอเมริกา)
ยิ่งพอพิจารณาจากการจัดการ privacy ยิ่งรู้สึกเลยว่า ก็ดีแล้วที่เป็น invite-only จะได้พอช่วยป้องกัน user ที่อาจจะไม่สนใจ privacy เข้ามาใช้งานแล้วเกิดความเสียหายกับตัว user เองภายหลังครับ
ทางเลือกก็มี discord ให้ใช้เนอะ