The Mechanical Licensing Collective (The MLC) องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ดูแลเรื่องใบอนุญาตในการใช้งานเพลงสำหรับสตรีมมิ่งหรือดาวน์โหลดในสหรัฐ เปิดเผยว่าได้รับค่าลิขสิทธิเพลงที่ค้างจ่ายรวมกันกว่า 424 ล้านเหรียญสหรัฐ
ผู้ให้บริการจ่ายลิขสิทธิเยอะที่สุดคือ Apple ที่ราว 163 ล้านเหรียญและ Spotify 152 ล้านเหรียญ โดยมี Amazon ตามมาห่าง ๆ ที่ 42 ล้านเหรียญและ Google 32 ล้านเหรียญ
ทั้งนี้ MLC เป็นหน่วยงานที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายการปรับปรุงลิขสิทธิ์เพลง (Music Modernization Act หรือ MMA) เมื่อปี 2018 เพื่อดูแลเจ้าของลิขสิทธิ์ซึ่งรวมถึงนักแต่งเพลง นักประพันธ์ ผู้แต่งเนื้อร้อง และผู้เผยแพร่ ให้ได้ค่าลิขสิทธิ์ที่ถูกต้องและตรงเวลา ซึ่ง MLC เริ่มดำเนินงานเมื่อ 1 มกราคมที่ผ่านมา ขณะที่ค่าลิขสิทธิ์ข้างต้น เป็นการเก็บค่าลิขสิทธิ์ของเพลงที่ถูกใช้งานมาก่อน 1 มกราคม
ที่มา - The MLC
Comments
กำลังสงสัยว่า กฎหมายต่างประเทศไม่น่าใช้คำว่า "พระราชบัญญัติ" หรือเปล่าครับ (แต่เหมือนเคยคุยเรื่องนี้ไปแล้ว? แต่จำไม่ได้ว่าตอนนี้สรุปกันว่ายังไง)
ถ้าไม่ใช้คำนี้ จะใช้คำว่าอะไรอะ
เมื่อต้องพิจารณาในแง่
- นิยามความหมาย
- ที่มาของกฎหมาย
- ศักดิ์ทางกฎหมาย
ซึ่ง "ACT" จะเทียบกับ กฎหมายไทยได้ในนิยามของ "พระราชบัญญัติ"
พระราชบัญญัติ ไม่ถุกหรืออย่างไร
คือมันถูกแหละครับ แค่ในบริบทสหรัฐมันเป็น "พระราช"บัญญัติ ไม่ได้ เพราะไม่มีกษัตริย์เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจอธิปไตยที่ใช้อำนาจผ่านนิติบัญญัติ
น่าจะใช้ "รัฐบัญญัติ" แทน "พระราชบัญญัติ" ครับ
คือพอได้ยินอะไร ราชๆ มันจะรู้สึก ตัวสั่น จุกอก กำหมัดแน่น อะไรแบบนั้นอะครับ
นี่ว่าจะเสนอให้เป็นชื่อจังหวัดราชบุรี เป็น ราษฎรบุรี อยู่
ปิ๊งไอเดียแต่กลัวมุขบูดหรอจ๊ะ ออกทะเลไปไกลไม่เข้ากับบริบทที่เขากำลังคุยกันเลยอ่ะ
42 ล้่านเหรียญ > 42 ล้านเหรียญ
ลิขสิทธิ > ลิขสิทธิ์
ผิดๆ