วันนี้การไฟฟ้านครหลวง (MEA) ประกาศค่าไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบ Low Priority ที่ราคา 2.6369 บาทต่อหน่วย (kWh) สูงขึ้นจากค่าไฟบ้านอัตราต่ำสุดเล็กน้อย โดยยังต้องรวมค่า Ft ที่ตอนนี้ติดลบ 0.1532 บาทต่อหน่วย (ปรับทุก 4 เดือน)
ค่าไฟบ้านของการไฟฟ้านครหลวง คิดราคา 15 หน่วยแรกที่ 2.3488 บาทต่อหน่วย สำหรับบ้านที่ใช้พลังงานไม่เกินเดือนละ 150 หน่วย และขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึง 4.4217 บาทต่อหน่วย ราคาที่การไฟฟ้ากำหนดสำหรับการเติมรถนี้จึงนับว่าเป็นราคาที่ค่อนข้างถูก
สำหรับราคานี้ หากนำไปเติมรถ Tesla Model 3 รุ่นต่ำสุดที่มีระยะวิ่ง 354 กิโลเมตร จะใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 54 หน่วย (ในทางปฏิบัติการเติมจาก 0% จนเต็ม 100% ทำได้ยาก) คิดเป็นเงินรวมค่า Ft 134.1198 บาท แต่ควรตระหนักว่าราคาค่าไฟฟ้านี้เป็นราคาที่การไฟฟ้าเก็บจากสถานี ราคาที่ผู้ใช้จ่ายจริงจึงอาจจะต่างออกไป และสถานี Low Priority ยังเป็นสถานีที่การไฟฟ้าสามารถสั่งลดการใช้ไฟฟ้าหรือตัดไฟได้เมื่อติดข้อจำกัด
ผู้ตั้งสถานียังต้องเสียค่าบริการอีก 312.24 บาทต่อเดือน โดยสามารถยื่นขอใช้ไฟฟ้านี้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมนี้
ที่มา - การไฟฟ้านครหลวง
Comments
ถ้าสถานีพวกนี้แพร่หลายตามจุดจอดทั่วๆ แล้ว คิดค่าโสหุ้ยแล้วคงดีกว่ารถสันดาปเยอะเลยแฮะ
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ถ้าหัวชาร์จชาร์จเร็วไม่ได้ เข้าปั๊มทีละชั่วโมงกว่า
lewcpe.com, @wasonliw
ผมถึงได้ใช้คำว่าจุดจอดไงครับ จอดไปซื้อของ จอดในคอนโด จอดในที่ท่องเที่ยว จอดแวะกินข้าว (แต่กรณีเดินทางไกลก็อาจจะต้องใช้ DC Fast charge) ไม่ใช่แค่ปั๊มน้ำมันที่ดัดแปลงเป็นสถานีชาร์จ ไม่ต้องเอาชีวิตไปผูกติดกับสถานีบริการน้ำมันอย่างเก่า
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ต่อให้fast chage ขั้นต่ำก็คง 30++ นาทีต่อคันล่ะครับ ในการชาร์จ 50%
นานกว่าเติมก๊าซNGVอีก คงต้องจองคิว หรือไม่ก็ต้องมีหัวจ่ายเยอะๆ แล้วเน้นจอดแล้วไปทำอย่างอื่นรอไป
อีกอย่างต้นทุนหัวจ่ายค่อนข้างสูง ชุดเล็กๆนี่ยังตกสองแสนกว่าบาท อาจต้องคำนวณเรื่องความคุ้มค่าถ้าไม่ดึงดูดมากพอให้ปั๊มเอกชนสนใจติดตั้งเอง
มันอยู่กับเทคโนโลยีครับ
ล่าสุดโตโยต้าเปิดตัวแบตเทอรี่แบบโซลิด ที่สามารถชาร์จเต็มได้ใน 10 นาที ติดที่ว่ายังต้นทุนสูงอยู่
แต่ถ้ายังมีการผลักดันรถไฟฟ้าอยู่เรื่อยๆ เทคโนโลยีที่ใช้กับรถไฟฟ้าก็ยิ่งมีการพัฒนาขึ้นไปเรื่อย
ก็คงไม่ได้แพงไปกว่าหัวจ่ายน้ำมันหรอกครับ แถมยังวางได้ถี่กว่าแล้วก็จะเลือกวางตรงไหนก็ได้ไม่เหมือนหัวจ่ายน้ำมัน
มันยังไม่น่าคุ้มค่าครับ เพราะแอบไปอ่านในกลุ่มคนใช้ev มาขนาดศูนย์MG มีหัวจ่ายตั้งแล้ว แถมขายไฟหน่วยละ7บาท ยังไม่ค่อยอยากจะขายเลย เปิดจำกัดเวลาอีกตะหาก ถ้ามันกำไรดี คงไม่อิดออดแบบนั้น?
ยังไม่นับปัญหาของการเติม ที่ต้องเสียเวลามากๆ ไม่ใช่จากชาร์จช้า แต่เพราะตู้มันใช้ไม่ได้ ต้องโทรไปccให้resetระบบบ้าง หรือแอพค้างรวน หรือบางเจ้ายืมบัตรชาร์จแล้วไม่คืนดราม่ากันไปฯลฯ
แต่ก็ต้องพัฒนากันไปครับ แค่บอกว่าตามอ่านปัญหาเพื่อพิจารณาในการเลือกซื้อevเรื่อยๆ ผมเองก็มองว่ารถคันที่สองในบ้าน ที่จะมาแทนeco carเก่าๆก็น่าจะเป็นev นี่แหละ แต่ยังติดเรื่องระยะทาง(ขอสัก 300-400km++ แบบสบายใจได้ไหม ไม่ต้องลุ้น ส่วนทางไกลมากๆแบบไปเชียงใหม่ คงเอารถน้ำมัน) และที่ชาร์จในกทม.(กทม.ผมอยู่คอนโดฯ แต่อันนี้พอมีติดต่อทางเช่าที่จอดรถประจำและลงทุนติดระบบเอง)
ส่วนเรื่องเวลาในการชาร์จ ผมหมายถึงเทคโนโลยีปัจจุบันไงครับ dc fast charge ขั้นต่ำก็30 นาทีอยู่ดีถึงจะได้ไฟมากพอเดินทางต่อได้จริง
เรื่องเวลาชาร์จผมว่าจะไม่เป็นปัญหาเท่าไรถ้าพอ ev นิยมมากขึ้นจุดชาร์จก็จะเยอะขึ้นแล้วก็ไม่จำกัดอยู่แค่ที่ปั๊มน้ำมัน ปัญหาจะอยู่ที่ระยะทางเวลาต้องการเดินทางไกลๆถ้าได้สัก 500-800km ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรถ้าจะพักจอดชาร์จสัก 30-40 นาทีไปนั่งกินข้าว กินน้ำ
นั่นคืออนาคตไงครับ ปัจจุบันรถevที่ขายในไทย(ไม่นับรถนำเข้าอิสระนะ) ต้องชาร์จอย่างน้อยสามถึงสี่ครั้งถ้าจะเดินทางจากกทม.ไปเชียงใหม่
และปัจจุบัน ขนาดมีจุดชาร์จด่วนdc เพิ่มเกือบทุกจังหวัด แต่ต้องใช้เวลาราวๆ 1ชั่วโมงต่อการชาร์จด่วน เพราะปัญหาจุกจิก ไม่มีคนมาเปิดระบบให้บ้าง ตู้รวนบ้าง แอพค้างบ้าง ฯลฯ
ยังไม่นับว่า บางตู้ปิดหลัง 5โมงเย็น(ตู้ที่อยู่ศูนย์บริการ) บางตู้ เปิดเฉพาะกลางคืนช่วงoff peak (หลังสี่ทุ่ม) การเดินทางไกลในตอนนี้ ต้องวางแผนเป็นอย่างดี ชนิดห้ามเปลี่ยนใจแวะเที่ยวเพิ่มหรือล่าช้า ไม่งั้นอาจต้องเสียเวลาเพิ่มอีกเป็นวันเลยล่ะครับ
ที่พูดมาไม่ใช่ปฎิเสธevนะ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นแบบนี้จริงๆ และยิ่งมีคนใช้เยอะ การรอคิวชาร์จก็จะเกิดปัญหามากขึ้น แม้จะมีระบบจองในแอพก็ตาม
ผมสงสัยอย่างนึง
ที่เชียงใหม่มีอะไรเหรอครับถึงได้เอาระยะทางไปเชียงใหม่มาวัดประสิทธิภาพของรถ EV
ได้ยินมีแต่คนบ่นกันไปไม่ถึงเชียงใหม่กันประมาณนั้น
เค้าถามว่าถ้าขับรถ EV ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 จะถึงเชียงใหม่มั๊ย
คำตอบคือไม่ถึงครับ เพราะมันไปสุดที่เชียงราย
ผมสงสัยอย่างนึง ทำไมไม่นั่งเครื่องไป ตึงงงง
แต่จริง ๆ นะ ผมเคยขับรถไปเชียงใหม่ เบื่อมากกกกกกกกก ไปช่วงเทศกาลด้วย ขากลับสิบสองชั่วโมง
หลังจากนั้นไปกลับนั่งเครื่องตลอด ไปไหนที่ขับรถเกิน 4 ชม. ผมไม่เอาอ่ะนั่งเครื่องเอา
ตอบรวมๆนะครับ เป็นปลายทางที่ยังนิยมขับรถยาวจากกทม.หรือจ.ในภาคกลางไปไงครับ
ส่วนทำไมไม่นั่งเครื่องบินไป ก็คงแล้วแต่สถานการณ์ งบประมาณ ของแต่ละคน
ขับรถไปเชียงใหม่ รถเก๋ง sedan เครื่องพันแปดตลาดๆ ขับแบบไม่ซิ่งมาก ไม่ต้องลุ้นใบสั่ง และไม่ช้าจนโดนคนด่า ก็คงได้ราวๆ 15โลลิตร น้ำมันe10-95 ตอนนี้ลิตรละ 26 บาทไปกลับราวๆ 1400km ค่าน้ำมันราวๆ 2พันกลางๆ ถ้าไปคนสองคนนั่งเครื่องบินอาจจะคุ้มกว่า
แต่ถ้าเกินนั้น รถยนต์ถูกกว่า โดยเฉพาะถ้ามีเด็กเล็ก ขนของเยอะ จะกระเตงขึ้นtaxiไปขึ้นเครื่องก็ลำบาก
ส่วนขับทางไกลเหนื่อยครับ ถ้าขับคนเดียว แต่ถ้ามีเพื่อนนั่งไปด้วย นั่งคุยไปตลอดทางมันก็เพลินไป บางครอบครัวก็แวะเที่ยวรายทางไปเรื่อยอีก สำหรับการท่องเที่ยวกับคนรู้ใจรวมถึงเพื่อนสนิท ความสนุกมันอยู่ที่ระหว่างเดินทางมากกว่าปลายทาง
ส่วนเทศกาลก็ตามนั้น ผมก็เลิกเที่ยวช่วงเทศกาลมานานละ
ยังไม่นับถึงเชียงใหม่ เอาแค่จ.รอบๆกทม.ที่ขับรถเที่ยวไปกลับในวันเดียวกันได้โดยไม่เหนื่อยเท่าไร แบบสุพรรณ หรือ นครสวรรค์ รถev ส่วนใหญ่ที่ขายในตลาดเมืองไทย ก็ไม่สามารถขับรถไปกลับได้ โดยไม่ต้องแวะเติมไฟนะครับ(ไม่นับการขับแบบต้องลุ้นนะครับ)
ป.ล.อย่าลืมว่ารถบ้านเราแพงเมื่อเทียบกับรายได้ครับ คนซื้อจำนวนมากก็ย่อมคาดหวังคันเดียวใช้ทุกงานได้ แต่ถ้าใครมีเงินหน่อย ซื้อevเป็นคันที่สองที่สามในบ้าน ไว้ขับไปส่งลูกจ่ายตลาดพอ ก็คงไม่กังวลเรื่องพวกนี้
รอดู ปตท. ครับ เห็นว่าดีดนิ้วปุ๊บพร้อมเปลี่ยนหัวจ่ายน้ำมันเป็นสถานีชาร์จไฟฟ้าทันที
สำคัญกว่านั้นยังเป็นการสนับสนุนจากรัฐอยู่ดีครับเพราะ ปตท.เองก็มีสถานีน้ำมันของตัวเองแค่ไม่ถึง20% นอกนั้นเป็นปั๊มที่เอกชนซื้อยี่ห้อไปเปิด ถ้าไม่มีการสนับสนุนเอกชนเขาก็ไม่กล้าลงทุนหรอกครับ
แต่ผมยังข้องใจว่า มันควรจะเปลี่ยนการรับผิดชอบจาก ปตท ไปเป็น การไฟฟ้า หรือเปล่า
ผลประโยชน์มหาศาลนี้ไม่ธรรมดา
การไฟฟ้าไม่มีสถานที่ครับ แต่ ปตท.มีทั้งที่ทั้งคนพร้อม เสียบชาร์จ แล้วลงไปกินข้าว กินกาแฟ เข้าห้องน้ำได้
แบบการไฟฟ้ามีจุ๊บเสียบไว้ทุกเสาไฟเลยได้ไหมครับ สายไฟก็เจ้าของรถเตรียมเอง
เสาติดได้ แต่จอดชาร์จได้ไหมต้องไปถามทางหลวงชนบท+จราจร
ปัญหาคือ เมื่อไหร่ถึงจะดีดนิ้วเสียที มากกว่า
แล้วกว่าจะตั้งสถานี อย่างน้อยคงจะเป็นปี กว่าจะเปิดใช้ได้ครบทุกจุดที่เคลม ก็คงหลายปี
ถ้าเป็นจุดจอดตามลานจอดรถของห้าง
ผมว่าต้องรอ wireless charge ติดใต้รถ
แล้วพื้นที่จอดเป็นแท่นชาร์ต
ขับมาเข้าช่อง
ออกจากรถ
แตะบัตร NFC/ ถ่าย QRCode เพื่อเริ่ม
ไปซื้อของ
กลับมา แตะบัตร NFC/ ถ่าย QRCode เพื่อจบ +คิดเงิน
ขับออก
เห็นด้วยเราไม่จำเป็นต้องเติมไฟเฉพาะที่ปั้มแล้ว
เราสามารถชาร์จไฟแล้วไปเดินห้าง , bitec ,impact , lotus , big c
ระหว่างทานอาหารที่ร้านอาหาร kfc , mc ระหว่างทาง
ลานจอดรถต่างๆนอกจากจะคิดค่าจอด แล้วก็ได้ค่าชาร์จไฟอีก
มันจะไม่ถูกจำกัดแค่ตามปั้มแล้ว
ถ้าตั้งใจไปเพื่อจอดทิ้งไว้มันก็จะไม่มีปัญหาหรอกครับ แต่ถ้าเป็นการเดินทางและจุดนั้นเป็นแค่ทางผ่าน เรื่องระยะเวลาในการชาร์จก็ยังเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องแก้ให้ได้อยู่ดีครับ ซึ่งเมื่อต้องชาร์จนานนั่นหมายถึงต้องมีพื้นที่สำหรับรถที่มาจอดนานๆ คิดเป็นสัดส่วนไม่แน่ใจว่าต้องใช้พื้นที่มากน้อยกว่าปั๊มน้ำมันทั่วไปขนาดไหน
ส่วนที่บอกว่าสามารถไปเปิดที่ไหนก็ได้ จริงๆ มันก็มีเงื่อนไขอย่างที่บอกคือถ้าไม่มีอะไรให้ทำเลยมันก็ไม่น่าเปิด นั่นหมายความว่าต้องพัฒนาสองส่วนควบคู่กันไปทั้งจุดจอดพักและจุดชาร์จไฟ ไม่สามารถเลือกทำแค่จุดชาร์จไฟแบบที่ปั๊มน้ำมันทำได้
อันนี้นับรวมว่าชาร์จที่บ้านทุกคืนด้วยหรือยังนะครับ?
อันนี้ยังไม่นับรวมครับ คิดใน scenario ที่อิงการเข้ามาแทนปั๊มน้ำมันในปัจจุบัน ซึ่งการใช้งานในเมืองและสามารถชาร์จที่บ้านได้ก็อาจจะไม่ได้มีปัญหาตรงนี้สักเท่าไหร่นัก แต่ก็ยังมีจุดที่ต้องคิดถึงอยู่ ซึ่งก็น่าจะต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอีกพอสมควร อย่างตามลานจอดรถของที่พักอาศัยอย่างคอนโดก็น่าจะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบลานจอดรถกันใหม่ อย่างที่คอนโดตอนนี้ก็มีให้ใช้แค่สองจุดซึ่งไม่เพียงพอแน่ๆ หรือไม่ในอนาคตก็อาจจะมี service แบบใหม่ที่เป็นลานหรืออาคารจอดรถค้างคืนพ่วงด้วยการชาร์จไฟก็เป็นไปได้เหมือนกันนะครับ
อยากให้มีจุดพักรถที่เราสามารถรอเที่ยวนั่นนี่ได้ และขยายโอกาสให้ผู้ประกอบการรายย่อยได้ตั้งสถานีย่อยของตัวเองได้
ใครมีที่ ริมถนน เป็นจุดพักรถสวยๆได้เลย
บรรดาธุรกิจปั้มน้ำมันต่างจังหวัดบางแห่ง เดิมทีก็เป็นจุดรวมตัวข้าราชการมาเบิกเงินอยู่แล้ว คราวนี้ยิ่งส่งเสริมเข้าไปอีกครบวงจรเลยทีเดียว ปั้มน้ำมัน ปั้มไฟฟ้า ร้านกาแฟ เซเว่น และเซอวิส
ตำสุด => ต่ำสุด
ปฎิบัติ => ปฏิบัติ
ค่าไฟคงไม่ใชปัญหา ที่มีปัญหาคือชาร์จกันโคตรนานอย่างเร็วสุด 30นาที+
นอกเรื่อง พอดีเดินผ่านห้างที่ติดที่ชาร์ทของ EA ทุกวัน ทุกวันนี้นี้ก็เอาไว้จอดรถสันดาปปกติ ไม่รู้จะติดไว้ทำไม เหมือนเครื่องจะไม่เปิดด้วย ไฟไรไม่มีสักนิด เหมือนทำแบบขอไปที จะไปต่อไหวไหมเนี่ย
MEA หรือ EA นะครับ? ผมไม่รู้จัก EA นอกจากบ.เกม เลยถามดู
ในไทยมีบริษัทชื่อ EA (Energy Absolute) อยู่ครับ ที่ทำธุรกิจเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าและเจ้าของรถไฟฟ้า Mine ด้วยและล่าสุดก็เรือ EV ให้บริการในแม่น้ำเจ้าพระยาครับ
บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) , ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ขอบคุณครับ กระจ่างละ
ว่าแต่ในไทยได้กำหนดมาตรฐานหัวชาร์จและระบบชาร์จของรถไฟฟ้าไว้มั้ย เพราะกลัวว่าจะเจอปัญหาเหมือนที่สหรัฐฯ เจอว่ามี 3 มาตรฐานแข่งกัน ในขณะที่ประเทศในกลุ่ม EU ใช้มาตรฐานเดียวกันหมดครับ
ปล. ถ้ายังไม่มี เราก็เอามาตรฐานฯ ของ EU มาบังคับใช้ไปเลย เพราะเชื่อว่า บ. ผลิตรถเค้าไม่มีปัญหา เนื่องจากว่าใช้มาตรฐานที่คนส่วนใหญ่ใช้กันครับ
https://www.magcarzine.com/e-road-electreon/
แนวคิดนี้น่าสนใจมากครับ ถ้าเป็นไปได้ก็คงดี รื้อถนนทั้งประเทศกันไปเลย
จริวๆ แล้ว ควรทำจุดชาร์จตามจุดจอดพักตามถนนต่างจังหวัด ลานจอดรถ ร้านกาแฟ ร้านอาหาร หรือพวกสวนสาธารณะ มากกว่าปั้มน้ำมันนะ ที่คนใช้บริการค่อนข้างเยอะอยู่แล้ว
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ราคาพอๆกับค่าน้ำมันมอไซเลย
เคยฟังมาว่า การไฟฟ้ากำลังหาวิธีตรวจสอบว่า เป็นการใช้ไฟกับการชาร์จรถจริงหรือเปล่า ในกรณีเป็นจุดชาร์จในบ้าน เพื่อแยกคิดราคาค่าชาร์จที่ถูกลง
แอบรู้สึกว่าคิดถูก ที่แยกประกาศใช้ของจุดชาร์จมาก่อน
เพราะการจะคิดหาวิธีตรวจสอบกับนิสัยขี้โกงของผู้คนแล้ว
น่าจะอีกนาน.
ถ้าทำแบบpea แยกมิเตอร์บ้าน กับมิเตอร์จุดชาร์จ ก็น่าจะพอเช็คได้แล้วมั้งครับ
ชาร์จรถใช้กระแส 220v 32a =7040w ถ้าไม่ใช่รถชาร์จ คงจะหาอะไรที่กินกระแสมาถึงขนาดนี้มาเทียบไม่ได้
crypto mining ไงครับ...
โรงงานเล็กๆในบ้าน เครื่องจักรหลายๆอย่างก็ใช้ไฟเยอะ (แบบไม่ 3 เฟส)
ทำเบเกอรี่ เตาอบไฟฟ้าไฟ 6000w ก็มี